Group Blog
 
<<
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
13 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 
พระกำลังของพระตถาคต - 2

(ต่อ)

กสิณสูตร

[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปีตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมชัดซึ่งโลหิตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณ ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้แล ฯ
[บ่อเกิดแห่งกสิณซึ่งเป็นสมถะกรรมฐานหมวดหนึ่ง มี10ประการ คือ
1.บุคคลย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
2.บุคคลย่อมรู้ชัดอาโปกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
3.บุคคลย่อมรู้ชัดเตโชกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
4.บุคคลย่อมรู้ชัดวาโยกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
5.บุคคลย่อมรู้ชัดนีลกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
6.บุคคลย่อมรู้ชัดปีตกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
7.บุคคลย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
8.บุคคลย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
9.บุคคลย่อมรู้ชัดอากาสกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
10.บุคคลย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง]


จบสูตรที่ ๕

กาลีสูตร

[๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ที่ภูเขาชื่อปวัตตะ ใกล้เมืองกุรรฆระ ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสิกาชื่อกาลีชาวเมืองกุรรฆระได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ได้อภิวาทท่านพระมหากัจจายนะแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ในกุมารีปัญหาว่า
การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชำนะ
เสนา คือ กิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็น
ผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่งความสุข เพราะฉนั้น เรา
จึงไม่ทำความเป็นเพื่อนกับด้วยชน ความเป็นเพื่อนกับด้วย
ใครๆ ย่อมไม่ถึงพร้อมแก่เรา ดังนี้ ฯ

ท่านเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไรหนอ ฯ

ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยังประโยชน์ทั้งหลาย มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง มีประมาณเท่าใด พระผู้มีพระภาคทรงรู้แล้วซึ่งความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น ครั้นทรงรู้แล้ว ได้ทรงเห็นเบื้องต้น ได้ทรงเห็นโทษ ได้ทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก ได้ทรงเห็นณาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง การบรรลุประโยชน์ เพราะเหตุทรงเห็นเบื้องต้น เพราะเหตุทรงเห็นโทษ เพราะเหตุทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก เพราะเหตุทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง แห่งความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้วว่า เป็นความสงบแห่งหทัย ฯ

ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลาย อันมีอาโปกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ

ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีเตโชกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ

ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีวาโยกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ

ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีนีลกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ

ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีปีตกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ

ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีโลหิตกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ

ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลาย อันมีอากาสกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง ให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ

ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลาย อันมีวิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ความที่ประโยชน์มีวิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง มีประมาณเท่าใด พระผู้มีพระภาคทรงรู้แล้วซึ่งความที่ประโยชน์มีวิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น ครั้นทรงรู้แล้ว ได้ทรงเห็นเบื้องต้น ได้ทรงเห็นโทษ ได้ทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก ได้ทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง การบรรลุประโยชน์เพราะเหตุทรงเห็นเบื้องต้น เพราะเหตุทรงเห็นโทษ เพราะเหตุทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก เพราะเหตุทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทางแห่งความที่ประโยชน์มีวิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้วว่า เป็นความสงบแห่งหทัย ฯ

ดูกรน้องหญิง พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในกุมารีปัญหาว่า
การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชำนะเสนา
คือ กิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็นผู้เดียว
เพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่งความสุข เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำ
ความเป็นเพื่อนด้วยชน ความเป็นเพื่อนด้วยใครๆ ย่อมไม่มี
แก่เรา ดังนี้ ฯ

เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงเห็นโดยพิสดารอย่างนี้แล ฯ
[อุบาสิกาชื่อกาลี ได้ถามท่านพระมหากัจจานะว่า พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์ว่า
การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชำนะ
เสนา คือ กิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็น
ผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่งความสุข เพราะฉนั้น เรา
จึงไม่ทำความเป็นเพื่อนกับด้วยชน ความเป็นเพื่อนกับด้วย
ใครๆ ย่อมไม่ถึงพร้อมแก่เรา ดังนี้ ฯ
มีความหมายโดยพิสดารเช่นไร

ท่านพระมหากัจจานะอธิบายว่า เมื่อสมณพราหมณ์บรรลุกสิณทั้งหลายอันมีรูปหรือสิ่งที่ตั้งอยู่ในรูปเป็นอารมณ์ ครั้นแล้วพิจารณาฌานนั้นตามอริยสัจ4 คือเห็นเบื้องต้น เห็นโทษ เห็นธรรมเครื่องสลัดออก เห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง พระผู้พระภาคทรงทราบในข้อนี้ และตรัสว่าเป็นความสงบแห่งใจ]


จบสูตรที่ ๖

มหาปัญหาสูตรที่ ๑

[๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้นนั้นแล เป็นเวลาเช้า ภิกษุเป็นอันมากนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีก็ยังเช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายพึงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้วจงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุศาสนีนี้ จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุศาสนีกับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ครั้นนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ครั้นนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในนครสาวัตถีก็ยังเช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด พวกข้าพระองค์ได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุศาสนีนี้จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือ ธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุศาสนีกับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้ยินดี ไม่ได้คัดค้าน ภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้ว จักไม่ยังพยากรณ์ให้ถึงพร้อมได้ จักถึงความลำบากแม้อย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญญเดียรย์ปริพาชกนั้นถูกถามในปัญหาอันมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราย่อมไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ เว้นจากตถาคตหรือสาวกตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากสาวกของตถาคตนี้ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่างหนึ่งนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม
๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ในนาม ๑ ในรูป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ในเวทนา ๓ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ในอาหาร ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน คือ ในอุปาทานักขันธ์ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๖ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๖ อย่างเป็นไฉน คือ ในอายตนะภายใน ๖ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๖ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๗ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๗ อย่างเป็นไฉน คือ ในวิญญาณฐิติ ๗ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๘ อย่างเป็นไฉน คือ ในโลกธรรม ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๙ อย่างเป็นไฉน คือ ในสัตตาวาส ๙ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๑๐ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่าปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
[ภิกษุทูลเล่าแก่พระผู้มีพระภาคผู้ได้พบปริพาชกซึ่งมีวาทะว่า คำสอนของพวกตนก็เช่นเดียวกับในพระศาสนา คือชักชวนภิกษุทั้งหลายว่า มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆธรรมทั้งปวง จงอยู่เถิด ดังนี้แล้ว ธรรมเทสนาในศาสาของพระศากยโคดมกับของตนจะแตกต่างกันอย่างไรเล่า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งหลายพึงถามปริพาชกนั้นว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เป็นอย่างไร เมื่อถามดังนี้แล้ว ชนนอกศาสนาเหล่านั้นจักไม่อาจตอบได้เลย พระองค์ไม่ทรงเห็นผู้ใดในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะตอบปัญหานี้ได้โดยยินดี เว้นจากพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากพระตถาคต

คำอธิบายของปัญหาดังกล่าวคือ
1.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ สัตว์ทั้งปวงผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง
2.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม2อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ นามและรูป
3.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม3อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ เวทนา3
4.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม4อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ อาหาร4
5.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม5อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ ขันธ์5
6.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม6อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ อายตนะภายใน6
7.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม7อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ วิญญาณฐิติ7
8.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม8อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ โลกธรรม8
9.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม9อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ สัตตาวาส9
10.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม10อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ อกุศลกรรมบถ10]


จบสูตรที่ ๗

มหาปัญหาสูตรที่ ๒

[๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ ใกล้กชังคลนคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองกชังคละมากด้วยกัน เข้าไปหากชังคลาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทกชังคลาภิกษุณีแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามกชังคลาภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในมหาปัญหาทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ ข้าแต่แม่เจ้า เนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดยพิสดารได้อย่างไรหนอ ฯ

กชังคลาภิกษุณีตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้เราได้สดับรับฟังมาแล้ว ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคก็หามิได้ เราได้สดับรับฟังมาแล้ว ในที่เฉพาะหน้าของภิกษุทั้งหลายผู้สำเร็จทางใจก็หามิได้ ก็แต่ว่าเนื้อความในพระพุทธภาษิตนี้ย่อมปรากฏแก่เราอย่างไร ท่านทั้งหลายจงฟังเนื้อความแห่งพระพุทธภาษิตนั้นอย่างนั้น จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละ รับคำของกชังคลาภิกษุณีแล้ว กชังคลาภิกษุณีได้กล่าวว่า ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรมอย่าง ๑ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรมอย่าง ๑ เป็นไฉน คือ สัตว์ทั้งปวงมีอาหารเป็นที่ตั้ง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่าง ๑ นี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ

ก็พระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบันในธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ในนาม ๑ ในรูป ๑ ... ฯ

ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบันในธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ในเวทนา ๓ ... ฯ

ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๔ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ในสติปัฏฐาน ๔ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ

ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน คือในอินทรีย์ ๕ ... ในธรรม ๖ อย่างเป็นไฉน คือ ในนิสสรณียธาตุ ๖ ... ในธรรม ๗ อย่างเป็นไฉน คือ ในโพชฌงค์ ๗ ... ในธรรม ๘ อย่างเป็นไฉน คือ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ

ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบันในธรรม ๙ อย่างเป็นไฉน คือ ในสัตตาวาส ๙ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ

ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือในกุศลธรรม ๑๐ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสในมหาปัญหาทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดังนี้แล ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็แลท่านทั้งหลายจำนงอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลสอบถามความข้อนี้ พระผู้มีพระภาคของเราทรงพยากรณ์อย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ

พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละรับคำว่า อย่างนั้นแม่เจ้า แล้วชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของกชังคลาภิกษุณี ลุกจากอาสนะ อภิวาทกชังคลาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงกราบทูลถ้อยคำที่สนทนากับกชังคลาภิกษุณีนั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ คหบดีทั้งหลาย กชังคลาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ดูกรคหบดีทั้งหลาย ถ้าแม้ท่านทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วถามเนื้อความนี้ไซร้ แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความ เหมือนอย่างที่กชังคลาภิกษุณีพยากรณ์แล้ว และเนื้อความของคำนั้น คือนี้แหละ ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความไว้อย่างนั้นแหละ ฯ
[อุบาสกชาวเมืองกชังคละจำนวนหนึ่ง เข้าไปหากชังคลาภิกษุณีถึงที่อยู่ ถามท่านว่า ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคที่ทรงตรัสในมหาปัญหาทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ เนื้อความแห่งพระดำรัสโดยย่อนี้ จักพึงเห็นโดยพิสดารได้อย่างไรหนอ

กชังคลาภิกษุณีตอบว่า ท่านไม่เคยได้สดับปัญหานี้ต่อหน้าพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค หรือจากภิกษุผู้สำเร็จทางใจรูปใด แต่เนื้อความที่ปรากฏแก่ท่านเองนั้น เป็นดังนี้
1.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ สัตว์ทั้งปวงผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง
2.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม2อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ นามและรูป
3.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม3อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ เวทนา3
4.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม4อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ สติปัฏฐาน4
5.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม5อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ อินทรีย์5
6.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม6อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ นิสสรณียธาตุ6
7.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม7อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ โพชฌงค์7
8.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม8อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ อริยมรรคมีองค์8
9.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม9อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ สัตตาวาส9
10.ภิกษุเมื่อหลุดพ้นโดยชอบในธรรม10อย่าง ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรมนั้นคือ กุศลธรรม10

อุบาสกเหล่านั้นจดจำความอันกชังคลาภิกษุณีอธิบายโดยชื่นชมอนุโมทนา ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถ้อยคำที่สนทนานั้นแด่พระองค์ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆแม้พระองค์ก็พึงพยากรณ์เนื้อความเหมือนอย่างที่กชังคลาภิกษุณีได้พยากรณ์แล้ว ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความไว้อย่างนั้นแหละ]


จบสูตรที่ ๘

(ยังมีต่อ)


Create Date : 13 มีนาคม 2549
Last Update : 13 มีนาคม 2549 17:40:57 น. 0 comments
Counter : 362 Pageviews.

พญาเหยี่ยว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add พญาเหยี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.