หลายคนบอกว่า เนี่ยอ่ะมานทุกขลาภดีๆ นี่เอง...
วันนี้มีเรื่องเล่า ที่เริ่มต้นจาก น้องเห็ดระโงกที่อยู่ร่วมกับพี่ยางนาที่สวนป่าหลังบ้านเนี่ยล่ะค่ะ เมื่อเริ่มต้นชีวิตครู บรรจุครั้งแรกในฐานะครูวิทยาศาสตร์ ณ โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งใน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ จนได้ย้ายมาอำเภอเซกา หนองคาย ก็โรงเรียนขยายโอกาสอีกเหมือนกัน และในที่สุดก็ได้กลับบ้าน เย๊... อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี หลังจากที่ไปทัวร์ต่างจังหวัดเป็นเวลาเกือบสี่ปี โรงเรียนล่าสุดเป็นโรงเรียนที่สังกัดกรมสามัญ(เดิม) เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 การสอนในโรงเรียนที่เปิดสอนถึง ม. 6 เป็นอะไรที่ต้องเข้มข้นในด้านความรู้ เพราะเป็นระดับที่เด็กๆ ต้องเรียนต่อกัน ดังนั้นตัวครู(หมายถึงตัวเราเองเนี่ยแหละ) ก็ต้องอัพเดทความรู้ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ต้องพัฒนาให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ไม่ใช้ย่ำอยู่กับที่ หรือถอยหลัง เพราะอนาคตของเด็กๆ อยู่ในกำมือเรา ประมาณว่า จะบีบก็ตายจะคลายก็ตาย (เพราะมันถูกบีบไปก่อนหน้านี่แล้ว) เจ๊ยยยย บ่แม่น เอ๊ย ม่ายช่ายยยย หมายถึงว่า ถ้าครูมีความรู้ความสามารถ เด็กๆ ก็จะได้รับแต่สิ่งดีๆ ที่เค๊าจะสามารถนำไปใช้เรียนต่อในระดับสูงได้ หรือถ้าไม่เรียนต่อ ก็เอาตัวรอดในสังคมได้ล่ะน่า จริงๆ ไอ้เจ้าความรู้ในตำราน่ะมันสอนกันไม่ยากหรอกนะ แต่ไอ้เรื่องสร้างความคิดนี่สิ ไม่ว่าจะเป็นคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ หรือคิดสร้างสรรค์น่ะ ยอมรับว่า ยากสสส์ มากๆเลย แต่ยังไงก็ต้องหาทางทำให้สำเร็จให้ได้ล่ะนะ (ดูเหมือนจะเกริ่นมาเยอะเหลือเกินไปแล้วเนอะ แต่จายเย็นๆ นะเจ้าคะ กำลังจะเข้าเรื่องแล้ว) ครูเองก็ต้องหาทางเรียนรู้แล้วนำมาพัฒนาตัวเองให้ได้ก่อนสิ ทำไงดีล่ะ และแล้ว มีวันหนึ่งที่ครูได้รับหนังสือจากเขต แจ้งเรื่องโครงการ ครุวิจัย-สกว. ( สกว. คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ครั้งแรก ในความคิด โหยยย เรื่องวิจัย ยากส์ว่ะ ไม่อาวดีก่า พับเก็บไว้ แต่ดูเหมือนจะมีอะไรมาดึงให้เราได้ทำความรู้จักกับ สกว.มั๊ง ทางศึกษานิเทศน์ฝากรายละเอียดของโครงการมาให้อ่าน อืม ไหนๆ ท่าน ศน. ก็หวังดีกับเรา เอาหน่อยละกัน ก็เลยลองส่งโครงการ ปรากฏว่า ผ่าน โอ พระพุทธเจ้าข้า ดีใจเหลือเกิน ดีใจหลายประหนึ่งว่ากำลังได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติ (อารายจาปานน๊านนน ยะ หล่อน) ก็เข้าร่วมโครงการนี้ เดือนเมษายน ปี 49 หนึ่งเดือนเต็มๆ ที่ไปใช้ชีวิตศึกษาวิธีการทำวิจัยที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (คราวนี้เข้าเรื่องของจริงแล้วล่ะ) จากโครงการนี้ ทำให้ได้รู้จักกับ โครงการวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น ของ สกว. เจ้าเดิม ซึ่งให้ครูได้ลงมือทำวิจัยโดยหยิบเรื่องในท้องถิ่นมาวิจัย โครงการนี้นานกว่าครุวิจัย คือ ระยะเวลา 1 ปีเต็มๆ ที่เราต้องลุยงานวิจัยด้วยตัวเอง โดยที่มีศูนย์พี่เลี้ยงในแต่ละภูมิภาคดูแลเป็นระยะๆ แล้วมีจัดประชุมส่วนกลางของครูผู้วิจัยทั้งประเทศที่ได้รับทุน ครั้งแรกที่ กทม. ครั้งที่สอง ที่เชียงใหม่ (ศูนย์ภาคเหนือ เป็นเจ้าภาพ) และครั้งที่สาม กลับมาที่ กทม. คราวนี้ได้รู้ซึ้งถึงความหมายของคำว่า "ทุกขลาภ" แล้วล่ะ พี่น้องคร๊าบบบบ แต่ก็เป็นทุกขลาภที่ยินดีจะทุกข์นะ เพราะทำให้เราได้อะไรตั้งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเองในเรื่องความรู้ทางด้านการวิจัย การเกิดแนวคิดต่างๆ จากการเข้าร่วมสัมมนา เพราะวิทยากรแต่ละท่านนั้น ระดับปรมาจารย์ด้านการวิจัยทั้งนั้นเลย แต่ที่บอกว่า เป็นทุกขลาภ นั้น ก็เนื่องจากว่า ตอนนี้ยังเขียนรายงานการวิจัยไม่เสร็จเลยนะซี แง๊..... ใครก็ได้ช่วยที และแล้วก็ได้ยินเสียงสะท้อนกลับมาว่า "ใคร๊.. ใครๆๆๆ จะช่วยเอ็งได้เล๊า... นอกจากตัวเจ้าเองนะแหละ ที่ต้องรีบทำให้เสร็จเร็วได้แล้ว อย่ามัวโอ้เอ้" อืมมมม ก็จริงแฮะ งั้น ขอตัวไปเขียนรายงานการวิจัยก่อนเด้อค่ะ จะรีบส่ง แล้วจะมาเล่าให้ฟังต่ออีกวันหลัง น่ะก๊ะ 
เพิ่งไป อัพโหลด เพลง "สะพานสานฝัน สกว." มาค่ะ น่าฟังมาก ชอบ มีความหมายดีจัง ลองฟังกันดูนะคะ
สะพานสานฝัน สกว..wma - trf
Create Date : 20 มิถุนายน 2552 |
|
11 comments |
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 16:05:31 น. |
Counter : 5889 Pageviews. |
|
 |
|