" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
016. วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่

วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง)

อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่




7099. วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง)

วัดแสนเมืองมาหลวง หรือ “วัดหัวข่วง”

ตั้งอยู่ที่ 175 ถนน พระปกเกล้า ตำบล ศรีภูมิ อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่





7100. ถนนทางเข้า วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) อยู่ติดกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขา เชียงใหม่ ถนนกว้างประมาณ 2.5 เมตร รถยนต์วิ่งสวนกันไม่ได้ โปรดขับด้วยความระมัดระวัง





7092. ธกส. สาขาเชียงใหม่
:เคียงคู่ รู่ค่า ประชาชน





7097. วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) ถ.พระปกเกล้า ต. ศรีภูมิ อ. เมือง จ.เชียงใหม่


:อยู่ติดด้านหลังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส)





7098. หรือ ทางเข้าวัดแสนเมืองมาหลวง(หัวข่วง) อยู่ฝั่งตรงข้ามกับคุ้มแก้วพาเลช

:คุ้มแก้วพาเลช มี ขันโตกดินเนอร์:อาหารพื้นเมืองบนขันโตก พร้อมการแสดงพื้นเมืองที่สวยงาม ถ้าท่านได้มาเที่ยวหรือทำงานที่เชียงใหม่ ขอให้ได้พาเพื่อน ครอบครัว หรือ คนที่ท่านรักได้มารับประทานอาหารขันโตกที่คุ้มแก้วพาเลช เป็นประสพการณ์และความประทับใจในชีวิต




7101. วิหารวัดแสนเมืองมาหลวง(วัดหัวข่วง) ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่






7102. พระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) ด้านทิศใต้





7103. ศาลาปฏิบัติธรรม วงศ์สืบชาติ แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)






7104.ช้างเบื้องขวาข้างบันไดพระวิหารแห่งวัดแสนเมืองมาหลวง(วัดหัวข่วง)





7105. บันไดมรกนาค แห่ง พระวิหารวัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)

:ขอกราบอนุโมทนา คุณพ่อไพโรจน์ คุณแม่เชื้อสาย และ ด.ร. พรชัย เปี่ยมสมบูรณ์





7106. พระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7107.พระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) อ.เมือง จ.เชียงใหม่





7108.ประตูพระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7109.บานประตูพระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7110. มกรคายนาคเบื้องซ้าย บันไดพระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง





7111.มกรคายนาคเบื้องขวา บันไดพระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง





7112.พระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) อ.เมือง จ.เชียงใหม่





7113. หอกลองและระฆัง ตะวันออก ฝั่งทิศใต้ วัดแสนเมืองมาหลวง





7115. หอกลอง แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง






7116. หอกลองและระฆัง ตะวันตก ฝั่งทิศใต้





7135. หอกลองและระฆัง ตะวันตกเฉียงใต้ ของพระวิหารวัดแสนเมืองมา





7137. หอกลองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระวิหารวัดแสนเมืองมา






7139. หอกลอง แห่ง วัดแสนเมืองมา ที่สวยงาม







7140. พระพุทธรูป ไม่ทราบนาม ประดิษฐานอยู่ด้านหลังพระวิหารด้านทิศตะวันตก





7142.พระพุทธรูป ไม่ทราบนาม อยู่ด้านหลังพระวิหารด้านทิศตะวันตก






7143. เทวดาเบื้องซ้ายพระพุทธรูป อยู่ด้านหลังพระวิหารด้านทิศตะวันตก






7144.เทวดาเบื้องขวาพระพุทธรูป อยู่ด้านหลังพระวิหารด้านทิศตะวันตก






7145. พระเจดีย์ แห่ง วัดแสนเมืองมา (วัดหัวข่วง)






7117. ประตูโขง แห่ง กุฏิเจ้าอาวาส วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7119.กุฏิเจ้าอาวาส วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7118. ตระกูล ทรัพย์สาคร สร้างถวาย 3พฤษภาคม 2542
ขอกราบอนุโมทนาบุญ ด้วยครับ







7120. พระเจดีย์ แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)

: ลักษณะเป็นเจดีย์สิบสองเหลี่ยมองค์ระฆังกลม ซึ่งเป็นศิลปกรรมผสมระหว่างศิลปะเชียงแสนกับสุโขทัย





7121. พระเจดีย์วัดแสนเมืองมาหลวง ( วัดหัวข่วง )





7123.พระเจดีย์วัดแสนเมืองมาหลวง (วัด หัวข่วง )

พระเจดีย์วัดแสนเมืองมาหลวง ( วัดหัวข่วง )

พระเจดีย์นี้นับได้ว่าเป็นเจดีย์ก่ออิฐขนาดใหญ่ และมีทรวดทรงที่งดงามมากองค์หนึ่งในเมืองเชียงใหม่

ลักษณะเป็นเจดีย์สิบสองเหลี่ยมองค์ระฆังกลม เป็นแบบแผนของเจดีย์ที่นิยมสร้างกันมากในเมืองเชียงใหม่ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา

เช่น เจดีย์พระธาตุดอยสุเทพ เจดีย์วัดอุโมงค์ เจดีย์วัดชมพู เจดีย์ร้างวัดแสนตาห้อย เจดีย์วัดพระธาตุเสด็จ เจดีย์พระธาตุลำปางหลวง เป็นต้น

ซึ่งเป็นศิลปกรรมผสมระหว่างศิลปะเชียงแสนกับสุโขทัย ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชต่อพระเจ้าเมืองแก้ว ในยุคนี้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ทั้งทางสุโขทัยและอยุธยา

แต่เนื่องจากการที่พม่าตีเมืองเชียงใหม่จึงทำให้เจดีย์ได้รับความเสียหายบางส่วน เมื่อได้รับการซ่อมแซมแล้ว ทำให้ส่วนฐานนับตั้งแต่ฐานหน้ากระดานสามชั้นขึ้นไปจนถึงฐานบัวลูกแก้ว เป็นลักษณะพิเศษที่ไม่เคยพบเห็นในเจดีย์ทรงกลมทั้งแบบพื้นเมืองล้านนาและแบบเชียงใหม่

คัดลอกข้อมูลมาจาก://www.lannatalkkhongdee.com/templeDetail.php?id=Temp0800012





7124.ยักษ์แห่งซุ้มประตูโขงกุฏิเจ้าอาวาสวัดแสนเมืองมาหลวง





7125. ประกาศ: ห้ามแนะนำ จำหน่าย และ โฆษณาสินค้าทุกชนิด สินค้าทุกชนิดในบริเวณวัด





7126. เทวดาแห่งซุ้มประตูโขงกุฏิเจ้าอาวาสวัดแสนเมืองมาหลวง





7127.เทวดาแห่งซุ้มประตูโขงกุฏิเจ้าอาวาสวัดแสนเมืองมาหลวง





7128.





7130.





7131.





7132. พระวิหาร และ พระเจดีย์ แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7133.





7134. ยักษ์ แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7146. หอมณเฑียรธรรม แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) จ.เชียงใหม่





7147.หอมณเฑียรธรรม แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) จ.เชียงใหม่





7148.หอมณเฑียรธรรม แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) จ.เชียงใหม่






7149.หอมณเฑียรธรรม แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) จ.เชียงใหม่





7150.หอมณเฑียรธรรม แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) จ.เชียงใหม่





7151.หอกลองและพระเจดีย์ แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7152. สวนหย่อม ที่สวยงาม





7153. บริเวณภายใน วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7156. พระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7157. พระอุโบสถ และ พระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7159.พระอุโบสถ และ พระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7155.พระวิหาร แห่ง วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)





7162. ประตู วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) ด้านทิศตะวันออก






7154. สิงห์คู่แห่งประตูทิศตะวันออก วัดแสนเมืองมาหลวง

: ตึกฝั่งขวาทางเข้าออกของวัดแสนเมืองมาหลวง(หัวข่วง) คือ อาคารของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) สาขาเชียงใหม่





7160.ทางเข้าประตูวัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) ด้านทิศตะวันออก

:เมื่อเดินเข้ามา ก็เรียกว่า "ทางเข้า" วัดแสนเมืองมาหลวง
เมื่อเดินกลับออกไป ก็เรียกว่า "ทางออก"จากวัดแสนเมืองมาหลวง

เมื่อเรา จุติ ลงมา ก็เรียกว่า การเกิด
และ เมื่อเราต้อง เคลื่อนย้ายเปลี่ยนภพ ก็เรียกว่า การตาย

ทางเข้าและทางออกคือทางเดียวกัน
การเกิดและการตายก็คือเส้นทางเดียวกัน

เพียงแต่ว่า เราปราถนาจะเลี้ยวไปทางซ้าย หรือ ทางขวา
ทางซ้ายและทางขวา คือ ทางไปยังสุคติภูมิ (สวรรค์) หรือ อคติภูมิ (นรก)


เลี้ยวซ้าย หรือ เลี้ยวขวา ท่านเป็นคนที่จะเลือก ซึ่งก็จะเป็นไป ตามกฏแห่งกรรม หรือ การกระทำ เพราะ พวกเราแต่ละคนต่างก็เป็นผู้ออกแบบชีวิตของตนเอง


Moonfleet ได้มาเยือน วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง)
:วันอาทิตย์ ที่ 2 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2552





เชียงใหม่ นครแห่งชีวิต และ ความมั่งคั่ง

"เที่ยวเชียงใหม่ ท่านสามารถ มาเที่ยวได้ทุกวัน"





พรุ่งนี้ไม่มีอะไรแน่นอน รีบบวชตอบแทนบุญคุณพ่อแม่
มหาอุปสมบทครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อแผ่นดินไทยร่มเย็น
โครงการอุปสมบทหมู่พระสงฆ์ 100,000 รูป (หนึ่งแสนรูป) ทั่วไทย


Create Date : 03 สิงหาคม 2552
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2552 10:25:04 น. 9 comments
Counter : 7551 Pageviews.

 
วัดหัวข่วง

จ.เชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยาวนานมากว่า ๗๐๐ ปี และเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีโบราณสถานเก่าแก่มากมาย ซึ่งในอดีตเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา จ.เชียงใหม่ ได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านพุทธศาสนาของชาวล้านนา เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

วัดแสนเมืองมาหลวง หรือวัดหัวข่วง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๕ ถนนพระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แต่เดิมมีชื่อว่าวัดลักขปุราคมาราม ถือได้ว่าเป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความสำคัญและได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนใน จ.เชียงใหม่ มานานร่วม ๖๐๐ ปี ในอดีตวัดหัวข่วงจัดเป็นวัดที่มีความสำคัญในฐานะวัดประจำเมืองวัดหนึ่งเพราะเป็นที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญทางศาสนาหรือการประชุมทัพ

จากประวัติในพงศาวดารโยนกระบุว่า วัดแสนเมืองมาหลวง เป็นวัดที่พญาเมืองแก้ว กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ลำดับที่ ๑๑ ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายแด่พญาแสนเมืองมาหรือพระอัยกาธิราช สร้างเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ พ.ศ.๒๐๖๔ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสร้างเจดีย์กว้าง ๘ วา สูง ๑๔ วา ๒ ศอก และทรงสร้างวิหาร อุโบสถ กุฏิ หอมณเทียรธรรม ถวายเพื่อเป็นอารามหลวง


ส่วนสาเหตุที่มีชื่อเรียกว่า “หัวข่วง” เป็นเพราะที่ดินในละแวกนี้แต่เดิมเป็นที่ของเจ้านาย เชื้อพระวงศ์ เป็นที่ราบกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่สร้างวัดนั้นแต่เดิมใช้เป็นที่ชุมนุมไพร่พลยามศึกสงคราม และเป็นที่ประกอบพิธีตามวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ จึงทำให้วัดมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวข่วง ปัจจุบันวัดนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด ๔ ไร่ ๒ งาน ๑๐ ตารางวา มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีที่กัลปนาหรือที่ธรณีสงฆ์

ในสมัยที่พระเจ้าเมืองแก้ว ทรงปกครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนทำให้ได้รับคำกล่าวถึงว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในล้านนา แต่เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไปมีการทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงอาณาเขตเกิดขึ้น ส่งผลทำให้วัดวาอารามที่มีความสำคัญในการประกอบพิธีกรรมหลายแห่งได้รับความเสียหายไปเป็นจำนวนมาก จนต้องมีการรื้อถอนและบูรณะขึ้นมาใหม่ทดแทนของเดิมที่พังเสียหายไป

วัดแสนเมืองมาหลวง หรือวัดหัวข่วงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งใน พ.ศ.๒๕๓๖ โดยการนำของพระครูปลัดทรงสวัสดิ์ ปัญญาวชิโร (ครูบาแอ) โดยสร้างกุฏิสงฆ์ บูรณะพระเจดีย์ อุโบสถ พระวิหารหลวงรวมทั้งพระประธานในวิหารหลวงซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่และงดงามมากองค์หนึ่งของเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ขณะนี้ยังจัดสร้างหอมณเฑียรธรรมหลังใหม่ขึ้นทดแทนหลังเก่าที่พังเสียหายลงไปจากการขุดหาวัตถุโบราณของประชาชนบริเวณใต้หอมณเฑียรธรรมหลังเก่า

ภายในวัดแสนเมืองมาจะประกอบไปด้วยวิหารหลวงที่สร้างขึ้นมาใหม่ทดแทนวิหารหลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ โดยเริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๔ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ ปีมะโรง และเสร็จสิ้นใน พ.ศ.๒๕๔๗ ตัววิหารเป็นศิลปกรรมแบบพื้นเมืองของล้านนา ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรัตนบุรีสลีแสนเมืองมาซึ่งเป็นพระประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๖ เมตร สูง ๙ เมตร

บริเวณด้านข้างวิหารหลวงเป็นอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่ใน พ.ศ.๒๕๓๗ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าศรีเมืองมาซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดเท่าพระองค์จริงของพระเจ้าแสนเมืองมาในอดีตซึ่งมีอายุในการก่อสร้างกว่า ๕๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้บริเวณด้านหลังวิหารหลวงยังเป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์หัวข่วงซึ่งเป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่แบบเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมาเช่นเดียวกับรูปหล่อพระเจ้าศรีเมืองมา

ทั้งนี้ภายในบริเวณวัดยังสร้างกุฏิสงฆ์ใหม่ในลักษณะศิลปะล้านนาประยุกต์ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นที่วิจิตรงดงาม นอกจากนี้วัดยังจัดสร้างหอมณเฑียรธรรมหลังใหม่ขึ้นมาทดแทนหลังเก่าที่พัง ขณะก่อสร้างไปแล้วกว่าร้อยละ ๘๐ พร้อมกันนี้ยังสร้างหอระฆังใหม่ด้านข้างเจดีย์หัวข่วง

เรื่อง/ภาพ พิชัยยง มาเยอะภู่

Resource: //www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538685307&Ntype=40


โดย: วัดหัวข่วง (moonfleet ) วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:10:54:03 น.  

 
มาเที่ยววัดและมารับข้อคิดดีๆด้วยค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อคิด ทางเข้าทางออกและเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาของชีวิตนะคะ


โดย: ณ มน วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:11:08:40 น.  

 
"ปีใหม่โล้ชิงช้า ชาวอาข่า"
ทัวร์เริ่มวันที่ ๒-๓-๔ กันยายน ๕๒
ความงดงามทางวัฒนธรรมของชนเผ่า และประเพณีที่หาดูได้ยากยิ่งในสมัยนี้
ร่วมสัมผัสประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวชนเผ่าอาข่าที่แฝงไว้ซึ่งความสวยงาม และเคารพในธรรมชาติ
ผู้ประสานงาน somsakbannok@yahoo.com
Tel 081-7655352 ;053-737373
www.hilltribeguide.com
//www.hilltribeguide.com/autopage/show_page.php?h=1&s_id=5&d_id=4


โดย: พรานไพร ณ.ดอยบ่อ (guide doi ) วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:12:54:51 น.  

 
อยากได้ประวัติและภาพพระรอดกรุของวัดหัวข่วง ใครมีใครทราบรายละเอียดบ้าง


โดย: คนใต้ IP: 114.128.166.226 วันที่: 12 กันยายน 2552 เวลา:10:35:49 น.  

 
อยากจะเชิญชวนกันไปเที่ยววัดนี้ให้มากๆ ครับเพราะวัดนี้สวยงามมากและมีข้อคิดคติธรรมให้เราได้ศึกษามากมายครับสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้


โดย: tew.@hotmail.co IP: 118.172.105.236 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2552 เวลา:13:53:26 น.  

 
ข้อมูลจาก //www.lannatalkkhongdee.com/templeDetail.php?id=Temp0800012

ชื่อวัด : วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง)
เจ้าอาวาส : พระครูสุวัตถิ์ปัญญาโสภิต
ประวัติวัด และ กิจกรรม:

วัดแสนเมืองมาหลวง หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “วัดหัวข่วง” ตั้งอยู่ที่ 175 ถนน พระปกเกล้า ตำบล ศรีภูมิ อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่

ตามที่ บันทึกของพระมหาหมื่น วุฑฺฒิญาโณ วัดหอธรรม (ร้างแล้ว ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสภา-การศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา) ท่านบันทึกไว้ท้ายของตำนานพระธาตุจอมทองว่า

“ วัดหัวข่วงเดิมเมื่อแรกสร้างชื่อ วัดลักขปุราคมาราม ( วัดที่พระเจ้าแสนเมืองมาทรงสร้าง ) ต่อมาพระเจ้าเมืองแก้ว พ.ศ. 2063 ได้บูรณะเจดีย์วัดหัวข่วงขึ้นใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม ตามที่พระมหาหมื่นได้บันทึกไว้ท้ายตำนานพระธาตุจอมทองว่า

.............ในจุลศักราช 882 ( พ.ศ. 2063 ) ตัวปีมะโรง ไทยว่า ปีกดสี เดือน 6 10ค่ำ วันศุกร์ พระเมืองแก้วให้ขุดฐานรากเจดีย์วัดลักขปุราคมาราม คือ วัดหัวข่วง ตราบถึงเดือน 7 ออก 10 ค่ำ วันอาทิตย์ จึงได้ลงมือก่อพระเจดีย์ ฐานกว้าง 8 วา 2 ศอก สูง 14 วา 2 ศอก ถึง จ.ศ. 883 ตัว ปีมะเส็ง ไทยว่าปีลวงใส้ เดือน 11 ออก 13 ค่ำ วันพุธ ปุพสาธฤกษ์ดาวสัปดับช้าง พระเมืองแก้วกับพระราชมารดาพร้อมพระสงฆ์ 3 คณะ มีพระราชครู เป็นประธาน บรรจุพระบรมธาตุในมหาเจดีย์วัดลักขปุราคมาราม คือ วัดหัวข่วง บัดนี้ เมื่อสร้างพระเจดีย์เสร็จแล้วทรงโปรดให้สร้างคัมภีร์พระไตรปิฏก ไว้ในหอมณเฑียรธรรม ทรงโปรดให้มีการเฉลิมฉลองเป็นการใหญ่

ต่อมาในปีพ.ศ. 2134 จ.ศ. 993 ปีมะแมตรีศก พระเจ้าสุทโธธรรมราชา ( พระเจ้าแปร ) ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ได้ ในครั้งนั้นมีการต่อสู้อย่างดุเดือด วัดวาอารามหลายแห่งถูกกระสุนปืนใหญ่ทำลายเสียหาย เช่น วัดอภัย ( ดับภัย ) วัดหัวข่วง วัดสุทธาวาส ( วิทยาลัยเทคนิคในปัจจุบัน ) เมื่อพระเจ้าสุทโธธรรมราชาตีเชียงใหม่ได้แล้ว และกลับไปครองเมืองอังวะ ทรงคำนึงว่า ในการตีเมืองเชียงใหม่นั้นทำให้วัดหลายแห่งถูกทำลายเนื่องจากการรบ สมควรได้รับการบูรณะให้กลับเป็นดังเดิม จึงทรงประทานเงินหมื่นพันคำ ให้หัวหน้าช่าง 20 นาย คุมคนมายังเมืองเชียงใหม่ และทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดทั้ง3 แห่งนี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2177 และโปรดให้งดเก็บอากรบ่อนเบี้ยของคลังเป็นเวลา 3 ปี โดยเก็บเงินจำนวนนั้นบำรุงวัดวาอารามที่สำคัญ ๆ

ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงค์ (เจ้าชีวิตอ้าว ) ได้เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่แล้วในปี พ.ศ.2403 (จ.ศ.1222 ) ได้นิมนต์พระสฺวาธุเจ้าสิทธิ มาครองวัดแสนเมืองมาหลวง ( เป็นเจ้าอาวาส ) ได้ทำพิธีแห่พระสฺวาธุเจ้าสิทธิ ในวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม 13 ค่ำ และได้สร้างพระงาช้างกับหีบพระธรรมไว้เมื่อวันแรม 4 ค่ำ เดือน 4 ในปีเดียวกัน จุลศักราช 1223 (พ.ศ. 2404 ) ปีระกาตรีศก วันพุธ เพ็ญเดือน 5 โปรดให้มีงานฉลองพระไตรปิฏก ณ วัดหัวข่วงได้มีเครื่องไทยทานเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้นำไปถวายอง เช่น ช้างพระที่นั่งใส่ดาวเงินกูบคำ ม้าพระที่นั่งใส่เครื่องประดับดาวเงิน ดาบฝักทอง 1 เล่ม ดาบหลูบเงิน 1 เล่ม พระพุทธรูปทองคำ 1 องค์ พระพุทธรูปนาค 1 องค์ พระพุทธรูปเงิน 1 องค์

ต่อมาวัดแสนเมืองมาหลวง ( หัวข่วง ) ได้เจริญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะได้รับความอุปการะจากบรรดาเจ้านายในเมืองเชียงใหม่ ดังเช่นในสมัยพระเจ้าแก้วนวรัฐ พระองค์ได้ทรงสร้างธรรมหาเวสสันดรชาดก และชาดกต่าง ๆ ถวายไว้ที่วัดหัวข่วง พร้อมทั้งได้นิมนต์พระสงฆ์ไปเทศนาธรรมที่คุ้มทุกวันพระ

ในปี พ.ศ.2493 ได้มีผู้ขุดพบกรุพระรอดเณรจิ๋ว หรือเรียกว่าพระรอดหัวข่วง ในบริเวณอันเป็นที่ตั่งหอมณเฑียรธรรม (จากการขุดค้นจนทำให้หอมณเฑียรธรรมพังล้มเสียหายและถูกรื้อถอนไปแล้ว ) ปรากฏว่า เป็นพระเครื่องที่มีอภินิหารเป็นเลื่องลือ ในบรรดานักเลงพระเครื่องโดยทั่วไปอย่างมากเช่นเดียวกับพระรอดลำพูน

ลุถึง พ.ศ.๒๕๓๖ พระครูปลัดทรงสวัสดิ์ ปญฺญาวชิโร ได้มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ดำเนินการปรับพื้นที่ของวัดใหม่ทั้งหมดรวมทั้งสร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นใหม่

วันพฤหัสบดี ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีไจ้(ชวด) เดือน ๕ เหนือ จุลศักราช ๑๓๕๗ พระครูปลัดทรงสวัสดิ์ ปญฺญาวชิโร เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร นายสมทัย ศรีสุพรรณดิษฐ์ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยคุณนาย และญาติสนิท มิตรสหายทุกคน เป็นเจ้าภาพสร้างหอมณเฑียรธรรม สิ้นทุนทรัพย์ ๓,๑๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านหนึ่งแสนบาท) ภายหลังถูกปลวกกัดกินได้รับความเสียหาย สภาพภายในไม่สามารถใช้การได้

พ.ศ. ๒๕๔๙ พระครูปลัดทรงสวัสดิ์ ปญฺญาวชิโร พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร จึงได้ทำการรื้อถอนหอมณเฑียรธรรม และทำการสร้างขึ้นใหม่ ตามวัน ดิถี ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ (เดือน๗ ใต้) ปีเส็ด(จอ) จุลศักราช ๑๓๖๘ เวลา ๐๙.๒๙ น. ลักรณาราศีกรกฏ ประกอบด้วยสมโณฤกษ์ ทำพิธีลงเสาเอก เพื่อสร้างหอมณเฑียรธรรมหลังใหม่ โดยตั้งงบประมาณการไว้ 7,900,000 บาท(เจ็ดล้านเก้าแสนบาท) ขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ และยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเจริญพรบอกบุญมาครั้งนี้ด้วย

ปัจจุบันโบราณศิลปวัตถุที่สำคัญที่ยังเหลืออยู่ในวัดแห่งนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปปูนประธานในพระวิหาร และพระพุทธรูปสำริด หน้าตักกว้าง 1.88 เมตร สูง 2.63 เมตร ที่เป็นประธานในอุโบสถ ที่ชาวบ้านบางกลุ่มเรียกว่า พระแสนเมืองมาหลวง รวมทั้งยังมีพระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่เหลืออยู่ที่พอจะเป็นหลักฐานในการศึกษาได้

พระเจดีย์วัดแสนเมืองมาหลวง ( หัวข่วง ) พระเจดีย์นี้นับได้ว่าเป็นเจดีย์ก่ออิฐขนาดใหญ่ และมีทรวดทรงที่งดงามมากองค์หนึ่งในเมืองเชียงใหม่ ลักษณะเป็นเจดีย์สิบสองเหลี่ยมองค์ระฆังกลม เป็นแบบแผนของเจดีย์ที่นิยมสร้างกันมากในเมืองเชียงใหม่ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา เช่น เจดีย์พระธาตุดอยสุเทพ เจดีย์วัดอุโมงค์ เจดีย์วัดชมพู เจดีย์ร้างวัดแสนตาห้อย เจดีย์วัดพระธาตุเสด็จ เจดีย์พระธาตุลำปางหลวง เป็นต้น ซึ่งเป็นศิลปกรรมผสมระหว่างศิลปะเชียงแสนกับสุโขทัย ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชต่อพระเจ้าเมืองแก้ว ในยุคนี้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ทั้งทางสุโขทัยและอยุธยา แต่เนื่องจากการที่พม่าตีเมืองเชียงใหม่จึงทำให้เจดีย์ได้รับความเสียหายบางส่วน เมื่อได้รับการซ่อมแซมแล้ว ทำให้ส่วนฐานนับตั้งแต่ฐานหน้ากระดานสามชั้นขึ้นไปจนถึงฐานบัวลูกแก้ว เป็นลักษณะพิเศษที่ไม่เคยพบเห็นในเจดีย์ทรงกลมทั้งแบบพื้นเมืองล้านนาและแบบเชียงใหม่

พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 1.88 เมตร สูงทั้งฐาน 2.63 เมตร องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ เหนือฐานหน้ากระดานเกลี้ยง แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระหนุป้าน พระโขนงโก่งเป็นสัน พระเนตรเรียวเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียวบาง ขมวดพระเกศาเล็กเรียงติดกันแน่น แนวขมวดพระเกศาหยักลงกลางพระนลาฏ ไม่มีแนวเส้นไรพระศก พระรัศมีเป็นรูปเปลวไฟ ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภีปลายตัดตรง ด้านล่างมีแนวเส้นรัดประคตคาดเป็นแนวยาวหยักขึ้นตรงกลางพระนาภี ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวไล่เลี่ยกัน พุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้คล้ายคลึงกับ พระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด วัดพวกหงส์ ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2036 และเจ้าเก้าตื้อวัดสวนดอก ซึ่งพระเจ้าเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2057 แต่พระพุทธรูปทั้งสององค์เมื่อมาเปรียบเทียบยังมีอายุรุ่นหลัง เพราะมีไรพระศกปรากฏอยู่บนกรอบพระนลาฏ แนวเส้นไรพระศกดังกล่าวนี้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะล้านนาระยะที่ 3 หลักฐานที่เก่าที่สุด และมีจารึกกำกับคือ พระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด ที่วัดพระเจ้าเม็งราย ซึ่งหล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2024 ส่วนพระพุทธรูปปางมารวิชัยวัดหัวข่วงไม่มีแนวเส้นไรพระศก และยังปรากฏอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่อยู่มากโดยเฉพาะเค้าพระพักตร์ทางด้านข้าง และนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ที่ยาวไล่เลี่ยกันนั้น ได้รับอิทธิพลทางด้านคตินิยมเกี่ยวกับลักษณะมหาบุรุษ ที่พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูปสุโขทัย เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศากยมุนีอิทธิพลดังกล่าวได้ผ่านเข้ามายังล้านนาราวต้นรัชกาลพระเจ้าติโลกราช

ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระพุทธรูปองค์นี้จึงควรจะหล่อขึ้นในระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 20 หรืออย่างช้าราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ระหว่างต้นรัชกาลพระเจ้าติโลกราช และจัดเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาระยะที่ 3

สำหรับชื่อว่า “ วัดหัวข่วง ” น่าจะเป็นชื่อที่ได้มาในสมัยหลังอาจจะร่วมสมัยกับคติการสร้างวัดหัวข่วงทั่งล้านา เพราะมีทุกจังหวัดทั่วล้านนาตลอดถึงเชียงตุง เชียงรุ้ง และเมืองยอง โดยเรียกตามที่ตั้งของวัด คือ ทิศเหนือของข่วง ( หัว = ทิศเหนือ, ข่วง = สนามของเมือง ) วัดหัวข่วง แปลว่า วัดที่ตั้งอยู่ประตูเมืองด้านเหนือ ติดกับข่วง ( สนามหลวง ) และคุ้มของเจ้าเมือง

ดังนั้น วัดหัวข่วงในอดีตจึงเป็นวัดที่มีความสำคัญ และมีธรรมเนียมตลอดจนแนวคิดให้ชื่อวัดตามที่ตั้ง และใช้วัดหัวข่วงประกอบพิธีทางศาสนาของชาวเมือง เมื่อมีประเพณีหลวงก็จะมาใช้วัดหัวข่วงประกอบพิธีกรรม หรือเมื่อมีการประชุม รวมทั้งเป็นตลาดนัด ชุมนุมฝึกหัดทหาร ฯลฯ เพราะมีเนื้อที่บริเวณกว้าง วัดหัวข่วงเชียงใหม่มีเนื้อที่ 93 ไร่ ( สมัยรัชกาลที่ 7 ) ปัจจุบันเหลือเนื้อที่แค่ 4 ไร่ 1 งาน 21 ตารางวา

ปรากฏชื่อในการสำรวจวัดของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ลำดับที่ ๕๐ ในนามเดิม คือวัดหัวข่วง(แสนเมืองมาหลวง) มีพระครูปลัดทรงสวัสดิ์ ปญฺญาวชิโร เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่
://www.lannatalkkhongdee.com/templeDetail.php?id=Temp0800012



โดย: ข้อมูลจาก www.lannatalkkhongdee.com (moonfleet ) วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:10:40:53 น.  

 
วัดแสนเมืองมาหลวง หรือวัดหัวข่วง

วัดแสนเมืองมาหลวง หรือวัดหัวข่วง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๕ ถนนพระปกเกล้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แต่เดิมมีชื่อว่าวัดลักขปุราคมาราม ถือได้ว่าเป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความสำคัญและได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนใน จ.เชียงใหม่ มานานร่วม ๖๐๐ ปี ในอดีตวัดหัวข่วงจัดเป็นวัดที่มีความสำคัญในฐานะวัดประจำเมืองวัดหนึ่งเพราะเป็นที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญทางศาสนาหรือการประชุมทัพ

จากประวัติในพงศาวดารโยนกระบุว่า วัดแสนเมืองมาหลวง เป็นวัดที่พญาเมืองแก้ว กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ลำดับที่ ๑๑ ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายแด่พญาแสนเมืองมาหรือพระอัยกาธิราช สร้างเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ พ.ศ.๒๐๖๔ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสร้างเจดีย์กว้าง ๘ วา สูง ๑๔ วา ๒ ศอก และทรงสร้างวิหาร อุโบสถ กุฏิ หอมณเทียรธรรม ถวายเพื่อเป็นอารามหลวง

ส่วนสาเหตุที่มีชื่อเรียกว่า “หัวข่วง” เป็นเพราะที่ดินในละแวกนี้แต่เดิมเป็นที่ของเจ้านาย เชื้อพระวงศ์ เป็นที่ราบกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่สร้างวัดนั้นแต่เดิมใช้เป็นที่ชุมนุมไพร่พลยามศึกสงคราม และเป็นที่ประกอบพิธีตามวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ จึงทำให้วัดมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวข่วง ปัจจุบันวัดนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด ๔ ไร่ ๒ งาน ๑๐ ตารางวา มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีที่กัลปนาหรือที่ธรณีสงฆ์

ในสมัยที่พระเจ้าเมืองแก้ว ทรงปกครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนทำให้ได้รับคำกล่าวถึงว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในล้านนา แต่เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไปมีการทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงอาณาเขตเกิดขึ้น ส่งผลทำให้วัดวาอารามที่มีความสำคัญในการประกอบพิธีกรรมหลายแห่งได้รับความเสียหายไปเป็นจำนวนมาก จนต้องมีการรื้อถอนและบูรณะขึ้นมาใหม่ทดแทนของเดิมที่พังเสียหายไป

วัดหัวข่วงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งใน พ.ศ.๒๕๓๖ โดยการนำของพระครูปลัดทรงสวัสดิ์ ปัญญาวชิโร (ครูบาแอ) โดยสร้างกุฏิสงฆ์ บูรณะพระเจดีย์ อุโบสถ พระวิหารหลวงรวมทั้งพระประธานในวิหารหลวงซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่และงดงามมากองค์หนึ่งของเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ขณะนี้ยังจัดสร้างหอมณเฑียรธรรมหลังใหม่ขึ้นทดแทนหลังเก่าที่พังเสียหายลงไปจากการขุดหาวัตถุโบราณของประชาชนบริเวณใต้หอมณเฑียรธรรมหลังเก่า

ภายในวัดแสนเมืองมาจะประกอบไปด้วยวิหารหลวงที่สร้างขึ้นมาใหม่ทดแทนวิหารหลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ โดยเริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๔ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ ปีมะโรง และเสร็จสิ้นใน พ.ศ.๒๕๔๗ ตัววิหารเป็นศิลปกรรมแบบพื้นเมืองของล้านนา ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรัตนบุรีสลีแสนเมืองมาซึ่งเป็นพระประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๖ เมตร สูง ๙ เมตร

บริเวณด้านข้างวิหารหลวงเป็นอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่ใน พ.ศ.๒๕๓๗ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าศรีเมืองมาซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดเท่าพระองค์จริงของพระเจ้าแสนเมืองมาในอดีตซึ่งมีอายุในการก่อสร้างกว่า ๕๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้บริเวณด้านหลังวิหารหลวงยังเป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์หัวข่วงซึ่งเป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่แบบเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมาเช่นเดียวกับรูปหล่อพระเจ้าศรีเมืองมา

ทั้งนี้ภายในบริเวณวัดยังสร้างกุฏิสงฆ์ใหม่ในลักษณะศิลปะล้านนาประยุกต์ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นที่วิจิตรงดงาม นอกจากนี้วัดยังจัดสร้างหอมณเฑียรธรรมหลังใหม่ขึ้นมาทดแทนหลังเก่าที่พัง ขณะก่อสร้างไปแล้วกว่าร้อยละ ๘๐ พร้อมกันนี้ยังสร้างหอระฆังใหม่ด้านข้างเจดีย์หัวข่วง
-----------------
ที่มาของข้อมูล
//www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538685307&Ntype=40



โดย: วัดแสนเมืองมาหลวง หรือวัดหัวข่วง (moonfleet ) วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:10:47:04 น.  

 
วัดหัวข่วงเป็นวัดที่สวยงามมาก และมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่น่าค้นหา และน่าบันทึกไว้โดยเฉพาะ เวลาที่วัดมีงานอะไรก็ตามจะมีผู้คนมามากมายทั้งกทม. หรือคนบนพื้นที่สูงมาร่วมงานมากมาย แล้วเจอกันโอกาสหน้าค่ะ


โดย: ZAZA.com IP: 118.172.51.218 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2552 เวลา:15:22:34 น.  

 
ผ่อ ภาพวัด หัวข่วง สุดยอดด แต๊ ๆๆ



เลย คับบ งาม ไปกู่ ฮูป ผมก่



เกย เป๋น เณร วัด นี่ มา ก่อนน



ม่วน แต๊ ๆ อยุ่ กับ ตุ๊ ป๊อ ภูมิ ไจ๋




โดย: ปี้หน้อย IP: 112.142.60.189 วันที่: 20 ธันวาคม 2552 เวลา:22:57:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.