บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
24 พฤศจิกายน 2552
 

คนไข้พม่าฐานะดีไปรักษาโรคที่ไหน [EN]


พม่าเป็นประเทศ
ที่พัฒนาและก้าวไกลไปเร็ว ทำให้มีคนที่มีฐานะดีเพิ่มขึ้นมาก...
ถ้าคนเหล่านี้ป่วยจะไปรักษาที่ไหน
หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทมส์ตีพิมพ์เรื่องนี้ไว้
ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ mmtimes ]


...




ภาพที่ 1: แผนที่พม่าซึ่งมีโอกาสพัฒนาไปเป็น 'transit hub' หรือเส้นทางผ่านการค้า เชื่อมต่อบังคลาเทศ-อินเ้ดีย-จีน และเชื่อมต่ออาเซียนผ่านไทย


พม่ามีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวมากมาย...
ทางด้านเหนือสุดติดกับธิเบต มีหิมะตก, ทางตะวันตกมีที่ราบสูงฉาน (Shan
plateau) ซึ่งมีแร่ธาตุมาก (ไทยขอซื้อถ่านหินเข้ามาทางแม่สาย
และขอซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำ) แถมยังมีวัฒนธรรมไทยใหญ่
ซึ่งเป็นขุมทองของการท่องเที่ยว


...


ไทยเราก็มีชาวไทยใหญ่เข้ามาทำงานและอาศัยมากมาย... ถ้าเราส่งเสริมให้มีศูนย์วัฒนธรรมไทยใหญ่ จัดทำหมู่บ้านไทยใหญ่ จัดงานประเพณีไทยใหญ่


เช่น เชิญนักบอลลูนเตาจี (โคมลอย),
นักพายเรือด้วยเท้าแบบอินเล มาสอน แสดง และแข่งขันในไทยได้ ฯลฯ
ไทยจะมีทรัพยากรรองรับด้านการท่องเที่่ยวมากกว่านี้อีกมากมาย


...


[ mmtimes ]


ภาพที่ 2:
คนไข้มุสลิมที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มิถุนายน 2551, ปี 2550
ชาวพม่าเข้ามารักษาในไทยมากกว่า 36,000 คน (เฉพาะเมดิคัลทัวร์
ไม่รวมการรักษาตลอดแนวชายแดนพม่า-ไทย ไม่รวมแรงงานพม่าในไทย) > [ mmtimes ]


..............................................


คนที่มีฐานะดีในพม่าเดินทางแบบเมดิคัลทัวร์ ไปรักษาพยาบาลในประเทศต่างๆ ทั่วเอเชีย เพื่อแสวงหาบริการสุขภาพที่ดี และราคาไม่แพงนัก [ mmtimes ]


ปลายทางหลัก (major destination; major =
ใหญ่ หลัก; destination = ที่หมาย ปลายทาง) แห่งหนึ่ง คือ สิงคโปร์,
มีคนไข้เมดิคัลทัวร์จากต่างชาติมากกว่า 400,000 คนในปี 2550
และเพิ่มเป็นกว่า 450,000 คนในปี 2551


...


มิสเตอร์คา
มาลจีต ซิงฮ์ กิลล์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดของโกลบอล พาร์คเวย์เฮลต์ กรุ๊ป
สิงคโปร์กล่าวว่า สิงคโปร์มีบริการทางการแพทย์ชั้นนำ มีการวิจัยชั้นสูง
แถมยังมีทีมแพทย์เฉพาะทางพร้อมในราคาที่ "พอจะจับจ่ายกันได้"


รัฐบาลสิงคโปร์ให้การสนับสนุน
และส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านนี้อย่างจริงจัง
เพื่อให้คุณภาพบริการด้านการแพทย์ดีที่สุด และราคาค่อนไปทางต่ำพร้อมๆ กัน


...


โรงพยาบาล
เอกชนที่นั่นเริ่มรับคนไข้ต่างชาติมาตั้งแต่ช่วง 'late 1980s' = 1986-1990
(บวก 543 จะได้ปี พ.ศ.) หรือประมาณ 20 ปีก่อน ราคาถูกกว่า US และ UK
มากถึง 60%


อ.กิลล์กล่าวว่า
คนไข้นานาชาติคาดหวังได้เลยว่า จะได้รับการรักษาจากหมอชั้นนำ (top-notch
doctors) ซึ่งผ่านการฝึกอบรม (trained) จาก US
ทำให้บริการที่นั่นดีเท่ากับ หรือไม่ก็ดีกว่าที่อื่นๆ ในเอเชีย


...


คนไข้ชาว
พม่าไปสิงคโปร์เพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพ รักษามะเร็ง ปลูกถ่ายตับและไต
ผ่าตัดหัวใจ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (เช่น นิ่ว ฯลฯ), ผ่าตัดระบบประสาท
(สมอง-ไขสันหลัง-เส้นประสาท) และผ่าตัดกระดูก-เอ็น-ข้อ


จุดเด่นของพาร์เวย์เฮลต์ คือ
มีชุดการรักษาที่มีค่ารักษารวมคงที่ (fixed fee package) ทำให้ลูกค้าบวก
ลบ คูณ หารค่าใช้จ่ายได้แทบจะในทันที


...


ตัวอย่างเช่น
ค่าผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (coronary bypass) = S$23,000 = 550,160 บาท;
ค่าผ่าตัดต้อกระจก = S$3,050 ต่อข้าง = 72,956 บาทต่อข้าง
(ไม่ใช้วิสัญญีแพทย์) [ 23.92 บาท/ดอลลาร์สิงคโปร์ > x-rates ]


ปลายทางอีกแห่งคือไทย ปี 2550
นักท่องเที่ยวพม่าเดินทางเข้าไทย 75,183 คน
ในจำนวนนี้เดินทางเข้ามารักษาพยาบาล หรือมาแบบเมดิคัลทัวร์ 36,257 =
48.23%, นั่นคือ นักท่องเที่ยวพม่าเกือบครึ่งหนึ่งเข้ามาในไทย
เพื่อการตรวจหรือรักษาโรค


...


ปี 2550 ไทยมีคนไข้ต่างชาติ (ไม่รวมคนไข้ที่ผ่านชายแดนเข้ามา) 1.4 ล้านคน, ประมาณการณ์คนไข้ต่างชาติในปี 2551 คือ 1.69 ล้านคน


ในจำนวนนี้เป็นคนไข้จากประเทศกลุ่มอาเซียน
100,773 คนในปี 2550 โดยมีคนไข้จากพม่ามากที่สุด (36,257 ราย)
และกัมพูชามากเป็นอันดับสอง (24,163 ราย)


...


อ.นพ.สุ
รพงศ์ อำพันวงษ์ ผู้อำนวยการบริการกลุ่มโรงพยาบาลพญาไท ให้สัมภาษณ์ว่า
ไทยไม่ได้เป็นประเทศเป้าหมายแห่งเดียวของคนไข้พม่า
ชาวพม่าที่มีฐานะดีบางคนบินไปรักษาที่เยอรมนี


แต่ไทยมีดีที่คุณภาพการดูแลรักษา และความคุ้มค่าเงิน (value for money)


...


ท่านกล่าวว่า
พม่าเองก็มีศักยภาพที่จะพัฒนาด้านเมดิคัลทัวร์
แต่การพัฒนาไปถึงจุดนั้นจำเป็นต้องให้โอกาสบุคลากรทางการแพทย์พม่าเข้ารับ
การฝึกอบรมเพิ่มเติม 


อาจารย์อู เอย์ มอว์ เจ้าของบริษัทแอดวานซ์
เมดิทัวร์กล่าวว่า คนไข้พม่าเริ่มเข้าไปรักษาในไทยตั้งแต่ปี 1990 หรือ
พ.ศ. 2533 และได้รับความนิยมมาตั้งแต่ช่วง early 2000 = 2000-2005 = พ.ศ.
2543-2548


...


ท่านกล่าวว่า โรงพยาบาลในไทยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และหมอไทยหลายๆ ท่านก็ผ่านการฝึกอบรมจาก US 


อาจารย์อู เหม่า เหม่า ซเว
ผู้อำนวยการบริหาร SM ทัวร์ แอนด์ ทราแวล คอมแพนี พม่า กล่าวว่า
คนไข้พม่าเกือบทั้งหมดเข้าไปตรวจสุขภาพ (medical check-up) ในไทย
หรือไม่ก็เข้ารับการผ่าตัด


...


อาจารย์อู
อ่อง ตูรายน์ (U Aung Thurein) ผู้อำนวยการบริหารเวอร์เท็กซ์
ผู้แทนโรงพยาบาล AMRI ในกัลกัตตา อินเดียกล่าวว่า
คนไข้พม่าเข้าไปรักษาในอินเดียมา 5 ปีแล้ว เกือบทั้งหมดเข้าไปรักษาโรคตับ
หรือไม่ก็ผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายไต


อินเดียเป็นประเทศที่มี IT (information
technology / IT = เทคโนโลยีสารสนเทศ) ชั้นนำ, มีบริการทางการแพทย์ที่ดี
อากาศและอาหารก็คล้ายกับในพม่า แถมราคาก็ถูกกว่าจุดหมายปลายทางอื่นๆ เช่น
สิงคโปร์ ฯลฯ


...


อินเดียมีคนไข้ต่างชาติทั้งจากบังคลาเทศ ภูฏาน, UK, US



ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


...


ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                


ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Asian countries draw Myanmar medical tourists' = "ประเทศอาเซียนดึงดูดนักท่องเที่ยวพม่าเข้าไปรักษาพยาบาล" = "ประเทศอาเซียนดึงดูดคนไข้เมดิคัลทัวร์จากพม่า" 

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...


ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา


@@ [ medical ] > [ เม็ด - ดี - เข่า ] > //www.thefreedictionary.com/medical > adjective = เกี่ยวกับการแพทย์



...



@@ [ tourist ] > [ ทั่ว - หริส - st ] > //www.thefreedictionary.com/tourist > noun = นักท่องเที่ยว



@@ [ destination ] > [ เดส - ถิ - เน้ - เฉิ่น ] > //www.thefreedictionary.com/destination > noun = จุดหมาย ปลายทาง


 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]


ที่มา                                                         







  • นพ.วัลลภ
    พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์.
    ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 23
    พฤศจิกายน 2552.




  • ข้อมูล
    ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค
    ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล
    ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.









Free TextEditor


Create Date : 24 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2552 22:31:58 น. 0 comments
Counter : 1348 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com