++++ มามะมาชวนไปเที่ยวลาวเหนือ เวียงจันทร์ วังเวียง หลวงพระบาง--วันที่ 3 เที่ยววัด ถ้ำติ่ง ++++

มาต่อกันเลยค่ะ ใส่บาตรเรียบร้อยไปไหว้พระกันที่วัดเชียงทอง

วัดคู่เมืองหลวงพระบางค่ะ ไปเช้าๆดีงามมากค่ะ ไม่มีคนพลุกพล่าน

เงียบสงบ น้องไกด์เล่าประวัติให้ฟังคร่าวๆ ขอ copy จากเวบ 

CR : www.louangprabang.net นะคะ

 วัดเชียงทองถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช หลังจากสร้างวัดนี้ไม่นานพระองค์ก็ทรงย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทน์ และวัดนี้ยังได้รับการอุปถัมภ์ดูแลจากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงศ์
และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนากษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว
เมื่อเดินทางมาถึงวัดนี้สิ่งแรกก็คือการไปชมพระอุโบสถหรือที่ภาษาลาวเรียกว่า“สิม”
 แม้ขนาดจะดูไม่ใหญ่โตแต่ก็แสดงถึงสถาปัตยกรรมทางศาสนาแบบหลวงพระบางแท้ๆ ด้วยหลังคาพระอุโบสถที่แอ่นโค้งซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น ลดหลั่นเกือบจรดฐานจนแลดูค่อนข้างเตี้ย ส่วนกลางของหลังคามีเครื่องยอดสีทองซึ่งชาวลาวจะเรียกว่า“ช่อฟ้า” ประกอบด้วย  17  ช่อ อันมีความหมายว่าเป็น"สิม” (หรืออุโบสถ) ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้น ส่วน “สิม” ที่คนสามัญสร้างจะมีช่อฟ้าเพียง  1-7  ช่อเท่านั้น เชื่อกันว่าบริเวณช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตรงกลางของช่อฟ้าเคยใช้เป็นที่เก็บของมีค่า ปัจจุบันเหลือเพียงช่องว่างเปล่าๆ ถัดมาที่ส่วนของหน้าบันมี  “โหง่” รูปร่างคล้ายเศียรนาคเป็นส่วนประดับตามคติธรรมทางพุทธศาสนาเมื่อเดินเข้าต่อมาที่ประตูพระอุโบสถจะสะดุดตากับ
ลวดลายแกะสลักอันสวยงามเช่นเดียวกับที่หน้าต่าง
้้้่่

สวยงามมากค่ะ





ช่อฟ้าหรือ สิม มี 17 ช่อ 





เสียดายวันนี้ที่พระธาตุศรีสว่างวงศ์ปิดบูรณะซ่อมแซมเข้าไปไม่ได้





ถัดไปด้านหลังจะเป็น หอพระม่าน สีชมพูแกะสลักสวยงาม

ภายในประดิษฐาน พระม่าน ไม่เปิดประตูให้เข้าไปชมค่ะ

เราต้องยืนส่องดูจากรูประตูเค้าเจาะรูเอาไว้ให้ส่องดู





เราส่องดูจะเห็นเป็นพระพุทธรูปจมูกโตหน้ายิ้มค่ะ

ยืนส่องดูกัน รูประมาณลูกตาพอดีค่ะ









รูปต้นโพธ์ที่ประตูวัดเชียงทอง ตลาดมืดนิยมนำมาเขียนเป็นภาพวาดขายค่ะ





ถัดมาหอด้านหน้ามีหอพระพุทธไสยาสน์ มีพระพุทธรูปให้ยกเสี่ยงทายค่ะ

ในทริปมีคนยกอยู่ 2 คน น้าสามี กับสามีค่ะ ถามว่าขออะไร

ฮีขอได้นางงามมากค่ะ ขอให้ประเทศชาติและโลกสงบสุข..อาเมนนนน  Smiley








เดินไปด้านหลังวัดจะติดกับแม่น้ำโขง 





ขึ้นรถไปเที่ยวตลาดเช้าและแวะกินข้าวเช้าที่ร้านกาแฟประชานิยมกันค่ะ 

















เดินทะลุตลาดมาไม่ไกล เจอแล้วร้านกาแฟประชานิยมอยู่หัวมุมถนนพอดี








งง กับเมนู เฝอ ข้าวเปียก ข้าวซอย แต่ละเมืองเรียกไม่เหมือนกันอีก




หมูสามชั้นย่าง รสชาติดีติดตรงที่มันเยอะไปหน่อยค่ะ





ใบสะระแหน่ มัดมาเป็นกำเล็กๆน่ารัก




อิ่มกันมากๆค่ะ ทั้งข้าวเหนียว หมู ปาท่องโก๋ เฝอ ชา กาแฟ




ชาเย็นหวานมากกกก..ส่วนกาแฟเข้มมาก





กาแฟเข้มมากๆค่ะ




เรานั่งกันฝั่งตรงข้ามร้านนะคะ วิวแม่น้ำโขง ธรรมชาติสุดๆ





อิ่มเรียบร้อยมุ่งหน้าสู่พระธาตุหมากโม วัดวิชุนราช เหตุที่ชื่อหมากโม

เพราะเจดีย์ทรงเหมือนลูกแตงโมนั่นเองค่ะ ประวัติขอนำมาจากเวบ

CR : www.lannatouring.com ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ

พระนางพันตีนเชียง มเหสีของพระเจ้าวิชุนราช ซึ่งเป็นชาวพวนเมืองเชียงขวาง โปรดให้สร้างพระธาตุหมากโมขึ้นในปี พ.ศ.2057 ในอดีตพระธาตุหมากโมเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบาง ซึ่งอาราธนามาจากเมืองเวียงคำ แต่ต่อมาได้มีการย้ายไปประดิษฐานที่หอพระบาง ซึ่งพระธาตุหมากโมเึคยถูกปฏิสังขรณ์มาแล้ว 2 ครั้ง ในปีพ.ศ.2402 รัชสมัยของเจ้ามหาชีวิตสักรินทร์(คำสุก) ซึ่งเป็นพระราชบิดาของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ อีก 19 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2457 ในรัชสมัยของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์มีการปฎิสังขรอีกครั้ง ซึ่งการบูรณะครั้งนี้พบโบราณวัตถุมากมาย เช่น เจดีย์ทองคำ พระพุทธรูปหล่อสำริด พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่แกะสลักจากแก้วซึ่งคล้ายกับพระแก้วมรกต โบราณวัตถุเหล่านี้ได้นำถวายเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และได้เก็บรักษาไว้ในพระราชวังหลวงพระบางจวบจนปัจจุบัน





ถัดมาในบริเวณเดียวกันเป็นหอกลองวัดวิชุนราชค่ะ 





วัดวิชุนราช





พระประธานด้านในค่ะ





พระแก้วมรกตจำลอง พบเห็นได้ทุกวัดในลาวค่ะ





สักรูปนะ วันนี้ใส่เสื้อยืดเมืองลาว ซื้อเมื่อคืนที่ตลาดมืด 150บาทค่ะ






ไปล่องเรือกันดีกว่าค่ะ ถ้ำติ่งต้องนั่งเรือล่องแม่น้ำโขงไป

ทางไปลงเรือผ่านชุมชนทอผ้า หมักเหล้าสารพัดสัตว์เลยค่ะ

เดี๋ยวตอนขึ้นจากเรือจะลงรูปให้ดูนะคะ ตอนนี้ไปขึ้นเรือกันก่อน














เรือที่จะพาเราไปวันนี้ค่ะ ลำใหญ่ดีจัง





ที่ว่างเยอะเลย เรามีกัน 9 คนเอง เหมาเรือลำนึงเลยค่ะ

ที่นั่งดี ชมวิวไปเรื่อยๆ










นั่งเรือไม่นานเลย ชมวิวมาเรื่อยๆเพลินดีค่ะ ถึงแล้ว ถ้ำติ่ง





มีคนเหมาเรือมาจากอีกฝั่งค่ะ แต่ไม่ใช่ที่เดียวกับเรา





ด้านบนมีพระพุทธรูปวางไว้ตามที่ต่างๆ ในถ้ำมากมาย 












เด็กน้อยช่วยแม่ขายของ











ใช้เวลาอยู่ที่ถ้ำติ่งไม่เกิน 20นาที ลงเรือกลับ ฝนตกปรอยๆ ให้พอเย็นๆ

ขึ้นมาที่ท่าเรือที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่าที่นี่ทำเหล้าดองสัตว์มีพิษ

มีกรรมวิธีวาดเป็นภาพให้ดูด้วยค่ะ





น่ากลัวมั้ยล่ะ? ประเด็นคือจับท่าทางให้อยู่ในท่านี้ได้ไง? Smiley





ชาวบ้านกำลังทอผ้ากันขมักเขม้น





ดอกไม้ริมทางเดิน เหมือนดอกบัวดินบ้านเรา





ทางทัวร์แวะศูนย์ทอผ้าให้เลือกซื้อกันค่ะ มาเจอกับคาราวานฟอร์จูนเนอร์พอดี

สามีได้เสื้อผ้าฝ้ายมาตัวนึง สงสารคุณป้าไม่มีใครซื้อร้านป้าเลย





กลางวันนี้กินข้าวกันร้านนี้ค่ะ













ส้มตำจานนี้ถูกใจใครหลายคนเลยค่ะ ตำหลวงพระบางใส่ปลาร้า









ผลไม้เป็นแตงไทย หวานกำลัง





หลังจากที่กินข้าวที่ลาวมาหลายมื้อ ลงความเห็นว่าทำไมเราถึงไม่เห็นผู้หญิงลาว

อ้วนเลย คือผญ.ส่วนใหญ่จะตัวเล็ก บาง ผช.ก้อเหมือนกัน วิถีชีวิตเค้า การกิน

ผักทุกมื้อ ปลานึ่ง ไม่เคยมีทอดเลย หมูย่าง ไม่มีทอด

บ่ายนี้เราจะแวะพิพิธภัณฑ์หลวงพระบางค่ะ ไปถึง เที่ยงครึ่ง เค้าเปิดช่วงบ่าย

ตอนบ่ายโมง เราเลยมีเวลาเหลือเฟือเดินดูรอบๆ รอเปิดค่ะ





พระราชวังเก่าค่ะ เปิดให้เข้าชม แต่ห้ามถ่ายรูป





หอพระบางค่ะ ประวัติคร่าวๆ จากวิกิพีเดียนะคะ ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ

CR : th.wikipedia.org/wiki/พระบาง

พระบาง เป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัย สูงสองศอกเจ็ดนิ้ว (ประมาณ 1.14 เมตร) หล่อด้วยสำริด (ทองคำผสม 90 เปอร์เซ็นต์) มีอายุอยู่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 ตามศิลปะเขมรแบบบายนตอนปลาย โดยมีพุทธลักษณะคือ ประทับยืนยกพระหัตถ์ขึ้น นิ้วพระหัตถ์เรียบเสมอกัน พระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงเป็นรูปปีกกา พระเนตรเรียว พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์บาง พระเศียร และพระเกตุมาลาเกลี้ยงสำหรับสวมเครื่องทรง ปั้นพระองค์เล็ก พระโสภีใหญ่ ครองจีวรห่มคลุม แลเห็นแถบสบง และหน้านาง

พระบางเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง แต่ชาวอีสานมีความเลื่อมใสมากและมักจะจำลองพระบางมาไว้ที่วัดสำคัญ ๆ ของท้องถิ่น เช่น พระบางวัดไตรภูมิ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และพระบางจำลองวัดพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นต้น พระบางเป็นพระพุทธรูปที่เคยอัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร ถึง 2 ครั้ง และมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสังคมอีสานอยู่เนือง ๆ

พระบางเดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่นครหลวงของอาณาจักรขอม จนเมื่อ พ.ศ. 1902 พระเจ้าฟ้างุ้มกษัตริย์แห่งล้านช้างซึ่งมีความเกี่ยวพันทางเครือญาติกับพระเจ้ากรุงเขมร มีพระราชประสงค์ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ประดิษฐานมั่นคงในพระราชอาณาจักร จึงได้ทูลขอพระบางเพื่อมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวงของอาณาจักรล้านช้างในขณะนั้น แต่เมื่ออันเชิญพระบางมาได้ถึงเมืองเวียงคำ (บริเวณแถบเมืองเวียงจันทน์ในปัจจุบัน) ก็มีเหตุอัศจรรย์ขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ พระบางจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองนี้จนถึง พ.ศ. 2055 อันเป็นสมัยของพระเจ้าวิชุณราช ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าเมืองเวียงคำมาก่อน จึงสามารถนำเอาพระบางขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดวิชุนราชในนครเชียงทอง ทำให้เมืองเชียงทองเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพเข้ายึดครองอาณาจักรล้านช้างไว้ได้ จึงได้อาราธนาพระบาง พร้อมทั้งพระแก้วมรกต ลงมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรี

ปัจจุบันพระบางประดิษฐานอยู่ที่ หอพระบาง พิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง






อนุเสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์









เนื่องจากด้านในห้ามถ่ายรูป และมีเจ้าหน้าที่ยืนประจำแต่ละจุด

คอยดูแลนักท่องเที่ยวไม่ให้จับแตะต้อง สิ่งของ ด้านในสวยงามค่ะ

มีความเป็นสมัยใหม่หน่อย เราใช้เวลาอยู่ที่นี่นานพอสมควร

เย็นนี้เราไปพักกันที่โรงแรมสายสัมพันธ์ หลวงพระบางค่ะ อยู่นอกเมืองมาหน่อย

เดี๋ยวมาต่อตอนเย็นกับการไปเธคลาวครั้งแรก ไปดูการเต้นบัดสลบ





้้่่กากากากาก
่่่เเ้่่า้่าาาาสสกดกกกา
่่่่



Create Date : 28 สิงหาคม 2557
Last Update : 28 สิงหาคม 2557 16:32:27 น.
Counter : 1881 Pageviews.

1 comments
  
ว้าวววว กำลังว่างแผนไปหลวงพระบางเลยคะ น่าเที่ยวมากเลย
โดย: pichsiny วันที่: 12 พฤศจิกายน 2557 เวลา:5:46:54 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

life for eat and travel
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
25
27
30
31
 
 
All Blog