<<
มีนาคม 2559
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 มีนาคม 2559
 

ฉบับเต็ม! 'ทักษิณ' ปาฐกถาที่นิวยอร์ก มองเศรษฐกิจ-การเมืองไทย/กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ฉบับเต็ม! 'ทักษิณ' ปาฐกถาที่นิวยอร์ก มองเศรษฐกิจ-การเมืองไทย

โดย :

ขอนำเนื้อหาเรื่องนี้จากกรุงเทพธุรกิจรายวัน มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา
ปาฐกถา,ทักษิณ ชินวัตร,Thaksin,สถาบันนโยบายโลก,World Policy Institute,มหานคร,นิวยอร์ก,สหรัฐอเมริกา
อ่านฉบับเต็ม! อดีตนายกฯ "ทักษิณ" ปาฐกถาที่นิวยอร์ก มองเศรษฐกิจ-การเมืองไทย
ปาฐกถา ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในงาน “สนทนาเป็นการส่วน ตัวกับทักษิณ ชินวัตร” (Thaksin Shinawatra in Private Discussion) ณ สถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) 9 มี.ค. 2559, มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา


ท่านผู้ทรงเกียรติ แขกผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมต้องขอขอบคุณสถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) ที่ให้โอกาสผมได้มาร่วมบอกเล่าหลักคิดของผม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรื่องความท้าทายต่างๆ ซึ่งเกิดมาจากคําถามที่ว่า ประเทศไทยจะเดินหน้าและผ่านพ้น ช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร โดยเฉพาะในแง่มุมที่เชื่อมโยงกับด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาค และโลกในบริบทปัจจุบัน

พวกเราทุกคนคงทราบกันดีว่า ไม่มีสังคมใดในศตวรรษที่ 21 ที่จะสร้างความก้าวหน้าและความกินดีอยู่ดีให้แก่ ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง หากสังคมคมนั้นขาดซึ่งหลักพื้นฐาน 2 ประการ
ประการที่หนึ่ง ได้แก่ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง ประการที่สอง ได้แก่ ศักยภาพในการสร้างกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ ซึ่งนําไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศ และความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงความสร้างสรรค์ให้กลายเป็น ความมั่งคั่งที่ต่อเนื่อง

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมขออนุญาตเล่าถึง “เรื่องของสองนคร” ที่ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยชาร์ลส์ ดิกคินส์ เรื่องเล่านี้เกี่ยวกับการพัฒนาคู่ ขนานของกรุงวอชิงตัน ดีซี และปักกิ่ง ซึ่งแต่ละนครมีประวัติศาสตร์ ความทุกข์ และความชิงชังของตนเอง เมื่อ ระยะเวลาผ่านไปนานปี ทั้งสองนครถูกมองว่าเป็นคู่ปรับที่แข่งขันกันนําเสนอโมเดลการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

โมเดลที่หนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมตลาดเสรีซึ่งมีระบอบ “ประชาธิปไตยแบบเปิด” เป็นรากฐานของการพัฒนา เศรษฐกิจ อีกโมเดลหนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมซึ่งนําโดยรัฐ (รูปแบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน) ที่กํากับด้วย อํานาจศูนย์กลางจากพรรคเดียว

ทั้งสองโมเดลได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถนําไปปรับใช้จนประสบความสําเร็จจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยโมเดลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติของคณะผู้นําในประเทศ ณ เวลาขณะ นั้น ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติดังกล่าว เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในโลก ตะวันตก ที่ “การค้าเสรี” ได้สร้างประโยชน์แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนที่กําลังปรับตัว จากระบบตลาดปิด สู่ระบบ ตลาดเปิดครึ่งใบ

อย่างไรก็ตาม เราคงต้องยอมรับว่าทั้งสองโมเดลจะต้องถูกปรับให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงใหม่ ซึ่งเกิดขึ้น จากความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีการผลิตแบบอุตสาหกรรม จากรูปแบบ “การผลิตสินค้าใน ประเทศเดียว” สู่ “ระบบเครือข่ายการออกแบบ การสรรหาปัจจัยการผลิต และการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ เพื่อ ที่จะนําสินค้าชิ้นหนึ่งๆ ออกสู่ตลาด” ความเปลี่ยนแปลงนี้ ได้กลับตาลปัตรโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ภายในประเทศต่างๆ และส่งผลให้การปรับตัวทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนในอดีต

พวกเรายังต้องทราบอีกว่าความก้าวหน้าของเทคนิคและเทคโนโลยีการบริหารความมั่งคั่งได้กลับตาลปัตรความ สัมพันธ์ระหว่างทุนและวิธีการผลิต ทั้งนี้ พวกเราทั้งหลายคงต่างเห็นพ้องกันว่า “สภาวะปกติใหม่ของโลกปัจจุบัน” (New Normal) จะเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณพร้อมและมีศักยภาพที่จะ เปลี่ยนแปลงหรือไม่

ประเทศไทยก็ต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสภาวะปกติ ใหม่ในเวทีโลก

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
อีกเรื่องราวหนึ่งซึ่งเป็นที่กล่าวขานถึง คือ เรื่องเล่าเกี่ยวกับครูสอนภาษาอังกฤษในสาธารณรัฐประชาชนจีนผู้เคย ยากจน แต่ปัจจุบันติดอันดับผู้ร่ำรวยที่สุดของโลก ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้สร้างโรงงานหรือลงทุนในปัจจัยการผลิตใด แต่ ผู้คนทั่วไปกลับยินดีจ่ายเพื่อใช้บริการของเขา เพื่อเข้าถึงโครงข่ายอุปทานและอุปสงค์ขนาดใหญ่ ผมเชื่อว่าชาวจีน คนนี้คงต้องรู้สึกขอบคุณระบบอินเทอร์เน็ตเป็นแน่

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รูปแบบทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ คุณูปการจาก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็นกลจักรใหม่ที่คอยส่งเสริมให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่บ้างทั้งในประเทศพัฒนา แล้วและประเทศกําลังพัฒนา

จากรายงานของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เมื่อปีที่ผ่านมา พบว่าการค้าอีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ของโลกในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่ามากกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคของโลกยังคงอยู่ที่ระดับราว 1.2 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ รูปแบบการค้าดังกล่าวกลับมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและโอเชีย เนีย ซึ่งมีการประมาณการว่าอีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคจะขยายตัวจากระดับร้อยละ 20 สู่ระดับร้อยละ 37 ระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง 2561 นอกจากนี้ การค้าอีคอมเมิร์ซข้ามแดนที่ค่อยๆ ขยายตัวขึ้น ยังส่งผลให้ปริมาณ การขนส่งพัสดุภัณฑ์ขนาดเล็กระหว่างประเทศของโลกเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 48 ระหว่างปี พ.ศ. 2554 ถึง 2557

สําหรับภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก ผมเชื่อว่าข้อมูลความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวคือเค้าลางของ โอกาสการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ ที่ “การเข้าถึงเครือข่าย” (Access to Network) คือหัวใจของ ความสําเร็จ โดยในที่นี้ หมายถึงเครือข่ายผู้บริโภคและปัจจัยการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ แตกต่างออกไปจากรูปแบบเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 20 ซึ่ง “การเข้าถึงศูนย์กลาง” (Access to Center) คือเงื่อนไขของความสําเร็จ

ในปัจจุบัน นักธุรกิจผู้ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานขนาดใหญ่หรือบรรษัทข้ามชาติ สามารถเข้าถึงลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก และตอบสนองความต้องการบริโภคสินค้าของพวกเขาได้ โดยการเข้าถึงเครือข่ายการผลิตและการกระจายสินค้าซึ่ง เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ เศรษฐกิจในวันนี้กระจายตัวออกจากศูนย์กลางอํานาจเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่กับการกระจายตัวของการบริโภคและการผลิต พวกเราคงสามารถ จินตนาการได้ง่ายๆ ถึงสถานการณ์ที่นักธุรกิจชาวอเมริกันสามารถขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์โดยตรงให้แก่ผู้บริโภคในฝั่งตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นักธุรกิจเหล่านั้นไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปทําธุรกรรมที่นครปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ผลิตชาวจีนสามารถขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในแถบนิวอิงแลนด์และมิดแอตแลนติกของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไม่ต้องผ่านนครนิวยอร์ก

“เศรษฐกิจเครือข่าย” ได้ส่งเสริมให้ประชาชน ซึ่งประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีศักยภาพในการผลิตและเข้าถึงลูกค้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง พวกเราในฐานะประชาคมโลกต้องให้ความสําคัญเป็นพิเศษแก่การสรรหาวิถีทางให้ประเทศต่างๆ สามารถร่วมลงทุนและร่วมเสี่ยงกับประชาชน เพื่อสร้างแนวร่วมการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
อีกหนึ่งเรื่องเล่านั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดใหม่ของถนนสายหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครสนใจมานานนับตั้งแต่โปรตุเกสได้ค้นพบ เส้นทางเดินเรือจากทวีปยุโรปสู่เอเชีย โปรตุเกสเคยได้นําเสนอเส้นทางการค้าใหม่ซึ่งสร้างผลกําไรเป็นกอบเป็นกํา จากกิจกรรมการเดินเรือขนสินค้า แม้บางครั้งสินค้าอาจเสียหายไปกว่าครึ่ง แต่ก็ไม่ได้ทําให้ใครขาดทุนจนล้มละลาย เพราะด้วยเหตุที่ว่าอุปสงค์ความต้องการเครื่องเทศในยุคดังกล่าวมีมาก จึงทําให้พ่อค้าเดินเรือสามารถตั้งราคาขายที่สูงลิบได้

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
การขนส่งสินค้าหนักทางเรือเป็นสิ่งที่พวกเราคุ้นชินจนถึงยุคปัจจุบัน ในขณะที่เส้นทางการค้าทางบกจากทวีปเอเชีย ไปยังยุโรปกลับถูกลืมเลือนไปเป็นเวลานาน หากเศรษฐกิจโลกยังคงเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับในอดีตที่อ้างว่า หอมหวน คนส่วนใหญ่คงไม่จําเป็นต้องคิดที่จะสรรหาทางเลือกในชีวิต แต่ด้วยเหตุที่สถานการณ์โลกปัจจุบันดูไม่สู้ดี นัก ผมจึงเชื่อว่าแต่ละประเทศควรที่จะพิจารณาถึงทุกๆ ความเป็นไปได้

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ในปัจจุบัน ผมคิดว่ามียุทธศาสตร์ 2 ประการที่มีศักยภาพในการเร่งการเติบโตและยกระดับ “คุณภาพของการ เติบโตทางเศรษฐกิจ” ที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจเครือข่าย ประการที่หนึ่ง คือ ยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road” (OBOR) หรือยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ที่นําโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ระหว่าง 60 ประเทศ ซึ่งมีรายได้ประชาชาติรวมกันคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของรายประชาชาติของโลก

และยุทธศาสตร์อีกประการหนึ่ง คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership, TPP) ที่นําโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้ว 12 ประเทศ มีรายได้ประชาชาติรวมกันมากกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติของโลก ทั้งนี้ ผมไม่ได้มองว่า ยุทธศาสตร์ทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แต่เป็นกระบวนการคู่ขนาน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะสร้างผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจร่วมให้แก่ทั้งภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก

พวกเราคงต้องก้าวข้ามมุมมองแบบเหมารวมที่ว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงมหาอํานาจทางการเมืองซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ในสภาพความเป็นจริง พัฒนาการในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา น่าจะทําให้พวกเราได้เห็นถึงการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ถือครองพันบัตรรัฐบาลสหรัฐรายใหญ่ที่สุดคิดเป็นมูลค่า 1.24 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีมูลค่าการค้ารวม (Total Trade) ที่ระดับ 5.21 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนโดยตรง (FDI) ของสหรัฐอเมริกาในสาธารณรัฐประชาชนจีนคิดเป็นมูลค่า 6.58 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การลงทุนโดยตรงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับมูลค่า 1.19 หมื่นล้าน ดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อพิจารณาถึงการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจดังกล่าว ผมเชื่อว่าภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างยุทธศาสตร์การ พัฒนาอันสําคัญของสองมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ ควรให้ความสําคัญแก่การขยายความร่วมมือเพื่อสร้างผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศคู่ค้าต่างๆ
ภูมิศาสตร์การเมืองของภูมิภาคเอเชียแห่งศตวรรษที่ 21 ควรเป็น เรื่องของการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความมั่งคั่งให้แก่ประชาชนแบบระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาค

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมขออนุญาตเล่าถึงนิทานเรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับร้านอาหารไทย ซึ่งไม่ว่าหัวหน้าพ่อครัวจะพร่ำสอนลูกศิษย์ใน อุปถัมภ์ของเขาอย่างไร ลูกศิษย์ก็กลับไม่สามารถผสมเครื่องปรุงได้ถูกต้อง ลูกค้าก็ถูกปล่อยปละให้นั่งรอจนหิวและหัวเสีย เมื่อลูกค้ากว่าครึ่งที่ได้รับประทานอาหาร ก็กลับต้องท้องร่วงตามๆ กันไป นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การเขียนตําราอาหารไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ถูกต้องเป็นเรื่องสําคัญ

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ในขณะที่หลายคนอาจเน้นย้ำถึงลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไปของประเทศไทยในแง่มุมทางประวัติศาสตร์และทิศทางการพัฒนา ประเทศไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้ ตลอดช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อรายได้ประชาชาติของประเทศไทยและมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทยได้แสดงให้พวกเราได้เห็นอย่างชัดเจนถึงทิศทางของเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นเข้ากับชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก

เมื่อพิจารณาถึงบริบทดังกล่าว พวกเราควรพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศไทยด้วยคําถามง่ายๆที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดนี้จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศสามารถเติบโตและแข็งแกร่งได้มากยิ่งขึ้นในภาวะโลกปัจจุบันหรือไม่ หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถวางโครงสร้างพื้นฐานเชิงสถาบันที่ เพียงพอเพื่อการลงทุน การผลิต การสร้างความร่วมมือ และธุรกิจให้แก่ประเทศไทยได้หรือไม่

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
เมื่อพิจารณาถึงเค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันคงเป็นไปได้ยากที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของประชาชนและความท้าทายในศตวรษที่ 21 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้กําหนดให้วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คนซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดย “ผู้เชี่ยวชาญ” วุฒิสภาจะมีอํานาจมากยิ่งขึ้นในการยับยั้ง การออกพระราชบัญญัติต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีขอบเขตอํานาจในการตัดสินคดีที่มากยิ่งขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญจะ มีอํานาจในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี เมื่อมีบุคคลใดก็ตามได้ดําเนินการร้องเรียน โดยไม่ได้มีเงื่อนไขที่ว่ากรณีดัง กล่าวต้องเป็นข้อพิพาทจริงที่องค์กรทางการเมืองหรือศาลอื่นได้ดําเนินการยื่นเรื่องแก่ศาลรัฐธรรมนูญ

หากพวกเราคิดว่าหลักการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตย คือรากฐานเพื่อการสร้างความเจริญเติบโตและเสถียรภาพของประเทศ หัวข้อสําคัญที่พวกเราต้องพิจารณาคงเป็นเรื่องที่ว่า อํานาจตุลาการจะล่วงล้ำอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหารหรือไม่ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารเศรษฐกิจของประเทศในยุคที่เศรษฐกิจโลกกําลังชะลอตัว ผมหวังว่า คงจะไม่มีการใช้อํานาจตุลาการที่เกินกว่าความจําเป็นอีกในอนาคต กรณีศึกษาในประเทศต่างๆ ได้แสดงให้พวกเราเห็นว่า การใช้อํานาจพิจารณาทบทวนโดยศาล (Judicial Review) โดยไม่ได้มีการถ่วงดุลและตรวจสอบ อาจกลาย เป็นการใช้อํานาจอย่างไม่เหมาะสมและเป็น “ยุทธวิธีเตะถ่วงงาน” จนสุดท้ายก่อให้เกิดอุปสรรคในการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมเชื่อว่ารากฐานของประเทศในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรือง คือการสร้างความเชื่อถือในประชาคมโลก รัฐธรรมนูญควรยึดหลักนิติธรรมและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำ เพื่ออํานวนความสะดวกและเกื้อหนุนให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนใน ประเทศกับประชาคมโลก การค้าและการลงทุนจะไม่สามารถเจริญงอกงามได้ หากไม่มีหลักนิติธรรม เพราะหลักนิติธรรมคือรากฐานของการสร้างความเชื่อมั่น

ในช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านนี้ ประเทศไทยต้องประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองเสีย ใหม่ และสรรหาวิถีทางที่สมเหตุสมผลเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและพลวัตรทางเศรษฐกิจ ผมเพียงแค่นํา เสนอถึงวิธีคิดและพิจารณาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน

(ข้อมูลและภาพ-จาก fb/oakpanthongtae)

'ทักษิณ'ออกสื่อนอกทั้ง เอพี, เอเอฟพี, นิวยอร์กไทมส์ โจมตี 'ทหาร'มุ่งครองอำนาจ พร้อมเรียกร้อง คสช. 'ปรองดอง'

ขอนำเนื้อหาเรื่องนี้จากผู้จัดการรายวัน มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา

'ทักษิณ'ออกสื่อนอกทั้ง เอพี, เอเอฟพี, นิวยอร์กไทมส์  โจมตี 'ทหาร'มุ่งครองอำนาจ พร้อมเรียกร้อง คสช. 'ปรองดอง'



เอเอฟพี/เอพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - นายทักษิณ ชินวัตร นักโทษหลบหนีโทษจำคุกในคดีอาญา และอดีตนายกรัฐมนตรี ถือโอกาสโฆษณาแก้ต่างให้ตัวเองในช่วงทัวร์นิวยอร์กเมื่อวันพุธ (9 มี.ค.) โดยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนชื่อดังหลายสำนัก แต่เนื้อหาคล้ายคลึงกัน นั่นคือโจมตีคณะทหารต้องการครองอำนาจให้นานที่สุด ด้วยการผลักดันรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น “ประชาธิปไตยถอยหลังเข้าคลอง” พร้อมกับกล่าวแก้ตัวให้ “น้องสาว” และย้ำว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังไม่ได้ทำอะไรที่แสดงว่าต้องการการปรองดองเลย ขณะเดียวกันก็พูดแทงกั๊กเรื่องที่ตนเองจะหวนกลับมาเล่นการเมืองหรือไม่

       ในวันเดียวกันกับไปพูดที่สถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) ณ นครนิวยอร์ก นายทักษิณยังได้ให้สัมภาษณ์แบบแยกทีละรายแก่ วารสาร “เวิลด์ โพลิซี เจอร์นัล” ของสถาบันนโยบายโลก, สำนักข่าวเอเอฟพี, สำนักข่าวเอพี, และหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ แต่เนื้อหาสาระก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

       ประเด็นใหญ่ที่สุดซึ่งสื่อที่สัมภาษณ์อดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้หยิบยกขึ้นมาเสนอ ได้แก่เรื่องที่นายทักษิณกล่าววิจารณ์โจมตีคณะทหาร คสช. อย่างรุนแรงว่าต้องการรักษาอำนาจต่อไป

       “ถ้าเราดูที่พฤติกรรมของพวกเขาแล้ว มันก็ดูเหมือนกับว่าพวกเขาอยากจะคงอยู่ในอำนาจให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” เอเอฟพีรายงานคำให้สัมภาษณ์ของนายทักษิณ พร้อมกับระบุว่า นักโทษหลบหนีคดีอาญาผู้นี้กล่าวว่า เขา “ไม่เชื่อถือ” ในคำมั่นสัญญาเรื่องที่จะจัดการเลือกตั้ง

'ทักษิณ'ออกสื่อนอกทั้ง เอพี, เอเอฟพี, นิวยอร์กไทมส์  โจมตี 'ทหาร'มุ่งครองอำนาจ พร้อมเรียกร้อง คสช. 'ปรองดอง'
ภาพของสำนักข่าวเอพี ถ่ายขณะนายทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่นครนิวยอร์ก วันพุธ (9มี.ค.)
        ขณะที่ในการให้สัมภาษณ์เอพี นายทักษิณได้กล่าวหาคณะทหารว่ากำลังผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จัดร่างขึ้นมาเพื่อจำกัดประชาธิปไตย

       นายทักษิณกล่าวว่า หากมีการจัดการเลือกตั้งขึ้นตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้แล้ว ก็จะเป็นการเลือกตั้งที่ปฏิเสธเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนข้างมาก “นี่คือประชาธิปไตยถอยหลังเข้าคลอง” และบอกว่า “ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย คุณต้องมอบอำนาจให้แก่ประชาชน”

       ทางด้านโธมัส ฟูลเลอร์ ซึ่งเคยเป็นผู้สื่อข่าวประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนิวยอร์กไทมส์มานานปี และเพิ่งย้ายกลับไปเป็นผู้สื่อข่าวนิวยอร์กไทมส์ประจำสำนักงานเมืองซานฟรานซิสโกเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทวิตเผยแพร่คำถามคำตอบที่เขาสัมภาษณ์นายทักษิณ โดยระบุว่า เขาถามอดีตนายกรัฐมนตรีไทยว่า นายทักษิณจะใช้ทรัพยากรและทรัพย์สินของเขาที่มีอยู่เพื่อทำการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ปรากฏว่านายทักษิณตอบว่าเขา “ไม่สามารถทำอะไรได้มากนักเพราะผมไม่ได้อยู่ในประเทศ … เมื่อผมส่งเสียงแสดงความวิตกกังวลของผมออกมา พวกผู้สนับสนุนผมก็จะออกมาทำการรณรงค์เรียกร้อง”

       ฟูลเลอร์ทวิตต่อไปว่า เขาได้ถามนายทักษิณว่า ตอนนี้เขามีทรัพยากรและทรัพย์สินอยู่เท่าใด ก็ได้รับคำตอบว่า ทุกวันนี้ “มีอยู่ไม่มากแล้ว รวมทั้งหมด ทั้งครอบครัวเลย ก็มีประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์” ทั้งนี้ทำเอาฟูลเลอร์ระบุว่า ประโยคนี้แหละเป็นคำพูดของนายทักษิณซึ่งเขาชอบอกชอบใจที่สุดจากการไปสัมภาษณ์ในคราวนี้

       เอพีรายงานว่านายทักษิณกล่าวว่าเขาคิดถึงบ้านแต่ก็ไม่ได้ร้อนรนอะไรจริงๆ ที่จะต้องกลับบ้าน “ผมปรารถนาให้ผมสามารถไป (บ้าน) ได้ แต่ผมก็ตั้งหลักอยู่นอกประเทศไทยได้ดีอยู่แล้ว ถ้าผมเดินทางกลับไทย มันก็ควรเป็นประโยชน์แก่ประเทศและแก่ประชาชน ไม่เช่นนั้น ผมก็ไม่ซีเรียสจริงจังในเรื่องการเดินทางกลับไป” ทั้งนี้เอพีบอกว่านายทักษิณเดินทางไปต่างประเทศโดยใช้พาสปอร์ตของมอนเตเนโกร และนิการากัว ภายหลังถูกรัฐบาลไทยเพิกถอนหนังสือเดินทาง

       ทางด้านเอเอฟพีกล่าวว่า นายทักษิณยืนยันว่าขณะนี้เขามีความสุขดีในการพำนักอาศัยอยู่ที่ดูไบ และออกเดินทางท่องเที่ยว โดยที่เขาระบุว่าปักกิ่งกับลอนดอนคือจุดหมายปลายทางที่เขาชื่นชอบ

'ทักษิณ'ออกสื่อนอกทั้ง เอพี, เอเอฟพี, นิวยอร์กไทมส์  โจมตี 'ทหาร'มุ่งครองอำนาจ พร้อมเรียกร้อง คสช. 'ปรองดอง'
        เมื่อถูกเอเอฟพีถามเรื่องการหวนกลับไปมีบทบาททางการเมือง นายทักษิณตอบว่า “ผมยังไม่ได้บอกปัดตนเอง แต่ผมก็ไม่ได้มีความทะเยอทะยานที่จะทำเรื่องนี้อีก” และเสริมว่า “ผมอายุ 67 แล้ว” และ “ผมต้องการที่จะใช้ชีวิตของผมอย่างสงบสุข”

       อย่างไรก็ตาม ดังที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ระบุในรายงานข่าวเรื่องนี้ของตน สิ่งที่นายทักษิณมีความวิตกกังวลอยู่อย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ชะตากรรมของ อดีตนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของเขาเอง ซึ่งกำลังถูกตั้งข้อหาความผิดในโครงการรับจำนำข้าวที่ใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินไปหลายแสนล้านบาท โดยหากถูกตัดสินว่ามีความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็อาจถูกลงโทษจำคุก 10 ปี

       นายทักษิณอ้างกับเอพีว่า กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ “คือกรณีเดียวในโลก” ที่นายกรัฐมนตรีถูกกล่าวโทษเนื่องจากนโยบายของรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้เธอถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

       “นี่เป็นเรื่องน่าหัวเราะเยาะจริงๆ และเราห่วงใยเรื่องความยุติธรรมที่เธอจะได้รับ” นายทักษิณบอกกับเอพี

       เขากล่าวว่าการปฏิบัติต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่าคณะทหารล้มเหลวไม่ได้ทำตามสัญญาที่ปรองดองฝ่ายต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์กันในทางการเมือง

'ทักษิณ'ออกสื่อนอกทั้ง เอพี, เอเอฟพี, นิวยอร์กไทมส์  โจมตี 'ทหาร'มุ่งครองอำนาจ พร้อมเรียกร้อง คสช. 'ปรองดอง'
กลุ่มผู้ประท้วงที่ไปชุมนุมถือป้ายต่อต้านนายทักษิณ ชินวัตร นักโทษหลบหนีโทษจำคุกคดีอาญา อดีตนายกรัฐมนตรี ที่บริเวณด้านนอกของเมโทรโพลิแทนคลับ ในนครนิวยอร์ก อันเป็นสถานที่ซึ่งเขาไปแสดงปาฐกถาเมื่อวันพุธ (9 มี.ค.)
        ทั้งนี้นักโทษหนีคดีอาญาผู้นี้บอกกับเอพีว่า คนไทยนั้นเป็นคนที่มีความอดทนสูงมาก และมีความปรารถนาที่จะเชื่อถือคณะทหารเมื่อพวกเขาบอกว่า พวกเขายึดอำนาจไว้เพื่อ “ทำให้ประชาชนในประเทศนี้ที่แตกต่างแตกแยกกัน กลับมาปรองดองกัน”

       “แต่จนถึงเวลานี้ หลังเวลาผ่านไป 1 ปีครึ่งแล้ว พวกเขาก็ยังไม่ได้แสดงอะไรให้เห็นในเรื่องการปรองดองเลย” นายทักษิณกล่าว และพูดต่อไปว่าข้อเท็จจริงกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม นั่นคือ คณะทหาร “มีแต่กำลังใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่การเมืองของพวกเขาเองเท่านั้น”

       ทั้งนี้ ฟูลเลอร์แห่งนิวยอร์กไทมส์ทวิตว่า ข้อความที่นายทักษิณต้องการส่งไปยังคณะทหารนั้น เข้าใจง่ายๆ เลย นั่นคือ “เฮ้ ถ้าพวกคุณหนักใจเกี่ยวกับตัวผม ถ้าพวกคุณกลัวผมกลับไปมีอำนาจอีก คุณก็มาคุยกับผมซี่”

       อย่างไรก็ตาม คสช.ใช้ท่าทีปฏิเสธเรื่อยมา ต่อเสียงเรียกร้องให้มาพูดคุยกันของนักโทษหลบหนีโทษจำคุกคดีอาญาผู้นี้

'ทักษิณ'ออกสื่อนอกทั้ง เอพี, เอเอฟพี, นิวยอร์กไทมส์  โจมตี 'ทหาร'มุ่งครองอำนาจ พร้อมเรียกร้อง คสช. 'ปรองดอง'


'ทักษิณ'ออกสื่อนอกทั้ง เอพี, เอเอฟพี, นิวยอร์กไทมส์  โจมตี 'ทหาร'มุ่งครองอำนาจ พร้อมเรียกร้อง คสช. 'ปรองดอง'


'ทักษิณ'ออกสื่อนอกทั้ง เอพี, เอเอฟพี, นิวยอร์กไทมส์  โจมตี 'ทหาร'มุ่งครองอำนาจ พร้อมเรียกร้อง คสช. 'ปรองดอง'


'ทักษิณ'ออกสื่อนอกทั้ง เอพี, เอเอฟพี, นิวยอร์กไทมส์  โจมตี 'ทหาร'มุ่งครองอำนาจ พร้อมเรียกร้อง คสช. 'ปรองดอง'

...................................................................................................................................................................

คนหนุนทักษิณ ชูป้าย'นายกฯคนดีที่โลกรู้จัก..ยกเว้นกะลาแลนด์'

ขอนำเนื้อหาเรื่องนี้จากกรุงเทพธุรกิจรายวัน มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา
ทักษิณ,นิวยอร์ก,ร่างรธน,

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวในช่วงไฮไลต์ของการบรรยาย ที่งาน “สนทนาเป็นการส่วนตัวกับทักษิณ ชินวัตร” (Thaksin Shinawatra in Private Discussion) ซึ่งจัดโดยสถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) ที่นครนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของไทยจะไม่สามารถวางโครงสร้างพื้นฐานในเชิงสถาบัน ที่จะส่งเสริมให้มีการลงทุน การผลิต และความร่วมมือระหว่างไทยกับต่างประเทศได้ เนื่องจากอาจเปิดช่องให้มีการแทรกแซงอำนาจฝ่ายบริหาร และ นิติบัญญัติ โดยอำนาจพิเศษของวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และฝ่ายตุลาการ

“เมื่อพิจารณาถึงเค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันคงเป็นไปได้ยากที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและความท้าทายในศตวรษที่ 21 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คนซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ วุฒิสภาจะมีอำนาจมากยิ่งขึ้นในการยับยั้งการออกพระราชบัญญัติต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีขอบเขตอำนาจในการตัดสินคดีที่มากยิ่งขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี เมื่อมีบุคคลใดก็ตามได้ดำเนินการร้องเรียน"ทักษิณ กล่าว (ข้อมูล-วอยซ์ ทีวี)

ทั้งนี้ การบรรยายดังกล่าว มีกลุ่มคนไทยทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านนายทักษิณ ได้รวมตัวชูป้ายเพื่อแสดงต่อการมาของอดีต

นายกฯของไทยด้วย

ทักษิณ,นิวยอร์ก,ร่างรธน,

................................................................................................................................





Create Date : 10 มีนาคม 2559
Last Update : 11 มีนาคม 2559 14:22:41 น. 1 comments
Counter : 1690 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณที่นำมาสรุปให้ทราบ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
sawkitty Travel Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Travel Blog ดู Blog
Maeboon Food Blog ดู Blog
ต้นกล้า อาราดิน Literature Blog ดู Blog
justice0009 Political Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
 
 

โดย: ชมพร วันที่: 21 มีนาคม 2559 เวลา:11:39:19 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com