Group Blog All Blog
|
นกปากห่าง....ทำไมปากต้องห่างจากกัน ได้มีโอกาสผ่านไปแถวทุ่งลาดกระบัง เห็นฝูงนกปากห่างจำนวนหลายสิบตัวอยู่ข้างทาง จอดรถบันทึกภาพมาให้ชมกันครับ ตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน มีขายาว คอยาว ปากใหญ่ส่วนกลางของปากห่างออก ขนตามตัวมีสีขาวมอๆ หางมีสีดำแกมน้ำเงิน ขนปลายปีกมีสีเหมือนหางและเห็นเป็นแถบสีดำ ![]() ชอบอยู่เป็นฝูงและทำรังใกล้ๆกันบนต้นไม้ นกปากห่างมักหากินอยู่ตามริมหนองน้ำตื้นๆ หญ้าขึ้นคลุมและบริเวณทุ่งนาที่มีน้ำขัง นกจะเดินเหยียบย่ำไปตามดินโคลน เพื่อหาหอยโข่งหรือหอยเชอรี่ ![]() ในฤดูแล้งหอยทั้งสองชนิดจะมุดหายลงไปใต้ผิวดินเพื่อหลีกหนีความแห้งแล้ง ซึ่งไม่ยากเกินความสามารถของนกปากห่าง เพราะนกจะใช้ปากแหย่ลงไปในเนื้อดิน เพื่อคาบขึ้นมาวางไว้บนพื้นดิน ![]() หอยเชอรี่เป็นศัตรูของชาวนา แต่ละปีชาวนาต้องเสียเงินไปกับยากำจัดพวกมันมากพอๆ กับค่าปุ๋ย ยิ่งหน้าแล้ง หอยเชอรี่มุดลงใต้ดิน ยาก็ใช้ไม่ได้ผล ยังดีอยู่บ้างที่มีนกปากห่างมาคอยช่วยกำจัด ทำให้ชาวนาไม่ต้องเสียเงินซื้อยามากำจัดพวกหอย ![]() วิธีการกินหอยของนกปากห่างน่าสนใจมาก พวกมันจะใช้เท้าเหยียบหอยให้ด้านฝาปิดหงายขึ้น ก่อนจะใช้ปากที่มีลักษณะพิเศษซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อกินหอยโข่งหอยเชอรี่โดยเฉพาะแตะเปลือกหอยดู ถ้าฝาเปลือกหอยปิดไม่แน่นมันจะดันปากลงไปเพื่อดึงเนื้อหอยออกมากิน ![]() หากฝาปิดแน่นเกินไปมันจะคาบมาไว้ระหว่างช่องว่างที่ปากแล้วขบเบาๆ ให้ฝาหอยคลาย แล้วจึงค่อยดึงเนื้อหอยที่อยู่ภายในด้วยวิธีการเช่นเดิมออกมากิน โดยที่เปลือกหอยไม่ได้รับความเสียหายแม้แต่น้อย ว่ากันว่านกปากห่างหนึ่งฝูง กินหอยได้มากถึง 1 ตันเลย ![]() ทั้งหมดนี่คือประโยชน์ของนกปากห่างจากคำบอกเล่าของชาวบ้านแถวลาดกระบัง เมื่อก่อนไม่เคยรู้ด้วยซ้ำไปว่านกชนิดนี้กินอะไรเป็นอาหาร มองเห็นทีไร ก็เห็นเพียงแต่นกสะบัดหัวไปมาจนทำให้เศษอาหารหลุดลอยออกมาจากปาก ![]() ![]() นกปากห่าง ทำไม?ถึงสวยละคะ
![]() โดย: ณ ขณะหนึ่ง
![]() ชอบจังค่ะ ภาพสวย คมชัด ได้รู้เรื่องนกเพิ่มขึ้นอีกตัวด้วย
เพิ่งสังเกตว่าทำเรื่องนกไว้เยอะเลย ทำไมเราพลาดไปได้ยังไงเนี่ย ที่บล็อกฟ้าใสก็ทำเรื่องนกไว้หลายตัวเหมือนกันค่ะ ขอ add ด้วยนะคะ ^^ โดย: ฟ้าใสวันใหม่
![]() ภาพสวยจังค่ะ
สีส๊ดสด นกปากห่างมาดูใกล้ๆในภาพ ปากห่างจริงๆด้วยเนอะ ทำไมล่ะคะ ^^ โดย: lovereason
![]() ![]() สีเขียวของท้องทุ่ง เข้ากับสีพื้นพอดีเลยนะคะ อิอิ โดย: Megeroo
![]() |
3KKK
![]() ![]() ![]() ![]() ![]()
|