Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2549
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
6 มิถุนายน 2549
 
All Blogs
 

ความเป็นเจ้าลัทธิในมุมมองของพระศาสนา-2

(ต่อ)

[๕๕๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ) สัจจะมากอย่างต่างๆ กันมิได้มีเลย เว้น
แต่สัจจะที่แน่นอน ด้วยสัญญาในโลก พวกสมณพราหมณ์ดำริ ตรึกเอา
ในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง
คำของท่านเท็จ.

ว่าด้วยความจริงไม่ต่างกัน

[๕๖๐] คำว่า สัจจะมากอย่างต่างๆ กันมิได้มีเลย ความว่า สัจจะมากอย่าง ต่างๆ กัน
หลายอย่าง อื่นๆ เป็นอันมากมิได้มีเลย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะมากอย่างต่างๆ กันมิได้
มีเลย.

[๕๖๑] คำว่า เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก ความว่า เว้นจากสัจจะที่ถือ
ว่าเที่ยงด้วยสัญญา กล่าวว่า สัจจะอย่างเดียวเท่านั้นที่บัณฑิต กล่าว พูด แสดง แถลง ในโลก
ได้แก่ทุกขนิโรธ นิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา
ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด. อีกอย่างหนึ่ง
มัคคสัจจะ นิยยานสัจจะ ได้แก่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความ
เห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งจิตมั่นชอบ เรียกว่า เป็นสัจจะอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เว้น
แต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก.

[๕๖๒] คำว่า ก็พวกสมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว ได้กล่าวธรรม
เป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ ความว่า พวกสมณพราหมณ์ตรึกตรองดำริแล้ว
ยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ ครั้นแล้วได้กล่าว บอก
พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็พวก
สมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง
คำของท่านเท็จ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

สัจจะมากอย่างต่างๆ กันมิได้มีเลย เว้นแต่สัจจะที่แน่นอน ด้วย
สัญญในโลก ก็พวกสมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว
ได้กล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ.
[พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัจจะไม่ได้มีมากอย่างต่างๆกัน สัจจะมีประการเดียวคือความดับทุกข์ กล่าวได้อีกว่าคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือทางดำเนินเพื่อความดับทุกข์ คืออริยมรรคมีองค์แปด ประกอบด้วยความเห็นชอบ ความดำริชอบ การประพฤติชอบ วาจาชอบ ความเพียรชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ เมื่อบุคคลมีความเห็นชอบเป็นเบื้องต้นแล้วปฏิบัติไปตามมรรคมีองค์แปดอันเป็นทางสายเอก เมื่อเกิดปัญญาญาณของพระอริยเจ้าแล้ว แม้สัมมาทิฏฐิที่ตนยึดถือแต่แรกพระอริยเจ้าก็ละเสียได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอีกต่อไป พระอรหันตขีนาสพผู้ละกิเลสทั้งปวงเสียได้แล้วนั้นมิได้ยึดมั่นในความเห็นใดๆเลย ส่วนเจ้าลัทธิเหล่านั้นตรึกตรองความเห็นของตนและของผู้อื่นแล้ว กล่าวธรรมสองอย่างคือ คำของเราจริง คำของท่านเท็จ]

[๕๖๓] เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล พรต หรือ
อารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงอารมณ์ดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิ
เป็นวินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.

เจ้าทิฏฐิแสดงความดูหมิ่นผู้อื่น

[๕๖๔] คำว่า เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล พรต
หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น ความว่า เจ้าทิฏฐิอาศัย คือ เข้าไปอาศัย ถือ
ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูปที่เห็นบ้าง ความหมดจด เพราะรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ความ
หมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ศีลบ้าง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง วัตรบ้าง ความหมดจด
เพราะวัตรบ้าง อารมณ์ที่ทราบบ้าง ความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ. คำว่า อาศัยธรรมเหล่านี้ เป็นผู้
แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น ความว่า เจ้าทิฏฐินั้น ไม่นับถือ แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้แสดง
ความดูหมิ่น. อีกอย่างหนึ่ง ยังโทมนัสให้เกิด แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้แสดงความ
ดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล
พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น.

[๕๖๕] คำว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นวินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ
เรียกว่า วินิจฉัย เจ้าทิฏฐิตั้งอยู่ ตั้งมั่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นวินิจฉัยแล้ว. คำว่า ร่าเริงอยู่ คือ เป็นผู้ยินดี หัวเราะ ร่าเริง ชอบใจ
มีความดำริ บริบูรณ์. อีกอย่างหนึ่ง หัวเราะจนฟันปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ใน
ทิฏฐิเป็นวินิจฉัย ร่าเริงอยู่.

[๕๖๖] คำว่า กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด ความว่า กล่าว บอก พูด แสดง
แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่รู้แจ้ง
ไปแล้วในอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าวว่า
คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล พรต หรือ
อารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็น
วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.
[เจ้าลัทธิมีธรรมที่ทราบคือรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ศีลที่สมาทานบ้าง วัตรที่สมาทานบ้าง อารมณ์ที่ทราบบ้าง อาศัยสิ่งเหล่านี้ที่ตนอาศัยให้เกิดความหมดจดเพื่อแสดงความดูหมิ่นผู้อื่น ทั้งยืนยันทิฏฐิของตนที่ไตร่ตรองแล้ว มีใจร่าเริงอยู่ กล่าวว่าผู้อื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด]

[๕๖๗] เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็กล่าวถึงตนว่าเป็น
ผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดู
หมิ่นบุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน.

เจ้าทิฏฐิเห็นคนอื่นเป็นพาล

[๕๖๘] คำว่า เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด ความว่า เจ้าทิฏฐิเห็น มอง
เห็น แลดู เพ่งพินิจ พิจารณาซึ่งบุคคลอื่น โดยความเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก
ต่ำต้อย ด้วยเหตุใด คือ ปัจจัย การณ์ เหตุเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐิเห็น
บุคคลอื่นว่า เป็นพาล ด้วยเหตุใด.

[๕๖๙] คำว่า และก็กล่าวถึงตนว่า เป็นผู้ฉลาด ด้วยเหตุนั้น ความว่า ตน เรียกว่า
อาตมา. เจ้าทิฏฐิแม้นั้น กล่าวถึงตนว่า เราเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส ด้วยเหตุนั้น คือ ด้วยปัจจัย การณ์ เหตุเป็นแดนเกิดนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และก็กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น.

[๕๗๐] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ความว่า เจ้าทิฏฐินั้น อวดอ้าง
ว่าตนฉลาดด้วยตนเอง คือ อวดอ้างว่าเป็นบัณฑิต อวดอ้างว่าเป็นธีรชน อวดอ้างว่าเป็นผู้มีญาณ
อวดอ้างว่าพูดโดยเหตุ อวดอ้างว่าพูดโดยลักษณะ อวดอ้างว่าพูดโดยการณ์ อวดอ้างว่าพูดโดย
ฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าตนฉลาดด้วยตนเอง.

[๕๗๑] คำว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน ความว่า เพราะไม่
นับถือ จึงชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น. อีกอย่างหนึ่ง เพราะยังโทมนัสให้เกิด จึงชื่อว่า ย่อมดู
หมิ่นบุคคลอื่น. คำว่า และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน ความว่า ย่อมพูดถึงทิฏฐินั้นอย่างนั้นว่า
แม้ด้วยเหตุดังนี้ บุคคลนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมดูหมิ่น
บุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้
ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดู
หมิ่นบุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน.
[เจ้าของความเห็นหรือเจ้าลัทธินั้นในสภาพเหตุการณ์หนึ่งๆเห็นผู้อื่นเป็นพาลเท่าใดก็เห็นตนเองเป็นผู้ฉลาดเท่านั้น ทั้งกล่าวเองว่าตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมดูหมิ่นผู้อื่น กล่าวดูหมิ่นผู้อื่น]

[๕๗๒] เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ (ทิฏฐิล่วงแก่นสาร) เป็น
ผู้เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตนเองด้วยใจ
เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น.

ทิฏฐิ ๖๒ เรียกอติสารทิฏฐิ

[๕๗๓] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ
เรียกว่า อติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร? ทิฏฐิ ๖๒ ประการ จึงเรียกว่า อติสารทิฏฐิ ทิฏฐิทั้ง
ปวงนั้น ล่วงเหตุ ล่วงลักษณะ ถึงความเป็นของต่ำช้า เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิ ๖๒ ประการ จึง
เรียกว่า อติสารทิฏฐิ. เดียรถีย์แม้ทั้งหมดเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร? เดียรถีย์แม้ทั้งหมด
จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เดียรถีย์เหล่านั้น ล่วง ก้าวล่วง ล่วงเลยกันและกัน ยังทิฏฐิทั้ง
หลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ทั้งหมดจึงชื่อว่า
เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ. คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์ ความว่า เป็นผู้บริบูรณ์เต็มรอบ ไม่
บกพร่องด้วยอติสารทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ.

[๕๗๔] คำว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวเต็มรอบ ความว่า เป็นผู้เมา
เมาทั่ว เมาขึ้น เมายิ่ง ด้วยความถือตัว เพราะทิฏฐิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เมา
ด้วยความถือตัว. คำว่า มีความถือตัวเต็มรอบ ความว่า มีความถือตัวเต็มรอบ มีความถือตัว
บริบูรณ์ มิได้บกพร่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวเต็มรอบ.

[๕๗๕] คำว่า อภิเษกตนเองด้วยใจ ความว่า ย่อมอภิเษกตนเองด้วยจิตว่าเราเป็นผู้ฉลาด
เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อภิเษกตนเองด้วยใจ.

[๕๗๖] คำว่า เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น ความว่า ทิฏฐินั้นของเจ้า
ทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น คือเป็นทิฏฐิอันเจ้าทิฏฐินั้นสมาทาน ถือ ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ
น้อมใจไปแล้วอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว
มีความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตนเองด้วยใจ เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้น
บริบูรณ์อย่างนั้น.
[เจ้าลัทธินั้นถือมั่นอย่างเต็มตัวด้วยความเห็นอันเลวทราม ถือตัวด้วยความเมาในทิฏฐิ ตั้งตนเป็นผู้ฉลาดเอาเอง]

[๕๗๗] ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมี
ปัญญาทรามพร้อมด้วยคนอื่นนั้น อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็น
ธีรชนเองไซร้ ใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล.

[๕๗๘] คำว่า ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ ความว่า ถ้าคนอื่นเป็นคน
พาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะคำ เพราะถ้อยคำ คือ เพราะเหตุนินทา
ติเตียน ค่อนว่าของคนอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้.

[๕๗๙] คำว่า บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วยคนอื่นนั้น ความว่า แม้
บุคคลนั้นก็เป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มี
ปัญญาต่ำต้อย พร้อมด้วยคนอื่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทราม
พร้อมด้วยคนอื่นนั้น.

[๕๘๐] คำว่า อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้ ความว่า บุคคล
เป็นธีรชน เป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้.

[๕๘๑] คำว่า ใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล ความว่า ใครๆ
ในบรรดาสมณพราหมณ์ เป็นคนพาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่มี คือ
คนทั้งหมดนั่นแหละ จะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาใหญ่ มี
ปัญญาอุดม มีปัญญาบวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็น
คนพาล. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมี
ปัญญาทรามพร้อมด้วยคนอื่นนั้น อีกอย่างหนึ่งถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็น
ธีรชนเองไซร้ ใครๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล.
[ถ้าคนจะเลวเพราะคำนินทาหรือการกล่าวหาจากผู้อื่น ผู้นั้นย่อมต้องถูกว่าตอบก็ไม่พ้นเป็นคนเลวเช่นกัน และถ้าคนจะเป็นผู้มีปัญญาด้วยการกล่าวยกตนเอาเอง ในบรรดาสมณะหรือพราหมณ์นั้นใครจะเป็นคนพาล]

[๕๘๒] ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็น
ผู้พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าว
แม้อย่างนั้นโดยทิฏฐิมาก เพราะพวกเดียรถีย์นั้นเป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความ
กำหนัดเพราะทิฏฐิของตน.

[๕๘๓] คำว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อม
เป็นผู้พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ความว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรม
คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค อื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ พลั้ง พลาด คลาด
เคลื่อนทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความหมดจดวิเศษ ทางแห่งความหมดจดรอบ ทางแห่ง
ความขาว ทางแห่งความขาวรอบ ชื่อว่าพลาดจากอรหัตผล เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ไม่เต็มเปี่ยม ไม่
เต็มรอบ คือ เป็นพวกเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความหมด
จด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์.

ทิฏฐิเรียกว่าติตถะ

[๕๘๔] คำว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก ความว่า ทิฏฐิเรียกว่า
ติตถะ. เจ้าทิฏฐิเรียกว่า พวกเดียรถีย์. พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่ง
ทิฏฐิมาก โดยทิฏฐิมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก.

[๕๘๕] คำว่า เพราะพวกเดียรถีย์นั้น เป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความกำหนัดเพราะทิฏฐิของ
ตน ความว่า เดียรถีย์เหล่านั้น เป็นผู้ยินดี ยินดียิ่ง ด้วยความกำหนัดเพราะทิฏฐิของตน เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะพวกเดียรถีย์ยินดียิ่งด้วยความกำหนัดเพราะทิฏฐิของตน. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้
พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าว
แม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก เพราะพวกเดียรถีย์นั้น เป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความ
กำหนัดเพราะทิฏฐิของตน.
[ชนเหล่าใดสรรเสริญธรรมของศาสดาอื่นนอกจากพระศาสนานี้ย่อมคลาดจากคุณวิเศษอันประเสริฐอย่างน่าเสียดาย พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวไปเพราะตนมีความผูกพันในความเห็นอย่างมาก ก็เดียรถีย์นั้นมีความลุ่มหลงอย่างยิ่งในความเห็นของตน]

[๕๘๖] พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความ
หมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอื่น พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้ โดย
ทิฏฐิมาก เป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น.

ว่าด้วยทิฏฐิของพวกเดียรถีย์

[๕๘๗] คำว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้เท่านั้น ความว่า
พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ
หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ในธรรมนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง
สิ่งอื่นเปล่า ... โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็น
อีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความ
หมดจดว่า มีในธรรมนี้เท่านั้น.

[๕๘๘] คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอื่น ความว่า พวกเดียรถีย์
นั้น ย่อมคัดค้าน โต้เถียงวาทะของคนอื่นทั้งหมด เว้นแต่ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว หมู่คณะ
ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้น
ไม่ใช่สัพพัญญู ธรรมนั้นไม่ใช่สวากขาตธรรม หมู่คณะนั้นมิใช่ผู้ปฏิบัติดี ทิฏฐินั้นมิใช่ทิฏฐิอัน-
*เจริญ ปฏิปทานั้น มิใช่บัญญัติดี มรรคนั้นไม่เป็นมรรคนำให้พ้นทุกข์ ความหมดจด ความหมดจด
วิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ มิได้มีในธรรมนั้น สัตว์
ทั้งหลายย่อมไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ ไม่พ้นรอบ
ในเพราะธรรมนั้น แต่เป็นผู้เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษ ในธรรมทั้งหลายอื่น.

[๕๘๙] คำว่า พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก ความว่า ทิฏฐิเรียกว่า ติตถะ.
เจ้าทิฏฐิเรียกว่า พวกเดียรถีย์. พวกเดียรถีย์ตั้งมั่น ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจ
ไปในทิฏฐิมาก โดยทิฏฐิมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก.

[๕๙๐] คำว่า เป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น ความว่า ธรรมะ
ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทางดำเนินของตน เป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าว
แข็งแรง กล่าวเที่ยงแท้ ในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้กล่าว
ยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

พวกเดียรถีย์ ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าว
ความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอื่น พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นอย่างนี้โดย
ทิฏฐิมาก เป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น.
[พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแต่ว่าธรรมของตนและการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้เลื่อมใสตามแนวทางของศาสดาตนเท่านั้นถูกต้อง ธรรมของผู้อื่นเป็นของเปล่าประโยชน์ เลวทราม เดียรถีย์ตั้งมั่นในความเห็นขนาดนี้ก็เพราะตนมีความผูกพันต่อความเห็นอย่างมาก พร้อมทั้งยืนยันมั่นคงในทางดำเนินของตน]

[๕๙๑] อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน พึงเห็น
ใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น เจ้าทิฏฐินั้น กล่าวบุคคลอื่นว่า
เป็นพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง.

[๕๙๒] คำว่า อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน ความว่า
ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทางดำเนินของตน เป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง
กล่าวแข็งแรง กล่าวเที่ยงแท้ ในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง
เจ้าทิฏฐิเป็นผู้ยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตน.

[๕๙๓] คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น ในคำว่า พึงเห็นใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะทิฏฐิ
นั้น ความว่า พึงเห็น ดู แลดู ตรวจดู พินิจ พิจารณา ซึ่งใครอื่น โดยความเป็นคนพาล เลว
ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ในเพราะทิฏฐิ คือ ความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเห็น ใครอื่นว่าเป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น.

[๕๙๔] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา
พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง ความว่า เจ้าทิฏฐินั้นว่า กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า
บุคคลอื่นเป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีความไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ
ไม่หมดจดรอบ ไม่ขาว เป็นธรรมดา พึงนำมา นำมาพร้อม ถือมา ถือมาพร้อม ชักมา ชักมา
พร้อม ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความ
ทุ่มเถียง ด้วยตนเองแท้ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล มีความ
ไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน พึงเห็น
ใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่า
เป็นพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง.
[เจ้าลัทธินั้นยืนยันปฏิปทาของตน ความเห็นคนอื่นเป็นพาล เลวทรามไปหมด กระทั่งมุ่งมั่นความวิวาทเสียเอง กระทำซึ่งความมุ่งร้ายเสียเอง]

[๕๙๕] เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว ย่อมถึงความวิวาท
ในข้างหน้าในโลก ชันตุชน ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวง ย่อมไม่ทำความ
ทุ่มเถียงในโลก.

[๕๙๖] คำว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ
เรียกว่าทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าทิฏฐิ ตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ ถือยึดมั่น ถือมั่น ในทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ. คำว่า นับถือเองแล้ว ความว่า นับถือ ตรวจเอง
แล้วว่า ศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู ธรรมนี้อันศาสดาตรัสดีแล้ว หมู่คณะนี้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐินี้
เป็นทิฏฐิเจริญ ปฏิปทานี้อันศาสดาบัญญัติดีแล้ว มรรคนี้เป็นมรรคนำให้พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นับถือเองแล้ว เหตุนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจนับถือเองแล้ว.

[๕๙๗] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ความว่า อนาคต
เรียกว่า ข้างหน้า. เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งวาทะของตนในข้างหน้า ย่อมถึง เข้าถึง เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น
ถือมั่น ซึ่งความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วยตนเอง
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก. อีกอย่างหนึ่ง
เจ้าทิฏฐินั้น ย่อมทำความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความทุ่มเถียง
กับบุคคลอื่นผู้กล่าวในข้างหน้า ว่าท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ
ถ้าท่านสามารถ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก.

[๕๙๘] คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า
ทิฏฐิที่ตกลงใจ ชันตุชน ละ สละ ทิ้ง ปลดปล่อย บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้วทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว.

[๕๙๙] คำว่า ชันตุชน ... ย่อมไม่ทำความทุ่มเถียงในโลก ความว่า ชันตุชนย่อมไม่ทำ
ความทะเลาะ ไม่ทำความหมายมั่น ไม่ทำความแก่งแย่ง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความทุ่มเถียง
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุมีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่
โต้เถียง ไม่วิวาทกับใครๆ สิ่งใดที่เขากล่าวกันในโลก ก็กล่าวตามสิ่งนั้น มิได้ถือมั่น. ชื่อว่า
ชันตุชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน ... ย่อมไม่ทำความทุ่มเถียงในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสตอบว่า

เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว ย่อมถึงความวิวาท
ในข้างหน้าในโลก ชันตุชนละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่ทำ
ความทุ่มเถียงในโลก ดังนี้.
[เจ้าลัทธินั้นยึดถือในความเห็นอันตนเชื่อมั่น นับถือด้วยใจตนเองแล้ว อนาคตก็ต้องเกิดความวิวาท ส่วนผู้ไม่มุ่งหวังการทะเลาะวิวาทย่อมไม่ยึดติดต่อความเห็นมีอาทิโลกเที่ยง ฯลฯ จึงไม่ต้องทุ่มเถียงกับผู้อื่น]

จบจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒.

*****************************************
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ




 

Create Date : 06 มิถุนายน 2549
0 comments
Last Update : 6 มิถุนายน 2549 22:17:22 น.
Counter : 676 Pageviews.


พญาเหยี่ยว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add พญาเหยี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.