"ประกายไฟน้อยๆ ลามทุ่งได้"

 
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 พฤศจิกายน 2550
 

เมื่อสิ่งที่ไม่คาดคิดและไม่อยากจะคิดเป็นจริง

ดุลยทัศน์ พืชมงคล


ปลายปี 2541 ห้วงเวลากว่า 1 ปีหลังประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จำต้องลดค่าเงินบาทและปิดสถาบันการเงินกว่า 40 แห่งนั้น นับเป็นช่วงที่สภาพเศรษฐกิจและสภาพจิตใจของคนไทยตกต่ำลงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

SET Index ที่เคยสูงเกือบ 1,700 จุด ลดลงไปจนถึงระดับต่ำกว่า 300 จุด

ณ เวลานั้นราคาน้ำมันเบนซิล 95 ในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ราคา 10.35 บาท/ลิตร เป็นการขยับขึ้นมา ถึง 1.0-2.0 บาท/ลิตร นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา

พฤศจิกายน 2550 หรือในอีกราวกว่าทศวรรษต่อมา SET Index ที่ขยับขึ้นมาที่ระดับ 900 จุด ยังคงต่ำกว่าก่อนวิกฤติ 800 จุด

ราคาน้ำมันเบนซิลในประเทศขยับขึ้นไปแตะอยู่ที่ระดับราคา 31.99 บาท/ลิตร (หรือที่ประมาณ 93 เหรียญ/ บาเรล) พุ่งขึ้นมากว่า 20.0 บาทต่อลิตร หรือ 200 เปอร์เซ็นต์

เป็นเรื่องที่หากย้อนกลับไปเมื่อสองสามปีก่อนหรือนานกว่านั้น ผู้คนส่วนใหญ่คงไม่ได้คาดคิดไปถึง และคนบางส่วนก็คงไม่อยากที่จะไปคิดว่ามันจะเป็นไปได้

ราคาน้ำมันตอนนี้กำลังใกล้เขตแดน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลเต็มที บางทีสิ่งที่ไม่คาดคิดหรือไม่อยากที่จะไปคิดอาจยังไม่หยุดลงเพียงแค่นี้

เพียงนึกถึงหรือได้ยินตัวเลข 150 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล (หรือประมาณดูเล่นๆว่า 45 บาทต่อลิตร) ขึ้นมา หลายคนก็ไม่อยากคิด ไม่อยากฟังต่อไปจนจบ

ขณะที่อีกหลายคนฟันธงลงไปว่าเป็นไปไม่ได้ แต่แบ่งรับแบ่งสู้ไว้หน่อยหนึ่งว่าถ้า 120 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลนี่ก็ไม่แน่

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าราคาน้ำมันจะไปอยู่ที่เท่าไหร่เราๆท่านๆคงไม่มีกำลังที่ไปกำหนดเอาได้ตามใจนึก แต่ที่จะสามารถทำได้ก็คือ การคิดหรือประเมินดูว่า หากสิ่งที่เราไม่คาดคิดและไม่อยากจะคิดเกิดขึ้นจริง เราจะทำอย่างไร จะรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกันอย่างไร

ข่าวร้ายที่จะตามมาหลังจากเริ่มต้นนึกคิดก็คือ น้ำมันไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจเดียวที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต เพราะยังมีปัจจัยอย่างอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย อัตรเงินเฟ้อ ราคาหุ้น สถานการณ์ทางการเมือง สถาบันการเงิน รวมไปถึงสภาวะแวดล้อมอย่างเรื่องของภาวะโลกร้อนที่ย่อมมีผลกระทบต่อทุกองค์ประกอบของโลก ฯลฯ ที่เกี่ยวพันอย่างไม่อาจปฎิเสธได้ และไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

ที่แย่หน่อยก็คือ ในปัจจุบันปัจจัยต่างๆเหล่านี้ โดยมากกำลังอยู่ในช่วงผันผวน และยังไม่แน่ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างคาดไม่ถึงอะไรอีกหรือไม่

แต่ถ้ามีคำตอบที่เป็นสัจธรรมหน่อยก็คงจะเป็นคำตอบที่ว่า “มีแน่” เพียงแต่ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าตกใจหรือมีอัตราเร่งที่รวดเร็วมากน้อยเพียงใด และไม่รู้ว่าจะเป็นไปในทิศทางที่บวกหรือลบ

แต่ถ้าคิดด้วยการใช้แนวโน้มเป็นหลัก ทางลบคงจะเป็นต่อ และมีโอกาสที่มากกว่า

ไม่นานนี้ เมอริล ลินช์ ประเมินภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐฯในปีหน้าว่าจะชะลอตัวลงอย่างมาก จากการที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2550 หลายๆประเทศ (ยกเว้นประเทศไทย) จะเปลี่ยนสัดส่วนการถือครองเงินสำรองระหว่างประเทศที่เคยถือเป็นสกุลเงินดอลล่าร์เป็นเงินสกุลอื่นหรือเป็นทรัพย์สินอย่างอื่น หลังจากที่ทยอยขายมาอย่างต่อเนื่องในปี 2550 ซึ่งผลก็คือทำให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนลงไปอีก

ความเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้พลังงานของประเทศต่างๆโดยเฉพาะจีน อินเดีย (และสหรัฐเอง) จะผลักดันให้ราคาน้ำมันและสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นตัวยังคงยืนอยู่ที่ระดับสูง ขณะเดียวกันวิกฤติสินเชื่อในสหรัฐฯก็จะยังคงที่จะขยายตัวลุกลามไปพร้อมๆกับอัตราเงินเฟ้อและตัวเลขการว่างงาน

ประเทศไทยซึ่งผูกกลไกเศรษฐกิจประเทศไว้กับสหรัฐอย่างเหนียวแน่นจึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่จะรับผลกระทบหรืออานิสงค์ค่อนข้างมากกว่าใครๆ โดยเฉพาะในเรื่องของค่าเงิน

ประเทศไทยไทยถือครองเงินดอลล่าร์สหรัฐเป็นจำนวนมาก และที่ผ่านมาก็เก็บเงินดอลล่าร์เข้ากระเป๋าเป็นมูลค่ามากมายมหาศาลไล่มาตั้งแต่ราคาเกือบ 40 บาท/เหรียญ กระทั้งวันที่เขียนนี้อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 33 บาท/เหรียญ คิดง่ายๆก็คือเงินก้อนไหนถ้าซื้อตอนที่ราคา 38 บาท/เหรียญ ก็เท่ากับว่า ณ ตอนนี้ขาดทุนไปแล้วดอลล่าร์ละ 5 บาท หรือถ้าซื้อ 3.8 แสนล้าน จะมีผลขาดทุน (แม้ถ้ายังไม่ขายจะเป็นในทางทางบัญชีก็ตาม) 5 หมื่นล้านบาทแล้วนั่นเอง และถ้าค่าเงินดอลล่าร์ลดลงไปอีกตามที่เขาประเมินกัน ผลขาดทุนก็จะเพิ่มมากขึ้นไปโดยปริยาย

ที่นักวิเคราะห์เขากล่าวกันมานี้ฟังดูแล้วทำให้คนที่ติดตามข่าวสารความเป็นไปทางเศรษฐกิจเริ่มมีความวิตกกังวลกันมากขึ้น แต่บางคนที่มองในเชิงบวกก็มองว่าเป็นโอกาสและเป็นจังหวะที่เงินทุนจะไหลเข้ามายังภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย

ถ้าเหตุกาณ์เป็นไปตามที่คาดการณ์ดังนี้ เชื่อกันว่าผู้ประกอบธุรกิจส่วนมากคงจะเตรียมตัวรับมือผ่อนหนักให้เป็นเบา หรือเตรียมไขว่คว้าโอกาสที่อาจก้าวมาอย่างเหมาะเจาะกับธุรกิจของตนกันไว้บ้างแล้ว

แต่ถ้าหากสิ่งที่คาดการณ์ไว้กลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดและไม่อยากคิดอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาครั้งวิกฤตเศรษฐกิจในแม็กซิโกและวิกฤติต้มยำกุ้งในเอเชีย ปีหน้าฟ้าใหม่การถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทตามปัจฉิมโอวาทของพระบรมศาสดา และการยึดถือแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปรับใช้เป็นหลักในการในการดำรงชีวิตอย่างจริงจัง คงจะเป็นทางเลือกที่แน่นอนที่สุดและดีที่สุดในการนำพาคนไทยผ่านเหตุการณ์ต่างๆไปได้.



คำบรรยายใต้ภาพที่1.
“คนชอบคิดเรื่องไม่คาดคิด” ช่วง 3 ปีก่อนวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 พอล ครุกแมน เคยพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจในเอเชีย ว่าเป็น "เอเชียมิราเคิล" โดยระบุว่าการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของเอเชียเป็นสิ่งอัศจรรย์ที่เป็นภาพลวงตา และจะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจในที่สุด



คำบรรยายใต้ภาพที่2.
ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงไป 75% ที่อินโดนิเซียค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคสูงขึ้นกว่า 80% เช่นเดียวกันกับในหลายๆประเทศในเอเซียที่ได้รับผลกระทบในระดับต่างๆต่อเนื่องกันตามทฤษฎีโดมิโน่ ก่อนหน้านั้นในระหว่างปี 1993-1995 ประชากร 2.3 ล้านคนใน Mexico ต้องตกงานภายในเวลาเพียง 24 เดือน บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางกว่า 2 หมื่นแห่งต้องปิดตัวลง อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปถึง 51%




Create Date : 07 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2550 21:26:50 น. 0 comments
Counter : 280 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อาบูหะซัน
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add อาบูหะซัน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com