Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2561
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
9 สิงหาคม 2561
 
All Blogs
 
แนวการซ้อมยูโดแบบญี่ปุ่น



เคยไปซ้อมมาหลายๆเบาะ (ก็ไปทั่วๆอยากไปซ้อมที่ไหน ถ้ามีโอกาสไปได้ก็ไป) ได้ยินข้อสงสัยหลายๆคนทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่มักจะถามกัน
“ที่ญี่ปุ่นเค้าซ้อมกันยังไง?”“ซ้อมแบบนี้ต่างกับที่ญี่ปุ่นซ้อมรึเปล่า”
แรกสุดเลย แต่ละสถานที่ แต่ละวัฒนธรรม มันแตกต่างกัน บางที่กราบพระก่อนซ้อม, บางที่ต้องมีคนนำพูดแล้วจบด้วยอาเมน (เหมือนการล้อมวงกินข้าวของศาสนาคริสต์), บางที่เคารพแบบยืน, บางที่แม้แต่โชเม็งก็ยังไม่มี บางที่นำเอาภาษาญี่ปุ่นมาปรับใส่ในการซ้อม แต่ว่าในแต่ละที่ก็ถือว่ามีจุดเด่นเป็นของตนเอง ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนอะไรที่เป็นของตนเองทั้งนั้น สรุปเอาเป็นว่า วันนี้จะขอมาอธิบายคร่าวๆกับแนวการฝึกซ้อมยูโดของญี่ปุ่นในระดับพื้นฐานละกัน
เกริ่นนำกันก่อนว่า ยูโดถูกคิดค้นโดยคนญี่ปุ่น ในยุคสิ้นสุดของซามูไรและการห้ามพกดาบคาตานะ ยูยิตสูถูกเปลี่ยนถ่ายมาเป็นยูโดเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แล้วคนที่คิดค้นยูโดมีจุดเด่นเรื่องปรัชญา การสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันและการวางรากฐานโครงสร้างด้านการศึกษา
จะเข้าใจแนวการฝึกซ้อมยูโดของญี่ปุ่น ต้องเริ่มกันที่ เข้าใจในเป้าหมายของยูโดก่อน เป้าหมายของยูโดไม่ใช่เรื่องความเป็นเลิศได้เหรียญทองโอลิมปิค
the purpose of Judo is to strengthen body by practicing attack and defense, to complete the personality by training the mind, and finally to devote oneself to society.
เอาง่ายๆเป้าหมายของยูโดคือการอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ใช่การเป็นหนึ่งในใต้หล้า รากฐานตรงนี้ถูกปลูกฝังไว้ในการฝึกซ้อมตั้งแต่วันแรกที่ซ้อมยูโด
การซ้อมยูโดตามหลักสูตรของโคโดกัง ซ้อมกันในสามส่วนหลักๆ①ร่างกาย②เทคนิค③จิตใจแล้วโคโดกังคืออะไร
แรกๆตอนเริ่มซ้อมยูโด ผมก็ไม่รู้ว่าโคโดกังคืออะไร แล้วมันเกี่ยวข้องอะไรกับยูโด ถัดมาผมก็รู้แค่ว่าโคโดกังคือสำนักๆนึงที่สอนยูโด โดยไม่รู้ความหมายของโคโดกังคืออะไร
講道館 โคโดกังแปลออกมาแล้วคือ สำนักที่สอนเส้นทางในการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ ไม่มีตัวไหนที่แปลว่าสอนยูโดเลยเพราะว่าแนวทางยูโดของปรมาจารย์คาโน่จิโกโร่ ได้วางไว้มันคือการเรียนรู้แนวทางในการดำเนินชีวิต ดังนั้นชื่อความหมายตรงตัวของโคโดกังคือ สำนักที่สอนเส้นทางเรียนรู้สำหรับการดำเนินชีวิต
กลับมาลงรายละเอียดทีละตัวในการซ้อมยูโด
①ร่างกายร่างกายมันก็คือร่างกาย ศิลปะการต่อสู้ทุกชนิดมันต้องมีร่างกายรองรับที่แข็งแรงสมบูรณ์ ฟิตเนส เล่นเวท วิ่ง ว่ายน้ำ การขยับตัว ทุกสิ่งอย่างที่เราคนไทยหรือทุกๆประเทศเน้นกันหนัก เรื่องของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่น ไปเล่นเวท เพื่อให้ได้ร่างกายที่พร้อมสำหรับยูโด
②เทคนิคเทคนิค เป็นเรื่องของตัวท่าทุ่มละ การรวมแรง การอ่านแรง การเล่น การหาประโยชน์จากแรงของเรา และของคู่ซ้อม การขยับตัวให้ลงกับจังหวะของท่าทุ่มที่เราจะใช้ ตรงนี้มันต้องฝึกฝนหนักแบะเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไป เริ่มจากคนเดียว สองคน ไปจนถึงการซ้อมแบบเคลื่อนไหว
③จิตใจจิตใจที่ตั้งใจ ไม่ยอมแพ้ ความใส่ใจทั้งในการซ้อมของตัวเรา ความใส่ใจในตัวคู่ซ้อม ใจเขาใจเรา รวมถึงเรื่องของสมาธิ
สามตัวนี้ต้องบาลานซ์ให้ลงตัว เน้นแค่ตัวเดียวหรือสองตัวมันไม่พอ ทีนี้พอจะเห็นภาพลางๆรึยังว่าต้องแบ่งเมนูการซ้อมยังไงให้ลงตัว กายภาพอย่างเดียวมันไม่พอ นักยูโดไม่ใช่นักกล้าม555 มีแต่เทคนิคแต่ขาดซึ่งร่างกายและพลังมันก็ไม่สมบูรณ์ ที่สำคัญจิตใจสามัญสำนึกถ้าไม่ดีมันก็ไม่ใช่ เอาเป็นว่าทุกคนรู้ตัวกันดีว่าควรจะแบ่งกันยังไงให้ลงตัว ถ้าเข้าใจจุดนี้ก็เริ่มที่จะเข้าใจหลักพื้นฐานในการซ้อมยูโดแบบญี่ปุ่นได้ส่วนนึงละ
มาพูดถึงวิธีการซ้อมยูโดบ้าง หลักการซ้อมยูโดของโคโดกังมีสี่รูปแบบในการฝึกซ้อม
①รันโดริยูโดที่เปลี่ยนถ่ายมาจากยูยิตสู อะไรที่ดีก็เอามาใช้ อะไรที่ปรับให้เข้ากับยุคสมัยก็ปรับมา แล้วสิ่งที่ดีและปรับมาใช้กับยูโดได้อย่างนึงคือ การรันโดริ
ยูยิตสูโบราณเริ่มต้นด้วยศาสตร์แห่งการทำลายล้าง จิ้มตา หักแขน เตะไข่ ซ้อมกันทีมีเจ็บมีจุก พอปรับเปลี่ยนมาเป็นยูโด การซ้อมรันโดริไม่ได้ฮาร์ทคอร์ตถึงแบบนั้น เราสามารถเข้าคู่ซ้อมกันได้ โดยซ้อมเสร็จ ไม่เจ็บไม่ไข้ ยังครบสามสิบสองส่วนดีอยู่
จริงอยู่ที่การซ้อมยูโดเป็นรูปแบบหนึ่งในสี่ของการซ้อม แต่จะมาถึงการรันโดริ มันก็ต้องเตรียมตัวอย่างอื่นมาก่อน ไม่เป็นอะไรเลยมารันโดริมันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร จะมารันโดริได้ สามตัวหลักๆเบื้องต้นที่อยู่ด้านบน ควรจะมีมาก่อน (ร่างกาย เทคนิค และ จิตใจ)
②คาตะโดยส่วนตัว รู้สึกว่านักยูโดหลายๆที่ มักไม่ให้ความสำคัญกับคาตะ ทั้งๆที่คาตะมันอยู่คู่กับยูโดมาตั้งแต่ตอนเริ่มต้นก่อสร้างยูโดขึ้นมาตั้งแต่แรก ปัจจุบันคาตะส่วนใหญ่ที่เน้นกัน กลายเป็นเรื่องของการแข่งขัน นาเกะโนะคาตะ จูโนะคาตะ โคชินจิตสึโนะคาตะ คาตาเมะโนะคาตะ และคาตะอีกหลายตัว เป็นเรื่องของการแข่งขัน กลายเป็นเรื่องของการตัดแต้ม กลายเป็นเรื่องของไอเจเอฟไปแล้ว ทั้งๆที่ในคาตะมีบทเรียน มีเทคนิคท่าที่แฝงอยู่ในนั้นให้เรียนรู้มากมาย แต่เราไปเน้นกันในเรื่องของการตัดแต้มแทนที่จะศึกษาไปถึงแก่นในการเรียนรู้ว่าเซนเซในอดีต ร้อยกว่าปีที่แล้วต้องการจะสื่ออะไร
การขึ้นดั้งของโคโดกัง ตามขั้นตอนต้องสอบคาตะด้วย ในทุกๆดั้ง ในอีกรูปแบบนึงการเลื่อนดั้งของโคโดกัง ทำได้สองแบบ เก่งรันโดริแข่งชนะก็ทำแต้มเลื่อนดั้งจากการแข่งขันได้ เน้นด้านเทคนิคก็สามารถเลื่อนดั้งจากคาตะได้เช่นกัน
③การเรียนการสอนยูโดไม่ใช่จะเก่งได้เอง หรือรู้แจ้งได้ด้วยตัวเอง ทุกอย่างมันต้องมีการเรียนการสอน บทเรียนแรกสุดถึงต้องเรียนรู้เรื่องการทำความเคารพก่อน จะได้ไปเคารพ อาจารย์ หรือรุ่นพี่ เพื่อให้เค้าเหล่านั้นถ่ายทอดความรู้มาให้ บางทีเรียนรู้ด้วยตัวเองต้องใช้เวลาเป็นปีถึงจะเข้าใจในจุดที่อาจารย์ถ่ายทอดมาโดยใช้เวลาเพียงแค่สิบนาที หนึ่งปีกับสิบนาทีเลือกเอาเองละกัน
อาจารย์ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเอง ก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากคนรุ่นก่อนๆเช่นกัน แล้วผ่านการฝึกซ้อมลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อหาที่เข้าใจง่ายในการส่งต่อให้กับรุ่นหลังถัดๆไป ยูโดถึงเป็นศิลปะที่ตำเป็นจะต้องมีครูมีอาจารย์
④การถามตอบการเรียนการสอนเป็นแบบ ทูเวย์คอมมูนิเคชั่น ตรงนี้เป็นการพัฒนาไปร่วมกันทั้งนั้นเรียนและอาจารย์ ตรงไหนไม่เข้าใจก็ต้องถามได้ ตรงไหนที่ถามมาก็ต้องไปหาคำตอบ อาจารย์บางท่านอาจจะไม่แตกฉานตอบได้ทันที ตรงจุดนี้ก็เป็นการเรียนรู้ไปหาคำตอบมาอีกทีจากผู้รู้ ตรงนั้นมันถึงจะมีการพัฒนาทั้งระบบทั้งคนเรียนและคนสอน
สี่อย่างนี้แหละที่เป็นแบบในการฝึกซ้อมยูโดของโคโดกัง
เมื่อเข้าใจหลักคร่าวๆของยูโดที่ต้องพัฒนาทั้งสามส่วนร่างกาย เทคนิค จิตใจ โดยผ่านหลักการฝึกซ้อมสี่ตัว รันโดริ คาตะ การเรียนการสอน และการถามตอบแล้ว ที่นี่ก็มาเข้าใจหลักอีกตัวนึงที่ซ้อมยังไงให้ปลอดภัย
หลักในการซ้อมของญี่ปุ่นอีกตัวที่ถูกนำมาใช้ในทุกที่การซ้อม มีสามตัว ใครที่บอกอยากซ้อมสไตล์ เอาสามตัวนี้ไปปรับใช้ มันก็เริ่มจะเป็นญี่ปุ่นละ (ท่าจะยาก)
① “ซันชิน” ทุ่มแล้วยืนเซฟหุ่นได้เน้นปลอดภัย รักษาคู่ซ้อม ทุ่มแล้วยืนทรงตัวอยู่ได้ไม่ล้มทับหุ่น แถมยังยืนเซฟหุ่นได้
② “อิซากิโยซะ” เมื่อโดนทุ่มแล้วตบเบาะทุ่มแล้วก็ตบเบาะ กล้าที่จะยอมรับว่าพลาดไป กล้าที่จะเรียนรู้จากการถูกทุ่ม เราฝึกซ้อมเพื่อให้ได้มาในตัวท่าทุ่ม ไม่ใช่ซ้อมเพื่อที่จะกันหรือสวนกลับจากจังหวะตรงนั้น หลายๆครั้งพอโดนทุ่มแล้วมักจะมีอาการตามน้ำ หรือพลิกหลบโดยไม่จำเป็น จำไว้ว่ามันเป็นแค่การฝึกซ้อมไม่ใช่แข่งขัน จะไปพลิกหลบหรือสวนแบบมั่วๆทำไม
ถ้าอ้างว่าต้องฝึกพลิกไว้ หรือฝึกสวนจากจังหวะตรงนั้นเอาไว้ ไม่งั้นตอนใช้จริงเดี๋ยวใช้ไม่ออก แล้วทำไมไม่บอกคู่ซ้อมว่าจะซ้อมพลิก จะได้ให้คู่ซ้อมทุ่มอย่างเดียวสิบที แล้วก็พลิกซะสิบที ในเมื่ออยากซ้อมตรงนี้ก็ไม่ต้องไปรันโดริแล้วพลิก
③ “อิโนจิสึนะ” รักษาบาลานซ์ซึ่งกันและกันสองคนช่วยกันรักษาบาลานซ์ รักษาระยะ รักษาแรงที่ปล่อยออกไป การซ้อมควรเริ่มจากการจับแบบปกติ ไม่ต้องไปปลดมือ หรือทำแบบจะไปแข่ง ซ้อมกันในภาวะปกติให้อยู่ตัวก่อน ให้ตัวท่าทุ่มออกมาก่อน อย่าเพิ่งไปเร่งไปมั่วเน้นทุ่มกันจนทั้งสองฝั่งไม่ได้ประโยชน์จากการซ้อม
เพราะมันเป็นแค่การซ้อม เป็นการศึกษาร่วมกันให้ได้มาซึ่งการพัฒนาซึ่งกันและกัน ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ แรงที่ใช้ออกมาเต็มที่แค่เจ็ดสิบเปอร์เซนต์ก็พอแล้ว มากกว่านี้คุมกันลำบากละ แต่ในความเป็นจริงที่เห็นกัน เรื่องแรงอย่าให้พูด ซ้อมกันเหมือนแข่งเวิล์ดยูโดรอบชิงกันทั้งนั้น 555 ทิ้งท้ายไว้เท่านี้แหละว่าอยากจะซ้อมสไตล์ญี่ปุ่น ต้องไปเริ่มต้นที่พื้นฐานแล้วพื้นฐานที่ว่านี้มันก็ประมาณนี้ พอรู้แล้วยังอยากซ้อมสไตล์ญี่ปุ่นกันอีกรึเปล่า



Create Date : 09 สิงหาคม 2561
Last Update : 9 สิงหาคม 2561 14:04:15 น. 1 comments
Counter : 1587 Pageviews.

 
แวะมาทักทายจ้าาา sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite ร้อยไหม IPL Medisyst adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ Cover Paint สักไรผม 3D Eyebrow Haijai.com สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรเพื่อสุขภาพ น้ำมันมะพร้าว ขิง ประโยชน์ของขิง ผู้หญิง สุขภาพผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการ ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อคนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4713825 วันที่: 9 สิงหาคม 2561 เวลา:18:08:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.