มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
พระนครศรีอยุธยา...........686 ปี บนเส้นทางสู่มรดกโลก
หลายครั้งหลายหนที่มีโอกาสไปเยือน จ พระนครศรีอยุธยาหรือกรุงเก่าของเรา จังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง การเดินทางแต่ละหนไม่เคยมีคำว่าเบื่อหน่ายกับการได้มารำลึกความเป็นมากลิ่นอายของความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในวันเก่าของอดีตราชธานีแห่งนี้

หลายศตวรรษ หลายเหตุการณ์ และเรื่องราวในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ ที่เล่าขานความสูญเสียและล่มสลาย

แม้ประวัติศาสตร์มิอาจเปลี่ยนแปลงแต่ความเป้็นมรดกโลกที่ได้กลับคืนมา คือสิ่งที่จักต้องดำรงรักษาไว้ให้คงอยู่สืบไป

พระมหาปราสาทราชวัง วัดวาอาราม และโบราณสถานอันทรงคุณค่าล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดของอดีตราชธานีแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี

แม้ว่ามหานครแห่งนี้จะถูกทำลายลงแล้วด้วยไฟสงคราม แต่ส่ิงที่ยังคงเหลืออยู่ก็เป็นเสมือนขุมทรัพย์ทางปัญญาอันยิ่งใหญ่ที่เราลูกหลานไทยรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และรักที่จะหวงแหนวัฒนธรรมอันเก่าแก่ให้คงอยู่สืบไป




วัดไชยวัฒนาราม เป็นพระอารามที่อยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา แต่ก็มีความสำคัญมากวัดหนึ่ง ทันทีที่เดินเข้าไปในเขตพระอาราม รับรู้ถึงความงดงามได้ไม่ยากเลย แม้จะเหลือให้เห็นเพียงซากปรักหักพัง หากย้อนไปเมื่อยุคก่อนคงจะเป็นพระอารามที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง




นึกแล้วอดเสียดาย ถ้าไม่เป็นเพราะไฟสงครามในอดีต สถานที่สวยงามแห่งนี้คงจะยังเหลืออยู่ให้ชนรุ่นหลังได้ชมบ้าง หากแม้ว่าวัดแห่งนี้ยังคงสภาพและมีการบูรณะต่อเนื่อง ผมเชื่อมั่นว่าคงจะเป็นเพรชเม็ดงามคู่แผ่นดินกรุงเก่าได้อย่างไม่ต้องสงสัย




ผมเดินมาถึงส่วนที่เคยเป็นพระเมรุทิศเมรุราย ซึ่งตั้งล้อมรอบพระปรางค์อยู่ทั้งสิ้น 8 องค์


จากข้อมูลที่มีอยู่กล่าวว่าผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนก ซึ่งลบเลือนไปมากแล้วตามกาลเวลา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์




วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ พระอารามแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์



เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนารามถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง มีการลักลอบเข้าไปขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย เป็นเรื่องน่าเศร้าใจยิ่งนัก มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย ภายหลังกรมศิลปากรได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จดั่งสภาพที่เห็นในปัจจุบัน




วิหารพระมงคลบพิตร เป็นที่ประดิษฐาน พระมงคลบพิตร


พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยโบราณขนาดใหญ่ ที่สุดของประเทศไทยองค์หนึ่ง เปล่งประกายสีทองเจิดจรัสไปทั่วพระอุโบสถ



ใกล้ๆ วิหารพระมงคลบพิธ เป็นที่ตั้งของ วัดพระศรีสรรเพชญ์ โบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง สามารถเข้าไปชมได้หลังจากซื้อบัตรผ่านประตู วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดหลวงในพระราชวังโบราณ อยุธยา ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นต้นแบบของ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระราชฐาน ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่ประทับ



ในทุกย่างก้าว ภาพเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์การเสียกรุงที่เคยได้ร่ำเรียนมา ลอยล่องเข้ามาในห้วงคำนึง ปลุกจิตสำนึกความรักชาติและหวงแหน แต่ถึงแม้จะคงสภาพอย่างที่เห็น ความงดงามในอดีตก็สามารถสัมผัสได้ ผมลองหลับตาแล้วนึกภาพ ก็ยังพอที่จะเห็นมโนภาพได้อย่างเลือนลาง



แต่ก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงเหตุการณ์ที่ “ข้าศึกเผาผลาญแหลกลานวอดวาย ชาวไทยทุกคนหัวใจร้าวราน”


ความโดดเด่นของ วัดพระศรีสรรเพชญ์ คือเจดีย์ทรงกลม เรียงติดกัน 3 องค์ ที่งดงามยิ่ง แต่ถึงแม้จะคงสภาพอย่างที่เห็น ความงดงามในอดีตก็สามารถสัมผัสได้

เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้เมื่อหลายร้อยปีก่อน ยากที่จะทำใจให้ยอมรับ แต่ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่ามันคือหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ถูกบันทึกไว้แล้วว่าเราเสียกรุงถึงสองครั้งสองครา



วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาตร์มากที่สุดและเป็นวัด
ที่นักท่องเที่ยวนิยมมามากที่สุดวัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดสนใจของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือ
เรื่องราวทางประวัติศาตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นหลายแห่งด้วยกัน




เจดีย์ชัยมงคล
 คือพระเจดีย์ที่สูงที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเพือเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ ่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำยุทธหัตถีรบชนะ ที่ ต.หนองสาหร่าย จ.สุพรรณบุรี



มีความเป็นมาว่า เมื่อครั้งที่พระองศ์ดำทรงทำยุทธหัตถีรบชนะ เมื่อกลับมาสู่พระนครแล้ว พระองค์ก็จะลงโทษเหล่าทหารที่ตามทัพไปไม่ทันตอนกระทำศึก
ยุทธหัตถี ตามกฏระเบียบแล้วต้องโทษถึงขึ้นประหารชีวิต แต่สมเด็จพระวันรัตน์ ผู้เป็นพระเถระที่สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ความเคารพ ได้ทูลขอพระราชทานชีวิตของแม่ทัพนายกองเหล่านั้นไว้ โดยให้เหตุผลว่าพระองค์เปรียบดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่แวดล้อมด้วยหมู่มารโดยลำพังก่อนที่จะตรัสรู้ เปรียบดั่งการทำยุทธหัตถีเพียงลำพังคือการประกาศเกียรติและบารมีความกล้าหาญ
และเก่งกาจของพระองค์ให้ขจรกระจายไปทั่วแคว้นทั่วแผ่นดิน สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ
และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีแก่เหล่าทหารหาญเหล่านั้น และพระราชทานนามว่า
 เจดีย์ชัยมงคล




ดั่งปรากฎหลักฐานทางพุทธประวัติจากการสร้างพระพุทธรูปด้านหลังพระเจดีย์


ผมคิดว่า คนไทยที่มีโอกาสผ่านมาอยุธยาควรจะเข้ามาสัมผัสบรรยากาศแบบนี้บ้าง ได้มารับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ แม้เพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถก่อเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจต่อบรรพบุรุษผู้กล้าของเราในอดีตได้ไม่น้อยทีเดียว



ผมก้าวเดินต่อเข้าไปในอาณาเขตชั้นใน เรียกว่าเขตวิหารหลวงโดยมีกำแพงอิฐล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งกินบริเวณกว้างขวางพอสมควร พระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิองค์ใหญ่ ราวร้อยกว่าองค์นั่งเรียงชิดติดกำแพงด้านในทั้งสี่ด้านอย่างเป็นระเบียบดูแล้วเหมือนทำให้ใจเราสงบไม่น้อย ทุกองค์หันหน้าเข้าหาเจดีย์ชัยมงคลซึ่งอยู่ตรงกลาง พระพุทธรูปแต่ละองค์มีผ้าสีเหลืองพาดเฉียงที่บ่า สร้างสีสันและชีวิตชีวาท่ามกลางซากปรักหักพังของเขตวิหารหลวงแห่งนี้



พระอุโบสถ
เดิมสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐานรวมทั้งประกอบพิธีกรรมต่างๆ



วิหารพระพุทธไสยาสน์
 
ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งสร้างขึ้นในแผ่นดินของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เพื่อใช้เป็นที่สักการะบูชา และปฏิบัติพระกรรมฐาน รูปแบบอาคารเป็นลักษณะวิหาร สันนิษฐานว่ามีประตูทางเข้าอยู่สองช่องปัจจุบันไดเสียหาย้สูญสิ้นไปหมดแล้ว องค์พระประธานของวิหารหันหน้า
ไปทางด้านหน้าของวัด ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่



ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามา
กราบไหว้ การสร้างศาลสมเด็จพระนเรศวรอยู่หลังวัดแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องของพระอารามแห่งนี้กับพระมหากษัตรย์ไทย ที่ผูกพันกับศาสนาพุทธมาอย่างยาวนาน



ห่างจากวัดใหญ่ชัยมงคลไปตามเส้นทางอีกราวสามกิโลเมตรเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านญี่ปุ่น หมู่บ้านญี่ปุ่น เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์อยุธยา สมัยที่อยุธยารุ่งเรื่องถึงขีดสุดได้อย่างชัดเจน มีกรค้าขายกับนานาชาติ หลายประเทศรวมทั้งชาวญี่ปุ่น จนเป็นชุมชนญี่ปุ่นเกิดขึ้นในไทย

ยามาดะ นางามาซะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข คือผู้นำและหัวหน้าหมู่บ้านญี่ปุนสมัยนั้น ได้ตั้งกองอาสาญี่ปุ่นขึ้น และช่วยปราบกบฎ จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึงเจ้าเมือง นครศรีธรรมราช




จากแบบจำลองเรือสำเภาสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมาก ญี่ปุ่นเป็นชนชาติหนึ่งที่เดินทางเข้ามาในสมัยนั้น
มีแบบจำลองเรือสำเภาจีน เรือสำเภาญี่ปุ่น เรือกำปั่นฮอลันดา เรือกำปั่นโปรตุเกส เรือกำปั่นมากัสซา รวมทั้งเรือสำเภาไทย มื่อทางการญี่ปุ่นอนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นค้าขายกับชาวต่างชาติได้โดยให้มีหัวหน้าปกครองในกลุ่มตน นับแต่นั้นมาชาวญี่ปุ่นก็เข้ามาอาศัยในกรุงศรีอยุธยามากขึ้น



ชุมชนชาวญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ของเกาะเมือง พื้นที่ของหมู่บ้านญี่ปุ่นมีความยาวตามแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ ๑ กิโลเมตร และลึกเข้าไปในชายฝั่งประมาณครึ่งกิโลเมตร มีบันทึกล่าว่าเป็นชุมชนที่บ้านเรือนปลูกเรียงรายอย่างมีระเบียบ มีผู้นำชุมชนที่เข็มแข็ง ในยุครุ่งเรืองมีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่จำนวนมาก



ปัจจุบันสมาคมไทย-ญี่ปุ่นได้จารึกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในสมัยกรุงศรีอยุธยามาจัดแสดงไว้ภายในอาคารผนวกของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ที่อยู่ในหมู่บ้านญี่ปุ่น

มีการแสดงสินค้าที่มีการค้าขายกันในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสัตว์ งาช้างและข้าวของเครื่องใช้มากมาย รวมทั้งจัดแสดงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป หลักฐานและเรืองราวการแลกเปลี่ยนวิถีทางวัฒนธรรมของสองชนชาติมีอยู่อย่างชัดเจนในสมัยนั้น ทุกสิ่งที่นำมาแสดงล้วนสื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสองชนชาติที่มีมาอย่างช้านาน



นอกจากนี้ ภายในยังมีสวนและศาลาญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในโครงการพิเศษของสมาคมไทย - ญี่ปุ่น ที่จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา และเป็นที่ระลึกในวาระครบ 120 ปี ความสัมพันธ์ไทย - ญี่ปุ่น รูปแบบสวนเน้นความเป็นสวนญี่ปุ่นแท้ที่ดูสง่างาม สงบ เยือกเย็น มีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ ศาลาญี่ปุ่น สำหรับนั่งชมทัศนียภาพแม่น้ำเจ้าพระยา



สวนญี่ปุ่นแห่งนี้สะท้อนให้เห็นทัศนียภาพของแม่น้ำและทะเลของประเทศญี่ปุ่น ช่วยให้ผู้มาเยี่ยมได้รู้จักวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทั้งยังแสดงถึงความปรารถนาให้โลกมีสันติสุข




ศูนย์แห่งนี้เปิดทำการทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา
09.00-16.30น วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 นด้านในสุดถัดจากสวนญี่ปุ่นไปทางขาวติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นอาคารขายของที่ระลึก มีการแสดงรูปเหตุการณ์สำคัญภายในหมู่บ้าน และมีการจัดนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวเล็กๆอยู่มุมหนึ่งในอาคาร



ช่วงเวลาอันยาวนานหลายศตวรรษเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ได้สร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและหล่อหลอมขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยตกทอดมาจวบจนถึงปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ด้วยเหตุว่าเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

นับเป็นเวลาอันยาวนานถึง 686 ปี ที่อาณาจักรแห่งนี้เดินทางมาสู่การเป็นมรดกโลกอย่างเต็มภาคภูมิ



วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอีกหนึ่งในวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่น่าสังเกตุว่าวัดที่มีชื่อว่าวัดมามหาธาตุ ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งใด ล้วนแต่มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากความหมายคือเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ใจกลางพระนคร ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง เป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงความใกล้ชิดของสถาบันพระมหากษัตรย์กับพุทธศาสนาที่มีมาช้านาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังเป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราช วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้าง และ ดูแลตลอดเวลาแต่เป็นที่น่าเสียดายที่ต้องถูกทำลายลงจากไฟสงครามภายหลังเสียกรุงครั้งที่ 2




จากพงศาวดาร ทำให้ทราบว่าวัดมหาธาตุแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยขุนหลวงพะงั่ว แต่เข้าใจว่าการก่อสร้างเสร็จสิ้นในรัชสมัยพระราเมศวร

จารีตของการสร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ในวัดเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นบนแผ่นดินไทยมานาน ในสมัยอาณาจักรอยุธยา ก็มีธรรมเนียมปฎิบัติมาตั้งแต่ยุคแรก ซึ่งถือสมมุติว่าพระเจดีย์นั้นเป็นที่สถิตของพระบรมสารีริกธาตุ และถ้ามีการสร้างอยู่ในวัดใด วัดนั้นถือว่าเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ ทั้งมักจะมีชื่อว่า วัดมหาธาตุ หรือวัดพระศรีมหาธาตุ ด้วยเหตุนี้เอง วัดมหาธาตุจึงเป็นวัดที่สำคัญที่สุดวัดหนึ่งของอาณาจักรแห่งนี้ ในฐานะที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้านั่นเอง




พระปรางค์ขนาดใหญ่ที่สิ่งก่อสร้างอันโดดเด่นในวัดมหาธาตุ เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันพังทลายลงมาหมดแล้วเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น จากหลักฐานที่ปรากฎ ถ้ายังมีหลงเหลือพอให้เห็น จักต้องเป็นปรางค์ที่ก่อสร้างอย่างวิจิตรงดงามและมีขนาดใหญ่มาก หากหลับตานึกภาพในอดีตจะรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของพระปรางค์องศืนี้ได้ไม่ยากเลย


ส่ิงก่อสร้างลักษณะแปลกตาในวัดแห่งนี้คือ พระเจดีย์แปดเหลี่ยมที่พบเพียงแห่งเดียวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ลดหลั่นกันสี่ชั้น แปดเหลี่ยม ที่ชั้นบนสุดประดิษฐานพระปรางค์ขนาดเล็ก




สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นจุดที่น่าสนใจภายในวัดแห่งนี้ก็คือ วิหารเล็กที่มีรากไม้แผ่รากขึ้นเกาะเต็มผนัง รากไม้ส่วนหนึ่งได้ล้อมเศียรพระพุทธรูปไว้ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่พบในวัดมหาธาตุแห่งนี้ ในช่วงที่กรมศิลปากรได้เข้าดำเนินการปรับพื้นที่ ซึ่งในช่วงนั้นมีการตัดต้นไม้ไปหลายต้น ยกเว้นต้นไม้ต้นนี้




วันนั้นแสงแดดแรงและท้องฟ้าสดใสแต่อากาศก็ค่อยไม่ร้อนเพราะเป็นช่วงฤดูหนาว มีลมพัดเย็นสบายเป็นระยะๆ ขณะยืนชมภายในบริเวณพระอารามนั้น เกิดความรู้สึกว่าเป็นวันแห่งการท่องเที่ยวที่ดูจะมีคุณค่าต่อตัวเองอย่างมากที่ได้มาเห็นและสัมผัสโบราณสถานที่สำคัญแห่งอดีต

จุดที่ผมยืนอยู่นั้นมีคนพลุกพล่านเกินไปเนื่องจากอยู่ใกล้ทางเดิน ถ้าถ่ายภาพเจดีย์ที่ มุมนั้นก็คงจะมีภาพคนมากมายติดเข้ามาในภาพด้วย จึงเปลี่ยนไปยืนมุมนี้ที่เห็นเจดีย์ตั้งโดดเด่นอยู่กลางสนามหญ้าที่เรียบเขียวขจีโดยมีท้องฟ้าสีเข้มเป็นฉากหลัง เนื่องจากเป็นการเดินทางที่ไม่เร่งรีบ ผมจึงมีเวลาพอที่จะซึม ซับกับบรรยากาศและได้ความประทับใจกับสิ่งที่พบเห็นในวันนั้น



ภาพโบราณสถานของจริงที่เห็นกับตานั้นช่างงดงามเสียเหลือเกิน ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะคิดไปว่าเราจะสามารถถ่ายทอดออกมาให้เหมือนกับที่ตาเห็นได้หรือไม่…เป็นความรู้สึกที่ผมเองก็รู้สึกหวั่นใจอยู่ไม่น้อย แต่ก็ยังเชื่อมั่นและพยายามบันทึกภาพอย่างช้าๆทีละภาพอย่างมั่นใจและค่อยเป็นค่อยไป ต้องยอมรับว่า ครั้งนี้เป็นอีกหนที่ผมมีโอกาสได้บันทึกภาพด้วยความรู้สึกที่ดีเช่นนี้



การเดินทางไปวัดมหาธาตุจากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปจนถึงสี่แยกไฟ แดงที่สองให้เลี้ยวขวาและตรงไปไม่ไกลนัก ผ่านบึงพระราม จะเห็นวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ วัดแห่งนี้ เปิดให้เข้าชมทุก วันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น.

วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีพระปรางค์และพระเจดีย์ที่งดงามแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกว่าเป็นวัดแห่งเจดีย์เลยก็คงไม่ผิดนัก



อยากเชิญชวนให้ผู้ที่เดินทางมาเที่ยวกรุงเก่า แวะชมโบราณสถานที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ อย่างน้อยก็เป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษของเราในอดีตที่เสียสละเลือดเนื้อปกป้องแผ่นดินของเรา




วัดราชบูรณะจัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา ผมทราบมาว่าวัดแห่งนี้เคยถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่ง ลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน และช่วงชิงทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายมหาศาลหลบหนีไป ต่อมากรมศิลปากรเข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย ปัจจุบันทรัพย์สมบัติภายในกรุถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องราชบูรณะ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา



ภายในวัดประกอบด้วยองค์ปรางค์ประธาน ซึ่งล้อมรอบด้วย ระเบียงคต มีพระวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัดทางทิศตะวันตกในแนวประธาน




ปรางค์ประธาน มีขนาดสูงใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงบนฐานสี่เหลี่ยมซึ่งมีเจดีย์อยู่ทั้งสี่ทิศ




เป็นปรางค์แบบไทยที่นิยมทำฐานสูง ต่างจากปรางค์แบบขอมที่มักมีฐานเตี้ย



หน้าปรางค์เป็นมุขใหญ่ยืนออกมาเป็นห้องคูหา ส่วนยอดเรียวแหลมสูง คล้ายฝักข้าวโพด




พระปรางค์วัดราชบูรณะมีกรุใหญ่และลึก กรมศิลปากรทำการขุดเรียบร้อยแล้ว ในปัจจุบันเปิดให้เข้าไปชมกรุได้ตามปกติ กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะมีทั้งหมด 4 ห้องใหญ่ๆ เรียงกันลงไปแนวดิ่ง โดยชั้นล่างสุดอยู่ในแนวระดับพื้นดิน




วัดแห่งนี้เป็นวัดที่งดงามอีกแห่งหนึ่งในพระนครศรีอยุธยาที่ผุ้ไปเยือนไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง



วัดพนัญเชิง พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งใน จ พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่นอกเกาะเมือง มีความโดดเด่นเป็นจุดหมายของผู้คนที่เดินทางมาเยือนอดีตราชธานีแห่งนี้



ภาพที่คุ้นตาคือ พระวิหารหลวง สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของวัดพนัญเชิง ด้วยวัดพนัญเชิง เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นที่น่าเสียดายที่เรื่องราวความเป็นมาของพระอารามที่สำคัญแห่งนี้หล่นหายไปในกาลเวลา จึงไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง



จากข้อมูลทราบว่า “พนัญเชิง” มีความหมายว่า “นั่งขัดสมาธิ” ดังนั้น “วัดพนัญเชิง” จึงหมายความถึงวัดแห่งพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย คือ “หลวงพ่อโต” หรือ “พระพุทธไตรรัตนนายก” นั่นเอง

พระวิหารใหญ่ที่ประดิษฐานพระพุทธไตรรัตนนายก เรียกพระวิหารหลวง เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาขนานแท้ดั่งเดิม




การสร้างพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเป็นประธานของวัด นำมาซึ่งลักษณะอันโดดเด่น จึงเรียกขานนามวัดตามพระพุทธลักษณะที่สร้าง
พระพุทธไตรรัตนนายก หรือที่ผู้คนเรียกขาน หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ประดิษฐ์อยู่ในพระวิหารใหญ่ ตามฝาผนังพระวิหารใหญ่ทั้งสี่ทำเป็นช่องเล็กๆบรรจุพระพุทธรูปขนาดเล็กที่เรียกว่า พระงั่ง จำนวน 84000 องค์

เสาภายในพระวิหารหลวงเขียนด้วยดินสีแดงตัดเส้นเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๔ หัวเสาประดับด้วยบัวกลุ่มสมัยอยุธยา รอบผนังทั้งสี่ด้าน ตั้งพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ไว้

ในตำนานของวัดมีเรื่องอัศจรรย์ที่ควรนำมากล่าวไว้ในนี้ด้วย คือ ชาวกรุงเก่าเล่าว่า เมื่อใกล้จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่านั้น มีน้ำพระเนตรไหลออกทั้งสองข้างจรดพระนาภีของพระพุทธรูปที่งดงามองศ์นี้ เหตุนี้หลวงพ่อโต จึงเป็นที่เลื่อมใสของผู้คน ถึงหน้าเทศกาลมีกาประชุมนมัสการเป็นประจำทุกปี



มาถึงอยุธยาแล้ว คงต้องแวะทานเมนูอาหารประจำจังหวัดที่มีอยู่ดาดดื่นริมแม่น้ำป่าสัก เมนูกุ้งแม่น้ำเผาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ มีให้เลือกหลายขนาดและราคา




ในการมาเยือนกรุงเก่าครั้งนี้แม้จะเป็นแค่เวลาสั้นๆเพียงแค่หนึ่งวันที่มียี่สิบสี่ชั่วโมง แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ไร้ความมัวหม่นในใจ ตราบที่สายน้ำเจ้าพระยายังรินใหลอยู่คู่อดีตราชธานีแห่งนี้ ผมสัญญาว่าจะกลับมาเยือนที่แห่งนี้อีก














Create Date : 10 มิถุนายน 2556
Last Update : 10 มิถุนายน 2556 9:44:38 น.
Counter : 9385 Pageviews.

11 comments
  
สวยมาก
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:10:05:40 น.
  
และอยากไปมากค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:10:06:15 น.
  

กด Like ให้เป็นคนที่ 1
ตั้งใจมาโหวต PHOTO BLOG ให้ค่ะ
เดือนหน้าจะมาอยุธยาค่ะ
เพราะเป็นเดือนเกิด
ตั้งใจมาไหว้พระนอนให้ครบ 9 วัด
ในฐานะที่เกิดวันอังคาร
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็น 1 ใน 3 จังหวัดในดวงใจ
นอกจากอุบลราชธานี แม่ฮ่องสอน
แหล่มค่ะ สวยสุดยอด

โดย: อุ้มสี วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:11:50:54 น.
  
สวย งามมากๆ เลยค่ะ
โบราณสถานที่สำคัญๆ แบบนี้
มีมนต์ขลังให้เราได้สัมผัสถึงความอลังการได้ไม่รู้จบเลยนะคะ
ขออนุญาตนำไปแชร์หน้าแฟนเพจทางเฟชบุคเพื่อเป็นประโยชน์หน่อยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ _/\\_
โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:12:50:39 น.
  
ทักทายยามบ่าย
และตามมาเที่ยวด้วยครับ

โดย: wicsir วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:15:27:43 น.
  
สวยมากๆ สวยทุกภาพเลยค่ะ ^^

เวลาไปเที่ยวอยากถ่ายภาพสวยๆแบบบรรจงถ่ายบ้างค่ะ
แต่เอาเข้าจริง ทำไมทำไม่เคยได้เลยก็ไม่รู้ค่ะ
ยิ่งเวลาต้องยกขาตั้งกล้องไปถ่ายด้วยแล้ว
ความขี้เกียจงี้ถามหาเลย

สงสัยไม่เวิร์ค อิอิ

โดย: lovereason วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:22:57:10 น.
  
thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 11 มิถุนายน 2556 เวลา:7:53:06 น.
  
สวัสดีครับ เมื่อวานมาอ่านครั้งหนึ่งแล้ว วันนี้มาอ่านมาดูซ้ำ
เก็บรายละเอียดเพิ่ม

ดู ๆ แล้วคงใช้เวลาคัดเลือกภาพ ค้นข้อมูล มาก เลยได้สิ่งที่
น่าสนใจมากมาก

ภาพสวย แสงไม่เวอร์ดี 555 ผมเปรียบกับของผมนะครับ ผม
ถ่ายแบบงู ๆ ปลา ๆ ปรับอะไรไม่ค่อยเป็นครับ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 11 มิถุนายน 2556 เวลา:10:38:44 น.
  
อิ่มค่ะ สวยมาก

อยากไป วัดไชยวัฒนาราม วัดมหาธาตุ ยังไม่เคยไปเดินจริงๆ จังๆ เลยค่ะ
โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 11 มิถุนายน 2556 เวลา:15:12:02 น.
  
รูปถ่ายสวยมากๆค่ะ
โดย: schnuggy วันที่: 17 มิถุนายน 2556 เวลา:1:58:05 น.
  
ภาพถ่ายสวยมากค่ะ
สีสดมากๆ
โดย: NENE77 วันที่: 17 มิถุนายน 2556 เวลา:18:30:07 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

3KKK
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]



New Comments
MY VIP Friend