บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
7 พฤศจิกายน 2552
 

อารมณ์เศร้าทำให้คนเรารอบคอบขึ้น

การมีอารมณ์เสียไม่ได้เป็นเรื่องเลวร้ายไปเสียทั้งหมด การศึกษาใหม่จากออสเตรเลียพบว่า คนเราตัดสินใจได้ดีขึ้นในช่วงที่อารมณ์เสีย (grumpy = อารมณ์เสีย บูดบึ้ง) [ BBC ]


ศ.โจ ฟอร์กาส และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยนิว เซาต์ เวลส์ ออสเตรเลีย ทำการศึกาพบว่า ช่วงที่คนเราร่าเริง หรืออารมณ์ดีเหมาะกับการทำงานประเภทใช้ความคิดสร้างสรรค์


...


ตรงกันข้ามอารมณ์เศร้าสร้อยเหมาะกับการทำงานประเภทที่ต้องใช้ความรอบคอบ ช่วยให้ตัดสินใจได้รอบทิศ ไม่วู่วาม แถมยังสื่อสารได้ดีขึ้นด้วย


การศึกษาทำโดยให้อาสาสมัครดูหนังหลายๆ ประเภท แล้วให้นึกย้อนไปเทียบกับเหตุการณ์เก่าๆ ในชีวิตทั้งด้านบวกและลบ (ประสบการณ์ดีหรือร้าย)


...


หลังจากนั้นให้ทำงานเป็นชุดๆ เช่น ตัดสินใจความเป็นไปได้จริงของความเชื่อของคนในเมือง ให้เป็นพยานรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ


การศึกษาก่อนหน้านี้ของอาจารย์ฟอร์กาสพบว่า วันที่อากาศแจ่มใสไม่มีเมฆหมอกมักจะทำให้คนร่าเริง และหลงลืม-จำอะไรไม่ค่อยได้ ตรงกันข้ามวันที่ฝนตก-อากาศชื้น... คนเรากลับจำอะไรได้ดีขึ้น


...


เรื่องนี้คล้ายๆ กับคำกล่าวว่าที่ว่า "ในดีมีเสีย ในเสียมีดี" หรือวิกฤตกับโอกาสมักจะมาด้วยกัน คือ ไม่มีอะไรดีหรือเสียไปหมดโดยส่วนเดียว อยู่ที่การ "ทำใจ" ให้ดี และพลิกวิกฤตเป็นโอกาสเท่าที่จะทำได้


ข้อควรระวังอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตคือ เมื่อชีวิตขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว... ไม่ควรรีบตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ควรรอให้เวลาผ่านไปสัก 7 วันก่อน และควรปรึกษาหารือกับคนในครอบครัวด้วยเสมอ เพื่อป้องกันการตัดสินใจที่วู่วาม หรือผลีผลามเกินไปเสมอ


...


ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


...


 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]


ที่มา                                                         




  • Thank BBC > Feeling grumpy 'is good for you'. 3 November 2009. / Source > Australian Science Magazine.



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 4 พฤศจิกายน 2552.




  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.








Free TextEditor




 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2552
0 comments
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2552 13:10:15 น.
Counter : 639 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com