Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
24 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
กินอยู่อย่างประหยัด : เศรษฐศาสตร์ของความยากจน

วิมุต วานิชเจริญธรรม





เมื่อธนาคารโลกประกาศจำนวนประชากรโลกที่ถูกจัดชั้นว่าเป็นกลุ่ม “ยากจนสุดแร้นแค้น” (extremely poor) ในปี 2004 โดยนับหัวของประชากรที่ดำรงชีวิตในแต่ละวันด้วยจำนวนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐหรือน้อยกว่านั้น (ซึ่งคิดเป็นเงินบาทได้ราวสี่สิบบาทต่อวัน หากคำนวณด้วยอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลานั้น) ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 986 ล้านคน (หรือเทียบได้ราวกว่าสิบเท่าของจำนวนประชากรในประเทศไทย) ยอดตัวเลขนี้ย่อมทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า ประชากรโลกจำนวนมากจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไรด้วยจำนวนเงินอันน้อยนิดเช่นนี้

นอกจากนี้อาจมีคำถามตามมาเช่นกันว่า ด้วยเหตุใดธนาคารโลกจึงเลือกใช้ 1 เหรียญสหรัฐต่อวัน เป็นเกณฑ์ในการวัดความยากจนสุดแร้นแค้น

ที่มาของตัวเลขนี้ต้องย้อนไปเมื่อปี 1990 เมื่อครั้งที่ธนาคารโลกตัดสินใจจะนับจำนวน คนยากจนในโลก เพื่อประกอบรายงาน “World Development Report” บรรดาเศรษฐกรของธนาคารโลก ที่นำโดย Martin Ravallion เริ่มต้นการค้นคว้าวิจัยด้วยการนำตัวเลขของเส้นความยากจนที่มีการคำนวณไว้ในหลายประเทศมาศึกษาเปรียบเทียบกัน

เส้นความยากจนนี้ถือเป็นเกณฑ์สากลที่ใช้ประมาณจำนวนประชากรกลุ่มที่จัดว่า “ยากจน” โดยการสร้างเส้นความยากจนจะเริ่มต้นจากการประเมินว่า ต้นทุนของการซื้อหาอาหารในแต่ละวันเพื่อให้ได้บริโภคแคลอรีขั้นต่ำที่กระทรวงสาธารณสุขในแต่ละประเทศได้กำหนดไว้ คิดเป็นเงินเท่าใด

ต้นทุนของการซื้อหาแคลอรีขั้นต่ำนี้เองที่นักเศรษฐศาสตร์ถือเป็นเส้นแบ่งความยากจนของครัวเรือน ครัวเรือนใดที่มีรายได้ต่อวันต่ำกว่าต้นทุนตัวนี้ ถือว่ามีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน และจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของ “คนจน”

เมื่อ Ravallion และคณะ พยายามนำเส้นความยากจนของหลายประเทศมาศึกษาเปรียบเทียบกัน จำต้องมีการปรับค่าของเส้นความยากจนในแต่ละประเทศให้อยู่ในหน่วยของเงินสกุลเดียวกัน เพื่อจะได้ทำการเทียบเคียงกันได้ ซึ่งคณะผู้วิจัยเลือกใช้การปรับเส้นความยากจน ให้อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการปรับอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่างๆ ให้สะท้อนถึงกำลังซื้อที่แท้จริงของประชาชนในแต่ละประเทศด้วย งานศึกษานี้พบว่า เส้นความยากจนในหลายประเทศมีค่าใกล้เคียงกับ ตัวเลข 1 เหรียญสหรัฐต่อวัน นั่นจึงเป็นที่มาของเกณฑ์ดังกล่าว

สำหรับกรณีของประเทศไทยนั้น เราสามารถนำข้อมูลการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (socio-economic survey หรือ SES) ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาวิเคราะห์เพื่อค้นหาว่า มีครัวเรือนจำนวนเท่าใด ในประเทศไทยที่อยู่ในเกณฑ์ “ยากจนสุดแร้นแค้น” ตามนิยามของธนาคารโลกบ้าง

งานศึกษาของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่าจากข้อมูลสำรวจในปี 2547 ที่ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศทั้งหมด 31,630 ครัวเรือน มีครัวเรือนจำนวนทั้งสิ้น 3,213 ครัวเรือน ที่มีการใช้จ่ายต่อหัวสมาชิกต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐต่อวัน โดยครัวเรือนเหล่านี้มีการกระจายตัวอยู่ในแต่ละภูมิภาค ดังแสดงไว้ในตารางที่ 1




ตารางที่ 1: จำนวนครัวเรือนที่ดำรงชีพด้วยเงินต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน (ข้อมูลสำรวจ)

ที่มา: คำนวณจากข้อมูลสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2547 ที่ Archive โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย





กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจนี้ถูกสุ่มขึ้นมาจากสำมะโนประชากรของประเทศด้วยหลักการทางสถิติ โดยตัวอย่างดังกล่าวมีคุณสมบัติของความเป็นตัวแทนของประชากรทั้งประเทศอย่างครบถ้วน ซึ่งหากต้องการจะใช้ผลสำรวจนี้อ้างอิงไปหาประชากรทั้งหมด นักวิจัยก็สามารถทำได้โดยการนำตัวแปร “weight” (ซึ่งเป็นค่าตัวเลขที่ ระบุว่าครัวเรือนที่ถูกสำรวจแต่ละรายมีน้ำหนักเป็นตัวแทนกลุ่มประชากรที่คล้ายคลึงกันเท่าไหร่) มาคูณกับแต่ละครัวเรือนตัวอย่าง และจาก ผล การคำนวณชี้ว่า มีครัวเรือนที่จัดเป็นกลุ่ม “ยากจนสุดแร้นแค้น” ทั้งสิ้น 2,268,371 ครัวเรือน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 16,765,051 ครัวเรือนทั่วประเทศ ตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ครัวเรือนกลุ่มนี้กระจุกตัวอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีจำนวนทั้งหมดเท่ากับ 1,382,911 ครัวเรือน




ตารางที่ 2: จำนวนครัวเรือนที่ดำรงชีพด้วยเงินต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน (ประชากร)

ที่มา: คำนวณจากข้อมูลสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2547 ที่ Archive โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย





เมื่อพิจารณาต่อไปถึงวิถีชีวิตของกลุ่มคนยากจนกลุ่มนี้ นักเศรษฐศาสตร์ตั้งคำถามต่อไปว่า คนกลุ่มนี้มีการใช้จ่ายในแต่ละกลุ่มสินค้าอย่างไรบ้าง เพื่อตอบคำถามนี้ เราได้นำรายการค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่ได้สำรวจไว้ใน SES ปี 2547 มาคำนวณหาส่วนแบ่ง หรือ share ของรายจ่ายครัวเรือนในแต่ละรายการสินค้าเทียบกับมูลค่าทั้งหมดของรายจ่ายครัวเรือน และเราขอนำบางส่วนของการคำนวณมาแสดงไว้ในตารางที่ 3




ตารางที่ 3: ส่วนแบ่งในรายจ่ายทั้งหมดของครัวเรือนกลุ่ม “ยากจนสุดแร้นแค้น” (หน่วย: ร้อยละ)





จะเห็นได้ว่าอาหารและเครื่องดื่มเป็นรายจ่าย ที่มีส่วนแบ่งสูงที่สุด โดยมีสัดส่วนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณทั้งหมดของครัวเรือน

อย่างไรก็ดีหากเรานำผลการศึกษานี้ไปเปรียบเทียบกับผลการศึกษาของ Abhijit V. Banerjee และ Esther Duflo (งานวิจัยเรื่อง “The Economic Lives of the Poor” ที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Economic Perspectives ปี 2006) สองนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) ซึ่งใช้ข้อมูลสำรวจที่คล้ายคลึงกับ SES เพื่อศึกษาถึงวิถีชีวิตของครัวเรือนที่ยากจนสุดแร้นแค้น ใน 13 ประเทศ เราจะพบถึงวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน และข้อสรุปสำหรับการวางนโยบายเศรษฐกิจ และสังคมที่น่าสนใจ

ตารางที่ 4 นี้นำข้อมูลที่ศูนย์วิจัยฯเราคำนวณไว้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลในงานศึกษาของ Banerjee และ Duflo (2006) โดยแสดงเพียงรายจ่ายที่น่าสนใจบางรายการเท่านั้น โดยในกรณีของประเทศไทยนั้นแสดงเพียงข้อมูลของครัวเรือนที่มีถิ่นฐานอยู่นอกเขตเทศบาล และในกลุ่มประเทศในงานศึกษาของ Banerjee และ Duflo (2006) นั้น แสดงเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในชนบท



Banerjee และ Duflo ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ ในงานศึกษาของพวกเขาว่า ครัวเรือนที่ยากจน สุดแร้นแค้นเหล่านี้ล้วนมีชีวิตในวังวนของวัฏจักรความยากจน และถูกรุมเร้าด้วยปัญหาด้านสุขภาพและความหิวโหย แต่กระนั้นพวกเขาเหล่านี้ ยังสามารถเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงปากท้องได้ หากเพียงลดการจัดสรรงบประมาณของเขา ให้กับรายจ่าย อย่างแอลกอฮอล์และยาสูบ หรือรายจ่ายที่เกี่ยวกับงานรื่นเริง

ข้อสังเกตนี้ใช้ได้กับในกรณีของประเทศไทยเช่นกัน หากเราจะเปรียบเทียบงบประมาณ ที่ครัวเรือนไทยจัดสรรให้กับการซื้ออาหารและเครื่องดื่ม เราจะพบว่าสัดส่วนที่จัดสรรนี้ต่ำกว่าที่พบในหลายประเทศ นั่นหมายความว่าคนกลุ่มนี้ ยังสามารถ ใช้งบประมาณที่พวกเขามีอยู่ซื้อหาอาหารและเครื่องดื่มมาบรรเทาความหิวโหย หากแต่การจัดสรรเช่นนี้จำต้องตัดงบฯที่ให้กับการซื้อของมึนเมาและยาสูบ หรือรายจ่ายอื่นๆ ออกไป




ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 กันยายน 2550 เผยแพร่ต่อใน //www.onopen.com/2007/01/2189




Create Date : 24 กันยายน 2550
Last Update : 24 กันยายน 2550 16:29:53 น. 0 comments
Counter : 2872 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.