" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
13 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
เสาอินทขีล หรือ เสาของพระอินทร์ แห่ง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่

เสาอินทขีล หรือ เสาของพระอินทร์ แห่ง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่




2243. พระวิหาร วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2244. ป้ายชื่อ : วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2224. วิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์





2225. เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง

ตั้งอยู่กลางวิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อปูนตัดกระจกสี รอบเสาวัดได้ ๕.๖๗ เมตร สูง ๑.๓๐ เมตร แท่นพระบนเสาอินทขิลสูง ๙๗ เซนติเมตร รอบแท่นวัดได้ ๒.๔ เมตร บนเสาอินทขิลมีพะรพุทธรูปทองสำริดปางรำพึง ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบก พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) นำมาถวายวัดเจดีย์หลวงเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อให้ชาวเมืองได้สักการะคู่กัน

Source
://www.med.cmu.ac.th/secret/admin/web/custom8.html




2226. ตำนานเสาอินทขิล

ตำนานเสาอินทขิล การสร้างเสาอินทขิลเริ่มจากชาวลัวะซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เชิงดอยสุเทพ ได้ก่อตั้งชุมชนระดับเวียงหลายแห่งในบริเวณนี้ เช่นเวียงเชษฐบุรี เวียงสวนดอก เวียงนพบุรี เมื่อตั้งเวียงนพบุรีได้ตั้งเสาอินทขิลขึ้นเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง พร้อมกับมอบกุมภัณฑ์สองตนทำหน้าที่รักษาเวียงให้มั่นคง ตามคำแนะนำของฤาษี ชาวเมืองต้องทำพิธีบูชาเสาอินทขิลและเลี้ยงกุมภัณฑ์ หากปล่อยปละละเลยไม่บูชาบ้านเมืองจะวินาศ





2227. แผ่นจารึก ตำนานเสาอินทขีล โดยสังเขป






2228. อินทขีล

อินทขีล หมายถึง เสาของพระอินทร์ ตำนานระบุว่า เป็นเสาที่พระอินทร์ประทานให้แก่ชาวลัวะ โดยให้กุมภัณฑ์ 2 ตน หามเสาอินทขีลลงมาจากฟ้า แล้วทำหน้าที่รักษาอินทขีล เชื่อกันว่าฝังอยู่ใต้ดิน

ชาวเชียงใหม่เชื่อถืออินทขีลเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง มีฐานะเป็นเสื้อเมืองมีอิทธิฤทธิ์ ให้บ้านเมืองพ้นจากภัย และ บัลดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ จึงมีประเพณีบูชาเรียกว่า "เข้าอินทขีล" ในเดือน 8 เหนือ เป็นประจำทุกปี




2229. Inthakhin




2231. คำบูชาดอกไม้ไหว้ เสาอินทะขีล




2232. วิหารจตุรมุข สถานที่ ประดิษฐานของ "เสาอินทะขีล"


เสาอินทขิลที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนั้น มีบันทึกไว้ว่าพญามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ทรงสร้างเสาอินทขิล เมื่อครั้งสถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๙ เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมืองหรือวัดอินทขิล กลางเวียงเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือหอประติโลกราช ข้างศาลากลางหลังเก่า) ครั้ง"พระเจ้ากาวิละ"ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณะขึ้นใหม่เป็นเสาปูน พร้อมกับทำการบวงสรวงเป็นพระเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

Source
://www.med.cmu.ac.th/secret/admin/web/custom8.html




2233. วิหารจตุรมุข สถานที่ประดิษฐานของ "เสาอินทะขีล"





2234. "เสาอินทะขีล" ประดิษฐานอยู่ภายใน วิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2235. วิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวง ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่ประดิษฐานของ "เสาอินทะขีล"




2236. วิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวง ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่ประดิษฐานของ "เสาอินทะขีล"





2239. วิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวง ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่ประดิษฐานของ "เสาอินทะขีล"





2240. วิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวง ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่ประดิษฐานของ "เสาอินทะขีล"




2241. วิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวง ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่ประดิษฐานของ "เสาอินทะขีล"





2242. พระวิหาร วัดเจดีย์หลวง ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่




3066. พญายักขราช (ศาลใต้) แห่ง วิหารจตุรมุข เสาอินทขีล วัดเจดีย์หลวง




3068. พญายักขราช (ศาลใต้) แห่ง วิหารจตุรมุข เสาอินทขีล วัดเจดีย์หลวง




3065. พญายักขราช (ศาลใต้)

พญายักขราช (ศาลใต้)
สร้างวันเสาร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ.2343 พระเจ้ากาวิละให้ก่อรูปกุมภัณฑ์ 2 ตน ไว้หน้าวัดโชติการาม (วัดเจดีย์หลวง) ยักษ์/กุมภัณฑ์ 2 ตนนี้ คอยพิทักษ์เสาอินทขีลหลักเมืองเชียงใหม่

(ตำนานเมืองเชียงใหม่ ฉบับพระพุทธิมาผูก 7 หน้า 13)




3070. พญายักขราช (ศาลใต้)




3134.




3137.




3132. แผ่นจารึก: อมรเทพ (ศาลเหนือ)

อมรเทพ (ศาลเหนือ)

สร้างวันเสาร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ.2343 พระเจ้ากาวิละให้ก่อรูปกุมภัณฑ์ 2 ตน ไว้หน้าวัดโชติการาม (วัดเจดีย์หลวง) ยักษ์/กุมภัณฑ์ 2 ตนนี้ คอยพิทักษ์เสาอินทขีลหลักเมืองเชียงใหม่

(ตำนานเมืองเชียงใหม่ ฉบับพระพุทธิมาผูก 7 หน้า 13)





3140. อมรเทพ (ศาลเหนือ)




Moonfleet ได้มาเยือน วิหารจตุรมุข แห่ง วัดเจดีย์หลวง ถ.พระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่ประดิษฐานของ "เสาอินทะขีล"

ในแผ่นจารึกเรื่องราว "เสาอินทขีล" ได้มีการ กล่าวถึง "ชาวลัวะ"

เรื่องของชาว "ลัวะ" นั้น กล่าวถึงในโอกาสต่อไป ด้วยว่าเรื่องนี้ ยาวมาก เพราะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ชนชาติ หรือ เมืองที่มีความเก่าแก่กว่า นครเชียงใหม่ของพญามังราย นานกว่านครหริภุญไชยของพระนางจามเทวี มีการกล่าวถึงตำนานสุวรรณคำแดงปฐมกษัตริย์แห่งล้านนาผู้เสร้างเมืองล้านนา เรื่องราวของเจ้าพ่อคำแดง เจ้าเมืองล้านนาที่มาเป็นอารักษ์รักษาเมืองเชียงใหม่ และ ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับ ขุนหลวงวิลังคะ ผู้พ่ายรักและพ่ายศึกแก่พระนางจามเทวี

แต่ เรื่องราวเกี่ยวกับเสาอินทขีลนั้น บ้างก็ว่าเป็นเสาหลักเมืองของชาวลัวะ ที่พญามังรายได้มา แล้วนำมาไว้ที่วัดอินทะขีล บ้างก็ว่าเป็นเสาหลักเมืองที่พญามังรายสถาปนาขึ้นมา เรื่องนี้ต้องศึกษา และ สอบถามจากผู้รู้ แต่ ในเบื้องต้นก็จำต้องอาศัยจาก แผ่นจารึกปัจจุบันที่ วิหารจตุรมุขแห่งวัดเจดีย์หลวง สถานที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองเป็นหลักในการอธิบายว่า เป็นเสาที่พระอินทร์ได้ประทานให้แก่ชาวลัวะ....




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง





Create Date : 13 มกราคม 2553
Last Update : 15 มกราคม 2553 18:48:20 น. 4 comments
Counter : 6185 Pageviews.

 
ยังไม่เคยเห็นเลยค่ะ เขาไม่ให้ผู้หญิงเข้าก็เลย ไม่เข้าค่ะ

แต่งานอินทขิล ตอนเด็ก ๆ ไปช่วยเขา นับเหรียญแลกตังบ่อย ๆ 108 เหรียญ ก็ 11 บาทเอง แต่ตอนนั้นก็ว่าเยอะมากนะ 11 บาทเนี่ยเพราะไม่เคยหยอดครบเลย 1 บาทมั่ง 2 บาทมั่ง ก็ปลื้มสุด ๆ ถ้าใครมาแลก 11 บาทนี่จะดีใจมากเปรียบเหมือนลูกค้ารายใหญ่มาทำบุญเลยละค่ะ

นอกจากนี้ก็จะเอาถาดไปเก็บดอกไม้ที่เขาเอามาวางออกไปไว้นอกวิหารให้ถาดว่างที่จะรับดอกไม้ได้อีก ถ้าคนมาก ๆ ต้องฝ่าควันธูปเข้าไปเลยละ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 14 มกราคม 2553 เวลา:12:55:28 น.  

 
มาชวนไปดูการสร้างสะพานนครพิงค์ที่บล็อก upใหม่วันนี้

และมาชวนไปดูรอยแยกที่เปลือกโลกที่หน้าหลักค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 15 มกราคม 2553 เวลา:16:00:42 น.  

 
น้ำท่วมหนักในตอนนี้ มันยังไม่เท่ากับ วิหารวัดเจดีย์หลวงหรอมั้ง


โดย: คนที่รู้จัก IP: 182.53.246.137 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2554 เวลา:15:01:11 น.  

 
คนเมืองน่านสบายกาย สบายใจ สบายอก สบายปอด สบายตับ สบายใต สบายรูหู และ สบายตูด มากที่น้ำไม่ท่วม แต่ไม่รู้ว่าเชียงใหม่ น้ำท่วมหรือป่าว อยากรู้จังเลย ........................................................................... ว้าวววววววววว


โดย: คนเมืองน่าน IP: 182.53.246.137 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2554 เวลา:15:03:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.