"ประกายไฟน้อยๆ ลามทุ่งได้"

 
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 พฤศจิกายน 2550
 

กรณีศึกษาจากโฆษณาบ้าน

เมื่อไม่นานมานี้มีโอกาสได้ชมโฆษณาของบริษัทสร้างบ้านจัดสรรชิ้นหนึ่งทางโทรทัศน์แล้วรู้สึกว่าผู้สร้างสรรงานโฆษณานี้ช่างคิดหยิบจับประเด็นปัญหาของผู้บริโภคมาเป็นไอเดียในการสื่อสารคุณสมบัติของสินค้าผ่านงานโฆษณาได้ถูกจุดตรงเป้าดีเหลือเกิน

โฆษณาชิ้นดังกล่าวพูดถึงคำโฆษณาโครงการบ้านจัดสรรทั่วๆไปที่มักจะบอกกับผู้บริโภคว่าทำเลที่ตั้งของหมู่บ้านจัดสรรของตนเองนั้นเป็นทำเลที่ดีและสะดวกสบายเพราะใกล้ที่นั่นที่นี่ แต่พอเอาเข้าจริงๆกลับตั้งอยู่ไกลกว่าที่ผู้บริโภคหรือผู้ที่ดูโฆษณาแล้วเข้าใจไปมาก สร้างความผิดหวังให้กับผู้ซื้อบ้านมานักต่อนัก

โฆษณาชิ้นดังกล่าวสรุปใจความในตอนท้ายว่า ถ้าเป็นโครงการบ้านจัดสรรของบริษัท การสื่อสารบอกกล่าวกับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อบ้านของเขานั้นจะเป็นการบอกแต่ข้อมูลที่เป็นจริง คือถ้าบอกว่าหมู่บ้านนั้นตั้งอยู่ใกล้ทำเลดีที่ไหน ก็เชื่อขนมได้ว่าจะอยู่ตั้งใกล้ตามที่บอกนั้นจริงๆ จึงกล่าวได้ว่าเป็นการตอกย้ำให้กลุ่มผู้บริโภคมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าไปดูบ้านในโครงการของเขาไม่ต้องกลัวว่าจะผิดหวัง

โดยรวมโฆษณาชิ้นนี้จึงเป็นโฆษณาที่ผลิตออกมาได้ดีชิ้นหนึ่ง มีเป้าหมายชัดเจนและทำให้ผู้ชมอมยิ้มไปได้กับภาพที่หลายคนอาจเคยประสบและนึกภาพออกเป็นฉากๆ (ในยามที่ต้องขับรถไปดูบ้านซึ่งไกลกว่าที่คิด บางคนถึงขนาดหลงทาง หรือขับรถเข้าไปถึงในทำเลที่รกร้างว้างเปล่าผ่านถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยฝุ่นคลุ้ง) และยังสร้างความเชื่อมั่นในจุดที่ผู้บริโภครู้สึกติดขัดอยู่ในใจได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือทำให้บริษัทหรือหมู่บ้านจัดสรรแห่งนี้ดูโดดเด่นเป็นผู้นำในเรื่องทำเลในความรู้สึกของผู้บริโภคขึ้นมาทันตา

หลังจากชมโฆษณาชิ้นที่อยู่สองสามครั้ง ทำให้ย้อนกลับไปนึกถึงสปอตโฆษณาทางวิทยุชิ้นหนึ่งขึ้นมาเปรียบเทียบอย่างอดไม่ได้

“เดี๋ยวนี้ผม (ดิฉัน) มีเวลาเล่นกับลูกทุกเช้าก่อนไปทำงานแล้วครับ (ค่ะ) ………” ประโยคนี้เป็นคำเริ่มต้นของโฆษณาบ้านจัดสรรชิ้นนี้ทางสถานีวิทยุเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเมื่อฟังสปอตโฆษณานี้แล้วคนทั่วไปก็เข้าใจได้ทันทีว่า โฆษณานี้เน้นจุดขายไปที่ทำเลของบ้านจัดสรรที่อยู่ไม่ไกลจากชุมชนและสะดวกในการเดินทางไปไหนต่อไหน

นอกจากนี้ยังมีความหมายต่อเนื่องอีกอย่างที่อยู่ในประโยคดังกล่าวก็คือ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของครอบครัว เพราะคุณพ่อบ้านหรือแม่บ้านสามารถให้เวลากับลูกๆในยามเช้าได้บ้าง แทนที่จะต้องรีบเร่งออกจากบ้านไปทำงานตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่โผล่พ้นขอบฟ้าทุกวี่วัน

ถ้าว่ากันตามกลยุทธ์การโฆษณาแล้วต้องบอกว่า โฆษณานี้ใช้ “การแก้ปัญหา” เป็นประเด็นในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเรามักจะเห็นได้บ่อยๆจากโฆษณาทั่วไป เช่น หิวข้าวท้องร้องระหว่างรถติดให้กินขนมยี่ห้อนี้ หรืออ่านหนังสือสอบแล้วง่วงนอนให้กินกาแฟยี่ห้อนั้น เป็นต้น ซึ่งหากนึกแทนคนที่กำลังจะซื้อบ้านราคาขนาดกลางสักหลัง ปัญหาเรื่องการเดินทาง ระยะทางของบ้านกับที่ทำงาน บ้านกับโรงเรียนของลูก ถือเป็นปัญหาข้อแรกๆ ที่ต้องขบคิดของครอบครัวกันเลยทีเดียว ดังนั้นการบอกจุดขายของโฆษณาบ้านในแง่มุมนี้นับว่ามีน้ำหนักและเข้าเป้าพอดิบพอดี

แต่แล้ว ในช่วงท้ายของสปอตโฆษณาความยาว 15 วินาทีนี้ ก็ทำโฆษณานี้ดูโหวงเหวงลงไปในทันตา เพราะคำประกาศโฆษณาประโยคปิดท้ายกลับเผยจุดอ่อนของโครงการนี้ออกมาทีเดียว 2 ข้อพร้อมกัน

ข้อแรกคือ ที่ตั้งของโครงการที่คำโฆษณาสื่อออกมาอาจทำให้ผู้ฟังโดยผิวเผินอาจนึกว่าใกล้ แต่พอพิจารณารายละเอียดจริงๆปรากฎว่าตั้งอยู่ไกลกว่าที่เจตนาให้เข้าใจเป็นอันมาก เข้าทำนองเดียวกับมุขที่ศิลปินตลกนำมาล้อเลียนเสมอว่าบ้านอยู่บางนาตราด แต่แท้จริงกลับเป็นอีกไม่กี่กิโลเมตรจะถึงตัวจังหวัดตราด เป็นต้น
อีกข้อคือบอกว่าคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จเมื่อนั้นเมื่อนี้ ซึ่งเป็นหมายกำหนดการล่วงหน้านานนับปีหรือกว่านั้น คนฟังวิทยุที่ฟังมาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะกับคนที่กำลังจะหาซื้อบ้านซึ่งฟังไปวาดภาพไปแล้วว่าตนเองกำลังป้อนข้าวลูกอยู่ที่สวนหน้าบ้านในเช้าอันแสนอบอุ่นอยู่นั้น ภาพที่นึกคงจะหายวับไปทันใดเมื่อฟังประโยคที่ว่านี้จบ เพราะไม่รู้ว่ากว่าโครงการนี้จะเสร็จจริงๆ ลูกที่กำลังทานข้าวอยู่จะเรียนจบหรือทำงานทำการมีครอบครัวไปแล้วหรือยัง มิหนำซ้ำใช้คำว่า “คาดว่า” แล้วเสร็จ ด้วยแล้ว ก็เลยไม่รู้ว่าถ้าที่คาดไว้มันผิดหรือไม่เสร็จเอาเสียเลยแล้วจะทำยังไงกันดี..

จำได้ว่าเมื่อตอนที่ฟังโฆษณานี้เสร็จแล้วก็รู้สึกเสียดายไอเดียโฆษณาดีๆที่มองข้ามเนื้อแท้ของตัวสินค้าและการตีความเล็กๆน้อยๆของผู้บริโภคไปเสียได้ ที่เสียดายอีกอย่างคือ กลายเป็นว่าเมื่อฟังโฆษณานี้จบทำให้นึกไปถึงโครงการบ้านจัดสรรของอีกบริษัทหนึ่งแทน ที่เขามักจะบอกกับผู้ที่จะซื้อบ้านเสมอว่าเก็บเงินมาชั่วชีวิต จะซื้อบ้านซักหลัง ไม่เห็นตัวบ้านก่อนจะได้อย่างไร.. กลายเป็นโฆษณาให้โครงการอื่นไปซะอย่างนั้น

ถ้าจะพิจารณากันในเชิงกรณีศึกษา ตัวอย่างโฆษณาดังกล่าวได้ให้แง่คิดแก่ธุรกิจหรือสินค้าและบริการต่างๆได้เป็นอย่างดี ในแง่ของความรับผิดชอบต่อสังคม ลูกค้า และชื่อเสียงขององค์กรนั้น กรณีศึกษานี้ได้ให้แง่คิดในเรื่องของการสื่อสารให้ข้อมูลข่าวสารว่า จำเป็นที่จะนำเสนอข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารขององค์กร สินค้า และบริการที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์แก่ลูกค้า และไม่โฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เกินจริง เพื่อสร้างความพึงพอใจในระยะยาวและป้องกันไม่เกิดปัญหาหรือความรู้สึกในแง่ลบจากข้อมูลที่ผิดเพี้ยนหรือเกินกว่าที่เป็นอยู่จริง

ในอีกแง่มุมหนึ่ง การค้นหาความต้องการหรือปัญหาของลูกค้าเพื่อหาหนทางแก้ไขโดยการสร้างสรรผลิตภัณฑ์หรือบริการมาตอบสนอง ตลอดจนการสื่อสารในสิ่งเหล่านี้ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์และมีคุณค่าที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านี้แน่นอนว่าต้องเป็นผลดีกับทั้งลูกค้าและตัวสินค้าหรือองค์กรเอง แม้บางครั้งอาจจะเป็นเพียงประเด็นเล็กๆ แต่ก็อาจส่งผลดีหรือแม้แต่ป้องกันผลเสียได้เป็นอย่างดี และยิ่งถ้าหากสิ่งที่ค้นพบเกิดเป็นประเด็นหรือโอกาสใหญ่ๆขึ้นมา ผลที่ได้รับก็อาจจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆในทางบวกเกินกว่าที่จะคาดคิดก็เป็นไ



Create Date : 07 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 20:09:37 น. 1 comments
Counter : 762 Pageviews.  
 
 
 
 
 
 

โดย: เด วิด IP: 125.27.131.202 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2550 เวลา:17:08:53 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อาบูหะซัน
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add อาบูหะซัน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com