There is nothing either good or bad but thinking makes it so."- - W.Shakespeare - -
ราชบัณฑิตยสถาน

วันนี้ ถือ โอกาส มาอัพบล็อก หลังจาก ไม่ค่อยได้ เข้ามาหลายวัน ชักจะคิดถึง โลกไซเบอร์ แต่หลังจากที่คิด ไว้หลายเรื่อง มากๆ ว่า จะเขียนเรื่องอะไร สุดท้าย ขอเขียน เรื่อง ของ ราชบัณฑิตยสถานแล้วกันค่ะ เพราะ ช่วงนี้ ได้ฟังรายการ รู้รักภาษาไทย รายการนวิทยุ ช่วงเจ็ดโมงเข้า รู้สึก รัก หน่วยงาน นี้ จังเลย ก้อเลย อยากเขียนถึง ลองอ่านดู นะคะ เป็นส่วนหนึ่ง ที่อยากนำเสนอ ส่วนท่านใด ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ก็เชิญ ได้ที่ เวปไซค์ ของ ราชบัณฑิตยสถาน เลยค่ะ

//www.royin.go.th/th/home/index.php






ราชบัณฑิตยสถาน เป็นส่วนราชการ มีฐานะเป็นกรม ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี


ประวัติความเป็นมา

ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่แยกมาจากราชบัณฑิตยสภาเดิม ซึ่งเป็นเป็นหน่วยงานที่ทำงานทั้งทางวิชาการและปฏิบัติการในด้านหนังสือตำราวรรณคดี โบราณคดีและประณีตศิลป์

ต่อมาหลังจากที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐบาลได้เห็นว่า การจะทำนุบำรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าตามแบบอารยประเทศได้ ประเทศไทยจะต้องมีผู้ทรงความรู้ทัดเทียมกับประเทศที่มีความเจริญทางวิชาการ และจะต้องมีสถาบันที่เป็นแหล่งรวมนักวิชาการสาขาต่าง ๆ เพื่อจะได้ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์การปราชญ์ของนานาประเทศแล้วทำการค้นคว้า วิจัย จัดทำเป็นตำราออกเผยแพร่สู่ประชาชนและนักศึกษา รัฐบาลจึงได้ยกเลิกราชบัณฑิตยสภา แล้วตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ ๒ หน่วยงาน คือ ราชบัณฑิตยสถาน และ กรมศิลปากร ซึ่งที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยราชบัณฑิตยสถานให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน ราชบัณฑิตยสถานในสมัยนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลตามสมควรและให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ

ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ สภาผู้แทนราษฎรได้ตราพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๘๕ ขึ้นใช้แทนพระราชบัญญัติฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือกราชบัณฑิตก่อนนำความกราบบังคมทูล และฐานะของราชบัณฑิตยสถานเปลี่ยนไปเป็นทบวงการเมือง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี

ต่อมามีการตราพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๗ แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๕ ในบางมาตรา โดยให้ที่ประชุมราชบัณฑิตเป็นผู้เลือกภาคีสมาชิก แล้วเสนอนายกรัฐมนตรีนำควากราบบังคมทูลพระกรุณาทรงแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต และฐานะของราชบัณฑิตยสถานเปลี่ยนเป็นหน่วยงานอิสระขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๔๘๕

ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ราชบัณฑิตยสถานยังคงเป็นหน่วยงานอิสระ แต่เปลี่ยนมาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๐๑ ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๑๕ มีสถานภาพเป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้มีพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยยกเลิกพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๘๕ และฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๗ พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑๐๔ ก เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ และใช้มาจนถึงทุกวันนี้


หน้าที่ของราชบัณฑิตยสถาน มีดังนี้

๑. ค้นคว้า วิจัย และบำรุงสรรพวิชาแล้วนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ออกแผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชน

๒. ติดต่อและแลกเปลี่ยนความรู้ และประสานงานทางวิชาการกับองค์กรปราชญ์ และสถาบันทางวิชาการอื่นๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๓. ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี

๔. ให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชนและประชาชน

๕. ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่างๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยและงานวิชาการอื่นๆ

๖. กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น

๗. ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถาน

ราชบัณฑิตยสถาน มีวิสัยทัศน์ คือ

ราชบัณฑิตยสถาน เป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ”

สมาชิกของราชบัณฑิตยสถาน มี ๓ ประเภท

๑. ภาคีสมาชิก เป็นผู้มีคุณสมบัติและคุณวุฒิตามที่กำหนดที่สมัครเข้าทำการร่วมกับราชบัณฑิตยสถาน

๒. ราชบัณฑิต เป็นภาคีสมาชิกที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นราชบัณฑิต ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตโดยคำแนะนำของสภาราชบัณฑิต

๓. ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้แก่บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีชื่อเสียงเกียรติคุณดีเด่น เป็นที่ประจักษ์ในประเภทวิชาสาขาใดสาขาหนึ่ง ที่อยู่ในหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถาน และได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติงานทางวิชาการ อันเป็นประโยชน์แก่กิจการของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตยสถานกิตติมศักดิ์ โดยคำแนะนำของสภาราชบัณฑิต

นายกราชบัณฑิตยสถาน และอุปนายกราชบัณฑิตยสถาน

นายกราชบัณฑิตยสถาน เป็นราชบัณฑิตผู้ได้รับเลือกจากสภาราชบัณฑิต มีอำนาจหน้าที่ในการเป็นผู้แทนของราชบัณฑิตยสถานในการดำเนินงาน ติดต่อ แลกเปลี่ยนความรู้ และประสานงานทางวิชาการกับองค์การปราชญ์ และสถาบันทางวิชาการอื่นๆทั้งในประเทศและต่างประเทศกำกับดูแลการปฏิบัติงานของราชบัณฑิตยสถานด้านวิชาการให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบ และมติของสภาราชบัณฑิต แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชาต่างๆเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถานและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการใดๆอันอยู่ในหน้าที่ของสภาราชบัณฑิต

อุปนายกราชบัณฑิตยสถาน มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่แทนนายกราชบัณฑิตยสถาน ตามที่ได้รับมอบหมาย และรักษาการแทนนายกราชบัณฑิตยสถาน

สภาราชบัณฑิต มีอำนาจหน้าที่ ในการวางนโยบายในการดำเนินงานให้ความเห็นชอบในการกำหนดประเภทวิชาของสำนัก และการแบ่งวิชาแต่ละประเภทเป็นสาขาวิชาต่างๆ ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง การรวม หรือการแยกสำนัก ให้ความเห็นชอบในการออกข้อบังคับและวางระเบียบการดำเนินงานของสภาราชบัณฑิต เลือกนายกและอุปนายกราชบัณฑิต รวมทั้งมีมติให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งราชบัณฑิตและราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

คณะผู้บริหารของราชบัณฑิตยสถาน ในปัจจุบันประกอบด้วย

นายกราชบัณฑิตยสถาน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อุปนายกราชบัณฑิตยสถาน ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวณิช ศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา บริสุทธิ์

ประธานสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ศาสตราจารย์พิเศษ จำนง ทองประเสริฐ

ประธานสำนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ อดุลพันธุ์

ประธานสำนักศิลปกรรม คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ

เลขานุการสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ดร.โสภา ชูพิกุลชัย สปิลมันน์

เลขานุการสำนักวิทยาศาสตร์ นายนิพนธ์ ทรายเพชร

เลขานุการสำนักศิลปกรรม รองศาสตราจารย์อัศนีย์ ชูอรุณ

เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เลขานุการกรม ผู้อำนวยการกองธรรมศาสตร์และการเมือง กองวิทยาศาสตร์ กองศิลปกรรม

อ้างอิง นิตยสาร สกุลไทย ฉบับที่ 2611 ปีที่ 51
ประจำวัน อังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547


Create Date : 17 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2550 11:25:22 น. 13 comments
Counter : 967 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับสาระน่ารู้ค่ะ


โดย: Batgirl 2001 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2550 เวลา:12:57:59 น.  

 
ฟังเหมือนกันเลยค่ะ
บางคำไม่เคยรู้มาก่อน
ได้ความรู้ดีมาก ๆ
ในตอนเช้า


โดย: โสดในซอย วันที่: 17 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:52:09 น.  

 
ดีค่ะพี่เพน ลี่ก็คิดถึงเหมือนกันค่ะ

อิอิ อยากอ่านนิยายเรื่องใหม่ของพี่ปุ้ยจังเลย แต่คงต้องรอรวมเล่มแหละค่ะ

เมื่อวานก็เพิ่งเล่าเรื่องย่อคลื่นลวงให้เพื่อนฟัง มีความสุขมากๆ เลย เพื่อนก็บอกว่าเดี๋ยวจะไปซื้อมาอ่านวันเลยในวันนี้

แล้วลี่จะแวะเข้าบอร์ดบ้างนะคะ



โดย: lily IP: 202.90.118.211 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2550 เวลา:21:33:56 น.  

 
เรื่องราวน่าสนใจมากค่ะ
ไม่เคยได้ทราบมาก่อน

ที่คุ้นเคยก็เห็นจะเป็นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อะค่ะ


โดย: ปางหวัน วันที่: 23 พฤศจิกายน 2550 เวลา:18:29:10 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณเพ็ญ
ยินดีที่รู้จักคนบ้านเดียวกันค่ะ

บรรยากาศงานลอยกระทงที่สงขลาเป็นไงบ้าง สนุกมั๊ยคะ


โดย: ปางหวัน วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:26:56 น.  

 
คุณปางหวันคะ
คิดว่า คงสู้ที่นครบ้านเราไม่ได้ค่ะ
กำลังคิดจะนำมาเขียนบล็อกค่ะ



โดย: PenKa วันที่: 29 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:48:05 น.  

 
มาบอก good night ค่า


โดย: Batgirl 2001 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:26:53 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: Darksingha วันที่: 7 ธันวาคม 2550 เวลา:13:21:53 น.  

 
เป็นความรู้ ดี ครับ


โดย: ชิน (ล่างฟานหวิน ) วันที่: 8 ธันวาคม 2550 เวลา:21:16:04 น.  

 
สวัสดีค่ะ บล๊อกให้ความรู้ดีมากเลย ขอบคุณที่ไปเยี่ยมเยียน แวะหากันบ่อยๆนะคะ เราน่าจะอาชีพเดียวกันค่ะ


โดย: ป้าสุ (Munro ) วันที่: 9 ธันวาคม 2550 เวลา:14:31:29 น.  

 
.ใช่แล้วค่ะ คุณป้าสุ เราอาชีพเดียวกันค่ะ


โดย: PenKa วันที่: 17 ธันวาคม 2550 เวลา:12:13:56 น.  

 
มาเยี่ยมแว้วค่ะ แอดไว้แล้วนะคะ


โดย: บัวทะเล IP: 203.156.61.102 วันที่: 18 ธันวาคม 2550 เวลา:17:48:44 น.  

 
ช่วยปรับปรุงหมายเลขโทรศัพท์และโทรสารของราชบัณฑิตสถานในหนังสือนามสงเคราะห์ด้วย เพราะติดต่อทุกเบอร์ไม่ได้เลย เข้าหาแวปก็เข้ายาก และไม่มีเบอร์ให้ติดต่อ ขอบคุณที่ให้ความสนใจ


โดย: ราชบัณฑิตไทย IP: 219.142.85.194 วันที่: 21 ตุลาคม 2551 เวลา:12:37:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PenKa
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
17 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add PenKa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.