<<
มีนาคม 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 มีนาคม 2558
 

ต่างมุมมองต่อการยกเลิกกฎอัยการศึก:ม.44

ช่วงนี้คงต้องเรียนรู้และสนใจประเด็นที่นายกตู่บอกว่าจะยกเลิกการใช้กฎอัยการศึก และหยิบ ม.44 มาใช้แทน ดังนี้

บทนำมติชน


"อัยการศึก"สู่"ม.44"

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. 

ตัดสินใจเลิกใช้กฎอัยการศึก โดยจะใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 

ในการรักษาสถานการณ์ ควบคุมสถานการณ์แทน ภาคเอกชนได้แสดง

ความยินดี โดยระบุว่านักท่องเที่ยวกลุ่มที่รักประชาธิปไตยอย่างยุโรปตะวันตก 

ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี รวมถึงสหรัฐ จะกลับมาประเทศไทยอีก 

นอกจากนี้ยังตั้งความหวังว่าบริษัททัวร์และบริษัทใหญ่จากต่างประเทศ

จะกลับมา ใช้ประเทศไทยจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการประชุม 

เนื่องจากกฎอัยการศึกทำให้บริษัทประกันภัยในต่างประเทศไม่รับประกัน

การเดิน ทางมาประเทศไทย แม้แต่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม 

ยังสนับสนุนว่า ทางสากลไม่ยอมรับกฎอัยการศึก ควรนำกฎหมายอื่นมาใช้แทน

ส่วนประชาชน ทั่วไป การยกเลิกกฎอัยการศึก หมายถึง การคืนกลับมาของ

สิทธิเสรีภาพในระดับหนึ่ง เพราะกฎอัยการศึกเมื่อประกาศใช้ในพื้นที่ใดก็ตาม 

ทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น, เกณฑ์, ห้าม, ยึด ฯลฯ 

การห้ามนั้น รวมถึงการห้ามมั่วสุม ประชุม ห้ามออก จำหน่าย จ่ายหรือแจก 

ซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพบทหรือคำประพันธ์ ห้ามโฆษณา 

แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ 

ห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด ฯลฯ 

แม้รัฐบาลจะยืนยันว่า จะใช้อำนาจเท่าที่จำเป็น แต่ก็ทำให้สังคมอยู่ใน

บรรยากาศที่ตึงเครียด ต้องระมัดระวังตัวตลอดเวลา

อย่าง ไรก็ตาม การประกาศว่าจะใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวแทน

กฎอัยการศึก ก็ยังถูกจับตาว่าจะส่งผลอย่างไรต่อภาพลักษณ์และบรรยากาศ

ของประเทศ จะดีขึ้นหรือย่ำแย่ลงไปอีก เนื่องจากเนื้อหาของมาตรานี้

ให้อำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ แก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอย่างครอบจักรวาล ไม่ว่าจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหาร 

หรือตุลาการ ฯลฯ เท่ากับให้อำนาจคนคนเดียว และดูเหมือนไร้ขีดจำกัด 

ขณะนี้สถานการณ์ของประเทศไทยในสายตาของต่างประเทศไม่สู้ดีนัก ส่งผลต่อความร่วมมือและการค้าระหว่างประเทศ การใช้อำนาจ การใช้กฎหมายที่สวนทางกับประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชน จะเป็นผลดีต่อประเทศและส่วนรวมหรือไม่ เป็นเรื่องที่รัฐบาลและ คสช.ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ

...................................................................................................


แนะใช้พรก.ฉุกเฉินหรือกม.มั่นคง

นพ.นิรันดร์พิทักษ์วัชระ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) 
ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 
กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงที่นายกฯจะยกเลิกกฎอัยการศึกมา
ใช้อำนาจตามมาตรา 44 แทน เพราะตามกฎอัยการศึกนั้นยังมีแบบแผน
การควบคุมตัว การดำเนินคดีอยู่ แต่มาตรา 44 กลับให้อำนาจนายกรัฐมนตรี
แบบครอบจักรวาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องระวังที่จะตกหลุมอำนาจ
และจะทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นได้ ทั้งนี้ อยู่ที่การประเมินสถานการณ์
ของรัฐบาลว่าสถานการณ์ขณะนี้มีความจำเป็นต้องใช้กฎอัยการศึก
หรืออำนาจตามมาตรา 44 หรือไม่

"แต่ผมมองว่ารัฐบาลสามารถยกเลิกกฎอัยการศึก และไม่ใช้อำนาจตาม
มาตรา 44 เพราะหากอยู่ในช่วงที่จำเป็นต้องควบคุมสถานการณ์ 
รัฐบาลก็สามารถใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์
ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.ความมั่นคงได้ เพราะรัฐบาลควบคุมทุกเหล่าทัพ 
และตำรวจอยู่แล้ว อยากให้คิดว่าในช่วงที่กำลังมีการปฏิรูปประเทศในหลายเรื่อง
กำลังแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำต่างๆ นั้น เหมาะสมที่จะใช้กฎอัยการศึก
หรืออำนาจตามมาตรา 44 หรือไม่" นพ.นิรันดร์กล่าว

อจ.ให้กม.อื่นแทนม.44

นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
กล่าวถึงการยกเลิกกฎอัยการศึกมาใช้มาตรา 44 แทน 
ว่า รัฐบาลคงคิดว่าการใช้มาตรานี้ภาพพจน์จะดูดีกว่าการใช้กฎอัยการศึก 
สิ่งที่น่ากังวลคือสังคมจะเปลี่ยนจากการอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกไปอยู่ภายใต้
กฎหมายที่ให้อำนาจค่อนข้างเบ็ดเสร็จลักษณะพื้นฐานของกฎหมายมาตรานี้
เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นครั้งแรกสมัยเผด็จการ และถูกใช้แบบเผด็จการ 
เป็นกฎหมายที่ค่อนข้างจะเป็นอำนาจนิยมและเป็นการใช้กฎหมาย
โดยไม่ถูกตรวจสอบ

"สิ่งที่เป็นข้อแนะนำที่ดีที่สุดคิดว่าถ้ายกเลิกกฎอัยการศึกก็ดำเนินไป
ตามกฎหมายที่มีอยู่อีกทั้งภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันคิดว่าไม่น่าจะมีเงื่อนไข
หรือมีสถานการณ์ใดที่ทำให้ต้องใช้อำนาจทางกฎหมายเป็นพิเศษ
อีกทั้งการยกเลิกกฎอัยการศึกมาใช้กฎหมายที่เป็นเผด็จการข้อครหาต่างๆ 
ยังไงไม่ลดลง" นายสมชายกล่าว และว่า จะใช้อำนาจมาตรา 44 
มากน้อยแค่ไหนเชื่อว่าสังคมคงไม่ค่อยยอมรับ ถ้าดูจากกฎอัยการศึก
เท่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็ค่อนข้างจะมีปัญหาเยอะ มีการใช้คุกคามคนไม่น้อย 
ซึ่งหมายความว่าภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนี้ สิ่งที่เห็นคือถ้ามีกฎหมาย
ที่ให้อำนาจกับผู้ถืออำนาจรัฐมาก ผู้ถืออำนาจรัฐพร้อมที่จะล่วงละเมิดเสรีภาพประชาชนได้ตลอด ที่สำคัญคือการใช้มาตรา 44 ไม่มีหลักประกันใดเลย

ติงระวังก้าวล่วง"ตุลาการ"


นายยอดพล เทพสิทธา อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
กล่าวว่ามาตรา 44 เป็นมาตราที่ให้อำนาจแก่หัวหน้า คสช. ในการใช้อำนาจ
ทั้ง 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการด้วยตัวคนเดียว 
ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์เคยใช้แล้ว 1 ครั้งแต่คนไม่ค่อยสนใจ 
คือการออกคำสั่งมาตรา 44 เพื่อให้สมาชิกสภาท้องถิ่นที่หมดวาระสามารถ
รักษาการต่อไปได้จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งแต่เดิมตามประกาศคำสั่งของ 
คสช. ฉบับที่ 85 ถึง 86 เรื่องการให้สมาชิกที่หมดสภาพออกจากตำแหน่ง
แล้วแต่งตั้งขึ้นมาแทน

"ที่คนกังวลกันผมมองว่าน่าจะกังวลเรื่องการใช้อำนาจในเชิงตุลาการ
และการออกกฎทำให้ฝ่ายปกครองสามารถออกกฎเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
ได้ รวมถึงการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ไปก้าวล่วงดุลพินิจของตุลาการ 
เช่นหัวหน้า คสช.ไม่พอใจการกระทำใดของบุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถลงโทษบุคคลในตามมาตรา 44 ได้ ซึ่งในระบบกฎหมายปกติจะต้องรวบรวมหลักฐาน 
ส่งฟ้องศาล ให้ศาลพิจารณา มีอุทธรณ์หรือฎีกา แต่มาตรา 44 หัวหน้า คสช.
สามารถลัดขั้นตอน สั่งลงโทษได้เลยไม่มีกระบวนการใดทั้งสิ้น 
โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะเนื้อหากฎหมายตัวรัฐธรรมนูญค่อนข้างกว้าง
และไม่ได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาของกฎหมายไว้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับดุลพินิจ
ของหัวหน้า คสช.จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 อย่างไรก็ได้
โดยอ้างเหตุผลอย่างใดก็ได้ เช่น สมมุติมีคนออกมาประท้วงไม่พอใจ 
หัวหน้า คสช.สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งขังคนเหล่านั้น 5 เดือน 
โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง หรืออ้างเหตุผลเรื่องการปฏิรูป 
สามารถทำได้ ตรงนี้เป็นประเด็นที่ผมมองว่าคนส่วนใหญ่ค่อนข้างกังวล 
เพราะอำนาจไปรวมอยู่กับคนคนเดียว ดังนั้นต้องยอมรับว่ามาตรา 44 
ไม่มีทางที่คนจะยอมรับอยู่แล้ว" นายยอดพลกล่าว และว่า 
แต่มีลักษณะของคนกลุ่มหนึ่งที่จะพูดว่า ถ้าไม่กระทำความผิดจะกลัวอะไร 
แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ มันเป็นเรื่องของความมั่นคงทางกฎหมาย 
ซึ่งในระบบกฎหมายสมัยใหม่ที่เป็นหลักนิติรัฐจะต้องมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
กับประชาชน คือประชาชนจะถูกได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่า
จะมีคำพิพากษาจากศาล แต่มาตรา 44 กลับกันคือสามารถเอาใครก็ตามนำไป
จำกัดสิทธิเสรีภาพโดยการคุมขังหรือประหารชีวิตก็ได้ โดยไม่ต้องผ่าน
การพิสูจน์ทางศาล

......................................................................................................







 วันนี้มีความเห็นออกมาจากหลายฝ่ายโดยฝ่ายรัฐบาลมีเสียงสนับสนุน 
จาก  รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ที่เห็นว่า 
การนำกฏหมายดังกล่าวมาบังคับใช้และให้อำนาจกับหัวหน้า คสช.
เป็นการป้องกันคนที่คิดไม่ด้ต่อประเทศชาติ
ดังนั้นใครก็ตามที่เป็นคนดี ก็ไม่จำเป็นต้องห่วงไม่มีสิ่งที่ตัองกังวลใดๆ 
ยืนยันว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ที่มีการเสนอว่าทำไมไม่ใช่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.บ.มั่นคง เพราะขณะนี้รัฐบาลก็ควบคุม
ทั้งทหาร และตำรวจ อยู่ในมือหมดเเล้วนั้น  

พลเอกประวิตรเห็นว่า ทั้งพ.ร.บ.ความมั่นคงและพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
 เคยใช้มาแล้วเป็น10 ปี แต่ก็ไม่ได้ผล ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนทราบกฎหมายดี 
และสุดท้ายนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร และเห็นว่าสื่อมวลชนไม่ควรตั้งคำถามเรื่องนี้อีก เพราะนายกรัฐมนตรีตอบมาแล้วหลายครั้ง

ส่วนกรณีมีการเปรียบเทียบระหว่างมาตรา 44 กับกฎอัยการศึก 
พลเอกประวิตร กล่าวว่า การใช้กฎอัยการศึกอาจดูรุนแรงในสายตาต่างชาติ ดังนั้นจึงพิจารณานำมาตรา 44 เพื่อใช้ดูแลให้เกิดความสงบเรียบร้อยแทน

โดยอำนาจทั้งหมดอยู่ที่ หัวหน้า คสช. ซึ่งทราบดีว่าควรทำอย่างไร 
และเห็นว่าทั้งมาตรา 44 และกฎอัยการศึก มีค่าเท่ากันเพราะใช้ควบคุมสถานการณ์
ได้ โดยมาตรา 44 ยังคงเน้นในเรื่องการควบคุมตัวตรวจค้นและออกหมายจับ
เช่นเดียวกับกฎอัยการศึก



มีเสียงอีกด้านหนึ่ง จาก ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่า นายกรัฐมนตรีรู้สึกไม่พอใจ 
ที่ตอนนี้ทิศทางสังคมออกมามองว่ามาตรานี้ แรงกว่ากฏอัยการศึก 
แต่ถ้าลองมองกลับว่า  นายกรัฐมนตรีก็สามารถใช้มาตรานี้ในการ 
ยกเลิกคดีความที่อยู่ศาลทหารทั้งหมด หรือแม้กระทั่งล้มกระบวนการยุติธรรมที่ 
สังคมมองว่าไม่ค่อยยุติธรรม หรือไม่ก้าวหน้าได้  

ทั้งนี้ ดร.พิชญ์ เห็นว่า การยกเลิกอัยการศึก และเปลี่ยนมาให้อำนาจเด็ดขาด
กับ หัวหน้า คสช.ผ่าน มาตรา 44 ครั้งนี้ ถือเป็นการ เข้าควบคุมอำนาจ
ที่เเท้จริง ที่เพิ่งเริ่มขึ้น รวมถึงอาจมองได้ว่าเป็นการรัฐประหารซ้อน
โดยหากมองย้อนกลับไปสองวันก่อนการยึดอำนาจจริง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่ง พลเอกประยุทธ์ ใช้อำนาจในการประกาศกฏอัยการศึก ตั้งแต่ วันที่ 20 พฤษภาคม 2557

ในวันนั้นก็เริ่มที่จะมีข้อถกเถียงว่าเป็นการยึดอำนาจหรือไม่? 
จนเกิดการยึดอำนาจจริงในอีกสองวันต่อมา แต่อย่างน้อยจะเห็นว่ากฏอัยการศึก
เป็นสิ่งที่ถูกประกาศก่อนการประกาศรัฐประหารอย่างเป็นทางการ และเงื่อนไขหลัง
จากวันนั้นก็ใช้ควบคู่ไประหว่างคำสั่ง คสช และ กฏอัยการศึก อะไรที่ไม่ครอบคลุม
ในคำสั่ง คสช ก็ใช้อ้างจากกฏอัยการศึก

จนถึงวันนี้คำสั่ง คสช. ก็ยังคงออกได้อยู่ แล้วก็เมื่อไม่มีกฏอัยการศึก 
ก็ใช้ อำนาจตามมาตรา ๔๔ ได้  แต่ไม่ได้คิดว่ามันจะหนักหรือเบาขึ้น  
ซึ่งยังมีคำถามค้างอยู่ว่า ถ้ามีการละเมิดมาตรา 44 จะต้องขึ้นศาลไหม 
ขึ้นศาลอะไร และมีกระบวนการทางกฏหมายอะไรบ้างในการต่อรอง 
นอกจากจะบอกว่า "ข้าคือกฏหมาย"


ที่มาข้อมูล: มติชน ฉบับ 30 มีค.2558.




Create Date : 30 มีนาคม 2558
Last Update : 30 มีนาคม 2558 19:41:03 น. 0 comments
Counter : 1104 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com