Group Blog
 
 
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
ยูโด ว่ากันในส่วนของรันโดริ


การรันโดริเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ(มาก)ในการฝึกซ้อมยูโด ท่าของเราจะพัฒนาต่อยอดให้เฉียบคมได้ต้องอาศัยการซ้อมรันโดริเป็นสำคัญ


แล้วจะรันยังไงดี?


①ไม่เจ็บตัว
ข้อแรกสุด ง่ายสุด รันยังไงก็ได้ให้ไม่เจ็บตัว ไม่เจ็บทั้งตนเองและคู่ซ้อม อันนี้ต้องไปตกลงกันเองกับคู่ซ้อม ขอรันแบบเบาๆนะ (อันนี้ไม่ใช่ละ ซ้อมแบบนี้ไปเล่นจ้ำจี้ดีกว่าจะได้ไม่เจ็บตัว) วิธีที่จะรันให้ไม่เจ็บตัวประกอบด้วยสองส่วน ส่วนคนทุ่มกับคนถูกทุ่ม


เอาคนถูกทุ่มก่อน...โดนทุ่มแล้วก็ตบเบาะ อย่าฝืนพลิกหนีเป็นแมวไปซะทุกครั้ง (พลิก10เจ็บ1 แน่ๆจำไว้เลย) เข้าใจว่าบางท่านอยากฝึกท่าพลิกตอนแข่งจะได้ไม่เสียแต้ม แต่เอาเวลาฝึกพลิกไปฝึกท่าให้มันคมๆไว้ล่าแต้มจะดีกว่ามั้ย หลายครั้งเจอพวกพลิกเป็นแมวแล้วก็น่าทึ่ง(เพราะผมพลิกไม่เป็น ล้มแล้วเป็นแต้มอิปปงเลย) ขอให้โชคดีอย่าไปเจอะเจอพวกทุ่มแล้วล้มทับละกัน


ในส่วนของคนทุ่ม...ก็ทุ่มไปสิ ขอสามอย่าง
หนึ่ง-ใช้ท่าที่ฝึกซ้อมเข้าท่ามาทุ่ม รันโดริคือการซ้อม อย่าเอาความฟลุ๊คหรือลูกมั่วมาใช้ ท่าที่เราซ้อมตอนเข้าท่านั้นแหละ พยายามหาจังหวะใช้ พยายามปรับแต่งให้มันทุ่มได้ ทุ่มไม่ได้ก็ศึกษาจังหวะกันไปเรื่อยๆ บางครั้งการรันโดริกับคู่ซ้อมท่านอื่นที่ใช้ท่าทุ่มชนิดเดียวกับเราจะช่วยตอบโจทย์เรื่องจังหวะการทุ่มของเราได้ดี


สอง-ตอนซ้อมเข้าท่า คิดซักหน่อยถึงวิธีลงของคู่ซ้อมด้วยว่าจะเอาเค้าลงยังไงให้ปลอดภัย คิดก่อนใช้ทุ่มจริงนะว่าจะเอาลงยังไงมีความเสี่ยงตรงไหน ยกตัวอย่างง่ายๆเช่นท่าฮิสะกุรุม่า คนจับขวาเข้าฮิสะโดยการเอาขาซ้ายไปแตะหัวเข่าขวาของหุ่น หุ่นล้มลงสามารถใช้มือซ้ายตบเบาะตามปกติ (มือขวาของหุ่นเอาออกไปไม่ได้เพราะมือซ้ายเราจับที่แขนเสื้อฝั่งขวาของหุ่น) กลับกันจับขวาทุ่มฮิสะกุรุม่าโดยออกซ้ายเอาฝ่าเท้าขวาไปแปะที่ขาซ้ายหุ่น หุ่นล้มลง...ยังไงละ แขนซ้ายว่างอยู่เอาฝ่ามือซ้ายยันพื้นซะเลย เสี่ยงมาก ที่จะบาดเจ็บ (โดยเฉพาะถ้าคนทุ่มตามมาเสริมน้ำหนักโดยการล้มทับ) เซโอนาเกะเหมือนกันมันมีฝั่งปกติให้วนเข้าอยู่แล้ว คนไทยชอบใช้อีกฝั่งที่ไม่ปกติ (ไม่ผิดที่จะใช้ แต่ก่อนใช้รวมถึงตอนใช้คิดและประเมิน ถึงจังหวะลงของคู่ซ้อมด้วยว่ามันเสี่ยงเจ็บรึเปล่า บางทีต้องประเมินไปถึงความสามารถในการตบเบาะของคู่ซ้อมด้วยว่าแน่นพอรึยัง)


สาม-ทุ่มแล้วพยายามยืนให้อยู่ เซฟคู่ซ้อมเอาไว้ (บางท่าจะยืนยังไง555อุระนาเกะ โทโมนาเกะ) ตรงตัวอยู่แล้วที่รันโดริคือการซ้อม ท่าทุ่มประกอบด้วยคุสุชิ (ดึงให้หุ่นเสียหลัก) สกุริ (การออกท่าโดยที่เราไม่เสียหลัก) คาเคะ (การทุ่มและบังคับทิศทางในการทุ่ม) สกุริที่ดีคือการออกท่าโดยที่เราไม่เสียหลักต่อเนื่องไปถึงคาเคะในเรื่องของการบังคับทิศทางในการทุ่ม การทุ่มและยืนอยู่ได้มันช่วยเน้นย้ำการซ้อมในเรื่องของสกุริและคาเคะได้เป็นอย่างดี การยืนให้อยู่มันจะช่วยเพิ่มสกิลในการต่อท่าให้เราได้ทั้งในส่วนของท่ายืนและในส่วนของท่านอน อีกทั้งยังเป็นการฝึกซ้อมสมดุลย์ของเราไปในตัวด้วย ทุ่มแล้วยืนอยู่เซฟคู่ซ้อมช่วยลดความเสี่ยงในอาการบาดเจ็บไปได้เยอะมาก


②คนคุมเกม

รันโดริมีสามแบบ คือรันกับคนที่เหนือกว่า คนที่เท่ากัน และคนที่ต่ำกว่า รันคนที่เหนือกว่าและรันคนที่เท่ากัน มีเท่าไหร่ปล่อยไปเถอะ (แต่กลับไปดูรายละเอียดข้อหนึ่งด้วยนะว่ารันยังไงให้ไม่เจ็บ) แต่การรันโดริกับคนที่ต่ำกว่าอันนี้สิสำคัญ
- ปะทะกันดำเจ็บ -> อ่อนหัดเองดำผิด
- ปะทะกันขาวเจ็บ -> ดำก็ผิดอีกที่คุมไม่อยู่จนรุ่นน้องเจ็บ

ตั้งแต่เริ่มฮาจิเมะจนโซเรมาเดะ บอกเลยสายสูงต้องรับผิดชอบคุมเกมให้ได้ทั้งหมด เพราะถือว่าดำรุ่นพี่มีประสบการณ์มากกว่า ถึงขาวจะออกหมูออกหมา ดำต้องอ่านให้ออกไม่ใช่ตอบโต้ตามน้ำไปด้วยกากะไก่


อย่าใช้ลักษณะปลาใหญ่กินปลาเล็ก เปิดจังหวะให้ขาวเข้าทำบ้าง ไม่ใช่ทุ่มโชว์สกิลเทพตลอดเวลา ถ้าขาวจังหวะครบพอไปได้ ก็ปล่อยทุ่มตามน้ำไป ขาวจะได้เรียนรู้การเอาหุ่นลง การเซฟในจังหวะทุ่มด้วย


③เรียนรู้ที่จะโจมตี
อันนี้อาจารย์ผมแนะนำมา สำหรับคนเริ่มเล่นยูโด ใส่เข้าไปเถอะ (เอาเฉพาะท่าที่ซ้อมมานะ) จงกระหายที่จะหาจังหวะจู่โจม โดนทุ่ม ตบเบาะ ขึ้นมาใส่ต่อ หาจังหวะจู่โจมแล้วเข้าทำ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า (555ตบเบาะจนมือชาละมึงเอ๊ย) แต่มันจะทำให้เราพัฒนาจนมีท่าติดตัวขึ้นมาได้ จากนั้นเอาท่าที่ติดตัวนี้มาขยายผล (ถ้าเป็นตำรวจก็คงจะขยายผลไปถึงต้นตอยาบ้านั้นแหละ) ขยายไปเป็นท่าต่อเนื่อง หาท่าที่ตรงข้ามกันเข้ามาเสริม เราก็จะมีลูกเล่นเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆพร้อมๆกับฝีมือที่พัฒนาขึ้นไป จะดีกว่ามัวแต่ไปป้องกันเน้นเกมรับ (แต่เสือกสวนกลับเร็วไม่เป็น) ถ้าเรามัวแต่กันคงต้องกันไปเรื่อยๆจนเบื่อและเลิกเล่นไปเองเพราะท่าทุ่มไม่มี ไม่รู้จะทุ่มยังไง เริ่มต้นเรื่องคุมิเทะหรือชิงจับอย่าเพิ่งไปเล่นเยอะ เพราะถึงจับได้เปรียบก็ยังทุ่มไม่เป็น เอาให้ท่าทุ่มเกิดก่อนซักท่าก็ยังดีค่อยไปฝึกคุมิเทะเพิ่มเติมเอาตอนนั้น


เรียนรู้ที่จะโจมตี มันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการจับด้วย มือแข็งจับแบบใส่แรงเต็มที่ แข็งทั้งมือทั้งตัว แบบนี้ทุ่มไม่ได้เหนื่อยด้วย รันสองยกก็หมดแรงแล้ว ที่สำคัญแขนแข็งมือแข็งมันทำให้ไม่สามารถสร้างระยะจังหวะที่เราจะปล่อยท่าทุ่มออกไป เพราะความห่างของตัวเรากับหุ่นยังคงเท่าเดิม คุสุชิไม่เกิดถึงโชคดีมีเกิดแต่ก็ยังน้อย ที่สำคัญสกุริไปต่อไม่ได้ ระยะมันเข้าไปไม่ถึงติดที่แขนแข็งๆของเราเอง (T_T เรื่องมือแข็งตัวเกร็งตรงนี้ผมยังเป็นอยู่เลย)


④ยูโดต้องสง่างาม
ตอนรันโดริไปหดไปห่อตัว งอหลัง นอกจากจะดูไม่งามแล้วการส่งแรงออกไปทำไม่ได้ ติดขัดอยู่ที่หลังค่อมๆนั้นแหละ ท่าทุ่มก็ต้องสง่างาม ทุ่มได้เพราะเราฝึกซ้อมมา ไม่ใช่ทุ่มได้เพราะความไม่รู้ของคู่ซ้อม สำหรับเรื่องแรง ผมบอกไม่ได้หรอกว่าการทุ่มทุกครั้งต้องไม่ใช้แรง เพราะผมยังเป็นพวกบ้าพลังอยู่ (ไม่ใช่) จริงๆแล้วระยะแรกของการหาท่าทุ่มของผม จะไปโปรแบบ5-6ดั้งคงไม่ได้ เรื่องแรงใช้ๆไปเถอะ ปรับเปลี่ยนจนเราสามารถทุ่มได้ก่อน จากนั้นค่อยมาหาวิธีลดแรง ดึงเอาแรงของฝั่งตรงข้ามมาใช้ เซเรียวกุเซโย (ท่องไว้ท่องไว้ แต่ตอนนี้ขอก่อน) แรกสุดเอาง่ายๆทุ่มด้วยท่าพื้นฐาน ที่ใครๆก็รู้จัก แล้วสามารถยืนอยู่เซฟคู่ซ้อมได้ ตรงนี้ก็สง่างามแล้ว


ตัวอย่าง: โอโกชิก็ได้เพราะยืนสองขาการทรงตัวน่าจะดี แต่จังหวะโอบเอวยากโคตร....ไม่เอาไม่เอา ขอเป็นเซโอนาเกะละกันไม่ต้องโอบคงจะง่าย ยืนสองขาด้วย แต่อุ๊ยกลัวเข่าพัง ไม่เอาไม่เอา ทรึริโกมิโกชิ เป็นคำตอบสุดท้าย555


อย่ากลัวเรื่องทุ่มไม่ได้ ขอเอาท่าสวยไว้ก่อน ท่าสวยในความหมายคือ ครบทั้งคุสุชิ สกุริ คาเคะ คุสุชิสำคัญมาก(แต่ชอบลืมกัน) เช่นเซโอนาเกะ ฮิกิเทะหรือมือที่จับแขนเสื้อหุ่นชอบลืมเปิดกันจัง ไม่ได้เปิดแล้วก็พยายามเข้า ก็ต้องพยายามมุด มุดได้เข่าปัก ไม่ก็หดตัวลีบจนไม่รู้จะทุ่มยังไง หมุนๆเอาละกัน เออพยายามดีจนทุ่มได้ เอาแต้มไป แต่ผมถือว่ายังไม่สง่างาม ว่าแต่ถามหน่อย รันโดริมันมีแต้มคะแนนรึเปล่า?


ป.ล.ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาด้านบน แต่วันนี้ผมไปซ้อมรันโดริมา ประทับใจตรงที่เบาะนี้น้องๆหลายคนพยายามทุ่มด้วยอิปปงเซโอนาเกะ หรือเซโอนาเกะ ถึงจะไม่ติดแต่ก็ไม่มีซักคนที่ทิ้งตัวลงไป (กะว่าทิ้งตัวมาจะเชือดด้วยโอคุริเอริจิเมะให้ไม่กล้าทิ้งเข่าอีกเลย 555 แต่วันนี้ไม่มีโอกาสเชือดแม้แต่ครั้งเดียว)




Create Date : 01 ตุลาคม 2558
Last Update : 1 ตุลาคม 2558 9:40:21 น. 0 comments
Counter : 1720 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.