Group Blog
 
 
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
ช้อบ ชอบ... ฮาเนโกชิ

ช้อบ ชอบ... ฮาเนโกชิ ท่าทุ่มตัวนี้ มันมีความพิเศษตรงไหนเหรอ? ผมถึงอยากได้มาเป็นเจ้าของ

① ท่านี้ตอนเริ่มต้นรู้จัก ก็เรียนตามคอร์สของโคโดกัง มันก็เหมือนกับท่าพื้นฐานอื่นๆทั่วๆไปที่ต้องเรียน จะมาสะดุดก็ตรงที่ ท่านี้ตอนเข้าแล้วมันติดๆขัดๆ ไหนจะขาแรก-ขาสองหมุนวนสลับกับเข้าไปแล้วยังต้องทำรูปทรงขาเป็นตัวเครื่องหมายน้อยกว่า เรียกว่าขยับลำบากและขยับติดๆขัดๆ พอเรียนครบท่ายืนพื้นฐานทั้ง24 ท่าของโคโดกังแล้ว ท่าที่ซ้อมแล้วติดขัดที่สุดก็คือ ฮาเนโกชิ นี่แหละ 555 ความประทับใจแรกคือความยากของท่า


② แรงบันดาลใจในท่านี้ พรั่งพรูเพิ่มเติมออกมาอีกครั้งก็ตอนที่ผมได้หนังสือมาเล่มนึงที่ชื่อว่า "kodokan judo throwing techniques" เป็นหนังสือที่รวบรวมและสอนจังหวะท่าทุ่มทั้ง67ท่า โดยผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้คือ อาจารย์ไดโกะ โทชิโร่ (ไอดอลของผมเลยครับ) และรูปภาพหน้าปกของหนังสือเล่มนี้คือท่าฮาเนโกชิ นอกเหนือจากความคลาสสิคของภาพหน้าปกหนังสือแล้ว ภาพนี้ยังมีประวัติที่ยิ่งใหญ่ ในปี1951 ฮาเนซ้ายในรูปนี้เป็นการทุ่มคู่ต่อสู้คนที่สิบของอาจารย์ไดโกะ โทชิโร่ในการแข่งขันยูโรเปียน ยูโด แชมเปี้ยนชิพ ที่จัดขึ้นในกรุงปารีส การแข่งขันครั้งนั้นมีส่วนทำให้อาจารย์ คาโน่ ริเซอิ ได้ขึ้นเป็นประธานไอเจเอฟในปีถัดไปด้วย (เป็นภาพที่คลาสสิคและยิ่งใหญ่มะ)




③ อาจารย์ของผมที่โคโดกังท่านนึง เป็นชายชราอายุเกือบ70 ชื่อซาโต้เซนเซ (ผมเคยมีโอกาสรันโดริกับอาจารย์ท่านนี้ แล้วอาจารย์ก็ปัดผมด้วยท่าโอคุริอาชิบารัยชนิดลอยขึ้นไปเมตรกว่า) และท่าถนัดของอาจารย์ท่านนี้คือ ฮาเนโกชิ ผมมีโอกาสได้เรียนในคลาสกับอาจารย์ท่านนี้อยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นคลาสเบสิคเริ่มต้น คลาสระดับกลาง และ คลาสเรียนระดับสูง และในหลายๆครั้งของคลาสระดับสูง อาจารย์ท่านนี้ได้แนะนำฮาเนโกชิที่ทำให้ผมสนใจในท่านี้มากขึ้น จริงอยู่ที่ในทุกท่าทุ่มถ้าเราฝึกฝนจนถึงระดับที่เอามาใช้ได้แล้ว เราสามารถที่จะใช้ออกมาได้ในหลายๆจังหวะทั้งดันดึงเดินหน้าถอยหลังหรือออกข้าง แต่สิ่งที่ผมชอบในฮาเนโกชิก็คือ มันสามารถปล่อยออกไปในจังหวะที่เราดึงหุ่นเข้ามาในท่าหมุนตัวทุ่มทั่วๆไป หรือเราสามารถที่จะใช้ในจังหวะที่เราดันหุ่นออกไป (ใช้ในจังหวะคล้ายๆกับการเข้าท่าโอโซโตการิ)


④ ความชอบส่วนตัวที่รู้สึกว่าท่านี้มีความดุดัน ชนิดที่เข้าทำแบบปัดกวาดกระแทกทุกสิ่งที่ขวางหน้าให้ระเบิดลอยเคว้งขึ้นไป (ออกแนวโหดแบบซาดิสต์) แล้วอาจารย์ที่เมืองไทยท่านนึงเคยบอกถึงจุดอ่อนของผมคือเรื่องไม่มีแรงระเบิด ผมเลยอยากดึงเอาท่านี้มาฝึกฝนเพื่อที่จะแก้ไขในเรื่องแรงระเบิด หลังจากฝึกฝนมาเรื่อยๆ (เริ่มจะมาถูกทาง) แรงระเบิดยังไม่มาก็จริงแต่สิ่งที่ได้เพิ่มเติมมาคือเรื่องของพลังงานภายในของสะโพก แล้วพลังงานสะโพกตัวนี้สามารถเอามาใช้ประโยชน์ได้เยอะจริงๆ


สรุป
- ท่าแม่งยาก
- เห็นรูปฮาเนซ้ายของไดโกะเซนเซแล้วชอบ
- จังหวะมันสามารถใช้ได้ทั้งดึงกับดัน
- แรงระเบิดและพลังสะโพกจากท่าฮาเน




Create Date : 01 ตุลาคม 2558
Last Update : 1 ตุลาคม 2558 9:38:44 น. 0 comments
Counter : 1055 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.