"ประกายไฟน้อยๆ ลามทุ่งได้"

 
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 พฤศจิกายน 2550
 

กองทุนดัชนี อีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุน

ดุลยทัศน์ พืชมงคล



กองทุนดัชนี นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นักลงทุนกำลังให้ความสนใจแพร่หลายอยู่ในขณะนี้

เพราะจากผลประกอบการกองทุนในรอบปี 2548 ที่ผ่านมา กองทุนดัชนีทั้งหมดที่มีอยู่ในท้องตลาดต่างก็มีผลประกอบการที่เหนือกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์กันถ้วนหน้า ซึ่งนับเป็นผลประกอบการที่สามารถดึงดูดใจนักลงทุนแม้ในภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงได้เป็นอย่างดี

จากผลประกอบการกองทุนรวมในปีที่ผ่านมาระบุว่า ปัจจุบันกองทุนหุ้นที่เป็นกองทุนดัชนีในระบบกองทุนรวมมีอยู่ทั้งสิ้น 11 กองทุน และมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม ณ สิ้นปี 2548 อยู่ที่ 8,742 ล้านบาท ซึ่งมี บลจ.ทหารไทยเป็นผู้ครองส่วนแบ่งการตลาดมากเป็นอันดับหนึ่งที่ 65.58% และ “กองทุนเปิดทหารไทย SET50" ซึ่งเป็นกองทุนของ บลจ.ทหารไทย เองที่เป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดถึง 13.32%

ทั้งนี้ ภาพรวมของกองทุนดัชนีนั้น มีกองทุนที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดยู่ที่ 9.52% ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) และดัชนี SET50 Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่ต่ำกว่าที่ บวก 6.83% และ 7.29% ตามลำดับ

แม้กองทุนดัชนีจะเป็นกองทุนที่ลงทุนสอดคล้องไปกับดัชนี (Index Investing) ของตลาด โดยใช้ SET50, SET 100 หรือ SET INDEX เป็นดัชนีอ้างอิง และมีนโยบายการลงทุนที่ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET เป็นหลัก เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนีให้มากที่สุด

แต่อย่างไรก็ดี การใช้เกณฑ์มาตราฐานที่ใกล้เคียงจำนวนหลักทรัพย์ของกองทุนดัชนีนั้น ไม่ได้หมายความว่าบริษัทผู้จัดการกองทุนดังนี้จะต้องลงทุนตามจำนวนหุ้นทุกตัวเสมอไป

กรณีอย่างเช่นกองทุน SET100 หรือ SET INDEX ซึ่งมีจำนวนหลักทรัพย์ที่มากและบางหลักทรัพย์มีสภาพคล่องต่ำหรือมีผลประกอบการที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับการลงทุนนั้น บริษัทจัดการกองทุนหรือผู้จัดการกองทุนอาจไม่จำเป็นต้องลงทุนในหลักทรัพย์ให้ครบถ้วนทั้ง 100 หลักทรัพย์หรือทั้งหมด แต่สามารถที่จะใช้หลักคณิตศาสตร์ในการคำนวณเลือกหลักทรัพย์บางส่วนขึ้นมาเป็นตัวแทนในการลงทุนที่ใกล้เคียงกับดัชนีให้มากที่สุดได้ และผลการตัดสินใจเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆของผู้บริหารกองทุนแต่ละกองทุนนี้เอง ที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผลตอบแทนจากการบริหารจัดการของกองทุนต่างๆแม้จะใกล้เคียง แต่ก็มีความแตกต่างกัน

นอกจากนี้ เนื่องจากกองทุนดัชนีเป็นการบริหารเชิงรับหรือ Passive Management Strategy ซึ่งหมายถึงการบริหารกองทุนจะตัดสินใจภายใต้เกณฑ์ของดัชนีเป็นหลักมากกว่าการจัดการในเชิงรุกเหมือนกองทุนหุ้นอื่นที่ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา

ตัวอย่างเช่น ในขณะที่กองทุนหุ้นโดยทั่วไปในกรณีที่ภาวะหุ้นที่ถือมีความไม่แน่นอนหรือราคาตก ผู้จัดการกองทุนจะเป็นผู้ตัดสินใจในการปรับพอร์ตการลงทุนเช่นขายหุ้นที่มีปัญหาออกไปหรืออาจลดสัดส่วนในการถือหลักทรัพย์มาถือเป็นตราสารอื่นที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าในภาวะการณ์นั้นๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับกองทุนและผู้ลงทุนได้ แต่สำหรับกองทุนดัชนีไม่ว่าจะในกรณีที่หุ้นขึ้นหรือปรับตัวลดลง ผู้จัดการกองทุนก็ยังจะต้องบริหารจัดการโดยยึดเกณฑ์ดัชนีต่อไปตามนโยบายของกองทุน ในกรณีดังกล่าวจึงเป็นข้อแตกต่างสำคัญระหว่างกองทุนดัชนีกับกองทุนประเภทอื่นๆ

ดังนั้น ผู้ลงทุนในกองทุนประเภทดัชนี นอกจากจะต้องยอมรับความผันผวนของผลประกอบการได้สูงแล้ว ยังจะควรเป็นนักลงทุนที่มีความสนใจที่จะติดตามความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของกองทุนอย่างใกล้ชิดในระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถตัดสินใจปรับพอร์ตการลงทุนด้วยตัวเองได้ในบางกรณี ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้แล้วก็เชื่อได้ว่าการลงทุนในกองทุนดังชีจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจให้กับผู้ลงทุนได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องไม่ลืมว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง จึงสมควรที่จะลงทุนด้วยความระมัดระวังและศึกษาข้อมูลโดยละเอียดก่อนการลงทุนอยู่เสมอ.



Create Date : 07 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 20:22:50 น. 1 comments
Counter : 491 Pageviews.  
 
 
 
 
ทราบมาว่ากองทุนดัชนีนี้ไม่ได้ไช้บุคลากรเป็นผู้บริหารใช่ไหมครับ แต่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจับคู่หน่วยลงทุนกับดัชนีของตลาดอย่างนั้นหรือเปล่า ขอบคุณครับ!!
 
 

โดย: youngblood IP: 180.180.134.188 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:17:34:20 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อาบูหะซัน
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add อาบูหะซัน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com