บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 ตุลาคม 2552
 

10 วิธีถนอมมือ+ลดเสี่ยงภูมิแพ้

ท่านอาจารย์ รศ.พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ตีพิมพ์เรื่อง "ผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ" [ ผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ ]


และอาจารย์แห่งเว็บไซต์สมาคมโรคภูมิแพ้ผิวหนังอเมริกา (National Eczema Association) แนะนำวิธีถนอมมือ และลดผื่นภูมิแพ้มือ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการค้น ระคายเคือง เป็นผื่น ตุ่มพอง หรือ "เอกซีม่า" ที่มือ ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ hand eczema ]


 [eczemadailycare.ca] 


ภาพที่ 1: ตำแหน่งโรคภูมิแพ้ผิวหนังที่พบบ่อย > [ eczemadailycare.ca ] & [ EDC.ca ]


เด็กๆ ที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักจะเป็นที่หัว ใบหน้า มือ เท้า ข้อพับศอก-เข่าดังภาพ กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ ตำแหน่งเหล่านี้มีสัมผัสสารเคมีภายนอก ถูไถ-เสียดสีกันสูงกว่าบริเวณอื่นๆ หรือมีความอับชื้นสูง (เด็กชอบใช้หัวกับใบหน้าถูไถ หรือกลิ้งคลานมากกว่าผู้ใหญ่)


พอโตขึ้น... ผื่นภูมิแพ้ที่พบบ่อยจะมีตำแหน่งเปลี่ยนไป คือ หัวกับเท้าลดลง (อาจเป็นเพราะการสวมถุงเท้า-รองเท้า และไม่ใช้หัวถูไถ กลิ้งคลานแบบเด็ก) แต่มีผื่นเพิ่มบริเวณข้อศอกด้านนอก กับหน้าอก(อาจเป็นเพราะผู้ใหญ่ชอบใช้หน้าอกถูไถ หรือกลิ้งคลานมากกว่าเด็ก)


...


 [nationaleczema]


ภาพที่ 2: ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่มือ ซึ่งอาจพบอาการคัน ผิวหนังแดง ลอกเป็นขุย มีตุ่มหรือตุ่มน้ำคัน > [ nationaleczema ]


...


 [wikipedia] 


ภาพที่ 3: แสดงตุ่มน้ำคันที่มือ > [wikipedia]


... 


 [ eczemahelp.ca ] 


ภาพที่ 4: หลักการสำคัญ 3 ประการในเรื่องการควบคุมผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คือ


(1). ให้ความชุ่มชื้น (ผิวยิ่งแห้งยิ่งคัน โดยเฉพาะหน้าหนาว ใช้สบู่-แชมพู-ผงซักฟอก-น้ำยาล้างจานมาก จะทำให้ผิวแห้ง ตรงกันข้ามถ้าทาสารให้ความชุ่มชื้น เช่น น้ำมัน โลชั่น ฯลฯ จะช่วยรักษาความชุ่มชื้น); (2). ให้การบำบัดรักษา; (3). ให้ความรู้ [ eczemahelp.ca ]


...


วิธีถนอมมือเพื่อลดผื่นภูมิแพ้มีดังต่อไปนี้


(1). ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ หรือคันมือง่าย, ควรหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้แพ้ และทดสอบการแพ้ก่อนใช้สารเคมีหรือเครื่องสำอางใหม่ โดยทาบางๆ เป็นจุดเล็กๆ ที่หน้าแขน ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ถ้าไม่แพ้ค่อยใช้งานจริง


(2). คนไทยเรามักจะคิดว่า ความสกปรกทำให้เกิดโรคผิวหนัง ซึ่งอาจจะถูกในโรคติดเชื้อบางอย่าง ทว่า... ทุกวันนี้โรคภูมิแพ้ และอาการคันจากผิวแห้งพบเพิ่มขึ้นมาก จึงควรเข้าใจว่า "ความแห้งเพิ่มเสี่ยงอาการคัน" ไว้เสมอ


ไม่ควรอาบน้ำบ่อยเกิน 2-3 ครั้งต่อวัน, ถ้าอาบน้ำบ่อย ผิวแห้งง่าย คันง่าย อายุมาก (อายุมากขึ้นทำให้ผิวหนังสร้างน้ำมันเพื่อรักษาความชุ่มชื้นได้น้อยลง) หรือคันจากผิวแห้ง เช่น หน้าหนาว อยู่ในห้องแอร์ ฯลฯ ควรถูสบู่เฉพาะใบหน้า คอ รักแร้ หน้าอก ขาหนีบ ข้อพับ (ข้อศอก-ข้อเข่า) มือ และเท้า


ถ้าชอบอาบน้ำบ่อยๆ อาจอาบเพิ่มด้วยน้ำเปล่า ไม่ถูสบู่, ผิวหนังส่วนที่แห้งง่ายมาก คือ หน้าแข้ง... แห้งแล้วจะคันง่าย การถูสบู่หน้าอกแล้วราดน้ำลงมาก็ทำให้หน้าแข้งผ่านน้ำสบู่มากพอแล้ว 


(2). ใช้สบู่สีขาวหรือไม่มีสี ไม่เติมน้ำหอม ไม่เติมยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้อาจเพิ่มโอกาสแพ้หรือการระคายเคืองได้... สบู่สีขาวของเด็กมีแนวโน้มจะดีกว่าสบู่ผู้ใหญ่ (โอกาสก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่า) ถูมือเบาๆ ให้ถูกวิธี > ซับออกให้แห้งเบาๆ โดยไม่ถูไถมือแรงๆ


อย่าใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดมือ เพราะยิ่งเช็ด-ยิ่งแห้ง เมื่อแห้งแล้วจะคันง่ายขึ้น และอย่าปล่อยยาสีฟันเปื้อนมือนานๆ เนื่องจากอาจทำให้ผิวแห้งได้ง่าย


ถ้ามีฐานะดีมากๆ อาจพิจารณาใช้สารชำระล้างที่ไม่มีสบู่ ซึ่งแน่นอนว่า แพงสุดๆ เช่นกัน


(3). หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีกลุ่มชำระล้างคราบไขมัน เช่น น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยาล้างรถ ฯลฯ เท่าที่ทำได้


(4). ถอดแหวน นาฬิกาออกก่อนล้างมือ อาบน้ำ หรือสระผม เนื่องจากอาจมีเศษสบู่หรือสารเคมีสะสม ติดค้าง ทำให้คันได้ง่าย


(5). หลีกเลี่ยงการสัมผัสอาหาร น้ำผลไม้ เปลือกผลไม้ โดยเฉพาะส้ม มะนาว ส้มโอ มะเขือเทศ หอม กระเทียม พริก พริกไทย ผัก เนื้อสัตว์ เพื่อลดโอกาสเกิดการระคายเคือง โดยอาจสวมถุงมือพลาสติกก่อนปรุงอาหาร-ล้างจาน


(6). เจลแอลกอฮอล์อาจทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงที่ผื่นผิวหนังกำเริบ หรือคันมาก


(7). ใช้สารให้ความชุ่มชื้น หรือ 'moisturizers' [ ม้อย - s - เชอ - ไร - เส่อ ] ทามือหลังล้างมือ อาบน้ำ หรือสระผม (อาจสวมถุงมือพลาสติกช่วยตอนสระผมได้)


ส่วนใหญ่ชนิดที่เหนียวมักจะรักษาความชุ่มชื้นได้ดี เช่น เจลปิโตรเลียม (วาสลิน) หรือขี้ผึ้งมักจะดีกว่าน้ำมัน โลชั่น ฯลฯ, โลชั่นแบบใส่ขวดปั๊มพ์ได้มักจะมีคุณภาพต่ำกว่าชนิดใส่ในกระปุก เนื่องจากมีความหนืดน้อยกว่า (เพื่อให้กดผ่านปั๊มพ์ และสายยางได้ง่าย)


ถ้าเลือกได้... ควรเลือกสารให้ความชุ่มชื้นที่มียูเรีย ซึ่งช่วยรักษาความชุ่มชื้นได้ดี


...


(8). ถุงมือพลาสติก (โพลียูรีเทน ไวนิล พีวีซี) มักจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองน้อยกว่าถุงมือยาง และควรหลีกเลี่ยงการใส่ถุงมือที่กันน้ำได้ (waterproof) นานเกิน 15-30 นาที/ครั้ง เนื่องจากอาจทำให้เกิดความชื้นอับได้


(9). การใส่ถุงมือผ้าฝ้ายบางสีขาวก่อนทำงานหนัก ช่วยลดการเสียดสี, การสวมถุงมือผ้าฝ้ายบางสีขาวหลังทายาช่วยเพิ่มการดูดซึมยา, การสวมถุงมือผ้าฝ้ายบางสีขาวก่อนนอนช่วยป้องกันผิวแห้งได้


(10). ถ้าอาการคันหรือผื่นผิวหนังไม่ทุเลาใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาหมอใกล้บ้าน หรืออาจารย์หมอโรคผิวหนัง


...


ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ > แนะนำให้อ่าน [ ผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ ]


...


ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                         


คลิกที่ลิ้งค์ เพื่อฟังเสียงเจ้าของภาษา แล้วออกเสียงตาม ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี


คำที่มี 4 พยางค์ขึ้นไป มักจะมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง ให้ย้ำเสียงหนักที่สุดที่พยางค์ตัวหนา หนักรองลงไปที่พยางค์ตัวบาง


...


@@ [ moisturizer ] > [ ม้อย - s - เชอ - ไร - เส่อ ] > noun = สารให้ความชุ่มชื้น


@@ [ eczema ] > [ เอ๊ก - ซี - หม่า ] > noun = ผื่นผิวหนังภูมิแพ้


...


 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]


ที่มา                                                         







  • ขอขอบพระคุณ เดลินิวส์ > ท่านอาจารย์ รศ.พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. ผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ.



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 31 ตุลาคม 2552.




  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.








Free TextEditor




 

Create Date : 31 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 31 ตุลาคม 2552 21:55:33 น.
Counter : 1177 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com