Group Blog
 
<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
19 เมษายน 2559
 
All Blogs
 
ยูโด การซ้อมและมุมมอง (ตอน เริ่มต้นตีเข่า) ตอนที่3 "ฮิสะกุรุม่า"

ฮิสะกุรุม่า มีอะไรดี?

วันนี้มีโอกาสทบทวนท่าฮิสะกุรุม่าโดยบังเอิญ การซ้อมและทบทวนฮิสะกุรุม่า ได้ทำให้นึกย้อนไปถึงเรื่องราวต่างๆในสมัยที่เริ่มต้นรู้จักกับยูโด

A สิ่งที่เราเรียนรู้แรกสุดกับยูโดคืออะไร? ท่าเคารพเบาะ, ถัดมาก็เป็นเรื่องของการตบเบาะ, และหลังจากนั้นท่าแรกสุดที่เรียนกันเป็นเรื่องเป็นราวคือ "อิสะกุรุม่า" !!! อ้าวใช่มั้ยละ? หรือว่าไม่ใช่? แต่เป็นเซโอนาเกะ ฮาไรโกชิ หรือหนักข้อเข้าเป็นโอโซโตการิ ที่เอามาเรียนกันเป็นท่าแรก!! ยังไงก็ตามหลักสูตรใคร หลักสูตรมัน ส่วนหลักสูตรของผมที่โคโดกัง เริ่มต้นกับฮิสะกุรุม่าเป็นท่าแรก

B บางท่านเถียงว่า ต้องโอโกชิ? อย่าเถียงกู กูเรียนมา! 555ไม่ใช่ครับ ขออธิบายซักเล็กน้อย ถึงความยากไปของโอโกชิ
- โอโกชิต้องวางขาเคลื่อนไหว180องศาถือว่ายาก
- ในลักษณะเคลื่อนที่หมุนตัวครึ่งวงกลม โอโกชิยังยากไปในการทำความเข้าใจกับคุสุชิ
- คุสุชิคืออะไร??? - เอาสั้นๆวงจรทุ่มของยูโดประกอบด้วยสามส่วนคือ ①คุสุชิหรือการทำให้หุ่นเสียหลัก ②สกุริหรือการใส่ท่าเข้าไปโดยที่ตัวเราไม่เสียหลัก ③คาเคะหรือจังหวะทุ่มและบังคับทิศทางของหุ่น
- จังหวะสกุริกับคาเคะของท่าโอโกชิยังถือว่ายากไปสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นกับยูโด
- โอโกชิ180องศายากไปในการเริ่มต้นกับยูโด เราลดให้ครึ่งนึงเหลือ90องศานั้นคือเหตุผลที่ว่าทำไม "อิสะกุรุม่า" ถึงเข้าวินแซงโอโกชิเข้าไปเป็นท่าแรกในการฝึกซ้อม

C อิสะกุรุม่ามีดีอะไร?
- การขยับตัวออกข้างในลักษณะ90องศา ง่ายต่อการทรงตัวและขยับให้เคยชินโดยไม่เสียสมดุลย์ได้ง่ายกว่าการหมุนตัวครึ่งวงกลม

- คุสุชิไม่ยุ่งยากในการจัดวาง โดยเฉพาะมือทรึริเทะ (อธิบายแบบง่ายและย่อ มือมีสองข้าง ข้างนึงเรียกฮิกิเทะ คือมือข้างที่เราจับแขนเสื้อของหุ่น อีกข้างเรียกทรึริเทะหรือข้างที่เราจังบริเวณคอเสื้อของหุ่น)

- หลักทฤษฏีเบื้องต้น ความสัมพันธ์ของไทซาบากิกับเรื่องของคุสุชิ ถูกแสดงให้เห็นออกมาจากการเข้าท่าฮิสะกุรุม่า, ว่าแต่ไทซาบากิคืออะไรฟะ? (ไทซาบากิคือการขยับร่างกายพร้อมสร้างแรงธรรมชาติและเอาแรงตรงนั้นมาใช้ประโยชน์ แค่การขยับตัวนิดๆโดยผ่านการฝึกซ้อมมาซักระยะนึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการรุกและการรับ) การทำคุสุชิแบบเป็นธรรมชาติแค่อาศัยการขยับตัวเราสามารถเรียนรู้เบื้องต้นแบบเข้าใจง่ายๆจากฮิสะกุรุม่า โดยอธิบายได้ว่าคุสุชิไม่ต้องดึงโดยการอาศัยแรงจากพวกบ้าพลัง

- คุสุชิ, ทำให้หุ่นเสียหลักแล้ว ฮิสะกุรุม่ายังแสดงให้เราเห็น และเข้าใจได้ง่ายในจังหวะเข้าทำหรือที่เรียกว่าสกุริ รวมถึงการเคลื่อนไหวของศูนย์ถ่วงของหุ่นที่ถูกดึงคุสุชิมาทางด้านหน้า

- ห้วงเวลาของคุสุชิ อยากให้มองภาพช้าๆอย่างสโลโมชั่น มันทำได้ง่ายจากการเข้าท่าฮิสะกุรุม่า เพราะทุกสิ่งเราเห็นจากด้านหน้า (ไม่ต้องไปส่องกระจกมองจากการเข้าท่าพวกหมุนครึ่งวงกลม) จังหวะที่หุ่นถูกดึงให้เสียหลักมาทางด้านหน้า แน่นอนธรรมชาติของมนุษย์ พอรู้สึกไม่สมดุลย์ไม่ปลอดภัย ระบบในร่างกายจะจัดให้เอง ในเมื่อมันไม่สมดุลย์ (ผมจับขวา) ดึงหุ่นออกมา ขาขวาของหุ่นจะเคลื่อนที่ก้าวออกมา1ก้าวทางด้านหน้าเพื่อสร้างความสมดุลย์และจุดศูนย์ถ่วงแห่งใหม่ ขาขวาของหุ่นที่ก้าวลงพื้นโดยการดึงจากท่าฮิสะกุรุม่า อธิบายได้ว่าคุสุชิของเราได้หายไปแล้วเพราะหุ่นสร้างสมดุลย์จุดใหม่ได้แล้ว วงจรการทุ่มของท่าขาดช่วงไปแล้ว การดื้อใส่ท่าต่อไปโดยไม่มีคุสุชิ ทุ่มได้ก็เหนื่อยและหนัก รวมถึงไม่เป็นไปตามทฤษฏี "เซเรียวกุเซโย" หรือหลักการใช้แรงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด (พูดให้ดูหรูหน่อยก็คือ การใช้แรงไปงัดแรงไม่ใช่ยูโดในอุดมคติของผม)

- ทีนี้ เรามีเวลาแค่ไหนจากการเกิดและดับของคุสุชิ (เอาเบื้องต้นก่อน คิดในลักษณะว่าเราเพิ่งเริ่มเล่นยูโด...เราเพิ่งเริ่มเล่นยูโด) ถ้าเราดึงคุสุชิเร็วและแรง หุ่นมันก็จะถูกดึงเร็วขึ้น ธรรมชาติในการสร้างสมดุลย์ก็จะเร็วตามมา คุสุชิเกิดและดับอาจจะมีเวลาแค่.3วิ และในขณะที่เราออกแรงไปใช้กับการดึงให้เกิดคุสุชิ ร่างกายเราก็จะไม่เร็วพอที่จะต่อเนื่องไปที่สกุริ ถึงจะไปได้ทันแต่สกุริคงไม่สมบูรณ์ (ยังต้องนึกตามอยู่ว่าเราเพิ่งเริ่มเล่นยูโด) เพราะสกุริแปลว่า การเข้าท่าโดยที่เราจะต้องไม่เสียหลัก แรงเราใส่ลงไปเยอะ เจอกับคุสุชิเร่งๆ ยังไงก็เสียหลัก ตัวเรายังยืนลำบากเสียสมดุลย์ จังหวะคาเคะหรือควบคุมทิศทางการทุ่มคงไม่สมบูรณ์แน่ๆ (ใครที่คิดว่าทุ่มได้แล้วจบ ก็ตามใจ แต่ไม่ใช่แนวทางของผมครับ)

- ทีนี้เราดึงช้า ไม่ออกแรงเยอะ หุ่นตอบสนองช้า ก้าวออกมาสร้างสมดุลย์ใหม่ช้าลง เนื่องจากไม่ต้องเปลืองแรงไปกับคุสุชิ เราก็สามารถโฟกัสไปที่สกุริต่อได้ เวลาเยอะขึ้นแถมยังได้โบนัสเร่งความเร็วให้กับสกุริได้ คาเคะย่อมต้องดีกว่าแบบแรกที่แรงสะบัดมั่วไปหมด ตรงนี้แหละเราเรียนรู้ได้จากฮิสะกุรุม่า ท่าพื้นฐานแรกสุดของยูโด

- เรื่องห้วงเวลาเกิดและดับของคุสุชิ ถ้าเรียนรู้จังหวะจนชำนาญ มันก็ไปปรับใช้กับท่าอื่นได้มากมาย ท่าที่เห็นชัดเจนจากเรื่องจังหวะคุสุชิที่คล้ายคลึงกับฮิสะกุรุม่า ผมมองไปถึงท่าไทโอโตชิ

- ฮิสะกุรุม่ายังสอนเราในเรื่องของระยะอีกด้วย การคำนวณให้ฝ่าเท้าเราแปะเข่าของหุ่น มันบอกกันไม่ได้ คู่ซ้อมต่างกันระยะก็ต่างกัน แต่ฮิสะกุรุม่าจะบอกระยะเข้าทำของเราได้เอง ลึกไปเลยออก เราก็ถอยมา ตื้นไปเข้าไปถึงเราก็หาที่ลงขาใหม่ การเข้าฮิสะกุรุม่าจะค่อยๆปรับระยะให้กับตัวเราเองกับหุ่นได้เป็นอย่างดี

- ขาแรกที่ก้าวออกไปเพื่อเข้าท่าฮิสะกุรุม่า ยังช่วยสอนสมดุลย์เบื้องต้นของยูโดให้กับเรา เราก้าวไปเฉยๆ ไม่ย่อเข่า การหมุนแค่90องศาก็ทำให้เราทรงตัวลำบากแล้ว ทำบ่อยๆเราจะเรียนรู้ได้ว่า ก้าวแรกย่อเข่าลงไปซักเล็กน้อย ประมาณไหน? ผมใช้หลักที่ว่าย่อลงไปจน(ประมาณ) หัวเข่าปิดนิ้วโป้งจากแนวสายตาที่เรามองลง

- ช่วงที่เราต้องยกขาขึ้นเพื่อนำฝ่าเท้าไปแปะที่เข่าของหุ่น ช่วงนี้เราเรียนรู้ได้อีกว่า เราต้องเปิดเอาฝ่าเท้าไปแปะ ไม่ใช่เอานิ้วโป้งพุ่งไปเตะ ขอเรียกว่า"ฟรีคิก"ละกัน (ฟรีคิกจริงๆ เตะเอามันส์เตะกินเปล่า แต่หุ่นเจ็บจนน้ำตาไหล ไม่เป็นไรเดี๋ยวเอาคืนด้วยก้านคอ) การใช้ฝ่าเท้าสัมผัสจุดเข้าทำก็เป็นพื้นฐานของหลายๆท่าเช่น ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ เดอาชิบารัย โอคุริอาชิบารัย โคโซโตการิ โคอุจิการิ)

- ขาข้างที่ยกขึ้นไป แล้วเอาฝ่าเท้าแปะ เราเรียนรู้ว่าจะต้องไม่งอเข่าด้านนั้น ไม่ก้มมอง ไม่งอหลัง ไม่งอท้อง ไม่ตูดโด่งมันถึงจะมีแรงส่งออกไปด้านหน้า ตรงนี้ก็เป็นพื้นฐานการปัดของอีกหลายๆท่าเช่น เดอาชิบารัย โอคุริอาชิบารัย ฮาไรทรึริโกมิอาชิ ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ

- จังหวะคาเคะหรือคุมทิศทางส่งหุ่นลงพื้น ฮิสะกุรุม่าก็ง่ายกว่าท่าอื่น เพราะเป็นท่าที่เราเห็นซึ่งหน้า (ไม่ได้หมุนครึ่งวงกลม) มันทำให้เราเรียนรู้การใช้มือบังคับทิศทาง เหมือนการหมุนพวงมาลัยเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา

- หุ่นที่โดนฮิสะกุรุม่า ก็ยังง่ายที่จะเรียนรู้วิธิตบเบาะ จังหวะมันไหลตามเส้นทางของการม้วนตัวตบเบาะด้านหน้าปกติเลย ถัดมาคนทุ่มสามารถเรียนรู้ระยะการทุ่มลงพื้นได้ง่ายกว่าท่าอื่น และหุ่นคู่ซ้อมก็ยังไม่เจ็บมากจากการโดนทุ่มท่านี้ สามารถเอามาเรียนรู้ปรับระยะว่าเราจะเซฟหุ่นยังไง สูงไปลงหน่อย เตี้ยไปดึกอีกนิด เรียกว่าท่านี้ฝึกกันได้ทั้งโทริและอุเกะ จังหวะการทุ่มถ้ามันดูยากไปสำหรับอุเกะที่เพิ่งเริ่ม เราอาจจะเข้าท่าฮิสะกุรุม่าในการทุ่ม โดยให้หุ่นคุกเข่าแทนการยืน การคุกเข่านอกจากหุ่นไม่เสียวมากแล้วยังทำให้โทริเรียนรู้ห้วงเวลาและจังหวะของคุสุชิได้ง่ายขึ้น (เพราะการกระดึบเข้าออกมาเพื่อจบวงจรของคุสุชิมันทำได้ยากกว่าและใช้เวลามากกว่าการยืนแล้ววางขาออกมาตัดวงจรคุสุชิ)

D แล้วท่านอื่นๆ เริ่มต้นเรียนรู้กับยูโดด้วยท่าไหน แล้วเคยลองคิดไปถึงเหตุผลที่เริ่มกันในท่านั้นๆบ้างมั้ย เล่นไปคิดไป ซ้อมไปคิดตามถึงเหตุและผล เราอาจจะเจอพื้นฐานการฝึกซ้อมที่อยู่ในท่าเหล่านั้นก็ได้



Create Date : 19 เมษายน 2559
Last Update : 19 เมษายน 2559 23:53:06 น. 0 comments
Counter : 1259 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.