"ประกายไฟน้อยๆ ลามทุ่งได้"

 
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
6 มิถุนายน 2549
 

มาตั้งงบประมาณใช้จ่ายส่วนตัวกันเถอะ


ดุลยทัศน์ พืชมงคล



ถึงวันนี้คงยากจะหลีกเลี่ยงแล้วหละครับว่า ค่าครองชีพของเราเพิ่มสูงขึ้นมาระดับหนึ่งแล้ว

ข่าวร้ายไปกว่านั้นก็คือ ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกจากการคาดการณ์กันว่าราคาน้ำมันของโลกอาจจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปจนถึงเหยียบ 100 เหรียญต่อบาเรล

ซึ่งหากเป็นดังที่จริงดังที่ผู้ที่น่าเชื่อถือหลายท่านกล่าว บางทีที่บอกกันว่าถึงน้ำมันแพงรถก็ยังคงติดอยู่เหมือนเดิมนั้นอาจจะใช้ไม่ได้แล้วในตอนนั้น

บางคนอาจจะคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่น้ำมันจะแพงขึ้นไปได้ขนาดนั้น แต่อย่าประมาทดีกว่าครับ ดูจากปีกว่าๆที่ผ่านมา ราคาน้ำมันก็ปรับตัวไปแล้วเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ การจะขยับขึ้นไปอีกคงไม่ถึงกับเป็นเรื่องเหลือเชื่อแต่ประการใด

เอาเป็นว่าจะขึ้นไปเท่าไหร่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนอาจจะไม่กล้าฟันธงนัก แต่ที่ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันก็คือ จากนี้ไปน้ำมันจะมีแต่ขึ้น ไม่มีลง (จะมีแต่แต่ลงมานเล็กน้อยในระยะสั้นๆ)

น้ำมันขึ้นย่อมกดดันให้สินค้าและบริการต่างๆขึ้นตามไปด้วย ที่น่าเป็นห่วงก็คืออัตราการเพิ่มขึ้นของภาครายจ่ายจะมากกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของภาครายรับในสัดส่วนที่ส่งผลให้ผู้บริโภคหลายคนตั้งตัวไม่ทัน

ภาวะการณ์เพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในระลอกแรกเช่นในขณะนี้ ผู้บริโภคอาจจะยังสามารถรับมือได้บ้าง แต่หากคลื่นยักษ์ยังมีมาอย่างต่อเนื่องและเป็นระลอกที่ไม่ได้มีขนาดที่เล็กลงเลย ก็คงจะเหนื่อยครับ ภาษามวยเขาเรียกว่าอย่างไรก็คงจะต้อง ออกอากร กันบ้าง

แนวโน้มก็คือ ผู้บริโภคจะเริ่มรัดกุมในการใช้จ่ายมากขึ้น ว่าง่ายๆคือการบริโภคจะลดลง ต่อมาธุรกิจต่างๆก็จะเริ่มรัดเข็มขัด ภาวะตึงตัวก็จะเกิดขึ้น และถึงที่สุดที่เกรงกันก็คือภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในภาพรวมที่ยังไม่รู้ว่าจะไปจบลงเอาที่จุดไหน

กลับมาที่เรื่องใกล้ตัว สถานการณ์จะเป็นอย่างไรคงจะเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมอะไรได้มากมายนัก แต่สำหรับเราๆท่านๆหรือผู้บริโภคทั่วไปนี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจำเป็นต้องตั้งงบประมาณการใช้จ่ายเพื่อเตรียมตัวตั้งรับเอาไว้ก่อน

การตั้งงบประมาณใช้จ่ายที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำไว้ในเบื้องตันสั้นๆก็คือ คำนวณรายรับและรายจ่าย ประเมินส่วนต่าง และติดตาม ตัดทอน ตั้งเป้าหมาย

เริ่มจากที่ต้องรู้รายรับในแต่ละเดือนก่อน โดยหากเป็นคนที่มีเงินเดือนประจำก็สามารถใช้วิธีการคำนวณเบื้องต้นเช่น ถ้ามีรายได้เป็นสัปดาห์ให้คูณ 4.333 รายได้ต่อเดือนไม่สม่ำเสมอให้ก็ให้ประมาณรวมทั้งปีแล้วหารด้วย 12 เป็นต้น นอกจากนี้หากใครมีรายได้เสริมทางอื่นก็สมควรนำมารวมคำนวณด้วยตามความเหมาะสม

ในด้านภาครายจ่าย ตามปกติการดูสมควรจัดให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เช่นหมวดรายจ่ายประจำที่จำเป็น รายจ่ายจากภาระสินเชื่อ รายจ่ายพิเศษอื่นๆ เมื่อจัดแบ่งได้ชัดเจนแล้วก็จะสามารถวางแผนงบปนะมาณรายจ่ายในแต่ละเดือนได้ว่าสมควรให้อยู่ในจุดใดเพื่อความเหมาะสม ทั้งนี้นอกจากจะช่วยสะท้อนภาพแผนใช้จ่ายในอนาคตแล้ว ยังจะช่วยบอกได้ว่าจะลดทอนรายจ่ายในส่วนไหนลงได้บ้าง หรือสมควรสร้างภาระค่าใช้จ่ายผูกพันธ์อื่นเพิ่มขึ้นหรือไม่แค่ไหน

ตามปกติรายรับรายจ่ายควรมีส่วนต่างเพื่อการออม ดังนั้นการกำหนดส่วนต่างและการจำบันทึกข้อมูล


Create Date : 06 มิถุนายน 2549
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 20:30:59 น. 0 comments
Counter : 286 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อาบูหะซัน
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add อาบูหะซัน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com