Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2560
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 สิงหาคม 2560
 
All Blogs
 
ยูโด เรียนรู้พื้นฐานยูโดกับการตบเบาะแปดท่า

ลองมาวิเคราะห์กันหน่อย กับการตบเบาะแปดท่า

- แรกสุดญี่ปุ่นไม่มีหลักสูตรแปดท่า ไปบอกคนญี่ปุ่นจะเบาะไหนก็ได้ "ยู ตบเบาะแปดท่าให้ดูหน่อย" หน้าจะงงๆว่า เชี้ยไรเนี่ย!!

- ผิดถนัด ใครว่าญี่ปุ่นไม่มี ในหนังสือ「เดอะแคนนอลออฟยูโด」ของมิฟูเนะเซนเซ มีบันทึกเรื่องการตบเบาะที่ใกล้เคียงกับการตบเบาะแปดท่า เพียงแต่ไม่ได้เรียงลำดับไว้ว่าเป็นท่าหนึ่งท่าสอง

- มามองการซ้อมของโคโดกังกันบ้าง ปกติวอร์ม ยืด เสร็จก็จะตบเบาะ มีตบท่าที่2, ท่าที่4, ท่าที่5, และท่าที่8 จากนั้นก็เป็นการเดินหน้า เดินถอยตบเบาะทั้งด้านหลัง และการตบเบาะด้านข้าง แบบเดินหน้าถอยหลัง แล้วก็ม้วนตัวตบเบาะ ม้วนตัวตบเบาะแล้วยืน.... มีจุดนึงที่น่าสนใจคือจะมีเซนเซท่านนึง (ตอนนั้นสอนวันจันทร์ ตอนนี้จะเปลี่ยนไปสอนวันอื่นรึเปล่าไม่แน่ใจ) เค้าจะให้ลองม้วนตัวตบเบาะแล้วยืน โดยมีเงื่อนไขว่าตบยังไงให้ยืนได้และเสียงตบเบาะให้เบาที่สุด เคยลองทำดู ทำไม่ได้แฮะ ถ้าใครทำได้ตอนสะดุดล้มเจอพื้นคอนกรีต หรือล้มมอเตอร์ไซค์จะปลอดภัย แถมไม่เจ็บมือด้วยเพราะม้วนกระจายแรงออกไปด้วยความเบา...เบามากด้วย

- กลับมาที่เรื่องตบเบาะแปดท่า จะใครคิดก็ตามสุดท้ายเมืองไทยเค้าก็ตบกันแบบนี้ ไปสอบสายเขียวก็ต้องตบกันแบบนี้ แต่ขอไม่ลงลึกในรายละเอียดว่าแต่ละท่า ขาต้องยังไง มือวางแบบไหน...ช่างมัน ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าทุกคนรู้จักการตบแปดท่า

- คนอื่นยังไงไม่รู้ โดยส่วนตัวคิดว่ามันจำเป็นมากและเป็นพื้นฐานการซ้อมในส่วนอื่นของยูโดด้วยนอกเหนือจากการเซฟตัวเอง ส่วนใครโดนบังคับหรือสมัครใจ อยู่ที่มุมมองของตนเอง ไม่สามารถไปซ้อมหรือตบเบาะแทนกันได้

- ท่าหนึ่งถึงสี่เป็นการทิ้งตัวลงหลัง แบบไล่จากง่ายไปหายาก ท่าหนึ่งง่ายสุด, พื้นฐานสุดๆ คร่าวๆเน้นกันที่มือวางไม่กว้างหรือไม่แคบจนเกินไป เอาซัก45องศากำลังดี ถัดมาเรื่องคอ แหงนขึ้นมามองสายทุกครั้งด้วย หัวจะได้ไม่ฟาดพื้น ส่วนขาวางตั้งเข่าไว้ สำหรับคนเพิ่งเริ่มอย่าไปยุ่งกับขา มันจะได้ไม่เยอะแยะ เอาแขนกับคอก่อน

- ท่าสองนั่งเหยียดขาแล้วทิ้งหลังลงพื้นพร้อมกับตบเบาะ ค่อยๆลง เพิ่มความยากขึ้นคือหลังแตะพื้นแขนกับฝ่ามือก็แตะพื้นด้วย ส่วนสำคัญของร่างกายแรกสุดหัว ตอนนี้เรางัดขึ้นหัวไม่ฟาดพื้นแล้ว ถัดมาก็หลัง ลงเต็มๆกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือกระดูกหลังรับภาระหนักมันก็เจ็บกันได้ เค้าถึงให้เอามือเอาแขนช่วยกระจายแรงออกไปทุกทิศทาง ถ้าหลังลงก่อนแขนหลังรับไปเต็มๆ, ถ้ามือลงก่อนหลังมือก็รับไปเต็มๆ รับเต็มๆคือเจ็บเต็มๆ ดังนั้นช่วยกันหารเท่า แชร์ๆกันไประหว่างหลังกับแขนและมือ กระจายแรงกันออกไปดีสุดละ

- ท่าสาม เริ่มกันที่ท่านั่งคู้ (นั่งขี้ก็ได้) ท่าสามอยากเน้นคำพูดที่ว่า "อะไรที่ไม่เป็นธรรมชาติ มันไม่ใช่ยูโด" การทิ้งตัวลงแบบกล้าๆกลัวๆ มันโดนแรงโน้มถ่วงดึงลง ลงเร็วก็เจ็บเร็ว ท่าสามขอค่อยๆหย่อนตัวลงจะดีกว่า จากท่าสามมันก็จะกลายเป็นท่าสองที่ละนิแถ้าค่อยๆหย่อนตัวลง ตบแล้วลงเร็วกระแทก ก็ควรกลับไปตบท่าสองใหม่ให้แม่นๆ แล้วกลับมาค่อยๆหย่อนตัวในท่าสาม อย่าลืมหลัง แขน ฝ่ามือ พยายามลงพร้อมกันเพื่อการกระจายแรง คอยังแหงนขึ้นตามองสายเหมือนเดิมด้วย

- ท่าสี่ไม่ต่างอะไรกับท่าสามไปสู่ท่าสอง ถึงจะเริ่มต้นด้วยการยืน แต่พอค่อยๆหย่อนตูดลงมามันก็คือท่าสาม จากนั้นก็ค่อยๆขยับต่อลงไปมันก็คือท่าสอง แล้วก็ตบลงไปเป็นธรรมชาติ แต่ท่าสามกับสี่มันมีความพิเศษตอนลงค่อยๆหย่อนแต่ตบเสร็จแล้วต้องกลับมาเตรียมพร้อมที่จะตบเบาะต่อในครั้วถัดไป ถ้าตบท่าสามอยู่ก็ต้องกลับมาอยู่ในท่านั่งขี้ตามเดิม ถ้าตบท่าสี่ก็ต้องกลับมาเตรียมพร้อมในท่ายืน ท่าสามมีการฝึกในการขยับของแรงฝึกท้องไปในตัว ส่วนท่าสี่มีการฝึกความคล่องตัว ความสัมพันธ์ระหว่าง แขน ลำตัว และขา จุดพวกนี้รวมๆกันทำไป ค่อยๆสะสมไปมันเป็นความคล่องตัว มันเป็นพื้นฐาน มันเป็นภาชนะที่ใช้รองรับทั้งในส่วนของท่ายืนและท่านอนของยูโด

- ท่าห้า อันนี้ไล่ยาวไปถึงการสอบยูโดสายดำดั้งสองกันเลยทีเดียว สายดำดั้งสองมีสอบนาเกะโนะคาตะ (ดั้งแรกก็มีแต่ดั้งแรกสอบแค่สามหมวด ท่ามือ ท่าสะโพก ท่าขา ไม่ได้ไปถึงหมวดทิ้งตัวกับหมวดทิ้งตัวด้านข้าง) ในหมวดทิ้งตัวสองหมวดสุดท้ายมันมีตัวเช็คเรื่องการม้วนตัวตบเบาะด้วย ใครมีความสามารถไปถึงสอบดั้งสองได้แต่ม้วนตัวยืนให้ถูกต้องไม่เป็น คงไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆให้ลึกซึ้ง (ถ้าไม่ได้จริงๆไปซ้อมเอาตอนนั้นก็ยังไม่สาย) ท่าห้าตบข้าง เริ่มจากซ้ายก่อน แบบฉบับญี่ปุ่นก็เริ่มจากซ้ายเช่นกัน ตอนคุกเข่าเคารพก็ซ้ายนำก่อน เพราะธรรมเนียมญี่ปุ่นโบราณมาจากรากฐานของจีนเช่นกัน ซ้ายจะใหญ่กว่าขวา ทุกวันนี้ตอนประธานาธิบดี นายกหรือแขกบ้านแขกเมืองเดินด้วยกัน หรือจะเป็นเรื่องตำแหน่งที่นั่ง สำหรับคนญี่ปุ่นล้วนแล้วแต่มีการจัดวางไว้เรียบร้อยแล้ว ว่าใครใหญ่ ใครซ้ายใครขวา แต่เอาเหตุผลง่ายสุดที่ให้ลงซ้ายก่อน เพื่อความสวยงามและตอนตบไม่ชนกันนั้นเอง ท่าห้าเน้นขา เข่า วางกันให้นิ้วโป้งขาอยู่ในระดับเดียวกัน ส้นเท้าขาสองข้างอยู่ในระดับเดียวกัน บางคนปลายขาขอวางทำมุมแคบเข้ามา ส่วนของผมปลายขาวางขนานกันไม่ทำมุมแคบ ถูกผิดผมไม่รู้ รู้แค่ว่าเหตุผมที่ผมไม่ทำมุมแคบเพราะว่าตอนตบเบาะจริงๆ ขาสองข้างจะได้แน่ใจว่ามันจะไม่ตีกัน (ตีกันแล้วมันเจ็บ) อีกเหตุผลนึงคือในขณะที่เราม้วนตัวยืน ขาสองขาทำมุมแคบบีบเข้าหากัน ตอนยืนมันยืนทรงตัวได้สมดุลย์ดีเหรอ? ส่วนใครที่ทำมุมแคบผมยังไม่มีโอกาสไปสัมภาษณ์ถึงเหตุผลในการวางขาลักษณะนั้น (อันนี้ไม่รู้จริงๆว่าแบบไหนถูก เอาแค่ว่าผมขอวางขนานๆกันความกว้างเกือบประมาณเท่าไหล่ละกัน ส่วนใครชอบแบบไหนก็ทำตามที่ชอบเถอะ) ยังไงตบเบาะแปดท่า การวางขาลักษณะนี้มีแค่การตบเบาะท่าห้าเท่านั้น มั่วๆไปอย่าให้ใครรู้ละกัน

- ความพิเศษของท่าห้าคือ การฝึกสะโพก ตบเบาะทุกครั้งก่อนซ้อม เอาแค่ท่าละสิบที ได้ตบท่าห้าสิบครั้ง ได้ซ้อมการขยับการบิดสะโพกสิบครั้ง ถ้าซ้อมยูโดสิบครั้งก็จะได้ฝึกการขยับสะโพกถึงร้อยครั้งแล้ว สะสมกันไป จุดนี้ท่านอนก็ได้ใช้ ท่ายืนก็ใช้แน่ๆกับการหมุนตัวเข้าท่าทุ่ม แต่ถ้าตบแบบไร้ทิศทางซ้ายทีขวาทีสะโพกไม่ทำงาน มันก็เป็นแค่การตบเบาะทั่วๆไปเท่านั้นเอง ท่าห้าเน้นอีกจุดคือมือไหนตบ คอแหงนเล็กน้อยเอาตามองมือที่ตบ มืออีกข้างไม่ใช้ไม่รู้วางไหน ก็วางเอาไว้ตรงกลางท้องเรานั้นแหละ

- ท่าหก ไปแบบเร็วๆ เหมือนกับท่าสองที่เป็นพื้นฐานของท่าสามท่าสี่ ท่าหกก็เป็นพื้นฐานของท่าเจ็ดท่าแปด ส่วนหนึ่งคือการพลิกออกข้าง ตบบ่อยๆได้ของแถมเรื่องความคล่องตัว ท่าห้าถึงแบบเรียกว่า "โยโกอุเกมิ" แปลไทยคือการตบเบาะด้านข้าง ขึดสังเกตุคือท่าหกถึงแปด พอลงไปแล้วตัวเราจะอยู่เป็นเส้นทำมุมเฉียง45องศา ถ้าเป็นเส้นตรงไปด้านหน้า หรือตรงเป็นเครื่องหมายลบ (-) คือไม่ตรงสเป็คครับ ขาของท่าหกเหมือนกับท่าสองคือยกลอย แต่ตบไปแล้วธรรมชาติของมันขาจะลอยตลอดเวลาไม่ได้ก็ปล่อยลงมาวางปกติ (จำไว้ผิดธรรมชาติไม่ใช่ยูโด) เรื่องขาลอยเคยมีการเถียงกันในท่าโยโกกาเกะตอนนาเกะโนะคาตะ ว่าทุ่มแล้วขาลอยคาไว้ (สมัยก่อนเป็นแบบคาไว้ลอยๆ) หรือว่าจะต้องค่อยๆผ่อนเอาลงมา (เถียงกันนาน เค้าให้ดูที่ความเป็นธรรมชาติ ขามันจะลอยแบบนั้นมันผิดธรรมชาติ) ท้ายสุดก็เป็นอย่างที่เห็นในนาเกะโนะคาตะปัจจุบันคือค่อยๆผ่อนวางลงมา

- ท่าเจ็ดกับแปดสองท่านี้ทำเร็วๆแล้วเหนื่อย แต่ฝืนใจกันหน่อยเหยียบกล้วยลื่น ค่อยๆหย่อนตัวลงตบเบาะแล้ว พยายามกลับเข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมจะตบเบาะในครั้งต่อไปด้วย จุดนี้ซ้อมความพริ้ว ความคล่องตัว ในจังหวะก้มๆเงยๆ ตามเคยมันส่งเสริมเทคนิคท่านอนและเทคนิคท่ายืนให้กับเราได้ บางครั้งด้วยความเร็วไป+กับความเหนื่อย (หรือผสมความขี้เกียจเข้าไปด้วย) ท่าแปดกลายเป็นท่าเจ็ด ท่าเจ็ดกลายเป็ยท่าหก ส่วนท่าหกก็ยังเป็นท่าหก สุดท้ายแล้วท่าแปดจะหายไป การซ้อมแทนที่จะได้เต็มๆก็ได้มาเป็นเศษเสี้ยว

เอาจริงๆแล้วจะตั้งใจตบหรือไม่ตั้งใจตบ ขอแค่ให้มันผ่านๆไป ความเหนื่อยมันไม่ต่างกันเท่าไหร่ ทำแบบตั้งใจได้ครบกว่า อีกเรื่องคือมันคล้ายๆกับความพร้อมสำหรับการซ้อมในวันนั้นๆ เพราะตบเบาะส่วนใหญ่ทำหลังจากยืดวอร์มอัพ ถ้าใจไม่พร้อม ตบแบบไม่ใส่ใจ ความใส่ใจในการซ้อมวันนั้นอาจไม่สามารถเติมเต็มเป้าหมายสำหรับการซ้อมในวันนั้นๆได้

ท้ายสุด ยูโด-เพื่อนกันทำแทนกันไม่ได้ ใครทำคนนั้นก็ได้ ทำไม่ทำก็ไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับคนอื่นนิ



Create Date : 06 สิงหาคม 2560
Last Update : 6 สิงหาคม 2560 0:05:57 น. 0 comments
Counter : 3362 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.