Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
22 ธันวาคม 2559
 
All Blogs
 

อบรมยูโด Olympic solidarity with kodokan sensei (first day)

ช่วงเช้า
วอร์มอัพ
-ท่ากระโดดกบ เน้นการย่อเข่า กับแกนลำตัว
-ถัดมาเป็นท่ากระโดดกบหมุนตัว (ญี่ปุ่นเรียกว่านินจา)
-เดินเข้าท่าลมในท่าโอโซโตการิ ยังเน้นการย่อขานิดๆ กับแกนตัว
-เดินเข้าท่าโคอุจิ โออุจิ เน้นแกนกลางกับขาไม่ออกแรง

เซโอนาเกะ (นัมโบเซนเซ)
①พื้นฐาน
- เข้าท่ายังเน้นเรื่องของการย่อเข่า
- หลังเป็นเส้นตรงแต่เอียงมาด้านหน้าเล็กน้อย ถ้าตรงดิ่งจะโดนดึงลงหลัง
- มือที่จับคอเสื้อให้ม้วนเข้าไป

②ขวาเจอกับขวา
- ขาขวาวางนำไว้
- ใช้ข้อศอกฝั่งที่จับคอเสื้อ (ทรึริเทะ) ตีศอกเข้ามาบริเวณหน้าท้องตนเองก่อน เป็นการดึงให้เสียหลัก
- จากนั้นบิดสะโพกเข้าท่า
- ทำให้ชำนาญก่อน เน้นเรื่องย่อเข่ากับตีศอก อย่าเพิ่งไปเร่งความเร็ว

③ขวาเจอกับซ้าย
- สะบัดศอกเปิดแขน
- บิดไหล่ให้แรงเบี่ยงออกไป ถ้าแขนของหุ่นยังวางดันอยู่ที่ไหล่ท่าจะเข้าลำบาก


โออุจิการิ (ซาเมชิม่าเซนเซ)
ทางยุโรป โออุจิการิมีสองแบบ (โออุจิบารัย กับ โออุจิการิ) โคอุจิการิก็มีสองแบบ (โคอุจิบารัย กับ โคอุจิการิ) ทั้งสองท่าแตกต่างกัน แต่ที่โคโดกังเรียกว่าเป็นท่าเดียวกัน วันนี้ซาเมชิม่าเซนเซจะสอนแบบโออุจิบารัย

- เข้าท่าหน้าตรง
- มือข้างที่จับแขนเสื้อ ดันลง มือข้างที่จับคอเสื้อดึงขึ้น
- หน้าจะอยู่ที่บริเวณไหล่ของหุ่น ลำตัวตรงไม่งอหรือแบะออก
- สืบขาที่สองเข้าไป หน้าอกชนติดกัน คล้ายๆกับกอดหุ่นเอาไว้
- บิดลำตัวเล็กน้อย เป็นการสร้างองศา ก่อนที่จะปัดโดยปัดแบบให้ขาหุ่นกว้างออก
- เข้าท่าทุกครั้ง ต้องเข้าไปจนถึงการปัด อย่าเข้าแค่ครึ่งเดียว

ช่วงบ่าย
เรียนเพิ่มเติมอีกหลายท่า แต่ก่อนที่จะไปในส่วนของเทคนิคท่า วอร์มอัพกันก่อน ยังเน้นอยู่ที่เรื่องของต้นขาและการงอเข่า

ไทโอโตชิ
มีอยู่ทั้งหมดหกแบบ (เรียงจากศูนย์ไปถึงห้า) องค์ประกอบของไทโอโตชิ ประกอบด้วยสามส่วนคือ ไทม์มิ่ง(จังหวะของท่า), คาตาจิ (รูปร่างของท่า), ความเร็วและความแรงที่สัมพันธ์กัน

ถ้าไทม์มิ่งกับคาตาจิ ผิดเพี้ยนไปโอกาสที่จะบาดเจ็บมีสูงแต่ขึ้นอยู่ว่าจะไปลงที่โทริหรืออุเกะ

①แบบศูนย์
เรียกว่าแบบศูนย์เพราะเป็นพื้นฐานการเข้าท่าปกติ พื้นฐานตัวนี้สำคัญสุด ถ้าทำไม่ได้รูปแบบอื่นก็จะทำไม่ได้
- ขามีสามสเต็ป ขาแรกวาง ขาสองวน ขาสามเสียบ
- ขาแรกวาง วางเฉยๆ ยังไม่ทำคุสุชิ
- มือทั้งสองข้าง เปิดออก มือที่สำคัญของไทโอโตชิคือมือทรึริเทะ (ข้างที่จับคอเสื้อ)
- บริเวณข้อมือไปถึงข้อศอกของทรึริเทะต้องติดกับตัวบริเวณหน้าอกของหุ่น (วิธีการติดไม่ตายตัว อยู่ที่ความถนัดและสรีระ)
- ขาสองวน คุสุชิเกิดตรงตอนวน (ใช้ไทซาบากิมาเป็นตัวสร้างคุสุชิ)
- ช่วงขาสองวน คุสุชิดึงมาด้านหน้าพร้อมกับการดันขึ้น แต่พอขาสามเสียบออกไป ทิศทางของคาเคะจะดึงลง
- ขาสามเสียบให้ข้อพับหลังเข่าดันบริเวณแข้งหรือเข่าของหุ่น ทิศทางแขนดึงลงแต่หลังเข่าข้อพับจะดันขึ้นเป็นสปริง
- น้ำหนักขา (ถ้าจับขวา) ขาขวาขาข้างที่เสียบออกไป 40% ขาซ้ายข้างที่ยืนเป็นฐาน60%
- ความกว้างของขาที่วางและเสียบออกไปอยู่ที่ประมาณ90เซนหรือหนี่งเบาะทาตามิ นิ้วขาทั้งสองข้าง ชี้ตรงขนานไปด้านหน้า (ถ้าขายืนนิ้วไม่ชี้ไปด้านหน้า แต่เอียงออกข้าง มันจะเสียหลักง่าย)
- ขาข้างที่เสียบ ย่อลงตามแนวข้อพับเข่า ถ้าไม่ย่อขัดกันเข่าจะพัง

②แบบหนึ่ง ใช้จังหวะที่ดันหุ่นถอยหลังลงไป
- ช่วงที่หุ่นถอย จะมีจังหวะดีเลย์ รอรีแอ็คกลับมาแล้วค่อยปล่อยท่าแบบสามขา

③แบบสอง ใช้จังหวะที่ดึงหุ่นเดินหน้า
- เดินสืบเท้า แบบถอยขาฝั่งเดียวกัน
- จับขวา ช่วงที่หุ่นเดินขาขวามาหน้า โทริหมุนขาซ้ายเข้าไทโอ จะเป็นการขยับขาแค่สองสเต็ปคือก้าวที่สองกับก้าวที่สาม
- ไม่มีก้าวหนึ่ง เพราะก้าวแรกนำอยู่แล้ว
- สำหรับไทโอโตชิ ก้าวสองที่ขาหมุนวนหลัง ของซาเมชิม่าเซนเซ มีคุสุชิเสมอ

④แบบสามมีสองชนิด
ชนิดเอ
- ดึงหุ่นให้ขยับหมุนออกด้านข้างทางฝั่งฮิกิเทะ (ฝั่งที่จับแขนเสื้อหุ่น)
- สเต็ปขาที่เข้าเป็นสามสเต็ป (เหมือนแบบศูนย์)

ชนิดบี
- ดึงหุ่นให้ขยับหมุนออกด้านข้างทางฝั่งทรึริเทะ (ฝั่งที่จับคอเสื้อหุ่น)
- ช่วงทีดึงมา แขนทรึริเทะเข้าประชิดติดตัวหุ่น จังหวะเดียวกันใช้ขาสามสเต็ป

⑤แบบที่สี่ - อุเกะหลบไทโอทีแรกออกไป
- ใข้ไทโอรูปแบบไหนก็ตาม พอหุ่นก้าวขาหลบออกมาได้ ก็ใส่ไทโออีกที
- วิธีการใส่ไทโออีกครั้ง ใช้ขาสองสเต็ป ก้าวที่สองกับก้าวที่สาม (อย่าลืมว่าก้าวสองที่สืบเท้าวนของซาเมชิมาาเซนเซ มีคุสุชิเสมอ)

⑥แบบที่ห้า
- ใช้กับที่จับซ้ายเจอขวาหรือจับขวาเจอซ้าย
- สะบัดขาหลอกด้วยโออุจิการิไปก่อน
- ช่วงที่ขาอุเกะโดนโออุจิขยับหลบ น้ำหนักจะไปอยู่ที่ขาอีกข้าง พอดีกับจังหวะไทโอโตชิ
- การเข้าในรูปแบบนี้ ใช้ก้าวที่สองหมุนวนกับก้าวสามเสียบออกไป

อีกแบบนึงที่เจอตอนใช้ไทโอ คืออุเกะทรุดตัวแทงเข่าออกมาทำลายจังหวะ ตรงนี้อยู่ที่การฝึกข้อพับหลังเข่าให้แข็งแรง และอยู่ที่การฝึกพื้นฐานในท่าสค็วช ถ้าเข่าและต้นขาแข็งแรงโดนกดดันก็ใช้สปริงข้อพับในการเด้งดีดหุ่นให้ลอย ในขณะที่มือดึงลง (โอโตชิ แปลว่า ดึงลง, ไทแปลว่าร่างกาย)


อุจิมาตะ (นัมโบเซนเซ)
- เน้นเรื่องการดึงคุสุชิเต็มๆ ช่วงที่ดึงหน้าหันตามทิศทางที่จะทุ่ม ลำตัวของหุ่นจะถูกลากมาติดกับคนทุ่ม
- ขาสองวางอยู่กึ่งกลางขาของหุ่น ยัดลึกเข้าไป งอเข่าด้วย และนิ้วของขาสองหันไปด้านหน้า
- ใช้สะโพกยัดเข้าไป ตรงจุดนี้ทุ่มได้ไม่ได้คนทุ่มจะรับรู้ได้
- การหมุนตัวใช้การหมุนของสะโพกไม่ใช่ขา

อุจิมาตะสเต็ปเดียว
- เป็นการใช้ตอนที่เจอขวากับซ้าย หรือว่าซ้ายกับขวา
- ขาแรกที่วางออกไปคือขาที่วางเป็นฐาน
- ใช้แรงในการหมุนตัวเหวี่ยงขึ้นในการทุ่ม
- พื้นฐานทั้งหมดมาจากรูปแบบปกติ ทำให้ชำนาญก่อนถึงค่อยมาลดสเต็ป

ฮาไรโกชิ (นัมโบเซนเซ)
- ฮาไรของนัมโบเซนเซ เป็นการเข้ารูปแบบเดียวกับอุจิมาตะ
- อุจิมาตะเข้าแบบไหน ฮาไรเข้าแบบเดียวกัน ต่างกันตรงที่ขาปัด
- ฮาไรใช้ได้ดีกับคนตัวใหญ่ใช้กับคนตัวเล็ก เพราะขาคนตัวใหญ่จะใหญ่และแข็งแรง
- อุจิมาตะเข้าด้านใน ฮาไรปัดขาด้านนอก
- ตำแหน่งที่ปัดคือบริเวณหัวเข่ากับใต้หัวเข่า ทิศทางการปัดคือเฉียงหลัง45องศา

อาชิกุรุม่า กับ โคชิกุรุม่า (นัมโบเซนเซ)
- อาชิกุรุม่า เป็นท่าถนัดของนัมโบเซนเซ
- เหตุผลที่ถนัดเพราะว่าง่าย (เซนเซบอกมาแบบนี้)
- วิธีเข้าจะเข้าสลับขาหลอก เช่นจับขวาจะเอาขาซ้ายเข้าไปก่อนแล้ววนกลับมาใช้ขวาแปะไปที่หัวเข่า
- แต่แปะขวางทางเอาไว้ ไม่ใช้การปัด แล้วอาศัยคุสุชิ ถ้าปัดจะเป็นฮาไรโกชิ ไม่ใช่อาชิกุรุม่า
- ท่าที่ลงท้ายด้วยกุรุม่าจะเป็นแนวเดียวกันคือแปะเอาไว้ เดี๋ยวหุ่นเสียหลักล้มเองถ้าคุสุชิเพียงพอ

- โคชิกุรุม่า เซนเซเอามาแสดงให้ดูเพื่อเห็นความแตกต่างระหว่างอาชิกุรุม่ากับโคชิกุรุม่า
- วิธีการเข้าแบบเดียวกันกับอาชิกุรุม่า คือเข้าสลับขาหลอก
- แตกต่างกันคือถ้าปลายขาไปแปะหัวเข่าเป็นอาชิ ถ้าใช้โคชิ(สะโพก)ไปขวางเป็นโคชิกุรุม่า

ซ้อมจบจากที่อบรม ทานข้าวแล้วไปรันโดริเบาๆทั้งท่ายืนและท่านอนที่มหาลัยรามคำแหง ตะคริวหลายจุดเกิดสลับกันทั้งที่วันนี้ก็ไม่ได้ซ้อมอะไรหนัก




 

Create Date : 22 ธันวาคม 2559
0 comments
Last Update : 22 ธันวาคม 2559 22:49:53 น.
Counter : 1088 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.