Group Blog
 
 
มกราคม 2561
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
23 มกราคม 2561
 
All Blogs
 

Tech Support







     บาร์โค้ด (barcode)หรือในภาษาไทยเรียกว่า "รหัสแท่ง" คือ การแทนข้อมูลที่เป็นรหัสเลขฐานสอง (Binarycodes) ในรูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้างของแถบที่ต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสงเพื่ออ่านข้อมูลเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์ ระบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลกการนำเข้าข้อมูลจากรหัสแถบของสินค้าเป็นวิธีที่รวดเร็วและความน่าเชื่อถือได้สูงและให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้ดี


     ทั้งนี้ เทคโนโลยีบาร์โค้ด ถูกนำมาใช้ทดแทนในส่วนการบันทึกข้อมูล (DataEntry) ด้วยคีย์บอร์ด ซึ่งมีอัตราความผิดพลาดอยู่ประมาณ1 ใน 100 หรือบันทึกข้อมูลผิดพลาดได้ 1 ตัวอักษร ในทุกๆ 100 ตัวอักษร แต่สำหรับระบบบาร์โค้ดอัตราการเกิดความผิดพลาดจะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 10,000,000 ตัวอักษรเลยทีเดียวนี่จึงเป็นเหตุผลที่นิยมนำมาใช้กันแพร่หลายทั่วโลก

     สำหรับระบบบาร์โค้ดจะใช้ควบคู่กับเครื่องอ่าน ที่เรียกว่า เครื่องยิงบาร์โค้ด (Scanner) ซึ่งเป็นเป็นตัวอ่านข้อมูล ที่อยู่ในรูปรหัสแท่งเป็นข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน



ประวัติการประดิษฐ์บาร์โค้ด


     บาร์โค้ด (barcode) ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากฝีมือการคิดประดิษฐ์ของNorman Joseph Woodland และ Bernard Silver สองศิษย์เก่าของ Drexel Institute of Technology ในเมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา โดยจุดประกายของการประดิษฐ์บาร์โค้ดเริ่มต้นจาก Wallace Flint จาก Harvard Business School ในปี ค.ศ.1932  ซึ่งเขาได้เสนอการเลือกสินค้าที่ต้องการจากรายการ โดยใช้บัตรเจาะรูเพื่อแบ่งหมวดหมู่เดียวกัน แต่ความคิดดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้ถูกสานต่อ

     จนกระทั่ง Bernard Silver ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาอยู่ เกิดบังเอิญไปได้ยินประธานบริษัทค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภครายหนึ่งในเมืองฟิลาเดลเฟีย ปรึกษากับคณบดี ว่าทางมหาวิทยาลัยน่าจะส่งเสริมให้มีการทดลองเกี่ยวกับระบบจัดเก็บและอ่านข้อมูลสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจค้าปลีกในการทำสต็อก และด้วยความที่ Bernard ไม่ได้ฟังแบบเข้าหูขวาทะลุหูซ้ายเขาจึงนำสิ่งที่ได้ยินกลับมาครุ่นคิด และชักชวนให้ศิษย์ผู้พี่ Norman Joseph Woodland มาร่วมกันทำฝันให้เป็นจริง

     และในปี ค.ศ.1952 ทั้งคู่ก็ให้กำเนิดบาร์โค้ด หลังพยายามทดลองประดิษฐ์บาร์โค้ดอยู่นานหลายปี และได้มีการออกสิทธิบัตรบาร์โค้ด ขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้นเอง โดยบาร์โค้ดชนิดแรกที่ทั้งสองผลิตขึ้นนั้นไม่ได้เป็นลายเส้นอย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน หากแต่มีลักษณะคล้าย แผ่นปาเป้าที่ประกอบด้วยวงกลมสีขาวซ้อนกันหลายๆ วง บนพื้นหลังสีเข้ม ทว่าผลงานครั้งนั้นก็ยังไม่ถูกใจทั้งสองเท่าที่ควร


     แต่กระนั้น ร้านค้าปลีกในเครือ Kroger ที่เมืองซินซินนาติ มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำเอาระบบบาร์โค้ดแบบแผ่นปาเป้าไปใช้เป็นแห่งแรกของโลก ในปี ค.ศ.1967 

     ต่อมาได้มีการพัฒนา บาร์โค้ดและประดิษฐ์ เครื่องแสกน บาร์โค้ดขึ้น และใช้งานเป็นครั้งแรกในโลกที่ Marsh’s ซูเปอร์มาร์เก็ต ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1974 และ ในวันที่ 26 เดือนนั้น หมากฝรั่ง Wrigley's Juicy Fruit  ก็กลายเป็นสินค้าชิ้นแรกในโลกที่ถูกสแกน บาร์โค้ดเพราะมันเป็นสินค้าชิ้นแรกที่ถูกหยิบขึ้นจากรถเข็นของลูกค้าคนแรกของร้านในวันนั้น




วิวัฒนาการบาร์โค้ด

     แต่เดิมนั้น บาร์โค้ดจะถูกนำมาใช้ในร้านขายของชำและตามปกหนังสือต่อก็เริ่มมาพบในร้านอุปกรณ์ประกอบรถยนต์และร้านอุปโภคบริโภคทั่วไป ในแถบยุโรปรถบรรทุกทุกคัน ที่จะต้องวิ่งระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนี จะต้องใช้แถบรหัสบาร์โค้ดที่หน้าต่างทุกคัน เพื่อใช้ในการแสดงใบขับขี่ ใบอนุญาตและน้ำหนักรถบรรทุก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถตรวจได้ง่ายและรวดเร็วในขณะที่รถลดความเร็ว เครื่องตรวจจะอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ดและแสดงข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทันที

     ปัจจุบันวิวัฒนาการของบาร์โค้ดพัฒนาไปมากทั้งรูปแบบและความสามารถในการเก็บข้อมูล โดยบาร์โค้ดที่ใช้ในยุคสมัยนี้มีทั้งแบบ1 มิติ 2 มิติ และ  3 มิติ แต่ที่เราใช้กันทั่วไปในสินค้านั้นเป็นแบบมิติเดียว บันทึกข้อมูลได้จำกัดตามขนาดและความยาว โดยบาร์โค้ด 2 มิติจะสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแบบอื่นๆ มาก และขนาดเล็กกว่ารวมทั้งสามารถพลิกแพลงการใช้งานได้มากกว่า ขนาดที่ว่าสามารถซ่อนไฟล์ใหญ่ๆทั้งไฟล์ลงบนรูปภาพได้เลยทีเดียว

     อย่างไรก็ตาม บาร์โค้ด 2 มิติ ก็ยังไม่เสถียรพอทำให้การนำมาใช้งานหลากหลายเกินไปจนอาจเกิดปัญหาการใช้งานร่วมกันและต้องใช้เครื่องมือเฉพาะของมาตรฐานนั้นๆในการอ่าน ซึ่งในปัจจุบันมีความพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานของบาร์โค้ด 2 มิติโดยกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิคส์ และ อุตสาหกรรมยา/เครื่องมือแพทย์ที่มีความต้องการใช้งานบาร์โค้ดที่เล็กแต่บรรจุข้อมูลได้มากจนได้บาร์โค้ดลูกผสมระหว่าง 1 มิติกับ 2 มิติขึ้นมา ในชื่อเดิมคือRSS Reduce Space Symbol หรือชื่อใหม่คือ GS1 DataBar

     สำหรับประเทศไทยเคยมีการทดลองใช้บาร์โค้ด 2 มิติในเชิงพาณิชย์ โดยค่ายมือถือยักษ์ใหญ่แต่ก็เงียบหายไป เนื่องจากขาดการสร้างความเข้าใจให้กับฐานลูกค้าที่ชัดเจน

     ส่วนบาร์โค้ด 3 มิติคือความพยายามที่จะแก้ข้อจำกัดของบาร์โค้ด ที่มีปัญหาในสภาวะแวดล้อมที่โหดๆ เช่นร้อนจัด หนาวจัด หรือมีความเปรอะเปื้อนสูง เช่น มีการพ่นสี พ่นฝุ่นตลอดเวลาซึ่งส่วนใหญ่จะพบการใช้บาร์โค้ด 3 มิติ ในอุตสาหกรรมหนักๆ เช่นเครื่องจักร เครื่องยนต์ โดยจะยิงเลเซอร์ลงบนโลหะเพื่อให้เป็นบาร์โค้ดหรือจัดทำให้พื้นผิวส่วนหนึ่งนูนขึ้นมาเป็นรูปบาร์โค้ด (Emboss) นั่นเอง






การเลือกใช้มาตรฐานบาร์โค้ด

     เริ่มต้นจากธุรกิจก็ต้องดูที่คู่ค้าที่ต้องมีการใช้โค้ดร่วมกัน มีการใช้แบบเจาะจง หากเราใช้ตามคู่ค้าของเราก็ย่อมเป็นผลดีต่อการใช้งานร่วมกัน แต่หากใช้เฉพาะภายในองค์กร ก็แล้วแต่ผู้ที่รับผิดชอบจะตัดสินใจว่าจะใช้แบบใด บางมาตรฐานจะต้องมี format ตายตัว บางครั้งใช้งานไม่สะดวก บางแบบมี format ที่ยืดหยุ่น ผู้ใช้สามารถเลือกพิมพ์ตามต้องการ ก็มีมาตรฐานกับงานที่นิยมใช้มีดังนี้

1. สำหรับสินค้าปลีก,ซุปเปอร์มาร์เก็ต : UPC, EAN, ISBN-13

2. ไปรษณีย์ (อเมริกา) : POSTNET

3. สำหรับงานลอจิสติก ชิบปิ้ง สินค้าคงคลังการกระจายสินค้า : Code128, Code39, Interleaved2of5 (ITF)





มาตรฐานบาร์โค้ด 1D

1. 2of 5 (non-interleaved)
ปัจจุบันพบน้อยมาก ยังมีการใช้อยู่บ้าง เช่นตั๋วสายการบิน ห้องแลบภาพ  2 of 5 เป็นโค้ดที่ใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด 2 of 5 (non-interleaved) และ 2 of 5 (interleaved) หลายคนมักสับสน เพราะ 2 of 5 (interleaved) ยังมีความนิยมแพร่หลายอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นคนละโค้ดกันและเครื่องหรือโปรแกรมอาจจะไม่สนับสนุน ดังนั้นต้องดูให้แน่ใจว่าเป็น non-interleaved หรือ interleaved

2. bookland
เป็นบาร์โค้ดรุ่นเก่าที่ใช้กับพวกหนังสือปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย ISBN-13 บางครั้งสองคำนี้จะใช้เรียกแทนกัน

3. Codabar 
เป็นบาร์โค้ด ที่ใช้ใน FED-EX, ห้องสมุดธนาคารเลือด

4. Code 128 
จัดเป็นโค้ดที่มีความนิยมมาก มันมีความหนาแน่นกะทัดรัด การบีบข้อมูล ที่ดีกว่า Code39

Code 128 สามารถสนันสนุน ได้ 128 ASCII ตัว(ทั้งตัวเลขและอักษร) นิยมใช้ในงานชิบปิ้ง
มีการแบ่งกลุ่มเป็น แบบคือ

set A : ASCII characters 00 to 95 (0-9, A-Z and control codes), specialcharacters, and FNC 1-4

set B : ASCII characters 32 to 127 (0-9, A-Z, a-z), special characters, and FNC1-4

set C : 00-99 (encodes each two digits with one code) and FNC1
หากต้องใช้ ตัวอักษร และ/หรือ ตัวเลข Code128 จึงที่เป็นที่เหมาะสมในการนำมาใช้งาน อีกทั้งมีความยืดหยุ่นในการบรรจุตัวอักขระ เพราะไม่ล๊อคตายตัว สามารถพิมพ์อักษรหรือตัวเลขที่ต้องการได้เลย

5. Code 39 (Code 3 of 9) 
เป็นโค้ดรุ่นเก่า แต่ยังมีความนิยมในการใช้งานอยู่ใช้กับงาน Inventory และตรวจติดตาม สามารถบรรจุได้ทั้งตัวเลขและ
ตัวอักษร สามารถพิมพ์ได้หลายขนาดโดยแบบพื้นฐานจะรองรับอักษร A-Z,0-9

6. Code 93
เป็นโค้ดที่ไม่ค่อยมีการใช้งาน ขนาดกะทัดรัดใช้ในงานชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิค และเนื่องจาก ชื่อที่คล้ายคลึงระหว่าง Code 93 และ Code 39 ซึ่งทำให้เข้าใจผิดได้ดังนั้นหากมีการใช้งานในโค้ดดังกล่าว จะตัดซื้ออุปกรณ์หรือซอฟแวร์ต้องแน่ใจว่า ตรงกับที่จะใช้งาน

7. EAN
EAN ย่อมาจาก EuropeanArticle Number นิยมใช้กับสินค้าปลีก ในสหรัฐ และ ญี่ปุ่น และแพร่หลายในอุตสาหกรรมค้าปลีกทั่วโลก

8. GS1-128 (EAN-128) 
GS1-128 เป็นโค้ดพิเศษ ของ Code128 ที่มีการถอดรหัสกับระบบGS1

9. Interleaved 2 of 5 (ITF) 
เป็นโค้ดที่เป็น ตัวเลขเท่านั้น มีขนาดเล็กเพราะมีการเข้ารหัสทั้งในแถบและช่องว่าง ใช้ในกล่องกระดาษลูกฟูกในอุตสาหกรรมขนส่งสินค้า

10. ISBN-13
เป็นโค้ดค้าปลีก พวกหนังสือ นิตยสารหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวกับหนังสือ โดยมีส่วนประกอบจาก EAN13 และ supplemental code 5
5ตัว ซึ่งจะแสดง IDของหนังสือและราคาปก

11. ISSN
ใช้ในอุตสาหกรรมงานพิมพ์ วารสารอิเล็กทรอนิค

12. MSI Plessey
ตัวเลขสัญลักษณ์ ที่ใช้ในห้องสมุด

13.POSTNET
บาร์โค้ดที่ใช้ในการเข้ารหัสรหัสไปรษณีย์ของไปรษณีย์สหรัฐซึ่งมีแตกต่างจากบาร์โค้ดอื่น ๆ มีความพิเศษที่แตกต่าง คือจะมีความสูงของแท่งไม่เท่ากันและระยะห่างระหว่างแถบเท่ากัน ซึ่งบรรจุข้อมูลของรหัสไปรษณีย์และพื้นที่จัดส่ง

14. UPC 
UPC ย่อมาจาก UniversalProduct Code ใช้มากกับสินค้าปลีกในสหรัฐและแคนนาดาอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

15. Supplemental barcode 
เป็นโค้ดที่เพิ่มเติมทางด้านขวา พบใน UPC, EAN หรือ ISBN-13 จะเป็นตัวอักขระที่เพิ่มมา2-5ตัว







ประเภทของบาร์โค้ด


1. โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่างๆไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้

2. โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code) เป็นบาร์โค้ดที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 2 ระบบ คือ


     ระบบ EAN (European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่างๆ ใช้มากกว่า90 ประเทศทั่วโลกในภาคพื้นยุโรป เอเชีย และแปซิฟิก, ออสเตรเลีย, ลาติน อเมริการวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ EAN มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม

     ระบบ UPC (Universal Product Code) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 ซึ่งกำหนดมาตรฐานโดย Uniform Code Council.Inc ใช้แพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

     สำหรับบาร์โค้ดในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจังโดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย (ThaiArticle Numbering Council) หรือ TANC เป็นองค์กรตัวแทน EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยทั้งนี้ ระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้



     885: ตัวเลข 3 หลักแรกคือรหัสของประเทศไทย
     xxxx:
ตัวเลข 4 ตัวถัดมาเป็นรหัสโรงงานที่ผลิต หรือรหัสสมาชิก
     xxxxx: 5
ตัวถัดมา เป็นรหัสสินค้า
     x:
ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบเลข12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ถ้าตัวสุดท้ายผิด บาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออกสื่อความหมายไม่ได้


     ได้รู้จักกับบาร์โค้ดกันมาบางส่วนแล้ว ในหัวข้อถัดไปเราจะไปทำความรู้จักกับบาร์โค้ดน้องใหม่ มาแรงกันค่ะ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ไปดูในหัวข้อถัดไปได้เลยค่ะ












 

Create Date : 23 มกราคม 2561
0 comments
Last Update : 29 มกราคม 2561 13:45:03 น.
Counter : 1991 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


สมาชิกหมายเลข 2436574
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 2436574's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.