Group Blog
 
 
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
ซ้อมยูโดเองที่บ้าน

สมัยก่อนตอนเรียนหนังสือ หรือตอนนี้คนที่เรียนอยู่ไม่ว่าจะประถม มัธยม มหาลัย ปริญญา อะไรก็ตาม ......

การเรียนเฉพาะแค่ในห้องเรียน คาบสองคาบต่ออาทิตย์ หรือจะเรียนทุกวันวันละชั่วโมงในห้องเรียน ไม่สามารถทำให้นักเรียนเก่งขึ้นมาได้ สิ่งที่ทำให้นักเรียนเก่ง คิดเป็น สามารถแก้โจทย์ที่ซับซ้อนและใช้การประยุกต์ได้ เกิดจาก การบ้านและการทบทวน การทบทวนก็มีทั้งทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว กับการเตรียมตัวศึกษาหรืออ่านไปก่อนในสิ่งที่ครูอาจารย์จะสอนในครั้งต่อๆไป

.
.
.
.
.
.
.

ยูโด ก็เหมือนกัน การที่เราฝึกซ้อมเฉพาะแค่ตอนเราอยู่ที่เบาะ การวอร์มอัพ การยืดเส้น การวิ่ง การทำท่าต่างๆไม่ว่าจะกุ้ง แมงมุม ปู เอาตูดเดิน เอาหน้าไถ ม้วนตัว วิดพื้น ตีลังกา เก็บของ หกสูง กอลิล่า นินจา กบ ตบเบาะ จิงโจ้ การเข้าท่า รวมถึงการรันโดริ ... มันไม่เพียงพอที่จะทำให้เราเก่งขี้นได้ เปรียบได้กับการเรียนหนังสือกับครูในห้องเรียนที่มันไม่สามารถทำให้เราพัฒนาข้ามขอบเขตออกไปได้ ตัวแปรสำคัญ(มาก) คือ การบ้าน การทบทวน


พูดถึงเรื่องการเข้าท่าคนเดียว เพราะการซ้อมยูโดมันมีสเต็ปและขั้นตอนขึ้นไปจาก1ไปถึงเท่าไหร่ไม่รู้ รู้แค่ว่าถ้าเราขึ้นไปถึง5แล้วมันตันไปต่อไม่ได้ ให้เราลองถอยกลับลงมาทบทวนที่4ให้แม่นยำก่อนจะขึ้นต่อไป5678 และการเข้าท่าคนเดียวถือเป็นขั้นตอนเริ่มต้นก่อนการเข้าท่าสองคน คนเดียวขยับง่ายกว่า แล้วเราจะไปเสียเวลาตอนซ้อมบนเบาะทำไม ในเมื่อเราต้องจับจังหวะเข้าท่าคนเดียวให้แม่นก่อนไปเข้าท่าสองคน... เน้นเลยนะ คนเดียวคนอื่นไม่เกี่ยว เวรกรรม...จะหาเพื่อนมาซ้อมแทนก็ไม่ได้ด้วย ดังนั้นจึงต้องเอากลับมาทำเป็นการบ้านซะ


การทบทวนท่าที่ได้เรียนมา ไม่มีใครซ้อมวันนี้ เรียนวันนี้ เข้าท่า100ที แล้วจะได้ท่านั้นมาครอบครอง กว่าท่านั้นจะได้มาเป็นของเรา ผมว่าอย่างน้อยต้องเคยเข้าท่าไม่ต่ำกว่า10000 และต้องใช้เวลาเป็นปี (พวกอัจฉริยะ 100ที ทำได้แล้ว ปล่อยเค้าไปเถอะ เค้าจะรีบไปเอาเหรียญโอลิมปิค) การทบทวนท่า ถ้าจะทำให้ชินมือชินขา ก็ต้องกลับไปเริ่มต้นที่พื้นฐานแรกๆ นั้นก็ไม่พ้นการเข้าท่าคนเดียวอีกนั้นแหละ


พวกที่ไม่มีเวลาไปเบาะยูโด อย่าบอกนะว่าแม้แต่ตอนอยู่บ้านก็ไม่มีเวลา (ไม่มีเวลาไปซ้อมบนรถเมล์ละกัน) และโดยรวมแล้วคนที่ชอบบอกว่าไม่มีเวลาซ้อม มักจะมีฝีมืออยู่ในระดับเริ่มต้น ซึ่งผมคิดว่าเหมาะสมในการซ้อมที่บ้านมากกว่า การไปถ่วงเวลาของคู่ซ้อมคนอื่นๆที่เบาะซะอีก


ที่บอกว่าซ้อมที่บ้าน ไม่ใช่ว่าให้ซ้อมอยู่แต่ที่บ้าน อยู่ในรู ไม่โผล่มาดูพระจันทร์และดวงตะวัน แต่ว่าเราควรจะไปให้ผู้รู้หรืออาจารย์จัดท่าให้ถูกต้องซะก่อน (เปรียบได้กับการเรียนหนังสือกับคุณครูในห้องเรียน) พอท่าเราจัดถูกต้องแล้วค่อยมาฝึกให้ชำนาญ


เรื่องอาจารย์กับผู้รู้ก็สำคัญมาก เลือกหน่อยละกันครับ ถ้าท่าเราถูก ซ้อมจนชำนาญมันก็คือถูก ถ้าท่าเราจัดออกมาผิดๆเพี้ยนๆ ก็เหมือนกับการเดินไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับจุดหมาย ยิ่งเดินยิ่งไกล กลับกันเองครับ (อย่าลืมพาผู้รู้กลับมาพร้อมกันด้วยนะครับ)


ขั้นต่อๆไป เมื่อแม่นในการเข่าท่าคนเดียวแล้ว สมดุลย์ไม่เพี้ยน ร่างกายไม่เพี้ยน หงิกๆงอๆ ถึงตอนนั้นคู่ซ้อมค่อยเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างมากในการพัฒนาไปด้วยกัน




Create Date : 01 ตุลาคม 2558
Last Update : 1 ตุลาคม 2558 9:33:53 น. 0 comments
Counter : 1800 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.