Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
24 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
มรดกความจน-มรดกความรวย

ภาวิน ศิริประภานุกูล






ในช่วงนี้กระแสโครงการ Silver Ring Thing กำลังระบาดจากประเทศสหรัฐอเมริกามายังประเทศออสเตรเลียครับ โครงการ Silver Ring Thing เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากคุณ Denny Pattyn ที่พยายาม รณรงค์ให้ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงงดเว้น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน

หนังสือพิมพ์ The Sun-Herald ประจำวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ได้รายงานว่าราวอาทิตย์ก่อนคุณ Pattyn ได้แสดงความสนใจในการนำโครงการนี้มา เผยแพร่ต่อในประเทศออสเตรเลีย

ในส่วนของตัวผมเองไม่ได้สนใจรายงาน เกี่ยวกับตัวโครงการนี้ หรือความสำเร็จหรือ ล้มเหลวของโครงการนี้ในอเมริกามากนัก แต่สิ่งที่ทำให้ผมสนใจมากที่สุดคือคำสัมภาษณ์ ของ เด็กหญิง Gabi Lambie วัย 14 ปี ที่ปรากฏอยู่ในรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน โดยเธอให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ในทำนองที่ว่าเธอไม่ค่อยเห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว โดยเธอเห็นว่ามันควรจะเป็นไปในเชิงการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและให้เด็กๆ ตัดสินใจด้วยตัวของพวกเขาเองมากกว่า

ผมไม่รู้ว่าความเห็นของเด็กหญิง Lambie เป็นความเห็นที่ถูกหรือผิดในสายตาของสังคมไทย แต่นี่เป็นหนึ่งในหลายๆ เหตุการณ์ที่สะท้อนถึง วิธีคิดของชาวออสเตรเลียที่สืบทอดกันมาจาก รุ่นสู่รุ่น ผมไม่รู้ว่าหากโครงการ Silver Ring Thing ระบาดมายังประเทศไทย เราจะมีคำให้สัมภาษณ์ในลักษณะเดียวกันจากเด็กหญิง ชาวไทยวัย 14 ปีหรือไม่ อย่างไรก็ตามผม ค่อนข้างมั่นใจว่าผมจะได้ยินเสียงสนับสนุนดังๆ จากผู้ใหญ่บางคนหรือผู้คนในหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องแน่ๆ

ในวันเดียวกันมีรายงานข่าวจากเว็บไซต์ ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่ากระแสความศรัทธา ของชาวไทยทำให้มีประชาชนหลั่งไหลไปร่วมงาน วันกำเนิดพระพิฆเนศกันอย่างแน่นขนัด ในช่วงบ่ายของวันที่ 15 กันยายน ที่ผ่านมา ณ ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์

ผมก็ไม่แน่ใจว่าถ้าโอกาสอำนวยผมจะเข้า ร่วมงานวันกำเนิดพระพิฆเนศด้วยอีกคนหรือเปล่า แต่นี่ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ เหตุการณ์ที่สะท้อน วิธีคิดของพี่น้องชาวไทยที่สืบทอดกันมาจาก รุ่นสู่รุ่นเช่นเดียวกัน โดยผมคิดว่าไม่เคยได้ยินผู้ใหญ่ในสังคมหรือผู้คนในหน่วยงานใดๆ ที่ออกมาส่งเสียงต่อต้านการชุมนุมจัดงานในลักษณะดังกล่าวอย่างจริงจัง

ผมยกเอาเหตุการณ์ที่แตกต่างกันข้างต้น มานำเสนอเพื่อจะนำท่านผู้อ่านเข้าสู่งานวิจัย ในทางเศรษฐศาสตร์อีกฉบับหนึ่งที่ผมคิดว่า มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งครับ โดยงานวิจัย ดังกล่าวเป็นข้อเขียนของ Samuel Bowles และ Herbert Gintis ซึ่งทั้งคู่เป็นศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ของ University of Massachusetts, Amherst หนึ่งในธงนำด้านเศรษฐศาสตร์กระแสทางเลือก

งานวิจัยดังกล่าวมีชื่อว่า The Inheritance of Inequality ซึ่งปรากฏอยู่ในวารสารกระแสหลักชั้นนำ Journal of Economic Perspectives (Volume 16(3)) ปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) โดยงานวิจัยดังกล่าวได้พยายามอธิบายเกี่ยวกับการถ่ายทอดสถานะทางการเงินจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง

ไม่ใช่แค่ชื่อผู้เขียนกับชื่อวารสารที่เสนอ งานวิจัยฉบับดังกล่าวเท่านั้นที่ทำให้ผมสนใจ เนื้อหาที่ถูกนำเสนอก็มีความเฉียบขาดไม่ใช่เล่น โดยงานดังกล่าวได้แสดงให้เราเห็นว่าการ ถ่ายทอดสถานะทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่นเกิดขึ้น ในความเป็นจริง นอกจากนั้นปัจจัยหรือกลไกหลัก ในการถ่ายทอดสถานะทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่น ก็ไม่ใช่ปัจจัยที่เรามักจะให้ความสำคัญกันอยู่ ในปัจจุบัน

ในทางเศรษฐศาสตร์ รายได้ของบุคคลหนึ่งเป็นเสมือนค่าตอบแทนที่ตลาดแรงงานจ่ายให้ กับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคคลผู้นั้น การที่บุคคลผู้หนึ่งมีรายได้สูงกว่าคนอื่นๆ ย่อมแสดงว่าบุคคลผู้นั้นมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์มากกว่าคนอื่นๆ

เรามักเชื่อกันว่าช่องทางหลักช่องทางหนึ่ง ที่ผู้คนใช้ในการถ่ายทอดสถานะทางการเงิน จากรุ่นสู่รุ่นก็คือ “ความฉลาดทางปัญญา” โดยเราเชื่อกันว่าพ่อแม่ที่ร่ำรวยมักมีความฉลาด ทางปัญญาสูงกว่าคนปกติ โดยตลาดแรงงาน ยินดีที่จะจ่ายค่าตอบแทนให้กับความฉลาด ทางปัญญานี้ และความฉลาดทางปัญญานี้ ก็มักจะถูกถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก ทางพันธุกรรม

แต่จากการสำรวจวรรณกรรมศึกษา Bowles และ Gintis พบว่าในความเป็นจริง ความฉลาดทางปัญญาไม่ได้มีความสำคัญมากนักในการถ่ายทอดสถานะทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่น เนื่องจากในความเป็นจริงตลาดแรงงานไม่ค่อยเห็นความสำคัญของความฉลาดทางปัญญา นอกจากนั้นความสามารถในการถ่ายทอดความฉลาดทางปัญญาจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกยังอยู่ในระดับต่ำอีกด้วย

จากงานศึกษา 24 งานที่ Bowles และ Gintis สำรวจ ถึงแม้รายได้จะมีความสัมพันธ์ ในเชิงบวกกับความฉลาดทางปัญญาซึ่งถูกวัด โดยคะแนนสอบ IQ ความสัมพันธ์เชิงบวกดังกล่าวก็อยู่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อรวมเข้ากับความสัมพันธ์ระดับต่ำระหว่างความฉลาดทางปัญญาของพ่อแม่และความฉลาดทางปัญญาของ รุ่นลูก ช่องทางนี้จึงแทบจะไม่มีความสำคัญ ในการถ่ายทอดสถานะทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่น โดยช่องทางนี้สามารถอธิบายการถ่ายทอด สถานะทางการเงินได้ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 ของการถ่ายทอดสถานะทางการเงินทั้งหมด ที่เกินขึ้นจริง

อย่างไรก็ตามความไม่สลักสำคัญของ ช่องทางความฉลาดทางปัญญา มิได้หมายความว่าช่องทางการถ่ายทอดลักษณะ “ทางพันธุกรรม” จะมีความสำคัญลดน้อยลงไป ในการประเมินความสำคัญของช่องทางการถ่ายทอดลักษณะทั้งหมดโดยรวมทางพันธุกรรม ยกตัวอย่างเช่น ความฉลาด ความหล่อความสวย ความสูง เป็นต้น การถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรม มีความสำคัญในการอธิบายการถ่ายทอด สถานะทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่นได้ถึง เกือบ ร้อยละ 33 หรือราวหนึ่งในสามของการถ่ายทอดทั้งหมด

นี่หมายความว่าการถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรมอื่นๆ นอกเหนือไปจากความฉลาดมีความสำคัญสูงกว่ามากในการถ่ายทอดสถานะทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนั้นการถ่ายทอดคุณลักษณะอื่นๆ นอกเหนือไปจากลักษณะ ทางพันธุกรรมยังมีความสำคัญสูงมากไปกว่า การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมเสียอีก โดยคุณลักษณะอื่นๆ ดังกล่าวสามารถอธิบาย การถ่ายทอดสถานะทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่น ได้ถึงกว่าร้อยละ 66

คำถามที่ตามมาก็คือ ลักษณะอื่นๆ ที่มิได้ ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมนี้คืออะไร ? Bowles และ Gintis คิดถึงปัจจัยต่างๆ ทางสังคม อันได้แก่ การให้การศึกษาและ สุขภาพที่ดี การถ่ายทอดทัศนคติทางด้านการเงินและการทำงาน และการเข้าเป็นสมาชิกของ กลุ่มทางสังคมและความเชื่อต่างๆ

พ่อแม่ที่มี การศึกษา สุขภาพ และมี ฐานะทางการเงินที่ดีย่อมสามารถให้ “การศึกษา และสุขภาพที่ดี” แก่รุ่นลูกได้ไม่ยาก ความสามารถ ในการถ่ายทอดระดับการศึกษาและสุขภาพที่ดีจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกจึงอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้นงานศึกษาต่างๆ ยังแสดงให้เห็นอีกว่าตลาดแรงงานจ่ายค่าตอบแทนให้กับระดับ การศึกษา และสุขภาพในระดับที่สูงกว่า ความฉลาดทางปัญญาเสียอีก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ช่องทางนี้มีความสำคัญต่อการ ถ่ายทอดสถานะทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่นอยู่ในระดับที่สูงมากช่องทางหนึ่ง

การถ่ายทอด “ทัศนคติในการทำงาน และทางด้านการเงิน” ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะ ยังไม่มีงานศึกษาที่แสดงให้พวกเราเห็นอย่างชัดเจนว่าเกิดการถ่ายทอดทัศนคติดังกล่าว ในความเป็นจริง แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง การสะสมความมั่งคั่งของพ่อแม่และลูกๆ ในระดับสูงย่อมเป็นสิ่งสะท้อนว่าเกิดการถ่ายทอดทัศนคติจำพวก การประหยัดอดออม การอดทนและรับผิดชอบในการทำงาน การกล้าเผชิญหน้ากับ ความเสี่ยง ฯลฯ ระหว่าง รุ่นพ่อแม่และรุ่นลูก ซึ่งลักษณะเหล่านี้ได้รับค่าตอบแทนที่สูงมาก ในตลาดแรงงาน

ช่องทางที่ผมจะยกมาพูดถึงช่องทางสุดท้าย คือการถ่ายทอด “การเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม ทางสังคมและความเชื่อต่างๆ” โดยช่องทางนี้ รวมไปถึงการนับถือในเรื่องโชคลางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงาน โดยกลุ่มคนที่ เชื่อว่าการดำเนินชีวิตล้วนถูกลิขิตมาจากสิ่งที่ นอกเหนือจากการควบคุมของตนเอง มักไม่มีความกระตือรือร้นในการทำงานและมักได้รับ ค่าตอบแทนจากตลาดแรงงานที่ต่ำ

ช่องทางสุดท้ายนี้ยังรวมไปถึงการเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มอาชีพต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ลูกๆ ของพ่อแม่ที่ทำงานเกี่ยวพันกับวงการบันเทิงย่อมสามารถเข้าไปทำงานในวงการบันเทิง ได้ง่ายกว่าลูกๆ ของพ่อแม่ที่ทำงานอาชีพอื่นๆ เป็นต้น

การถ่ายทอดการเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม ทางสังคมและความเชื่อต่างๆ จากพ่อแม่ไปสู่ รุ่นลูกนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก ถึงแม้การถ่ายทอดบางอย่างอาจเป็นไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเมื่อ รวมเข้ากันกับค่าตอบแทนจากตลาดแรงงาน ที่มีความสัมพันธ์กับช่องทางสุดท้ายนี้ค่อนข้างสูง ช่องทางนี้จึงดูเหมือนจะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่มีความสำคัญในการถ่ายทอดสถานะ ทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่น

และด้วยช่องทางสุดท้ายนี่เองที่ทำให้ ผมยกเอาข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งสอง มาใช้ในช่วงเกริ่นนำในความคิดของผม ความสามารถในการคิดและตัดสินใจเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งที่ได้รับค่าตอบแทน ในระดับสูงจากตลาดแรงงาน แต่ผู้ใหญ่ใน สังคมเราอาจมองข้ามการสร้างเสริมความสามารถทางด้านนี้ให้กับเด็กๆ

ตัวพวกเราเองอาจเป็นคำตอบให้กับข้อสงสัยของพวกเรา ว่าทำไมเด็กไทยส่วนใหญ่จึงมี พฤติกรรมเหมือนเช่นในปัจจุบัน ว่าทำไม พวกเขาจึงคิดไม่ได้ตัดสินใจไม่เป็น ว่าทำไม พวกเขามีความเชื่อผิดๆ และว่าทำไมประเทศไทยจึงไม่เจริญเทียบเท่ากับประเทศพัฒนาแล้วเสียที และบางทีอาจถูกแซงหน้าโดยประเทศที่เคย ตามหลังมาในอดีต

ผมเห็นด้วยกับ Bowles และ Gintis เป็นอย่างยิ่งครับที่ว่าถึงแม้เราจะจัดการเกี่ยวกับการถ่ายทอดคุณลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมได้น้อยเต็มที แต่ลักษณะอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกถ่ายทอด ทางพันธุกรรมส่วนใหญ่สามารถจัดการได้ด้วยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม

ผมคิดว่าในหลายๆ ช่องทางเราจัดการ กับมันได้อย่างไม่ยากเย็น การศึกษาและ การสาธารณสุขที่ทั่วถึงและเป็นธรรม การเปลี่ยนเป้าประสงค์ของการศึกษาจาก การพัฒนา ความฉลาดไปสู่การพัฒนาทัศนคติ ในการทำงานและการใช้ชีวิต การให้ความสำคัญ กับความคิดและการตัดสินใจของเด็กและเยาวชน ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้ล้วนนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นทั้งนั้นครับ




ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 กันยายน 2550 เผยแพร่ต่อใน //www.onopen.com/2007/01/2197




Create Date : 24 กันยายน 2550
Last Update : 24 กันยายน 2550 16:31:24 น. 0 comments
Counter : 813 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.