"ประกายไฟน้อยๆ ลามทุ่งได้"

 
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
6 มิถุนายน 2549
 

ข้อจำกัดของ SMEs

ดุลยทัศน์ พืชมงคล

ปัจจุบันกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีจำนวนรวมกันคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของกิจการทั้งหมดของประเทศ เป็นกำลังหลักและพลังที่แท้จริงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปให้เติบโตไปข้างหน้า

อย่างไรก็ดีแม้โดยลักษณะเฉพาะของ SMEs จะมีความคล่องตัวสูงและตลอดหลายปีที่ผ่านมาจะได้รับการสนับสนุนในเชิงนโยบายจากภาครัฐและเอกชนในหลากหลายมิติก็ตาม แต่ SMEs ก็ยังมีข้อจำกัดพื้นฐานอยู่หลายประการที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงของกิจการอยู่ และแม้ข้อจำกัดที่ SMEs ต่างๆประสบจะมีลักษณะแตกต่างกันกันไปองค์ประกอบที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมปัญหาและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นก็มีความเชื่อมโยงและคล้ายคลึงกันในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของการแสวงหาแหล่งเงินทุน การบริหารจัดการ การเข้าถึงข้อมูลและบริการ เทคโนโลยีการผลิต การตลาด หรือแม้แต่ความสามารถในการแข่งขันกับการรุกของธุรกิจขนาดใหญ่

การแสวงหาแหล่งเงินทุน

ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนมากมักจะประสบปัญหาเรื่องการหาแหล่งเงินทุนสำหรับการขยายกิจการ ทั้งนี้นอกเหนือจากปัญหาเรื่องของเครดิตและการเขียนแผนธุรกิจที่ยังไม่ชัดเจน รวมถึงความสามารถในการแสวงหาทรัพย์สินหรือหลักทรัพยเพื่อค้ำประกันแล้ว ยังเนื่องมาจากเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเรื่องของการวางระบบบัญชี

ในขณะเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบกิจการส่วนมากมักไม่ได้เตรียมความพร้อมหรือให้ความสำคัญกับการจัดการระบบบัญชีของกิจการให้เป็นระเบียบถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองเชื่อถือกันโดยทั่วไป โดยมักจะปล่อยปะละเลยให้บัญชีของกิจการสับสนยุ่งเหยิง ไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินได้

ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงเวลาที่กิจการมีความจำเป็นที่จะต้องขยายกิจการหรือด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินจึงมักจะเกิดอุปสรรคและข้อติดขัดต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของเครดิตและมาตราฐานในการตรวจสอบ เนื่องจากสถาบันการเงินไม่เชื่อถือเอกสารทางการเงินที่กิจการนำมาแสดงประกอบเป็นหลักฐานการกู้ยืม ซึ่งในบางกรณีความไม่ชัดเจนของระบบบัญชียังส่งผลให้เกิดข้อสงสัยไปถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจของผู้ประกอบการนั้นๆ ว่าจะสามารถดำเนินไปได้ด้วยดีจริงอย่างที่แจ้งบอกไว้ในแผนธุรกิจหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อาจเกิดความเคลือบแคลงในตัวผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการด้วยว่า อาจจะนำเงินที่กู้ยืมได้ไปใช้จ่ายผิดวัตถุประสงค์ แล้วสร้างความเสียหายจนไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้คืนได้ จนทำให้เกิดเป็นยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใหม่ของสถาบันการเงิน

ดังนั้น ในขั้นเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการที่มองว่าค่าใช่จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางบัญชีของกิจการเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเกิน เป็นเงินที่ยังไม่สมควรจ่ายในขั้นเริ่มต้น ไว้ค่อยมาคิดอ่านว่ากันอีกหลังในอนาคต ก็น่าจะลองพิจารณาเปรียบเทียบผลได้ผลเสียดูอีกครั้ง


การบริหารจัดการ

จุดเริ่มต้นของ SMEs ส่วนมากมักจะมีที่มาจากธุรกิจในลักษณะครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยสังคมที่โดยธรรมชาติแล้วจะมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการต่างๆของกิจการ ได้ไม่รวดเร็วเหมือนอย่างกิจการที่มีพื้นฐานมาจากทุนที่อิสระ(จากครอบครัว)

ในกรณีธุรกิจของครอบครัวที่ดำเนินธุรกิจก้าวมาถึงจุดที่ต้องการขยายตัวขึ้น ข้อจำกัดที่จะพบอยู่เสมอก็คือการปรับระบบการทำงานที่ไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ขยายใหญ่และเติบโตขึ้นขององค์กร ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการแข่งขันทางธุรกิจในยุคสมัยที่ต้องการการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและกระจายความรับผิดชอบในการบริหารจัดการ

ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของการบริหารจัดการในธุรกิจ SMEs ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการแบบครอบครัวแฝงอยู่ด้วยก็คือ ปัญหาการหมุนเวียนเข้า-ออกของแรงงานที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานที่มีฝีมือและมีความชำนาญสูงมักจะเคลื่อนย้ายไปสู่ธุรกิจและอุคสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วยเหตุผลในเรื่องของผลตอบแทนและโอกาสที่ดีกว่าในแง่ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งส่งผลให้ SMEs จำเป็นต้องมีต้นทุนและความเสียหายอันเกิดจากการต้องเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานใหม่เพื่อให้ทำงานได้ตามเกณฑ์มาตราฐานและมีความชำนาญพอเพียงอยู่ตลอดเวลา

เทคโนโลยีการผลิต

จุดเริ่มต้นของ SMEs โดยส่วนใหญ่อีกประการหนึ่งคือ การเริ่มต้นธุรกิจมาจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน การผลิตรวมถึงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจ จะอาศัยความชำนาญเฉพาะด้านและปัจจัยทางภูมิศาสตร์หรือทำเลที่ตั้งกิจการที่ใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจเป็นจุดแข็งในการดำเนินงาน

แต่ในสถานการณ์จริง การขยายตัวทางธุรกิจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขยายตัวในด้านการผลิต ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของโรงงาน กระบวนการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไป เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัยขึ้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตทั้งในภาพรวมและหน่วยการผลิตย่อย และอื่นๆ ส่งผลให้คนงานที่มีความเคยชินกับวิธีการทำงานแบบเก่าจำเป็นต้องยกระดับความรู้ความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวได้ของคนงานแต่ละคนและประสิทธิภาพของการส่งเสริมอบรมพัฒนาความรู้ของ SMEs

ในขณะเดียวกันกับที่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต จุดเด่นในเรื่องความแตกต่างของผลิตภัณฑ์อันเนื่องมาจากฝีมือและความชำนาญเฉพาะจากการผลิตในปริมาณในจำนวนไม่มากซึ่งเป็นจุดเด่นของ SMEs ก็อาจจะถูกลดทอนความเข้มข้นลงไปเนื่องจากการผลิตที่เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมเต็มตัว

การเข้าถึงข้อมูลและบริการ

มีกลไกจากภาครัฐและสถาบันเอกชนหลายๆ แห่งที่เอื้อประโยชน์แก่กิจการประเภท SMEs แต่ผู้ประกอบการยังไม่สามารถเข้าถึงหรือทำความเข้าใจได้มากพอที่จะนำมาใช้เป็นโอกาสในการสร้างจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบที่สูงขึ้นทางธุรกิจ ในด้านแหล่งเงินทุน ปัจจุบันมีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.), ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหน่วยงานสนับสนุนทั้งในการกู้ยืมและค้ำประกัน ในด้านการการอบรมพัฒนาความรู้และการใช้สิทธิประโยชน์ เช่นทางภาษีอากร มีศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและประชาชน ศงป., และหน่วยงานอีกหลายแห่งที่ให้บริการข้อมูลความรู้ รวมทั้งในด้านการสนับสนุนประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการทั้งในประเทศและนอกประเทศ และสถาบันประกาศรับรองมาตราฐานต่างๆที่จะสร้างจุดแข็งแก่ SMEs เช่นสถาบันรับรองมาตราฐานไอเอสโอ, สำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฯลฯ

อย่างไรก็ก็ตาม การที่มีหน่วยงานสนับสนุนที่หลากหลายและแยกต่างหากจากกันในลักษณะนี้ ก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่หรือแม้แต่ดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม เข้าใจได้ว่าการขอรับการสนับสนุนเป็นเรื่องซับซ้อนและมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างมากในทางปฎิบัติ

ความสามารถในการแข่งขันกับการรุกของธุรกิจขนาดใหญ่

ระหว่างการขยายตัวทางธุรกิจ SMEs ก็เริ่มถอยห่างจากจุดแข็งพื้นฐานของธุรกิจที่มีอยู่ออก ไปสู่ภาวะการแข่งขันที่เปิดกว้างและสลับซับซ้อน SMEs หลายแห่งประสบความสำเร็จในการขยายตัวด้วยการอาศัยการเป็น “นวัตกรรมใหม่” ของสินค้าหรือบริการของตนเป็นตัวชี้นำสำคัญในความสำเร็จที่เกิดขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านการพิสูจน์แล้วว่าธุรกิจที่ดำเนินอยู่เป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใส ไม่นานนักคู่แข่งขนาดใหญ่ก็จะรุกคืบเข้ามาสู่การแข่งเพื่อยึดครองส่วนแบ่งที่มีอยู่ในตลาด ลักษณะการรุกคืบดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่กำลังรอให้ SMEs ที่ประสบกับความสำเร็จมาแล้วเตรียมรับมือต่อไป

โดยสรุป SMEs ที่กำลังจะเกิดและเติบโตขึ้นใหม่ในปัจจุบันนี้ได้อย่างเข็มแข้งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดาย แม้ว่าจะมีต้นแบบกิจการที่ประสบความสำเร็จ, How to ทางการบริหารจัดการ และหน่วยงานสนับสนุน เป็นจำนวนมากมาย การจะเติบโตต่อไปในธุรกิจ SMEs ยังคงต้องอาศัยจุดเด่นของสินค้าและบริการ นวัตกรรม และการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีและรวดของตนเอง เพื่อฉีกหนีข้อจำกัดที่มีอยู่นี้ออกไปให้ได้ และที่สำคัญที่สุดที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือความพยายามที่จะเรียนรู้และแสวงหาแหล่งข้อมูลและเทคโนโลยี่ที่จะมีส่วนเข้ามาแก้ไขทดแทนข้อจำกัดต่างๆเหล่านี้

ปัญหาและข้อจำกัดดังกล่าวใช่ว่าจะไม่เป็นที่ตระหนักของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กิจการในส่วนของ SMEs จึงได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐในหลากหลายรูปแบบ โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้กิจการ SMEs โดยส่วนใหญ่ทั้งที่ดำเนินงานอยู่และที่กำลังเกิดขึ้นใหม่สามารถยืนหยัดและเติบโตในระบบธุรกิจได้ในที่สุด

ในภาคเอกชนเองก็มีผู้ให้บริการขนาดใหญ่หลายแห่งที่มีความชำนาญในด้านการบริหารจัดการ เทคโนโลยี และความพร้อมทางด้านนวัตกรรมต่างๆ ได้เข้ามานำเสนอบริการแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม True ซึ่งเป็นเอกชนที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องของบริการที่ครบวงจรสำหรับ SMEs ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ ตลอดจนภาพลักษณ์ขององค์กรมาสู่การเป็นผู้ให้บริการแก่ SMEs อย่างจริงจังมาโดยตลอด

ภายใต้องค์ประกอบที่พรั่งพร้อมในด้านการสื่อสารพื้นฐานครบอย่างวงจร True จึงได้มุ่งเน้นที่จะวางตนเองเป็นเสมือนคู่คิดทางธุรกิจที่ใกล้ชิดและพึ่งพาได้สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ทุกแห่ง โดยเพียงแค่ผู้ประกอบการ SMEs ตัดสินใจที่จะก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายบริการของ True โดยเลือกใช้บริการ Solution หนึ่งที่ True ให้บริการเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ระบบช่วยจัดการ ICT และสำนักงาน (ICT & Office Assistant Solution) หรือระบบสื่อสารครบวงจร (Communication Solution) ระบบบริการธุรกิจออนไลน์ (Business Process Solution) หรือระบบการตลาดครบวงจร (1-Stop Marketing Solution) ซึ่งล้วนแต่เป็นบริการที่ตอบสนองความต้องการหรือเสริมจุดอ่อนของ SMEs โดยทั่วไปทั้งสิ้น

ระบบช่วยจัดการ ICT และสำนักงาน (ICT & Office Assistant Solution) ที่กล่าวมานี้ คือบริการที่มีลักษณะของการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำ ICT มาใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจหรือกิจการแต่ละประเภท รวมไปถึงคำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ จนถึงการติดตั้ง และความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับระบบ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของ SMEs จำนวนมากที่มักจะขาดความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวหรืออาจจะยังไม่พร้อมที่จะมีเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวโดยตรง ณ วันที่เริ่มต้นกิจการ

ส่วนระบบสื่อสารครบวงจร (Communication Solution) นั้น คือบริการที่ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ระบบสื่อสารได้หลากหลายตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์พื้นฐาน บริการโทรศัพท์มือถือ และบริการในลักษณะ Dual Phone รวมถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง บริการด้านการเชื่อมต่อระหว่างสาขา บริการประชุมทางไกล และบริการการโทรภายในกลุ่มหรือที่เรียกว่า PCT (Wireless Group Call) เป็นต้น

ในด้านการบริหาร True ก็ให้บริการที่สนองความต้องการในการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆทางการบริการ โดยขจัดข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ที่มีราคาสูง เพื่อให้ระบบการทำงานของ SMEs แม้ว่าจะมีขนาดที่เล็กแต่ก็มีระบบและเทคโนโลยีในการสันบสนุนการบริหารจัดการที่ทัดเทียมกับองค์กรธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ทางด้านบัญชี, ระบบการขาย การบริหารสินค้าคงคลัง และจัดซื้อ, ระบบดูแลจัดการการค้าปลีก ณ จุดขาย หรือระบบ CRM เป็นต้น

สำหรับระบบการตลาดครบวงจร (1-Stop Marketing Solution) นั้นเป็นอีกบริการที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับ SMEs เพราะระบบดังกล่าวจะเป็นเครื่องมื่อทางด้านการสื่อสารการตลาดในการนำเสนอสินค้าและบริการของ SMEs ออกไปสู่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดอ่อนของ SMEs ที่ดำเนินงานด้านการตลาดเองโดยปราศจากช่องทางการตลาดที่เป็นลักษณะ Mass บริการการตลาดดังกล่าวประกอบไปด้วยการเป็นช่องทางการแนะนำสินค้าผ่านเว็บไซต์ บริการจัดการระบบ E-Commerce และ Mobile Marketing ผ่านSMS ทางโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

โดยภาพรวมจึงกล่าวได้ว่า True ได้วางพื้นฐานบริการสำหรับรองรับความต้องการของ SMEs ได้อย่างครบครัน แม้ว่าปัจจุบันอาจจะยังคงเป็นมีผู้ประกอบการ SMEs จำนวนไม่มากนักที่พร้อมและมีพื้นฐานข้อมูลเพียงพอที่จะเลือกใช้บริการต่างๆเหล่านี้ก็ตาม แต่เชื่อแน่ว่าการเริ่มต้นจากกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็น Innovator เหล่านี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบสังคมและแนวปฎิบัติของผู้ประกอบการ SMEs รายอื่นๆ ต่อไปในอนาคตอันใกล้ และด้วยคุณสมบัติที่มีความคล่องตัวเฉพาะของกิจการ SMEs ก็เป็นไปได้สูงที่อัตราการขยายตัวในการเลือกใช้บริการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว.


Create Date : 06 มิถุนายน 2549
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2550 23:33:41 น. 0 comments
Counter : 1032 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อาบูหะซัน
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add อาบูหะซัน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com