" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 
19 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
027.01 วัดบุพพาราม ถนน.ท่าแพ อำเภอ.เมือง จังหวัด เชียงใหม่

วัดบุพพาราม
ถนน.ท่าแพ อำเภอ.เมือง จังหวัด เชียงใหม่




1073. วัดบุพพาราม ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดบุพพาราม
๑๔๓ ถนนท่าแพ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ. เชียงใหม่
โทร. ๐๕๓-๒๗๖-๗๗๑, ๐๕๓-๒๗๕-๑๔๒

วัดบุพพารามนั้น หรือวัดเม็ง หรือ วัดอุปปา หรือ วัดอุปาราม

:คำว่า "บุพพาราม" นั้น ความหมายคือ "ทิศตะวันออก"
ฉะนั้นชื่อ วัดบุพพาราม จึงแปลว่า อารามด้านทิศตะวันออก ทั้งนี้ โดยถือเอานิมิตว่าได้ตั้งอยู่ทางทิศบูรพาแห่งนพีสีราชธานี ซึ่งเป็นตำแหน่ง “ มูลเมือง ” ตามคัมภีร์มหาทักษา





1072. พระวิหารหลังเล็ก แห่ง วัดบุพพาราม

พ.ศ.2362 เจ้าหลวงธรรมลังกา โปรดให้สร้างวิหารหลังเล็ก เครื่องไม้ศิลปะล้านนา

พระวิหารหลังเล็ก มีอายุโดยประมาณ ( พ.ศ.2552 - 2362) น่าจะเป็น 190 ปี นะครับ

เป็นศิลปแบบล้านนาไทย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไชยลาภประสิทธิโชค (พระประธาน) ก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าตักกว้าง 7 ศอก สูง 9 ศอก

เจ้าแม่ทับทิมผสม ณ เชียงใหม่ บูรณะเมื่อ 100 ปีเศษ วัดนี้เจ้านายฝ่ายเหนือเป็นผู้บำรุง




1057. พระวิหารหลังเล็ก แห่ง วัดบุพพาราม


พระวิหารหลังเล็ก ซึ่งเป็นวิหารเครื่องไม้ศิลปะแบบล้านนา เจ้าหลวงช้างเผือกธรรมลังกาโปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๒ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไชยลาภประสิทธิโชค (พระประธาน) ซึ่งก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๗ ศอก สูง ๙ ศอก

เดิมวิหารหลังนี้มีอยู่ ๓ มุขด้วยกัน คือ มุขหน้าหันไปทางทิศเหนือ มุขหลังหันไปทางทิศใต้ และมุขข้างหันไปทางทิศตะวันออก

สำหรับวิหารหลังปัจจุบัน เป็นศิลปกรรมแบบล้านนา ด้านในประดิษฐานพระประธาน ๒ องค์ องค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ ก่อด้วยอิฐและปูน หน้าตักกว้าง ๗ ศอก สูง ๙ ศอก ได้รับการประดิษฐาน ณ วิหารหลังนี้มาโดยตลอดพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง หันหน้าไปทางทิศใต้ (หันหลังให้กับองค์แรก) ภายหลังเมื่อวิหารหลังเล็กได้รับการดัดแปลงแก้ไขในสมัยครูบาหลานหรือ ครูบาอินต๊ะพระพุทธรูปองค์นี้จึงได้รับการเคลื่อนย้ายไปประดิษฐานบนวิหารหลังใหญ่

ต่อมาเจ้าแม่ทิพผสม ณ เชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะวิหารหลังเล็ก เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๕ ปีขาล

ปัจจุบันวิหารหลังเล็กนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว

ล่าสุด พระพุทธิญาณ เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดองค์ปัจจุบันได้ทำการบูรณะซ่อมแซมในรูปเดิมและเสริมในบางส่วน คือ ปั้นมอม (สัตว์หิมพานต์) ๒ ตัว ไว้ที่บันได รวมทั้งบานประตูใหญ่ของวิหารซึ่งปั้นปูนเป็นเทพพนม

Source:http
://www.songsakarn.com/forum/viewthread.php?tid=1041





1058. ตัวมอม คู่ แห่ง พระวิหารหลังเล็ก วัดบุพพาราม

:ตัวมอม หรือ มอม เป็นสัตว์พาหนะของปัชชุนนเทวบุตร เทพแห่งฝน จึงใช้มอม ในการขอฝนต่อปัชชุนนเทวบุตร




1059. พระพุทธไชยลาภประสิทธิโชค พระประธาน แห่ง พระวิหารหลังเล็ก





1060. พระพุทธไชยลาภประสิทธิโชค พระประธานพระวิหารหลังเล็ก





1062. พระพุทธไชยลาภประสิทธิโชค แห่ง พระวิหารหลังเล็ก วัดบุพพาราม






1064. พระวิหารหลังใหญ่ แห่ง วัดบุพพาราม





1065. พระวิหารหลังใหญ่ แห่ง วัดบุพพาราม


พระวิหารหลังใหญ่ เป็นวิหารศิลปกรรมล้านนาซึ่งได้รับการประดับตกแต่งลวดลายปูนปั้นแบบพม่า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาปฏิมากร ศิลปกรรมล้านนาซึ่งหล่อด้วยทองแดงล้วนมีน้ำหนัก ๑ โกฏิ และสนธิ (ต่อ) ๘ แห่ง และมีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนขนาบซ้ายขวาอีก ๒ รูป โดยหล่อด้วยทองสำริดทั้งคู่

ภายในวิหารมีภาพเขียนพุทธประวัติและพระมหาเวสสันดรชาดก ซี่งเขียนด้วยสีฝุ่น

ประวัติของวิหารหลังใหญ่เท่าที่ทราบ คือ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์หรือเจ้าชีวิตอ้าว เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้บูรณะโดยเปลี่ยนเสาเดิม คือ ท่านได้รื้อหอเย็นในคุ้มหลวง แล้วนำเสาเหล่านั้นมาทำเป็นเสาพระวิหาร

ต่อมาในสมัยของครูบาหลาน (อินต๊ะ) พร้อมด้วยญาติโยมได้ทำการบูรณะพระวิหารขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

จากนั้น พระครูอุดมกิตติมงคลเจ้าอาวาสขณะนั้นได้พยายามปรับปรุงเรื่อยมาไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนบานประตูใหญ่-เล็กและแกะสลักให้สวยงามแบบศิลปะล้านนา...

Source
://www.songsakarn.com/forum/viewthread.php?tid=1041

เนื่องจากวันที่ได้มาวัดบุพพาราม พระวิหารใหญ่ปิด จึงได้แต่นำรูปบานประตู และ หน้าต่างมาให้ชมได้เท่านั้น ที่เหลือก็คงจะต้อง จินตนาการตามคำบรรยายนะครับ โอกาสข้างหน้าได้แต่หวังว่าจะได้มีโอกาสได้เข้าไปในวิหาร เหมือนกับอีกหลายๆวัดที่ไม่สามารถเข้าไปไหว้พระประธาน และ ชมภาพจิตรกรรมภายในวิหารได้เช่นกัน




1066. 1 ในบานหน้าต่างของ พระวิหารหลังใหญ่ แห่ง วัดบุพพาราม





1067. 1 ในบานหน้าต่างของ พระวิหารหลังใหญ่ แห่ง วัดบุพพาราม





1068. 1 ในบานหน้าต่างของ พระวิหารหลังใหญ่ แห่ง วัดบุพพาราม





1009. พระวิหารหลังเล็ก และ พระวิหารหลังใหญ่ แห่ง วัดบุพพาราม




1010. หอมณเฑียรธรรม แห่ง วัดบุพพาราม

วัดบุพพาราม หรือ วัดเม็ง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดอุปปา ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๓ ถนนท่าแพ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔ไร่ ๓ งาน ๒๙ ตารางวา

วัดบุพพารามสร้างขึ้นในสมัยพระญาเมืองแก้ว กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ ๑๒ ราชวงศ์มังราย ( ครองราชย์ระหว่างปี พ . ศ . ๒๐๓๙ – ๒๐๖๘ ) ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงการสร้างบุพพารามว่า พระเจ้าติลกปนัดดาธิราช ( ราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราช คือพระญาเมืองแก้ว ) หลังจากที่ได้ราชาภิเษกแล้วในปีที่ ๒ ทรงโปรดให้สร้างอารามขึ้นอารามหนึ่งในหมู่บ้านที่พระราชอัยกา ครั้งเป็นยุพราชและพระบิดาของพระองค์เคยประทับมาก่อนเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง จุลศักราช ๘๕๘ โดยพระองค์ตั้งชื่ออารามนั้นว่า บุพพาราม แปลว่าอารามตะวันออก ทั้งนี้ โดยถือเอานิมิตว่าได้ตั้งอยู่ทางทิศบูรพาแห่งนพีสีราชธานี ซึ่งเป็นตำแหน่ง “ มูลเมือง ” ตามคัมภีร์มหาทักษา

ต่อมาในปีที่ ๓ ของการครองราชย์ ( ปีมะเมีย ) พระญาเมืองแก้วทรงโปรดให้สร้างปราสาทขึ้นองค์หนึ่ง ท่ามกลางมหาวิหารในอารามแห่งนั้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเงินพอย่างเข้าปีที่ ๔ แห่งการครองราชย์ พระญาเมืองแก้วทรงฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทองขมุศิลปะแบบล้านนา พร้อมกับหอมณเฑียรธรรมซึ่งโปรดให้สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังและประดับตกแต่งอย่างประณีตสวยงามเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกนอกจากนี้ยังมีการฉลองกุมารารามซึ่งพระนางสิริยสวดีราชเทวีพระราชชนนีของพระองค์ ได้สร้างไว้ที่พระราชมณเฑียรอันเป็นสถานที่ประสูติของพระญาเมืองแก้วในครั้งเดียวกันนั้นเอง

ในปีจุลศักราช ๘๖๖ ( พ . ศ . ๒๐๔๗ ) ปีฉลู เดือน ๘ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ พระญาเมืองแก้วทรงรับสั่งให้ทำการหล่อมหาพุทธรูปไว้ ณ วัดบุพพาราม ๑ องค์ ต่อมา ในปีขาลเดือน ๕ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ มีการหล่อพระมหาพุทธรูปด้วยทองแดงล้วน น้ำหนัก ๑ โกฏิ ซึ่งมีสนธิ ๘ แห่ง หรือข้อต่อ ๘ แห่ง ใช้เวลาสร้างทั้งสิ้น ๕ ปี คือ สำเร็จในปี จ . ศ . ๘๗๑ เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ วันพุธ โดยมีการฉลองอย่างใหญ่โตและได้รับการประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ ปัจจุบันนี้ คือ พระประธานในวิหารของวัดบุพพาราม จากนั้น วัดบุพพารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ . ศ . ๒๐๗๐

สำหรับอาณาเขตของวัดตามตำนานไม่ได้กล่าวไว้ว่ามีเนื้อที่เท่าใด จากการค้นคว้าข้อมูลของพระพุทธิญาณเจ้าอาวาสวัดบุพพารามในปัจจุบัน ( พ . ศ . ๒๕๓๙ ) ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ใจความว่าวัดอุปารามหรือบุพพารามมีเนื้อที่กว้างขวางมาก ทิศตะวันออกจดคลองแม่ข่าทิศตะวัดตกจดวัดมหาวัด อย่างไรก็ดี ปัจจุบันวัดบุพพารามหรือบุพพรามมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๒๙ ตารางวา ทิศเหนือติดกับถนนท่าแพ มีเนื้อที่ ๒ เส้น ๑๓ วา ทิศใต้ติดบ้านของเอกชน มีเนื้อที่ ๒ เส้น ๔ วา ทิศตะวันตกติดกับถนนท่าแพ ซอย ๒ ร่มโพธิ์ มีเนื้อที่ ๒ เส้น ๑๙ วา

ความสำคัญของวัดบุพพาราม คือ เคยเป็นที่สถิตของพระมหาสังฆราชปุสสเทวะ และนอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งมีประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ ( เดือน ๔ ภาคกลาง ) ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ประจำทุกปี

ปูชนียสถานที่สำคัญของวัดบุพพาราม ได้แก่

๑ . พระวิหารหลังเล็ก ซึ่งเป็นวิหารเครื่องไม้ศิลปะแบบล้านนา เจ้าหลวงช้างเผือกธรรมลังกาโปรดให้สร้างเมื่อ พ . ศ . ๒๓๖๒ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไชยลาภประสิทธิโชค ( พระประธาน ) ซึ่งก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๗ ศอก สูง ๙ ศอก เดิมวิหารหลังนี้มีอยู่ ๓ มุขด้วยกัน คือ มุขหน้าหันไปทางทิศเหนือ มุขหลังหันไปทางทิศใต้ และมุขข้างหันไปทางทิศตะวันออก สำหรับวิหารหลังปัจจุบัน เป็นศิลปกรรมแบบล้านนา ด้านในประดิษฐานพระประธาน ๒ องค์ องค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ ก่อด้วยอิฐและปูน หน้าตักกว้าง ๗ ศอก สูง ๙ ศอก ได้รับการประดิษฐาน ณ วิหารหลังนี้มาโดยตลอดพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง หันหน้าไปทางทิศใต้ ( หันหลังให้กับองค์แรก ) ภายหลังเมื่อวิหารหลังเล็กได้รับการดัดแปลงแก้ไขในสมัยครูบาหลานหรือ ครูบาอินต๊ะพระพุทธรูปองค์นี้จึงได้รับการเคลื่อนย้ายไปประดิษฐานบนวิหารหลังใหญ่ ต่อมาเจ้าแม่ทิพผสม ณ เชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะวิหารหลังเล็ก เมื่อประมาณปี พ . ศ . ๒๔๔๕ ปีขาล ปัจจุบันวิหารหลังเล็กนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วล่าสุด พระพุทธิญาณ เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดองค์ปัจจุบันได้ทำการบูรณะซ่อมแซมในรูปเดิมและเสริมในบางส่วน คือ ปั้นมอม ( สัตว์หิมพานต์ ) ๒ ตัว ไว้ที่บันได รวมทั้งบานประตูใหญ่ของวิหารซึ่งปั้นปูนเป็นเทพพนม

๒ . พระวิหารหลังใหญ่ เป็นวิหารศิลปกรรมล้านนาซึ่งได้รับการประดับตกแต่งลวดลายปูนปั้นแบบพม่า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาปฏิมากร ศิลปกรรมล้านนาซึ่งหล่อด้วยทองแดงล้วนมีน้ำหนัก ๑ โกฏิ และสนธิ ( ต่อ ) ๘ แห่ง และมีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนขนาบซ้ายขวาอีก ๒ รูป โดยหล่อด้วยทองสำริดทั้งคู่ภายในวิหารมีภาพเขียนพุทธประวัติและพระมหาเวสสันดรชาดก ซี่งเขียนด้วยสีฝุ่น ประวัติของวิหารหลังใหญ่เท่าที่ทราบ คือ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์หรือเจ้าชีวิตอ้าว เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้บูรณะโดยเปลี่ยนเสาเดิม คือ ท่านได้รื้อหอเย็นในคุ้มหลวง แล้วนำเสาเหล่านั้นมาทำเป็นเสาพระวิหาร ต่อมาในสมัยของครูบาหลาน ( อินต๊ะ ) พร้อมด้วยญาติโยมได้ทำการบูรณะพระวิหารขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จากนั้น พระครูอุดมกิตติมงคลเจ้าอาวาสได้พยายามปรับปรุงเรื่อยมาไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนบานประตูใหญ่ - เล็กและแกะสลักให้สวยงามแบบศิลปะล้านนา

๓ . พระอุโบสถ ตามที่สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่าเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา คฤหปตานี “ คุณแม่วันดี สุริยา ” เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ โดยทำซุ้มโขงให้เป็นศิลปะล้านนาผสมมอญ อนึ่ง พระอุโบสถหลังนี้มีขนาดเล็กและไม่มีใบเสมาเป็นเครื่องหมายเหมือนอุโบสถที่สร้างขึ้นในปัจจุบันแต่จะใช้ก้อนหินหรือเสาหินทรายแดงเป็นนิมิตในการผูกลูกนิมิตเพื่อแสดงเขตของพัทธสีมาซึ่งมีความกว้าง ๕ เมตร และยาว ๒๐ เมตร ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสิงห์หนึ่งศิลปะเชียงแสนซึ่งเป็นพระประธานและพระพุทธรูปปูนปั้นก่อด้วยอิฐอีก 2 องค์ ซึ่งเป็นของโบราณ

๔. พระเจดีย์ ศิลปะล้านนา เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานขององค์พระเจดีย์กล่าวว่า พระญาเมืองแก้วสร้างพระเจดีย์ขึ้นใน ปี จ.ศ.๘๗๒ ปีมะแม โดยมีความกว้างประมาณ ๑๒ ศอก สูงประมาณ ๓๐ ศอก ปิดด้วยทองทั้งองค์ ในครั้งนั้น คณะสงฆ์ และเหล่าศรัทธาต่างเปลื้องอาภรณ์เครื่องประดับเป็นเครื่องบูชาเพื่อเป็นบุญกุศลและเป็นการถวายทานแด่พระพุทธศาสนา การก่อสร้างใช้เวลารวม ๓ เดือนจึงสำเร็จ โดยขณะที่การก่อสร้างดำเนินอยู่นั้นมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นหลายประการ

อนึ่ง การบูรณะองค์พระเจดีย์โดยหลวงโยนวิจิตร(หม่อนตะก่า อุปโยคิน) คือ ท่านได้สละทรัพย์สินส่วนตัวเสริมสร้างองค์เจดีย์ทั้งองค์ในปี จ.ศ.๑๒๖๐ (พ.ศ.๒๔๔๑) โดยเปลี่ยนรูปทรงเจดีย์ใหม่ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ขยายฐานให้กว้าง ๓๘ ศอก ความสูง ๔๕ ศอก มีฉัตรขนาดเล็กจำนวน ๔ ฉัตร รวมทั้งมีต้นดอกไม้เงิน-ดอกไม้ทอง อย่างละ ๔ ต้น และมีฉัตรขนาดใหญ่ตรงยอดสูดขององค์เจดีย์ ๑ ฉัตร พิธียกฉัตรมีขึ้นในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ปลายปี พ.ศ.๒๔๔๑

ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ พระพุทธิญาณ (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน) ได้ย้ายมาจากวัดเชตวันและได้ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มลงมือบูรณะในวันพฤหัสบดีแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู จ.ศ.๑๓๒๓ ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๔ สำเร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๕ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันพฤหัสบดี รวมเวลาที่ทำการบูรณะ ๔ เดือนกับอีก ๖วัน

๕. บ่อน้ำทิพย์ เดิมเป็นบ่อน้ำในพระราชอุทยานของพระเจ้าติโลกราช มีมาก่อนการสร้างวัดบุพพาราม (จ.ศ.๘๕๔) เมื่อพระเจ้าติลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) ได้ทรงสร้างพระอารามขึ้นในพระราชอุทยาน ได้ใช้น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สรงพระบรมสารีริกธาตุ ปัจจุบันทางราชการใช้น้ำในบ่อนี้ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์บ่อหนี่ง ในจำนวนบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักร เพื่อใช้ในพิธีสำคัญ ๆ เช่น ในพระราชพิธีพุทธาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในวาระครบ ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ หรือเมื่อครั่งเจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ราชวงศ์มังรายได้อาราธนาพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทองมายังวัดบุพพารามเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำทำการสักการะในวันเพ็ญเดือน ๔ ใต้ เดือน ๖ เหนือ และในปัจจุบัน ประเพณีการสรงน้ำพระบรมธาตุวัดบุพพารามยังดำเนินอยู่เป็นประจำทุกปี

๖. หอมณเฑียรธรรม เป็นมณฑปปราสาทจัตุรมุขทรงล้านนา ๒ ชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ สำเร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระราชทานนามว่า “ พระพุทธบุพพาภิมงคล ภปร. ” และพระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ แกะด้วยไม้สักทั้งองค์ สำหรับชั้นล่างจัดเป็นห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนาเพื่อรวบรวมวัตถุโบราณของพื้นเมืองต่าง ๆ

๗. วิหารพระเจ้าทันใจ ไม่ปรากฏวันเดือนปีที่สร้างอย่างแน่ชัด แต่จากการสอบถามผู้สูงอายุได้ความว่าพ่อน้อยสุข สุขเกษม พร้อมด้วยลูกหลานเป็นศรัทธาถวายพร้อมพระเจ้าทันใจ โดยใช้เวลาสร้างเพียงวันเดียวและทำการฉลองสมโภชพร้อมทั้งเจริญพระพุทธมนต์ อายุการก่อสร้างประมาณ ๑๔๐-๑๕๐ ปี นับว่าเป็นของเก่าแก่คู่กับวัดอีกอย่างหนึ่งภายในวิหารพระเจ้าทันใจ เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจและพระประจำวันเกิด

๘. วิหารครูบาศรีวิชัย ภายในประดิษฐานรูปปั้นของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้วัดบุพพารามเป็นโบราณสถานตั้งแต่วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๒

Source
://idealanna.igetweb.com/index.php?mo=3&art=69401




1011. หอมณเฑียรธรรม แห่ง วัดบุพพาราม





1012. หอมณเฑียรธรรม แห่ง วัดบุพพาราม




1013. หอมณเฑียรธรรม แห่ง วัดบุพพาราม





1014. ตัวมอม แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม ทิศตะวันตก





1015. มกรคายพญานาค 5เศียร แห่ง บันไดหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม ทิศตะวันตก

:มกร หรือ เบญจลักษณ์ เป็นสัตว์ตามความเชื่อของพม่า ล้านนา สยาม และเขมร เรียกอีกอย่างว่า ตัวสำรอก เนื่องจากในงานศิลปะ มกรมักจะคายหรือสำรอกเอาวัตถุใดๆออกมาทุกครั้ง





1016. มกร > มกร > มกร คาย พญานาค แห่ง บันไดหอมณเฑียรธรรม




1018. พระพุทธบุพพาภิมงคล ภปร. แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1017. พระพุทธบุพพาภิมงคล ภปร. แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1020. พระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม
:หรือ พระเจ้าองค์ขาวหันหน้าไปทางทิศตะวันออก




1030. พระแก้วหยก แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม
:พระแก้วหยก หันหน้าไปทางทิศตะวันตก





1019. ศิลปะกรรม เรื่องราวพระพุทธเจ้า บน เพดาน แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม ที่สวยงาม วิจิตร พิสดาร





1021. 1 ในภาพจิตรกรรม บนเพดาน แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1022. 1 ในภาพจิตรกรรม บนเพดาน แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1023. 1 ในภาพจิตรกรรม บนเพดาน แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1024. 1 ในภาพจิตรกรรม บนเพดาน แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1025. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1026. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1027. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1028. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1029. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1031. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1032. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1033. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1034. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1035. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1036. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1037. 1 ในศิลปกรรมทางพุทธศาสนา แห่ง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม





1038. บันไดทางขึ้น - ทางลง หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม ด้านทิศเหนือ





1039. หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม ถ.ท่าแพ อ.เมือง จังหวัด เชียงใหม่





1040. หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม ถ.ท่าแพ อ.เมือง จังหวัด เชียงใหม่





1041. พระเจดีย์ แห่ง วัดบุพพาราม ถ.ท่าแพ อ.เมือง จังหวัด เชียงใหม่

พระเจดีย์ ศิลปะล้านนา เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานขององค์พระเจดีย์กล่าวว่า พระญาเมืองแก้วสร้างพระเจดีย์ขึ้นใน ปี จ.ศ.๘๗๒ ปีมะแม โดยมีความกว้างประมาณ ๑๒ ศอก สูงประมาณ ๓๐ ศอก ปิดด้วยทองทั้งองค์ ในครั้งนั้น คณะสงฆ์ และเหล่าศรัทธาต่างเปลื้องอาภรณ์เครื่องประดับเป็นเครื่องบูชาเพื่อเป็นบุญกุศลและเป็นการถวายทานแด่พระพุทธศาสนา การก่อสร้างใช้เวลารวม ๓ เดือนจึงสำเร็จ โดยขณะที่การก่อสร้างดำเนินอยู่นั้นมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นหลายประการ

อนึ่ง การบูรณะองค์พระเจดีย์โดยหลวงโยนวิจิตร(หม่อนตะก่า อุปโยคิน) คือ ท่านได้สละทรัพย์สินส่วนตัวเสริมสร้างองค์เจดีย์ทั้งองค์ในปี จ.ศ.๑๒๖๐ (พ.ศ.๒๔๔๑) โดยเปลี่ยนรูปทรงเจดีย์ใหม่ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ขยายฐานให้กว้าง ๓๘ ศอก ความสูง ๔๕ ศอก มีฉัตรขนาดเล็กจำนวน ๔ ฉัตร รวมทั้งมีต้นดอกไม้เงิน-ดอกไม้ทอง อย่างละ ๔ ต้น และมีฉัตรขนาดใหญ่ตรงยอดสูดขององค์เจดีย์ ๑ ฉัตร พิธียกฉัตรมีขึ้นในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ปลายปี พ.ศ.๒๔๔๑

ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ พระพุทธิญาณ (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน) ได้ย้ายมาจากวัดเชตวันและได้ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มลงมือบูรณะในวันพฤหัสบดีแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู จ.ศ.๑๓๒๓ ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๔ สำเร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๕ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันพฤหัสบดี รวมเวลาที่ทำการบูรณะ ๔ เดือนกับอีก ๖วัน

Source
://idealanna.igetweb.com/index.php?mo=3&art=69401





1042. วัดบุพพาราม

วัดบุพพาราม

วัดบุพพารามเป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ พระเมืองแก้วกษัตริย์ราชวงศ์มังรายโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.2039 บริเวณที่เป็นคุ้มของพระญาติโลกราช

(Moonfleet : นับถึงปี พ.ศ.2552 วัดบุพพารามมีอายุได้ 513 ปี)

เมื่อนครเชียงใหม่ฟื้นฟูบ้านเมือง เจ้าหลวงเชียงใหม่และอาณาประชาราษฏร์ ได้บูรณะวัดบุพพารามให้เจริญรุ่งเรืองสืบมา

พ.ศ.2362 เจ้าหลวงธรรมลังกา โปรดให้สร้างวิหารหลังเล็ก เครื่องไม้ศิลปะล้านนา

ส่วนพระวิหารหลังใหญ่ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ โปรดให้สร้าง


ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชมหาราช ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ได้สร้างหอมณเฑียรธรรม เพื่อถวายเป็นราชกุศล

72 พรรษา 5 ธันวาคม 2542
พระราชพุทธิญาณ เจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ผู้สร้างถวาย






1043. พระพุทธรูป แห่ง พระเจดีย์ วัดบุพพาราม ด้านทิศเหนือ





1044. พระพุทธรูป แห่ง พระเจดีย์ วัดบุพพาราม ด้านทิศตะวันตก





1048. พระพุทธรูป แห่ง พระเจดีย์ วัดบุพพาราม ด้านทิศใต้





1045. โรงครัว หอฉัน วัดบุพพาราม





1046. พระเจดีย์ แห่ง วัดบุพพาราม





1047. สีหราช แห่ง พระเจดีย์ วัดบุพพาราม





1049.





1050. สิงหราช แห่ง มุมพระเจดีย์ วัดบุพพารม ด้าน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ





1051. ..... วัดบุพพาราม : อารามแห่งทิศตะวันออก





1052. บ่อน้ำทิพย์ แห่ง วัดบุพพาราม

บ่อน้ำทิพย์ เดิมเป็นบ่อน้ำในพระราชอุทยานของพระเจ้าติโลกราช มีมาก่อนการสร้างวัดบุพพาราม (จ.ศ.๘๕๔) เมื่อพระเจ้าติลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) ได้ทรงสร้างพระอารามขึ้นในพระราชอุทยาน ได้ใช้น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สรงพระบรมสารีริกธาตุ

ปัจจุบันทางราชการใช้น้ำในบ่อนี้ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์บ่อหนี่ง ในจำนวนบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักร เพื่อใช้ในพิธีสำคัญ ๆ เช่น ในพระราชพิธีพุทธาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในวาระครบ ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐

หรือเมื่อครั่งเจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ราชวงศ์มังรายได้อาราธนาพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทองมายังวัดบุพพารามเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำทำการสักการะในวันเพ็ญเดือน ๔ ใต้ เดือน ๖ เหนือ และในปัจจุบัน ประเพณีการสรงน้ำพระบรมธาตุวัดบุพพารามยังดำเนินอยู่เป็นประจำทุกปี





1053. หอมณเฑียร แห่ง วัดบุพพาราม มุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้




1054. หอมณเฑียร แห่ง วัดบุพพาราม




1056. หอมณเฑียร แห่ง วัดบุพพาราม





1055. หอมณเฑียร แห่ง วัดบุพพาราม





Moonfleet ได้มาเยือนเป็นครั้งที่ 2 (จากหลายๆครั้ง) วัดบุพพาราม
ถนน.ท่าแพ อำเภอ.เมือง จังหวัด เชียงใหม่

วันอาทิตย์ ที่ 18 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2552





นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง


Create Date : 19 ตุลาคม 2552
Last Update : 19 ตุลาคม 2552 9:52:24 น. 2 comments
Counter : 6449 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ


โดย: home4best วันที่: 19 ตุลาคม 2552 เวลา:8:19:53 น.  

 
งามปุณญาปารมีศรีเจียงแสน ทั่วถึงแคว้นนพบุรีศรีเจียงใหม่ อนุโมทนาบุญตวยหนาเจ้า


โดย: แก้วกันยา IP: 223.207.98.187 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2554 เวลา:1:39:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.