บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
10 ตุลาคม 2552
 

ผู้เชี่ยวชาญแนะ วิธีขึ้นรถโดยสารให้ปลอดภัย

ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์คุณภาพ ฉบับ 10 ตุลาคม 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "รู้วิธีเลือกนั่ง รถโดยสารสาธารณะ" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง


ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ขอความกรุณาแวะไปเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ "ไทยรัฐ" กันครับ


...


 [buisauto] 


ภาพที่ 1: การเช็คลมยางเป็นประจำช่วยป้องกันลมยางอ่อน ซึ่งทำให้เปลืองน้ำมัน ยางสึกหรอเฉพาะที่ และป้องกันยางระเบิดได้


หลักการสำคัญ คือ ให้เติมลมเกินกว่าที่บริษัทยางแนะนำ 1-3 หน่วย (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ถ้าเติมลมในช่วงที่ยางร้อน เช่น ขับรถไปเติมลมนอกบ้าน ฯลฯ หลังจากนั้นให้วัดลมยางซ้ำหลังจอดรถนาน 3-4 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อตรวจซ้ำในช่วงที่ยางเย็นลง


...


คู่มือรถโตโยต้าแนะนำว่า ถ้าลมยางข้างซ้ายกับขวาต่างกันเกิน 0.5 หน่วย (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) จะเพิ่มเสี่ยงรถปัด หรือเสียการทรงตัวเวลาเบรคฉุกเฉิน จึงต้องวัดลมยางให้ซ้ายเท่ากับขวาด้วยเสมอ


ยางที่อ่อนจะมีการบิดตัวสูงกว่ายางที่เติมลมพอดี ทำให้เกิดแรงบิด และความร้อนสะสมเพิ่มขึ้น ทำให้ระเบิดได้ง่ายกว่ายางที่เติมลมพอดี > Thank [ buisauto ]


...


[ Reader'sDigest ] 


ภาพที่ 2: วิธีตรวจสอบดอกยางโดยสอดเหรียญเข้าไป ดอกยางควรมีความหนาอย่างต่ำ = หัวไม้ขีดไฟ หรือตามที่บริษัทยางแนะนำ [ Reader'sDigest ]


...


[ Reader'sDigest ] 


ภาพที่ 3: ดอกยางที่สึกจากการสูบลมมากเกินไป (overinflated; over- = มากเกินไป; inflate = สูบลม) จะพบดอกยางส่วนกลางสึกมากกว่าส่วนขอบนอก [ Reader'sDigest ]


...


[ Reader'sDigest ] 


ภาพที่ 4: ดอกยางที่สึกจากการสูบลมน้อยเกินไป (underinflated; under- = น้อยเกินไป; inflate = สูบลม) จะพบดอกยางส่วนขอบนอกสึกมากกว่าส่วนกลาง [ Reader'sDigest ]


...


[ Reader'sDigest ] 


ภาพที่ 5: ดอกยางที่สึกจากการถ่วงล้อ หรือการปรับแต่งช่วงล่างของรถ (bad = เลว; align = จัดแนว วางตำแหน่ง; alignment = การจัดแนว การวางตำแหน่ง ในที่นี้หมายถึงการถ่วงล้อ การปรับแต่งช่วงล่างของรถไม่ดี หรือส่วนควบคุมการทรงตัวของรถไม่ดี) 


จะพบดอกยางสึกหรอเป็นบางส่วน (สังเกตว่า ด้านซ้ายไม่เท่าด้านขวา) [ Reader'sDigest ]


...


[ บทความคัดลอกจาก "ไทยรัฐ" ]


อาจารย์คณะวิศวะ ม.สุรนารี เผย 4 วิธีเลือกนั่งรถโดยสารให้ปลอดภัย ทั้งไม่นั่งรถบริษัทที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย ไม่ขึ้นรถล้อไม่มีดอกยาง หน้าคนขับต้องสดชื่น และคาดเข้มขัดนิรภัยทุกครั้ง...

อุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะเป็นเรื่องที่ป้องกันได้


...

นั่นเป็นคำกล่าวโดยสรุปเนื้อหาสำคัญที่ ผศ.ดร. สมประสงค์ สัตยมัลลี สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ให้ สัมภาษณ์กับวารสาร "ฉลาดซื้อ" เดือนกันยายน 2552 

ความจริงบทสัมภาษณ์ของเขายาวหลายหน้า จำแนกให้เห็นว่าระบบรถโดยสารสาธารณะบ้านเรามีจุดอ่อนอย่างไร นับแต่พฤติกรรมคนขับรถ ระบบตอบแทนพนักงาน เรื่องของมาตรฐานบริการ สัมปทาน ตลอดจนสถานีขนส่งที่ไม่เอื้ออำนวยแก่ผู้ใช้


...

น่าตกใจไม่น้อยเมื่อได้เห็นตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในปี 2550 สูงถึงกว่า 13,000 คน อุบัติเหตุจากการเดินทางด้วยรถยนต์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำนั้น ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่ป้องกันได้


แต่ในระหว่างที่รอให้ผู้รับผิดชอบใส่ใจกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เห็นทีผู้บริโภคต้องหูตาไว รู้จักสังเกตสังกาด้วยตัวเองเสียก่อนใช้บริการรถโดยสารสาธารณะกันดีกว่า


...

ผศ.ดร.สมประสงค์ อาจารย์ด้านวิศวกรรมขนส่ง ผู้ที่ยังใช้รถโดยสารสาธารณะเดินทางจากกรุงเทพฯไปโคราชเป็นประจำ บอกวิธีเลือกนั่งรถโดยสารสาธารณะให้ปลอดภัยว่า

* ต้องหมั่นติดตามข่าว สารว่ารถบริษัทไหนเกิดอุบัติเหตุบ่อยเราก็ไม่นั่ง 

* เวลาจะขึ้นรถก็สังเกตดูยางรถยนต์หน่อยว่ามีดอกยางไหม ถ้าไม่มีอย่าขึ้นจะดีกว่า

* ดูหน้าคนขับสักนิดว่าหน้าตาเขาสดชื่นดีหรือเปล่า

* พอไปถึงเบาะที่นั่งก็ให้ดูเข็มขัดนิรภัย แล้วต้องคาดด้วยเพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุได้มาก


...


[ ขอขอบพระคุณและขอแนะนำเว็บไซต์ "ไทยรัฐ". Recommended websites '[ buisauto ]' & '[ Reader'sDigest ]'. ขอแนะนำให้อ่านรีดเดอร์ส ไดเจสท์ฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทย คือ "รีดเดอร์ส ไดเจสท์ สรรสาระ" ครับ ]






Free TextEditor




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 10 ตุลาคม 2552 22:58:05 น.
Counter : 829 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com