บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
23 กันยายน 2552
 

5 วิธีเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

คณะนักวิจัยจาก U นอททิงแฮม UK พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเรามีกล้ามเนื้อลดลงตามอายุ คือ การตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีน (กรดอะมิโน / amino acids) ลดลง


การศึกษานี้พบว่า โปรตีนเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อของคนอายุ 25 ปีได้ดีกว่าคนอายุ 60 ปี และปริมาณเลือดที่หล่อเลี้ยงขาของคนอายุน้อยมีมากกว่าคนอายุมาก


การออกกำลัง 3 ครั้ง/สัปดาห์ นานเกิน 20 สัปดาห์ทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงขาของคนสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย


นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่า ทำไมการออกแรง-ออกกำลังจึงช่วยให้คนเราดูสดชื่น และอ่อนเยาว์ได้


การศึกษาก่อนหน้านั้นพบว่า การออกกำลังแบบหนักวัน-เบาวัน ทำให้กล้ามเนื้อมีเวลาพักฟื้น และทำให้ออกกำลังได้มากขึ้น


การกินอาหารที่มีคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรต (แป้ง-น้ำตาล) และโปรตีน (นมไขมันต่ำ เนื้อ ถั่ว ไข่ โปรตีนเกษตร ฯลฯ) สูงหน่อยภายใน 30 นาทีหลังออกกำลังช่วยเพิ่มระดับอินซูลิน ทำให้โปรตีนเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อได้มากขึ้น ฟื้นตัวจากการออกกำลังเร็วขึ้น


กลไกที่เป็นไปได้ คือ คาร์บ (แป้ง-น้ำตาล) ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินมากขึ้น อินซูลินเพิ่มการนำโปรตีนเข้าเซลล์กล้ามเนื้อ


กล้ามเนื้อของคนเรามีความไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้นมากมายหลังออกแรง-ออกกำลัง โดยเฉพาะช่วง 30 นาทีแรกหลังออกกำลังเสร็จใหม่ๆ


การออกกำลังเบาๆ เช่น ขี่จักรยานช้าๆ ฯลฯ หลังอาหาร (หลังอาหารไม่ควรออกกำลัง-ออกแรงหนัก) มีส่วนช่วยป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินเช่นกัน


สรุปคือ ถ้าอยากจะเสริมสร้างกล้ามเนื้อควรใช้วิธีดังต่อไปนี้ร่วมกัน


(1). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เช่น เดิน ขึ้นลงบันได ฯลฯ รวมเวลากันให้ได้อย่างน้อย 30 นาที/วัน (อย่างต่ำควรเป็น 3-5 ครั้ง/สัปดาห์) ติดต่อกัน 20 สัปดาห์ หรือ 5 เดือนขึ้นไป


(2). ออกกำลังต้านแรง เช่น เล่นเวท ยกน้ำหนัก ดึงสปริง ดึงยางยืด พิลาทิส ฯลฯ


(3). กินอาหารที่มีคาร์บ (แป้ง-น้ำตาล) + โปรตีน (ถั่ว นมไขมันต่ำ โปรตีนเกษตร เนื้อ ไก่ ปลา ฯลฯ) ภายใน 30 นาทีหลังออกแรง-ออกกำลัง (ไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารมื้อใหญ่ แต่ควรมีทั้งคาร์บและโปรตีนในมื้อเดียวกัน)


(4). ออกกำลังเบาๆ หลังอาหารมื้อใหญ่ เช่น เดินหรือขี่จักรยานช้าๆ ฯลฯ เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังอาหาร  


(5). นอนไม่ดึก และนอนให้พอ เพื่อให้ฮอร์โมนช่วยสร้าง-ซ่อมแซมร่างกาย (growth hormone) หลั่งออกมามากพอ


ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ




  • Thank drmirkin > Preventing loss of muscle strength with aging. September 20, 2009. นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 22กย52. ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.







Free TextEditor


Create Date : 23 กันยายน 2552
Last Update : 23 กันยายน 2552 0:12:20 น. 3 comments
Counter : 4090 Pageviews.  
 
 
 
 
เข้ามาเก็บความรู้
ขอบคุณนะคะ ที่เอามาให้อ่านกัน ^^
 
 

โดย: cutie_girl วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:0:19:25 น.  

 
 
 
ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ ไม่ได้ออกกำลังกายนานมากแล้ว กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นแขน ถูกไขมันเข้าเสียบเรียบร้อย ท่าทางต้องเริ่มไล่ที่กันอีกหละ
 
 

โดย: ริมยมนา วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:0:32:48 น.  

 
 
 
เรียนเสนอให้ลองออกแรง-ออกกำลังกันใหม่ครับ........ // ตอนนี้ก็ไม่สาย และจะได้ผลดีด้วย
 
 

โดย: นพ.วัลลภ วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:22:41:27 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com