Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2549
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
6 มิถุนายน 2549
 
All Blogs
 
ความเป็นเจ้าลัทธิในมุมมองของพระศาสนา-1

วันนี้จะยกเอานิทเทสที่ 12 คือจูฬวิยูหสุตตนิทเทสมานำเสนอครับ เป็นเรื่องของเจ้าลัทธิต่างๆ ลองศึกษาดูครับ พรุ่งนี้ก็จะเข้าสู่พระไตรปิฎกเล่มที่ 30 คือจูฬนิทเทสครับ

เนื้อหาในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม 21 ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

*********************************************
จูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒

[๕๑๙] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) มีสมณพราหมณ์บางพวก มีความอยู่รอบ
ในทิฏฐิของตนๆ ถือทิฏฐินั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่างๆ ว่า
บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้
บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์หรือ.

ว่าด้วยทิฏฐิ

[๕๒๐] คำว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก
ผู้ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ สมณพราหมณ์บางพวกนั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่ง
ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ
เปรียบเหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่า ย่อมอยู่ในเรือน หรือพวกบรรพชิตผู้มีอาบัติ
ชื่อว่าอยู่ในอาบัติ หรือพวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส ฉะนั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ.

[๕๒๑] คำว่า ถือ ในคำว่า ถือทิฏฐินั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่างๆ ความว่า
ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น. คำว่า พูดต่างๆ ความว่า พูดไปต่างๆ พูดมีอย่างต่างๆ
พูดอย่างอื่นๆ พูดมาก ไม่พูด ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่แสดง ไม่แถลงอย่างเดียว. คำว่า
อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ความว่า อ้างตนเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน อ้าง
ตนเป็นผู้มีญาณ อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดยการณ์ อ้างตนโดยฐานะ
โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถือทิฏฐินั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่างๆ.

[๕๒๒] คำว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว ความว่า บุคคลใด
รู้ธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ ทราบ เห็น แทงตลอดธรรมแล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า รู้ธรรมแล้ว.

[๕๒๓] คำว่า บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ความว่า
บุคคลใดคัดค้านธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ไม่
ครบถ้วน ไม่เต็มรอบ คือ ยังเป็นผู้เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ยังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์. เพราะเหตุนั้น พระ
พุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์บางพวก มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ ถือทิฏฐิแล้ว
อ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่างๆ ว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า
รู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์
หรือ.
[พระพุทธนิมิตซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระผุ้มีพระภาคนิรมิตขึ้นด้วยฤทธิ์เพื่อวัตถุประสงค์ของพระองค์เอง พระพุทธนิมิตนี้มีความสงสัยได้เช่นเดียวกับมนุษย์ปกติ ท่านได้ตรัสถามพระผุ้มีพระภาคในนิทเทสนี้ มีความว่าสมณะและพราหมณ์บางคน ยึดถือทิฏฐิ(ความเห็น) หนึ่งๆไว้มั่น ครั้นแล้วย่อมอ้างว่าตนเป็นผู้ฉลาด กล่าวเอาว่าท่านรู้เช่นนี้แล้วชื่อว่ารู้ธรรม ผู้คัดค้านชื่อว่าปราศจากความรู้ (แต่ทั้งนี้เจ้าลัทธิแต่ละคนก็ถือความเห็นต่างๆกันไป)]

[๕๒๔] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้
อย่างนี้ ย่อมวิวาท และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด วาทะของ
สมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริงหนอ? เพราะสมณพราหมณ์
เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด.

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะถือทิฏฐิ

[๕๒๕] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ ย่อมวิวาท ความว่า
สมณพราหมณ์บางพวก ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่นทิฏฐิอย่างนี้ ย่อมวิวาท คือทำ
ความทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่าน
ไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวกถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ ย่อมวิวาท.

[๕๒๖] คำว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด ความว่า กล่าวบอก พูด แสดง
แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นโง่ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด
ไม่มีความรู้ ถึงอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทึบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และ
กล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด.

[๕๒๗] คำว่าวาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริงหนอ ความว่า วาทะ
ของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริง แท้ แน่ เป็นจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริงหนอ.

[๕๒๘] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่า เป็นผู้ฉลาด
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตน
เป็นธีรชน อ้างตนเป็นผู้มีญาณ อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดยการณ์ อ้างตน
โดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็
อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด. เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ย่อมวิวาท และกล่าวว่า
คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริงหนอ?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ ทั้งหมดต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด.
[พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่าเจ้าลัทธิผู้มิใช่เจ้าของวาทะระดับธรรมดาเหล่านี้ ถือทิฏฐิแล้วย่อมวิวาท ย่อมตำหนิผู้อื่นว่าโง่ ไม่ฉลาด แต่เจ้าลัทธินี้มิใช่มีผู้เดียว ทั้งยึดถือความเห็นต่างกัน และอ้างตนเป็นผู้ฉลาด คำกล่าวของเจ้าลัทธิเหล่านี้ คำกล่าวของผู้ใดเป็นจริงหนอ]

[๕๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ข้าพระองค์ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น
คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว สมณพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล
มีปัญญาเสื่อมทราม สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความอยู่รอบในทิฏฐิ.

[๕๓๐] คำว่า ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น ความว่า ไม่อนุญาต ไม่เห็นตาม ไม่อนุมัติ
ไม่อนุโมทนา ซึ่งธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของคนอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่อนุญาต
ธรรมของคนอื่น.

[๕๓๑] คำว่า คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว ความว่า คนอื่นเป็นพาล เลว
ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก
มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว.

[๕๓๒] คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นพาล มีปัญญาเสื่อมทราม ความว่า
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดเทียว เป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีปัญญา
เลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นพาล มีปัญญาเสื่อมทราม.

[๕๓๓] คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความอยู่รอบในทิฏฐิ ความว่า สมณ-
*พราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด เป็นผู้ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง
ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ ๖๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิ
ของตนๆ เปรียบเหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่าย่อมอยู่ในเรือน พวกบรรพชิตผู้มีอาบัติ
ชื่อว่า ย่อมอยู่ในอาบัติ หรือพวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สมณพราหมณ์ทั้งปวงเทียว มีความอยู่รอบในทิฏฐิ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

ข้าพระองค์ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญา
เลว สมณพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาลมีปัญญาเสื่อมทราม สมณพราหมณ์
ทั้งปวงนี้เทียว มีความอยู่รอบในทิฏฐิ.
[พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พระองค์ไม่รับรองทิฏฐิของเจ้าลัทธินั้นแม้สักผู้หนึ่ง เจ้าลัทธิเหล่านั้นเป็นพาล ปราศจากปัญญา เพราะยึดมั่นในทิฏฐิต่างๆนั้นแหละ สาเหตุเพราะว่า.........]

[๕๓๔] ก็ถ้าพวกสมณพราหมณ์เป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน เป็นผู้มีปัญญา
หมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้ไซร้ บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น
ใครๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมรอบ เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอัน
สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น.

[๕๓๕] คำว่า ก็ถ้าเป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน ความว่า เป็นผู้ผ่องแผ้ว ผ่องใส
ไม่เศร้าหมอง เพราะทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ถ้าเป็น
ผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน.

[๕๓๖] คำว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้ไซร้ ความว่า เป็นผู้มี
ปัญญาหมดจด มีปัญญาหมดจดวิเศษ มีปัญญาหมดจดรอบ มีปัญญาผ่องแผ้ว มีปัญญาผ่องใส.
อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้มีความเห็นหมดจด มีความเห็นหมดจดวิเศษ มีความเห็นหมดจดรอบ
มีความเห็นผ่องแผ้ว มีความเห็นผ่องใส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี. คำว่า
เป็นผู้ฉลาด ความว่า เป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด. คำว่า มีความรู้
ความว่า เป็นผู้มีความรู้ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา
ทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้.

[๕๓๗] คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมรอบ
ความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญา
ต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย. อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหมด
จะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาเป็นประธาน มีปัญญาอุดม
มีปัญญาบวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใครๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญา
เสื่อมรอบ.

[๕๓๘] คำว่า เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่าง
นั้น ความว่า ทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์ สมาทาน ถือ ยึดมั่น
ถือมั่น ติดใจ น้อมใจไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณ-
*พราหมณ์เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

ก็ถ้าพวกสมณพราหมณ์เป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน เป็นผู้มีปัญญา
หมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้ไซร้ บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น
ใครๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมรอบ เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณ-
พราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น.
[......สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านั้นต่างอ้างทิฏฐิของตนเป็นมั่นคง หากเจ้าลัทธิเหล่านี้จะนับเป็นผู้ฉลาด มีความรู้จริง ใครเล่าจะนับเป็นผุ้มีปัญญาทรามในหมู่เจ้าลัทธิผู้สมาทานความเห็นอันแตกต่างกันไปเช่นนั้น]

[๕๓๙] คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล ข้าพระองค์ไม่กล่าว
ทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง เพราะ
เหตุนั้นแหละ พวกสมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล.

[๕๔๐] ศัพท์ว่า น ในคำว่า ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง เป็นศัพท์ปฏิเสธ.
คำว่า ทิฏฐินั้น คือ ทิฏฐิ ๖๒ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่กล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง
เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศทิฏฐิ ๖๒ นั้นว่า จริง แท้ เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง.

[๕๔๑] คำว่า คนคู่ ในคำว่า คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่า เป็นพาล
ความว่า คน ๒ คน ได้แก่คนสองคนผู้ทำความทะเลาะกัน คนสองคนผู้ทำความหมายมั่นกัน
คนสองคนผู้ทำความอื้อฉาวกัน คนสองคนผู้ทำความวิวาทกัน คนสองคนผู้ก่ออธิกรณ์กัน คนสอง
คนผู้พูดกัน คนสองคนผู้ปราศรัยกัน. คนคู่เหล่านั้น กล่าว บอก พูด แสดง แถลง กะกันและกัน
อย่างนี้ว่า ท่านเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คนคู่
กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล.

[๕๔๒] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง ความว่า พวก
สมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง โดยอ้างว่าโลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็น
อีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิ
ของตนๆ ว่าจริง.

[๕๔๓] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เพราะเหตุนั้นแหละ พวกสมณพราหมณ์จึง
เห็นคนอื่นว่าเป็นพาล ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะการณ์นั้น จึงเห็น คือ มองเห็น แลดู
เพ่งดู พินิจดู พิจารณาดูซึ่งคนอื่นว่า เป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้นแหละ พวกสมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล ข้าพระองค์ไม่กล่าว
ทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง เพราะ
เหตุนั้นแหละ พวกสมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล.
[หากเจ้าลัทธินั้นคู่ใดคู่หนึ่งมาปรารภความเห็นกัน ต่างฝ่ายมีแต่จะแย้งกันว่าอีกฝ่ายเป็นพาล พระผู้มีพระภาคทรงปฏิเสธการถือความเห็นแล้วจะเป็นดั่งนั้น อาทิเช่นความเห็นว่าบุญบาปไม่มี เป็นความเห็นหนึ่ง หรือความเห็นว่าโลกเที่ยง เป็นอีกความเห็นหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น แต่เจ้าลัทธิยืนยันความเห็นของตนว่าจริง เพราะเหตุนี้แหละพวกเขาจึงมองผู้อื่นว่าเป็นพาล]

[๕๔๔] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า
จริงแท้ สมณพราหมณ์แม้พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน เพราะเหตุไร พวก
สมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน.

[๕๔๕] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริงแท้ ความว่า สมณพราหมณ์
เหล่าหนึ่ง กล่าว บอก พูด แสดง แถลงซึ่งธรรมะ คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด อย่างนี้ว่า
ธรรมนี้ จริง แท้ เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บาง
พวกกล่าวธรรมใดว่าจริงแท้.

[๕๔๖] คำว่า สมณพราหมณ์แม้พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ ความว่า สมณ-
*พราหมณ์อีกพวกหนึ่ง กล่าว บอก พูด แสดง แถลงซึ่งธรรมะ คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค
นั้นนั่นแหละ อย่างนี้ว่า ธรรมนี้ เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง เหลวไหล ไม่เป็นตามจริง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์แม้พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ.

[๕๔๗] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ แล้วก็วิวาทกัน ความว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น คือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิอย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน
คือ ทำความทะเลาะกัน ทำความหมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความวิวาทกัน ทำความ
มุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน.

[๕๔๘] คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าว
เป็นอย่างเดียวกัน ความว่า เพราะ การณ์ เหตุ ปัจจัย นิทาน สมุทัย ชาติ เหตุเป็นแดน
เกิดอะไร? พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือ กล่าวต่างๆ กัน กล่าว
หลายอย่าง กล่าวคำอื่นๆ กล่าว พูด บอก แสดง แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น
จึงตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริงแท้ สมณพราหมณ์แม้พวก
อื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้
อย่างนี้ แล้วก็วิวาทกัน เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็น
อย่างเดียวกัน.
[เจ้าลัทธิกล่าวว่าธรรมของตนจริงแท้ อีกผู้หนึ่งย่อมกล่าวว่าธรรมนั้นไม่จริง เป็นของเท็จ ดังนี้แล้วย่อมวิวาทกัน ต่างให้อีกฝ่ายแก้ไขธรรมของตนให้ตรงตามธรรมของตน เพราะเหตุอะไรเล่า เจ้าลัทธิเหล่านั้นไม่กล่าวให้ตรงกัน]

[๕๔๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ก็หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่พึงวิวาทกัน
สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มี ๒ อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้น
อวดสัจจะต่างๆ ไปเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่
กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน.

ว่าด้วยสัจจะมีอย่างเดียว

[๕๕๐] คำว่า สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มี ๒ อย่าง ความว่า นิพพาน คือ
ความดับทุกข์ ได้แก่ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำ
รอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เรียกว่าสัจจะอย่างเดียว.
อีกอย่างหนึ่ง มรรคสัจจะ นิยยานสัจจะ ได้แก่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ อริยมรรคมีองค์
๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ เพียรชอบ
ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ เรียกว่าสัจจะอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะ
นั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มี ๒ อย่าง.

[๕๕๑] คำว่า ใด ในคำว่า หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่พึงวิวาทกัน ความว่า ในสัจจะใด.
คำว่า ปชา เป็นชื่อของสัตว์. หมู่สัตว์ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้ปรุโปร่ง รู้ตลอด ซึ่งสัจจะใด
ไม่พึงทำความทะเลาะกัน ไม่พึงทำความหมายมั่นกัน ไม่พึงทำความแก่งแย่งกัน ไม่พึงทำความ
วิวาทกัน ไม่พึงทำความมุ่งร้ายกัน คือ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความ
ทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่พึงวิวาทกัน.

[๕๕๒] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอวดสัจจะต่างๆ ไปเอง ความว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้น อวด พูด บอก กล่าว แสดง แถลง ซึ่งสัจจะต่างๆ ไปเองว่า โลกเที่ยง สิ่ง
นี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้นอวดสัจจะต่างๆ ไปเอง.

[๕๕๓] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่
กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณ์ เหตุ ปัจจัย นิทานนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือ กล่าวต่างๆ กล่าวหลายอย่าง กล่าว
คำอื่นๆ กล่าว บอก พูด แสดง แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

ก็หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่วิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มี
๒ อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้น อวดสัจจะต่างๆ ไปเอง เพราะ
เหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน.
[พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าถ้าผู้ใดทราบแน่ชัดในสัจจะ(ความจริงซึ่งเป็นความรู้อันประเสริฐแท้) ก็ย่อมไม่วิวาทกัน สัจจะนั้นมีเพียงอย่างเดียวคือนิพพานอันเป็นความดับทุกข์ อันเป็นความสงบในสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งกิเลส เจ้าลัทธิเหล่านั้นอวดสัจจะอันไม่ใช่ความดับทุกข์ ย่อมกล่าวสัจจะต่างกันไป]

[๕๕๔] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) เพราะเหตุไรหนอ? พวกสมณพราหมณ์
จึงกล่าวสัจจะไปต่างๆ คือ เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด กล่าวยืนยัน
สัจจะหลายอย่าง ก็สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะ
มากอย่างต่างๆ กันหรือสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมระลึกตรึกเอาเอง.

[๕๕๕] คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึง
กล่าวสัจจะไปต่างๆ ความว่า เพราะเหตุไร คือ เพราะการณ์ เหตุ ปัจจัย นิทานอะไร? พวก
สมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะต่างๆ คือ กล่าวหลายอย่าง กล่าวคำอื่นๆ กล่าว บอก พูด
แสดง แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุไรหนอ? พวกสมณพราหมณ์จึง
กล่าวสัจจะไปต่างๆ.

[๕๕๖] คำว่า กล่าวยืนยัน ในคำว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด กล่าวยืนยันสัจจะ
หลายอย่าง ความว่า พูดพร่ำมากไป จึงชื่อว่ากล่าวยืนยันบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์
เหล่านั้น ย่อมกล่าวยืนยัน คือ บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งทิฏฐิของตนๆ ว่า โลกเที่ยง
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
กล่าวว่าตนฉลาด กล่าวว่าตนเป็นบัณฑิต กล่าวว่าตนเป็นธีชน กล่าวว่าตนเป็นผู้มีญาณ กล่าว
ว่าตนพูดโดยเหตุ กล่าวว่าตนพูดโดยลักษณะ กล่าวว่าตนพูดโดยการณ์ กล่าวว่าตนพูดโดยฐานะ
โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาดกล่าวยืนยัน.

[๕๕๗] คำว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะมากอย่างต่างๆ กัน
ความว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะมากต่างๆ หลายอย่างอื่นๆ เป็นอันมาก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะหลายอย่างต่างๆ กัน.

[๕๕๘] คำว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง ความว่า หรือว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมดำเนินไป เลื่อนไป เคลื่อนไป เป็นไป ด้วยความตรึก ด้วยความ
ตรอง ด้วยความดำริ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมระลึก
ตรึกเอาเอง. อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งสัจจะ
ที่ตนรวบรวมมาด้วยความตรึก ที่ตนคิดกันด้วยความพิจารณา ที่ตนรู้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึง
ชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมระลึกตรึกเอาเอง. เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น
จึงตรัสถามว่า

เพราะเหตุไหนหนอ? พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่างๆ คือ
เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ยืนยันสัจจะหลายอย่าง ก็สัจจะที่พวก
สมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะหลายอย่างต่างๆ กัน หรือว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง.
[พระพุทธนิมิตจึงตรัสถามอีกว่า เจ้าลัทธิเหล่านั้นต่างยืนยันความเป็นผู้ฉลาด กล่าวสัจจะของตน สัจจะต่างๆเหล่านั้นเป็นสัจจะที่แตกต่างออกไปหรือ หรือเป็นสิ่งที่เจ้าลัทธิตรึกตรองขึ้นมาเอง]

(ยังมีต่อ)


Create Date : 06 มิถุนายน 2549
Last Update : 6 มิถุนายน 2549 22:11:53 น. 0 comments
Counter : 448 Pageviews.

พญาเหยี่ยว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add พญาเหยี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.