|
|
|
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
|
ฮิวแมนไรท์วอช ยื่นรายงานสถานการณ์ไทย ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น
ขออนุญาตนำข้อมูลนี้จากมติชนรายวัน มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา ฮิวแมนไรท์วอช ยื่นรายงานสถานการณ์ไทย ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น
(22 ก.ย.58) เว็บไซต์ฮิวแมนไรท์ วอช ได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย เพื่อนำเสนอเป็นรายงานทบทวนสถานการณ์ สิทธิมนุษยชนของประเทศต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council HRC) ภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR)
รายงานฉบับนี้ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ 1.อำนาจที่กว้างขวางและไร้การตรวจสอบของรัฐบาลคสช. 2.การเซ็นเซอร์และห้ามใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การรวมตัวและชุมนุมอย่างสันติ 3. การกักกันในที่ลับและโดยพลการ และการใช้ศาลทหาร 3.การปราศจากความรับผิดต่อเหตุความรุนแรงที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง 4. ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5. บังคับให้บุคคลสูญหาย(อุ้มหาย) 6.ผู้ลี้ภัยและแรงงานอพยพ 7. นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนถูกคุกคาม และ8. การละเมิดสิทธิในสงครามปราบปรามยาเสพติด
นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวไม่เพียงรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังเสนอแนวทางให้กับประเทศไทย อาทิ ยกเลิกใช้ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ,รัฐบาลต้องกำหนดเวลาที่ชัดเจนเพื่อคืนประชาธิปไตยกลับสู่ประชาชนผ่านการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและเป็นธรรม,ยุติการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมอย่างสันติด้วยการใช้ มาตรา 44 ในรธน.ชั่วคราว พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และมาตรา 112 และ 116 ในประมวลกฎหมายอาญา ,การสร้างความมั่นใจว่ายุทธวิธีที่จัดการปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ เป็นไปตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายมนุษยธรรม ,ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายโดยทันที โดยทีต้องปรับกฎหมายที่จำเป็นและมาตราการอื่นเพื่อสอดคล้องกับเงื่อนไขทั้งหมดก่อนให้สัตยาบัน เป็นต้น
ทั้งนี้ นายสุณัย ผาสุก ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์ วอช ประจำประเทศไทย ได้กล่าวว่า การยื่นรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ ภายใต้กลไก Universal Periodic Review จะจัดทำทุก 5 ปี โดยล่าสุดคือเมื่อปี 2554 และจะครบกำหนดในปี 2559 โดยรัฐบาลไทยจะต้องจัดทำรายงานเพื่อเสนอไปยังคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯภายในปีนี้เช่นเดียวกัน กลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่จัดทำรายงานสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อขึ้นเป็นแนวทางให้สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ตั้งคำถามต่อคณะผู้แทนประเทศไทยและพร้อมกันนั้นก็เป็นแนวทางให้ประเทศไทยปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับพันธะด้านสิทธิมนุษยชนตามกติการะหว่างประเทศด้วย/จบ ...........................................................................................................
Create Date : 22 กันยายน 2558 |
Last Update : 22 กันยายน 2558 22:14:17 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1377 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
|
justice0009 |
|
|
|
|