|
|
|
|
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
สื่อนอกชี้ชัด บึ้มราชประสงค์ เป็น"การก่อการร้าย"ในกม.สากล-"อ้างไม่ได้"เป็นเรื่องการเมือง"!
ขออนุญาตมติชนรายวัน นำเนื้อหานี้มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา สื่อนอกชี้ชัด บึ้มราชประสงค์ เป็น"การก่อการร้าย"ในกม.สากล-"อ้างไม่ได้"เป็นเรื่องการเมือง"!
สำนักข่าว"สเตรท ไทมส์"รายงานอ้างบทความเขียนโดยนายเฮอร์นาน ลองโก้ ที่ปรึกษาของหน่วยงานป้องกันยาเสพติด อาชญากรรม และการรับมือการก่อการร้ายระดับสูง ประจำสหประชาชาติ (UNODC) และนายเจเรมี่ ดักลาส ตัวแทน UNODC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ระบุว่า ภูมิภาคอาเซียนจะต้องร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อป้องกันการก่อการร้าย ภายหลังเกิดเหตุวางระเบิดท้าวมหาพรหม บริเวณย่านราชประสงค์ ในกรุงเทพ เมืองหลวงของไทย ด้วยอาวุธระเบิดแรงทำลายสูงและจากผู้ก่อการที่เชี่ยวชาญ (IED) ที่เป็นระเบิด"ทีเอ็นที"โจมตีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไทย โดยเหตุระเบิดนี้กล่าวได้ว่าเป็นเหตุวางระเบิดร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย โดยแม้ว่าถึงขณะนี้ ความรับผิดชอบของทางการไทยที่จะระบุตัวตนของตัวการและแรงจูงใจของเหตุการณ์ จะก่อให้เกิดความสงสัยในสายตาและมุมมองกฎหมายระหว่างประเทศว่า เป็นเหตุการณ์ที่ถูก"ผู้ก่อการร้าย"ลงมือหรือไม่ แต่ตามมาตรา 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการวางระเบิดของผู้ก่อการร้ายซึ่งเมืองไทยเป็นชาติสมาชิก ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เหตุการณ์ที่มีการจุดชนวนระเบิดใน หรือภายใน หรือต่อสถานที่ที่ถูกใช้โดยสาธารณชน และมีจุดม่งหมายที่ก่อให้เกิดการล้มตายเสียชีวิต หรือการบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก หรือทำให้เกิดการทำลาย ควรถือเป็น"การกระทำผิดอาญาของผู้ก่อการร้าย"
โดยภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ กลไกต่าง ๆ และข้อพันธะผูกพันจะต้องเกิดขึ้นเมื่อเหตุการณ์อาชญากรรมหนึ่ง ถูกยอมรับว่าเกิดจากผู้ก่อการร้ายตามหลักการ สิ่งเหล่านี้จะสามารถช่วยในแง่การสืบสวน โดยเฉพาะความช่วยเหลือจากชาติอื่น ๆ เช่น สามารถให้ต่างชาติอายัดทรัพย์ของผู้ก่อการร้ายนั้น ๆ หรือการวางหลักการตัดสินคดี โดยเฉพาะในคดีที่ต้องมีมากกว่าหลายชาติที่ดำเนินการเข้ามาร่วมสอบสวนทางตรงต่อคดีนั้น ๆ
โดยการยอมรับว่าภัยดังกล่าวมาจากผู้ก่อการร้าย จะเป็นหลักประกันว่า ชาตินั้น ๆ ไม่สามารถปฎิเสธความร่วมมือจากนานาชาติได้ด้วยการอ้างว่าภัยดังกล่าวเป็น"เรื่องการเมือง"และอาชญากรรมนี้จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรงและที่สำคัญไปไม่น้อยกว่ากันก็คือชาตินั้นๆ จะต้องรับผิดชอบต่อเหยื่อผู้ตกเป็นเป้าหมายอย่างเหมาะสมด้วย
รายงานระบุว่า เหตุวางระเบิดราชประสงค์เป็นเครื่องย้ำเตือนว่า ภูมิภาคอาเซียนยังคงเปราะบางต่อการก่อการร้าย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่มีการเตือนภัยล่วงหน้า โดยภัยนี้ที่มีลักษณะไม่สามารถคาดการณ์ได้ ได้ทำให้เกิดยุทธศาสตร์ของการโต้ต้านการก่อการร้ายอย่างชัดแจ้ง ซึ่งมุ่งเน้นไปยังการป้องกันมากกว่านั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
ฉะนั้น แนวทางสำคัญก็คือการเตรียมพร้อม มากกว่าการนั่งเศร้าโศกเสียใจหลังเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ และเป็นสิ่งที่ดีกว่าเสมอที่แต่ละชาติจะสามารถประเมินภัยก่อการร้ายที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น และสามารถวางแผนรับมือตอบโต้ได้ ตามกรอบร่างที่มีการยอมรับร่วมกันต่อหลักปฎิบัติและหลักสิทธิมนุษยชน และการตอบโต้ก่อการร้ายย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะกระทำอย่างหมาะสมและทันท่วงที
โดยการปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างเพียงพอจากภัยก่อการร้ายนั้น ที่ผ่านมาได้ถูกสร้างให้กลายเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์โต้ต้านการก่อการร้าย และควรจะแก้ไขปัญหาบนเงื่อนไขที่เป็นไปอย่างเป็นระบบ โดยเหตุการณ์วางระเบิดราชประสงค์ยังมุ่งเน้นให้เห็นภาพของลักษณะของการ"ก่อการร้ายข้ามชาติ"เนื่องจากผู้เสียชีวิตมีหลายสัญชาติตั้งแต่ชาวไทย จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บจากอีก 12ชาติรวมอยู่ด้วย
นอกจากนี้ การสอบสวนคดีนี้ยังควรจะนำไปสู่การยึดพาสปอร์ตต่างชาติ และการจับกุมผู้ก่อการร้าย ที่หนีออกนอกเมืองไทย โดยความร่วมมือและช่วยเหลือในมิติ"ระดับสากล"นี้จะยิ่งสนับสนุนข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มีประเทศใดที่จะสามารถจัดการกับการก่อการร้ายได้เพียงลำพัง ซึ่งในกรณีนี้ ควรจะมีความช่วยเหลือและประสานกับชาติเพื่อนบ้านร่วมองค์กรอาเซียน เช่น การตรวจสอบพรมแดนข้ามประเทศ และการแชร์ข้อมูลข่าวกรองและข้อมูลเชิงปฎิบัติการ ที่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันและการปราบปรามการก่อการร้าย
และหากมีภัยวินาศกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นประเทศต่างๆ ก็ควรจะต้องมีกลไกอย่างฉับพลันที่จะต้องดำเนินการเพื่อรับรองว่าผู้ก่อเหตุจะต้องถูกนำตัวมารับการลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมและจำเป็นจะต้องมีการสอบสวนอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีประสิทธิภาพที่มุ่งต่อ"การคุ้มครอง"เหยื่อผู้ถูกกระทำด้วย
ขณะที่เหตุวางระเบิดราชประสงค์ในเมืองไทยได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ายังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องกระทำก่อนที่ภูมิภาคนี้จะอยู่ในภาวะพร้อมที่จะรับมือกับเหตุการณ์ก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและรัฐบาลชาติต่างๆจำเป็นจะต้องพร้อมที่จะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและทำงานร่วมกันรวมทั้งกับหน่วยงานระดับภูมิภาคและระดับสากลเพื่อรับประกันว่าการตอบโต้ต่อภัยดังกล่าวของประเทศนั้น ๆ มีทั้ง"ประสิทธิภาพ"และได้รับการยอมรับว่าทำ"อย่างถูกต้อง"ตามหลักสากล /จบ .......................................................................................................
Create Date : 07 ตุลาคม 2558 |
Last Update : 7 ตุลาคม 2558 20:55:37 น. |
|
0 comments
|
Counter : 936 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
|
justice0009 |
|
|
|
|