ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

สโตนเฮนจ์ กองหินประหลาดจริงหรือ



สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบว้างใหญ่ในบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันอยู่ในแนวนอน และบางอันก็ถูกวางซ้อนขึ้นไปข้างบน

สโตนเฮนจ์มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาถึงอายุของมันแล้ว คาดว่ากลุ่มกองหินประหลาดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ในบริเวณที่ราบดังกล่าว ไม่ใช่บริเวณที่จะมีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมด มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากบริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งมาล์โบโร" ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว

การก่อสร้างสโตนเฮนจจ์นั้นทำสืบเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี จากยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,800-1,400 ปีก่อนคริสต์กาล ซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงเงาของอีตาลอันรุ่นโรจน์ แนวหินกว่าครึ่งได้หักลงบ้าง หายไปบ้าง บางส่วนก็ทับถมกันอยู่ใต้ดิน การก่อสร้างเริ่มขึ้นในราว 2,8000 ปีก่อนคริสต์กาล (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ว่าเมื่อ 3,800 ปี) โดยเริ่มจากการขุดร่องวงกลมขนาดใหญ่ 56 หลุมเรียงเป็นวงกลมภายในวงดินนั้น หลุมเหล่านี้เรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ตามชื่อจอห์น ออบรีย์ผู้ค้นพบในคริสต์ศตวรรษ 17 ปัจุบันหลุมดังกล่าวลาดทับด้วยปูบซีเมนต์ แต่หินแท่งแรกซึ่งเรียกกันว่าหินฮีล (Heel Stone) ที่ประจำอยู่ปากทางเข้าวงดินยังคงตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม หลุมซึ่งขุดเรียงกันเป็นวงกลมอีกสองวงถัดเข้าไปเรียกกันว่าหลุม Y และหลุม Z

วงหลุมทั้งสองนี้คั่นอยู่ระหว่างวงหลุมออบรีย์ที่เป็นวงนอกและวงแท่งหินขนาดมหึมาตรงใจกลางวงดินสันนิษฐานว่าวงหลุม Y และ Z อาจมีความสำคัญในเชิงดาราศาสตร์ ในราว 2,100 ปีก่อนคริสต์กาล มีการนำหินสีน้ำเงิน (bluestone) 80 ก้อนจากแคว้นเวลส์มาเรียงเป็นวงกลมสองวงซ้อนกันแต่ต่อมามีการนำแท่งหินทรายขนาดใหญ่ 30 แท่ง ที่เรียว่าหินซาร์เซน(sarsen) มาเรียงเป็นวงกลมวงเดียวแทนที่วงหินสี่น้ำเงิน

สองวงวงเดิมภายในวงหินทรายมีหมู่ หินเรียงเป็นรูปกึ่ง ๆ รูปเกือกม้าอีกสองหมู่หมู่ที่อยู่ด้านนอกประกอบด้วยหินทรายก่อเป็นรูปไตรลิธอนห้ากลุ่ม(Trilithon คือกลุ่มหินที่ประกอบด้วยหินสามแท่ง สองแท่งตั้งขึ้นคู่กันและแท่งที่สามวางพาดเป็นคานในแนวนอน) ส่วนเกือกม้าด้านในประกอบด้วยหินสีน้ำเงินขัดแต่ง 19แท่งสถาปัตยกรรมนี้เป็นความสำเร็จอันน่าทึ่งเมื่อคิดดูว่าเครื่องมือขุดดินที่ผู้สร้างในยุคหินใหม่ใช้เป็นเพียงเสียมที่ทำจากเขากวางแดงเท่านั้น ชาวแซกซันเป็นผู้ขนาดนามวงหินเหล่านี้ว่า สโตนเฮนจ์ซึ่งเแปลตรงตัวว่า หินที่แขวนอยู่ (Hanging Stone) ส่วนบันทึกจากสมัยกลางตั้งชื่อวงหินนี้อย่างไพเราะว่า กลุ่มยักษ์เริงระบำ (The Giants Dance)

แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่าสโตนเฮนจ์เป็นสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลึกลับ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันมีไว้เพื่ออะไร มีการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ นานา เช่น อินิโก โจนส์ สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อว่าสโตนเฮนจ์เป็นซากปรักหักพังของวิหารโรมัน แต่คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19ยืนยันว่าเป็นวิหารซึ่งพวกลัทธิดรูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ ความคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เราะสโตนเฮนจ์นั้นสร้างเสร็จอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวจะเฟื่องฟู กระทั่งเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เองที่เราเริ่มได้ข้อเท็จจริงบ้าง นักโบราณคดี สามารถคำนวณหาอายุ และสรุปเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น

แต่ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงก็ยังนับว่าน้อยอยู่มาก หินซาร์เซนที่เรียงเป็นวงด้านนอกแต่ละก้อนสูง 5 ม และหนักประมาณ26 ตัน หินเหล่านี้ชักลากมาจากทุ่งโล่งมาร์ลโบโร ดาวน์ส (Marlborough Downs)ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 32 กม. แล้วนำมาขัดแต่งและประดิษฐ์ให้มีสลักและเดือยอย่างดี ทำหใแท่งหินคู่ที่ตั้งและคานหินที่ใช้พาดเกาะเกี่ยวกันอย่างมั่นคง ส่วนหินสีน้ำเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งหนักถึงสี่ตันนำมาจากภูเขาพรีเซลีทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์นั้น สันนิษฐานว่าใช้แพลำเลียงล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน แล้วชักลากต่อมาทางบก นักโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อว่า สโตนเฮนจ์เป็นสถานที่ประกอบพิธีฝั่งศพ โดยพิจารณาจากหลักฐานว่านอกเหนือจากสโตนเฮนจ์แล้ว มีการสร้างสุสานมูนดินในหลุมออบรีย์หลายหลุม แต่ก็มีหลักฐานหักล้างว่าหลุมดังกล่าวขุดขึ้นนานก่อนที่จะมีการเผาศพในบริเวณนี้ บ้างก็สันนิษฐานว่าหลุมออบรีย์อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งใน พิธีไหว้ด้วยสุรา เช่น ชาวนาอาจเทเหล้าองุ่นลงในหลุมเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าเปห่งธรรมชาติทั้งหลาย

วงหินสโตนเฮนจ์ก็อาจจะเป็นวิหารสำหรับทำพิธีบวงสรวงดังกล่าว ไม่นานมานี้ มีนักดาราศาสตร์คนหนึ่งได้อ้างว่าสามารถถอดรหัสแนวหินได้เขาเสนอว่าสโตนเฮนจจ์ คือ เครื่องคำนวญยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งใช้เป็นปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เพราะแนวของหินกลุ่มก้องต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กับแนวการเคลื่อนของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทฤษฏีทั้งหลายในปัจจจุบันจะมีตัวเลขและสถิติสนับเสนุนว่าเป็นจริง แต่ก็ยังไม่มีแนวคิดใดไขปริศนาลึกลับแห่งออีตของสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมบูรณ์


คลี่ปมปริศนาอนุสาวรีย์หิน "สโตนเฮนจ์" ที่แท้คือสุสานโบราณ

"สโตนเฮนจ์" กองหินยักษ์อายุกว่า 5,000 ปี ที่อยู่ทางตอนใต้ของอังกฤษเป็นปริศนามายาวนานนับศตวรรษที่คนยุคหลังสงสัยว่า แท้จริงคือสถานที่อันใดกันแน่ บ้างก็ว่าเป็นหอดูดาว บ้างก็ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิในสมัยโบราณ แต่ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็คลายปมจนได้ว่าที่แท้ก็เป็นสถานที่ประกอบพิธีศพ ของชนเผ่ามนุษย์ยุคก่อนคริสตกาล

วาร สารนิวไซเอนติสต์รายงานว่าคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (University of Sheffield) สหราชอาณาจักร ที่นำทีมโดยไมค์ ปาร์กเกอร์ เพียร์สัน (Mike Parker Pearson) ได้พิสูจน์โครงกระดูกของมนุษย์โบราณที่ขุดค้นได้ในบริเวณที่ตั้งของ "สโตน เฮนจ์" (Stonehenge) กองหินขนาดยักษ์ในเมืองวิลท์ไชร์ทางตอนใต้ของอังกฤษ พบหลักฐานบ่งชี้ว่าอนุสาวรีย์หินดังกล่าวเป็นสถานที่ประกอบพิธีศพและเป็น อนุสรณ์สถานแห่งความตายของกลุ่มชนชั้นสูงในยุคก่อนประวัติศาสตร์

นัก วิจัยใช้วิธีตรวจวัดการแผ่รังสีของธาตุคาร์บอนเพื่อคำนวณอายุของ โครงกระดูกและฟันที่ขุดขึ้นมาได้จากบริเวณดังกล่าวตั้งแต่เมื่อช่วงทศวรรษ ที่ 50 ผลการพิสูจน์บ่งชี้ว่าโครง กระดูกเหล่านั้นถูกฝังอยู่ในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ประมาณเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่สโตนเฮนจ์เริ่มถูกสร้างขึ้น และคาดว่าน่าจะถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีศพสำหรับชนชั้นสูงในสมัยยุคหิน ยาวนานต่อเนื่องกันไม่ต่ำกว่า 500 ปี ขณะที่ก่อนหน้านี้นักโบราณคดีเคยสันนิษฐานไว้ว่าบริเวณดังกล่าวถูกใช้เป็น ฌาปนสถานแค่ในระหว่าง 2,800-2,700 ปีก่อนคริสต์ศักราชเท่านั้น

"ผม ไม่คิดว่าคนธรรมดาสามัญจะได้รับการประกอบพิธีศพที่บริเวณ สโตนเฮนจ์นี้แน่นอน" เพียร์สันแสดงความคิดเห็นพร้อมกับแจงต่อว่านักโบราณคดีต่างสันนิษฐานกัน เรื่อยมาว่าสโตนเฮนจ์อาจถูกสร้างขึ้นโดยชนชั้นปกครองหรือบางทีอาจ เป็นราชวงศ์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ก็บ่งชี้ว่าเป็นตามนั้น อีกทั้งยังถูกใช้เป็นสุสานของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย

หนังสือ พิมพ์เดลิเมล์ของสหราชอาณาจักรระบุว่าสโตนเฮนจ์ส่วนแรกถูก สร้างขึ้นเมื่อราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยถูกขุดให้เป็นร่องดินและกำแพงดินล้อมเป็นวงกลมที่ประกอบด้วยหลุมจำนวน 56 หลุมที่บรรจุเสาไม้ไว้ภายใน ต่อมา 2,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช หินสีน้ำเงิน (bluestone) จำนวน 82 ก้อน ซึ่งบางก้อนหนักถึง 4 ตัน ได้ถูกลำเลียงมาตั้งไว้เป็นวงกลม 2 วงภายในกำแพงดินดังกล่าว และหลังจากนั้นอีกราว 150 ปี หินซาร์เซน (sarsen stone) จำนวนหนึ่งซึ่งแต่ละก้อนหนักราว 50 ตันก็ถูกลำเลียงมาไว้ในบริเวณเดียวกันและกลายเป็นสโตนเฮนจ์ที่เราเห็นกันใน ปัจจุบัน

เดลิเมล์รายงานต่อว่าเมื่อช่วงหลายสิบปีก่อนนัก โบราณคดีขุดค้นพบสุสานจำนวน 52 สุสานที่อยู่บริเวณรอบสโตนเฮนจ์ โดยโครงกระดูกจากสุสาน 3 แห่ง ถูกเคลื่อนย้ายนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ซาลิสเบอรี (Salisbury Museum) ซึ่งโครงกระดูกเหล่านี้เองที่นักวิจัยใช้เป็น ตัวอย่างศึกษา โครงกระดูกที่มีอายุมากที่สุดอยู่ระหว่าง 3030-2880 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่หลุมฝังศพในโสตนเฮนจ์ถูกสร้างขึ้น โครงกระดูกถัดมามีอายุราว 2930-2870 ปีก่อนคริสต์ศักราช และโครงกระดูกสุดท้ายมีอายุ 2570-2340 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หินซาร์เซนถูกลำเลียงมาไว้ที่สโตนเฮนจ์

กลุ่ม นักวิจัยเชื่อว่าน่าจะมีร่างที่ถูกฝังอยู่ที่บริเวณสโตนเฮนจ์มากถึง 240 ร่าง ทั้งนี้เมื่อ ปีที่แล้วนักวิจัยทีมเดียวกันนี้เคยพบหลักฐานสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ในละแวก ใกล้เคียงกับสโตนเฮนจ์ด้วย ซึ่งพวกเขาสันนิษฐานว่าสถานที่ทั้ง 2 แห่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทีมีความสัมพันธ์กัน

อย่าง ไรก็ดีนิวไซเอนติสต์รายงานว่าคริสโตเฟอร์ ชิปปินเดล (Christopher Chippindale) นักวิชาการประจำพิพิธภัณฑ์โบราณคดีและมานุษยวิทยา (Museum of Archaeology and Anthropology) มหาวิทยาลัยเครมบริดจ์ (University of Cambridge) แสดงความเห็นว่า แม้ ว่าผลการพิสูจน์การแผ่รังสีของธาตุคาร์บอนจากโครงกระดูกที่ถูกขุดมาจากบริ เวณสโตนเฮนจ์จะบ่งชี้ว่าสโตนเฮนจ์ถูกใช้เป็นสุสาน ก็ไม่ได้หมายความว่านั่นคือจุดประสงค์แรกมนุษย์ยุคก่อนสร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นมา

เช่น เดียวกับวัดหรือโบสถ์ที่มีหลุมฝังศพจำนวนมาก แต่นั่นก็ไม่ใช่จุดประสงค์แรกที่สร้างโบสถ์นั้นขึ้นมา เขายังระบุอีกว่าความจริงเรื่องนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความน่าฉงนทั้งหมด ยังไม่ใช่คำตอนสุดท้ายที่พวกเราต้องการ



เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

- ล่องหน เป็นไปได้จริงหรือไม่

- เอลโดราโด้ นครแห่งทองคำในตำนาน

- หอคอยบาเบล (Tower of Babel)

- ปอมเปอี มหานครแห่งความตาย(ที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด)

- สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

ที่มา
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=somkitjar&month=03-2010&date=27&group=7&gblog=313
//mail.thaigoodview.com/node/25312?page=0%2C2
//www.ilovetogo.com/Article/54/79/Contacts.aspx?mid=31




 

Create Date : 05 สิงหาคม 2553
0 comments
Last Update : 13 มกราคม 2554 15:24:39 น.
Counter : 1805 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.