|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
ยุทธวิธียูโด
① 6:4 ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ② 5:5 ติดดาบปลายปืน ประจัญบาน ③ 4:6 เอาแรงเขามาเป็นแรงเรา
... สองแบบแรกธรรมดา แต่รูปแบบที่③น่าสนใจและเป็นเสน่ห์ของยูโด
① 6:4 หมายความว่าเรามีกำลังหกส่วน เพื่อนคู่ซ้อมมีสี่ส่วน แรงเยอะกว่า ทุ่มได้ชนะ มันก็เป็นเรื่องปกติ แต่คนตัวใหญ่ก็มีท่าที่ได้เปรียบของคนตัวใหญ่แรงเยอะ คนตัวเล็กก็มีท่าที่ได้เปรียบของคนตัวเล็กแรงน้อยเช่นกัน ยูโดบอกไม่ต้องใช้แรง เอาเข้าจริงๆบางท่าน (เซนเซก็ด้วย) ต่างคนต่างเล่นเวทปั้มกล้ามสร้างแรงกันก็มีไม่น้อย (เคยมีเซนเซอายุหกสิบแปด น้ำหนักประมาณไม่น่าเกิน65 ยกเบนเพรสให้ดูที่น้ำหนัก120กิโล)
แบบ6:4 ไม่ต้องซ้อมยูโด ไม่ต้องทำอะไรก็เล่นได้ หมัดหมูแมวกาไก่อะไรใส่มั่ว ใส่ก่อนอัดคนที่แรงน้อยกว่า(แล้วก็ดันไม่เป็นไม่รู้อะไรเลย)ยังไงก็เหวี่ยงๆโยนๆได้แน่นอน
② 5:5 แรงเราเท่ากันกับคู่ซ้อม มีอะไรใส่หมด แต่ใส่ก่อนก็ไม่ใช่ว่าจะได้เปรียบเสมอไป ถ้าท่าขาดคุสุชิใครเข้าก่อนแพ้ เพราะการขาดคุสุชิทำให้ฝั่งตรงข้ามบังคับและยังขยับตัวได้อย่างอิสระ คนที่เข้าก่อนมีการขยับจุดศูนย์ถ่วยย่อมที่จะแกว่งและเสียศูนย์ได้ง่ายกว่าอีกฝั่งที่อยู่ในป้อมตั้งรับอย่างเดียว
5:5 ครึ่งๆก้ำกึ่งกันก่อน คนเราสองมือสองขา การที่อยู่ดีๆจะไปทำให้อีกฝั่งที่มีสองมือสองขา เตรียมพร้อม(แยกเขี้ยว)ขู่สู้ แต่ยัฃสามารถบังคับทิศทางและทุ่มได้อย่างงดงาม มันก็ถือเป็นเรื่องแปลกมั้ย? ผมว่าแปลกนะครับ หรืออย่างท่านอนคนตัวเท่ากันกดโอไซโกมิอีกฝั่งได้ยังไง แปลกกว่านั้นคือคนถูกกดสามารถพลิกหนีได้ด้วย
พอทุกอย่างใกล้เคียงกัน ก็ต้องไปวัดกันที่จังหวะและถ้วงท่า จังหวะและถ้วงท่าเทคนิคเกิดจากการฝึกซ้อม ... อ้าวกลับมาที่อุจิโกมิอีกแล้ว
สมัยก่อนตอนเนิ่มเรียนท่าอะไรซักท่า ยกตัวอย่างเช่นฮาไรโกชิหรือท่าไทโอโตชิ เคยลองขยับตัวเข้าท่ากับลมดูกันมั้ย? ท่าทุเรศมาก!!! ที่บอกว่าทุเรศก็ตรงที่ เราเข้าคนเดียวยังมือไปทางขาไปทางสะเปสะปะ หงิกๆงอๆ แล้วคิดว่าหงิกงอแบบนั้นยืนยันยืนไม่อยู่ จะเอาท่าแบบนั้นไปทุ่มใครเค้าได้
อุจิโกมิเป็นตัวขัดเกลา เข้าท่าลมจนชำนาญไม่มีตัวแปรจนคล่อง ถัดไปเข้ากับหุ่นอุเกะตรงนี้จะได้รับรู้ถึงวงจรที่มีตัวแปรอีกคนเช้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถึงเข้าท่ากับหุ่นจนคล่องก็ยังไม่ได้หมายความว่าจะทุ่มได้จริงๆ เพราะหุ่นยืนส่งเสริมยินยอมพร้อมใจไม่ขัดขืนในการทุ่มอยู่แล้ว ถัดมาเป็นสเต็ปนาเกะโกมิ(เข้าท่าทุ่ม) กับ อีโดอุจิโกมิ (เข้าท่าเคลื่อนที่) แล้วค่อยเอาไปปรับหาจังหวะใช้ตอนรันโดริ
ทุกการซ้อมมันมีขั้นมีตอนของมันอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าวันนี้เริ่มต้นเรียนท่าใหม่อย่างไทโอโตชิ ลองเข้าท่าดูซัก100ครั้งแล้วมันจะใช้ทุ่มได้ทันที
แล้วการซ้อมจะไปจบตรงไหนถึงเรียกว่าจบ? มันไม่มีจบ เพราะตัวแปรทุกอย่างพลิกเปลี่ยนได้เสมอ แต่พอจะบอกได้เล็กน้อยถึงจุดเริ่มต้น จุดที่เริ่มจะใช้ท่าทุ่มที่ซ้อมมาได้บ้างแล้ว จุดนั้นคือจุดของความมั่นใจ ซ้อมมาถึงจุดนึง รู้สึกว่ากล้าใช้ท่าทุ่มออกไป (ยกตัวอย่างไทโอโตชิละกัน) ซ้อมนานๆไปมันมั่นใจ เข้ามาเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นครั้งละ ม้นจะเริ่มมีความมั่นใจว่าจะเอาไปใช้จริงได้ ซ้อมถึงความมั่นใจก็มา มั่นใจในความลึกตื้นหนาบางของตัวท่า ไทโอจุดเด่นอยู่ตรงไหน (แต่ไทโอของผมมันเป็นแบบแปลกๆอาจจะเข้าใจและอธิบายยาก555...เอาเป็นว่าละไว้ในฐานที่ไม่เข้าใจละกัน) สำคัญคือต้องรู้ว่าความเด่นของท่าอยู่ตรงไหน เราจะเพิ่มความแรงของท่าเข้าไปจากจุดไหน หรือเราจะเพิ่มความเร็วของท่าต้องทำอย่างไร หรือจะผสานกลายเป็นทูฮิตทรีฮิตคอมโบมีรูปแบบไหนบ้าง รวมถึงจุดอ่อนที่พบเจอบ่อยของท่านี้แล้วจะต้องแก้อย่างไร (ส่วนใหญ่จะหาได้จากตอนรันโดริและลองใข้ดูบ่อยๆ)
ยาวไปละ สรุป 5:5 ไปกินกันที่เทคนิค เทคนิคเกิดจากความมั่นใจ ความมั่นใจเกิดจากการฝึกซ้อมและประสบการณ์รันโดริ
③ 4:6 ที่เล่นยูโดมาถึงทุกวันนี้ก็เป็นเพราะหลงไหลในสิ่งนี้แหละ มีแรงสี่ส่วนแต่ทุ่มคนที่มีแรงเยอะกว่า (ในตัวอย่างนี้คือหกส่วน) ทำได้ยังไง?
วันแรกสุดที่ไปโคโดกัง ไปลองมาแล้ว ไปลองรันโดริกับคนแก่ตัวเล็กๆอายุเท่าไหร่ไม่รู้ แต่เกิน65แน่ๆ (ไม่ได้ไปรันกับเซนเซที่ยกเบนเพรส120นะ) ตรงนั้นน่าจะเป็นเรื่องของเทคนิคท่าซะมากกว่า คนที่เล่นเป็นก็สามารถจัดการคนที่เล่นไม่เป็นตบเบาะยังไม่ได้ อย่างง่ายๆอยู่แล้ว (ตบเบาะไม่ได้ไปรันได้ไง....เคสพิเศษครับอยู่ในสายตาและความดูแลของเซนเซ) เอาเป็นว่าคนเป็นกับไม่เป็น ทุกกีฬามันก็เห็นๆกันอยู่ว่าใครจะเหนือกว่า
คราวนี้มาพูดถึงคนที่พอเป็นบ้าง ทั้งคู่ผ่านการซ้อมมาบ้าง ทำยังไงให้แรงน้อยกว่าทุ่มคนแรงเยอะได้ (เอาแบบไม่เรียกว่าฟลุ๊คนะ) เทคนิคท่าทุ่มมีกันแล้ว ก็คงต้องเป็นเรื่องของจังหวะบ้าง
ตัวอย่างการเอาแรงเขามาเป็นแรงเรา นาย ก แรงสี่ส่วน เจอกับนาย ข แรงหกส่วน (แรงเรียกกันเป็นส่วน? ก็ดีกว่าเรียกเป็นก้อนละกัน) นาย ก ทำยังไงให้สู้แรกอีกฝั่งได้ ก็คงต้องขอยืมจากนาย ข ระหว่างรันโดรินั้นแหละ นาย ข ไม่ขยับตัวเลย คงจะยากแต่ไม่มาก (ไม่ขยับเลยตอนแข่งโดนชิโด่นะครับ555) ถ้านาย ก ยืมนาย ข มาได้ครึ่งนึงหรือก็คือสามส่วน บวกกับของที่นาย กมีอยู่แล้วสี่ รวมกันก็เป็นเจ็ด 7:3 ทุ่มได้แบบไม่ฝืนแล้วครับ
วิธียืมแรงมีหลายแบบ อธิบายไม่ได้ทั้งหมดหรอกครับ (เพราะผมก็รู้แค่แบบสองแบบ)
- ตอนแข่งมักได้ยินโค้ชตะโกนบอกว่า "พาเดิน พาเดิน" ยังไงวะ? เดินไปเรื่อยๆกูก็เหนื่อยนะจะไปพามันเดินทำไม? จริงๆแล้วตอนเดินศูนย์ถ่วงมันขยับ ขยับทั้งแบบกระเพื่อมขี้นลง หรือจะขยับแบบแกว่งออกข้าง กระเพื่อมขึ้นลงการขยับตัวของหุ่นจะช่วยให้เราทุ่มได้ตอนที่กระเพื่อมขึ้นก็ไม่ต่างอะไรกับหุ่นเขย่งขาท่าดีดหรือดันขึ้นบนใช้ได้ดี(ปัดรวบก็ดี) ตอนกระเพื่อมลงขาตายท่าเกี่ยวกดลงใช้ได้ผล(ปัดให้ขาแยกขาถ่างออกก็ได้ผลไม่น้อย) แกว่งไปด้านข้างท่าปัดก็ใช้ได้ดี แต่ไม่ว่ากระเพื่อมขึ้นลงหรือออกข้าง ถ้าท่าที่เราแน่เรามั่นใจ(เพราะซ้อมมา)มันควรจะต้องหาจังหวะใช้ได้ทุกการแกว่งหรือกระเพื่อมนั้นแหละ แต่ยังไงความคิดของผมคำว่า"พาเดิน" คงจะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายพาเดินไปจนอีกฝั่งเหนื่อย (เพราะคนพาก็เหนื่อยเป็นนะ ไหนจะต้องจูงต้องดึงออกแรงน่าจะเหนื่อยกว่าอีกฝั่ง)
- จะดันให้ดึง จะดึงให้ดัน ความหมายตรงตัวถ้าเราอยากดัน ดันเลย หุ่นแม่งต้านชัวร์ จะขอแรงนาย ข ก็ขอดีๆอย่าให้หุ่นมันต้าน ดังนั้นจะดันให้ดึง หุ่นไม่อยากโดนดึงออกแรงต้านแล้วเราค่อยยืมแรงที่ต้านมาช่วยกันดัน บางครั้งการจะขอยืมแรงอีกฝั่งเราสามารถที่จะผ่อนแรงก็ได้ (แบบขอดีๆไม่ได้กรรโชก) ตัวอย่าง : แขนขวาจับคอเสื้อด้านซ้ายของหุ่น (ขวามือของเรา)ออกแรงดึงกดลงไปซักพัก หุ่นไม่อยากถูกกด มันจะมีแรงต้านในตัวของมันเอง ผ่อนแรงที่กดออกไป แต่แรงต้านยังคงมีอยู่ (หุ่นผ่อนแรงตามออกไปไม่ทัน) ทำให้ตัวหุ่นเอียงไปทางขวามือของหุ่น (ซ้ายมือของเรา) ตามแรงต้านของตัวหุ่นเอง เรียนท่าอะไรมาก็ใส่ไปเลยครับ มีไทโอใส่ไทโอ (จังหวะไทโอผมรอหุ่นขยับน้ำหนักไปทางซีกขวา) มีโอโซโตใส่โอโซโต (จังหวะโอโซโตผมรอขาขวาหุ่นตายตอนลงน้ำหนัก) มีฮาเนใส่ฮาเน (จังหวะฮาเนผมรอน้ำหนักหุ่นโถมไปที่ไหล่ขวา)
- วงกลมวงเล็กมันควบคุมวงกลมวงใหญ่ได้ การขยับตัวเป็นวงเล็ก ขยับแล้วยบเร็วกว่าวงใหญ่จะสามารถควบคุมวงกลมที่ใหญ่กว่าได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนเป็นท่าอุจิมาตะในท่าทุ่มมาตรฐานนาเกะโนะคาตะ ไม่รู้ว่าเป็นยังไง เปิดคลิปมิฟูเนะเซนเซทุ่มท่าโอกุรุม่าดูก็ได้ครับ วงกลมที่หมุนตัวของมิฟูเนะเซนเซสามารถควบคุมวงกลมหุ่นที่โดนทุ่มได้สมบูรณ์แบบมาก การเข้าท่ามีอีกรูปแบบนึงคือการสร้างแรงเหวี่ยงโดยการหมุนตัว (เคยเรียนที่โคโดกังกับทาคาฮาชิเซนเซแต่ลืม...จำรูปแบบไม่ได้ละ) โดยรวมแล้วคือขาที่เราใข้เป็นฐานในการยืนคือแกนกลางของวงกลม ตัวเราเป็นวงกลมวงเล็กในวงกลมใหญ่ (วงกลมใหญ่คือหุ่นคู่ซ้อม) วงกลมเล็กเป็นตัวเหวี่ยง ตัวเหวี่ยงที่อยู่ใกล้แกนกลางจะสามารถควบคุมวงกลมวงใหญ่ที่อยู่รอบนอก เพราะแรงเหวี่ยงวงกลมใหญ่ได้รับผลกระทบเสียศูนย์กว่าวงกลทเล็กที่อยู่ใกล้แกนกลาง....งงปะ? (แต่ผมงงครับ)
สรุป 4:6 เล่นแล้วสนุกกว่าแบบ 6:4 ... พูดอะง่ายแต่ทำยาก!!!
Create Date : 03 พฤศจิกายน 2559 |
|
0 comments |
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2559 0:14:26 น. |
Counter : 1939 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
|
|