Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2559
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
16 ตุลาคม 2559
 
All Blogs
 

ยูโด ศรัทธาในการฝึกซ้อมยูโด

อาจารย์อยากสอน....แต่ถามกูยังว่าอยากเรียนรึเปล่า !!!

หลายๆครั้งเคยเป็นผู้สังเกตุการณ์ห่างๆในอารมณ์คนนึงอยากสอนแต่อีกคน(หรือกลุ่มคน)ไม่อยากเรียน หรือไม่อยากซ้อมตามคนสอน

ตรงนี้เป็นเรื่องของจิตใจ ของสังคมวัฒนธรรมในเบาะตรงนั้น ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ไม่มีใครถูกและไม่มีคนผิด


① ท่านอยากสอนแต่กูไม่อยากเรียน
- ถามก่อนเพราะอะไร?
- แล้วทำไมมาเจอกันในเหตุการณ์ตรงนี้ได้?

สังคมไทยเป็นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ รุ่นพี่ว่าไงก็ตามนั้นไม่อยากขัด
- อาจารย์บางท่านฝีมือเก่งจริง แต่สอนไม่เป็น
- อาจารย์บางท่านฝีมือไม่มี แต่เข้าใจและรู้หลักในการสอน
- อาจารย์บางท่านมั่วซั่ว แต่โชว์โปร สอนอะไรก็ไม่รู้
- เรื่องง่ายๆของอาจารย์ อาจเป็นเรื่องสุดยากของคนเรียน

ถ้าตัดจำพวกมั่วๆกับอคติออกไป ส่วนใหญ่แล้วทำไมอาจารย์ไม่ประจำ นานๆโผล่มาที หรือโผล่มาด้วยเหตุบังเอิญ (เรียกว่าโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่รู้สำหรับคนเรียน) อยากสอน อยากถ่ายทอด แชร์ประสบการณ์ยูโด ให้กับท่านอื่นๆ ???

ก็เพราะว่าหลักปรัชญายูโดมันมีระบุไว้เกี่ยวกับเรื่อง "เซเรียวกุเซโย" และ "จิตะเกียวเอ" สั้นๆ(อาจไม่ตรงตัวนัก) คือทำตัวให้ดี และเผื่อแผ่ผู้อื่น

เซเรียวกุเซโย / ทำตัวให้ดี (จริงๆแล้วเป็นเรื่องของแรง ใช้แรงให้มีประสิทธิภาพ) คือตนเองฝึกซ้อม ศึกษา ค้นคว้า เข้าใจในบางส่วนของท่าทุ่ม ก็ถือเป็นเรื่องของทำตัวเองให้ดี

จิตะเกียวเอ / เผื่อแผ่ผู้อื่น ตรงนี้แหละที่พวกอยากสอนซึมซับจากการซ้อมของเบาะที่ท่านเหล่านั้นศึกษามา อาจจะมาจากประสบการณ์ระหว่างซ้อม หรือมาจากวัฒนธรรมของแต่ละท่านที่มาจากต่างที่กัน

แต่ถ้าสอนโชว์เก่ง หรือ โม้ไปเรื่อยอันนั้นอีกเรื่องนึง ไม่อยากลงลึกหรือให้ความสำคัญอะไรมากนัก

กลับมาถามตัวเราบ้าง ไม่อยากเรียนเพราะ?
- เหนื่อย ซ้อมไรไม่รู้ ไม่รู้เรื่อง เป็นเรื่องไกลตัว เป็นท่าที่ไม่ได้คิดว่าจะใช้ รวมไปถึงอาการองุ่นเปรี้ยว
- ขาดความศรัทธาในตัวผู้สอน หรือไม่มีความมั่นใจว่าซ้อมไปตามที่อาจารย์สอนแล้วมันจะมีอะไรดีขึ้นกว่าแบบอยู่เฉยๆไม่รับรู้สิ่งนั้น
- ทำตามที่อาจารย์บอกแล้ว พยายามก็แล้ว ทำไม่ได้ ติดๆขัดๆ อายคู่ซ้อม อายพี่อายน้อง อายอาจารย์ เออกูไม่เอาก็ได้วะ
- เป็นท่าที่ไม่ได้อยู่ในลิสต์ท่าทุ่มของเรา ท่าของเรามันเข้ากันไม่ได้ ถ้าได้ท่านี้มา มันจะขัดกับท่าที่เราเรียนรู้มาก่อนหน้านี้ เออเอาเข้าไปกับเหตุผลแปลกๆ
- ช้า ไม่ทันใจ สอนเหมือนจะดูดี ตรงตามทฤษฏี ท่างดงาม แต่ใช้จริงบนสนามแข่งไม่ได้ อาจารย์ท่านนั้นท่านนี้เก่งนะ แต่ทำทีมแล้วลูกศิษย์ตกรอบแรกในการแข่งทุกครั้ง...แล้วยังจะมาสอนคนอื่นอีก

จะเป็นเหตุผลหรือข้ออ้างอะไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วมันจะวนกลับมาที่ เราตั้งใจซ้อมหรือจริงใจกับการซ้อมขนาดไหน ซ้อมเข้าท่าแค่สิบครั้งแล้วจะให้เชี่ยวชาญไม่มีติดขัด ไม่เจอปัญหาอะไรเลย แสดงว่ามึงเกิดมาเพื่อเป็นแชมป์โลกแล้ว แบบนี้ก็ถูกต้องแล้วละที่ไม่ต้องมีใครมาสอนกูเก่งของกูเองได้

ในความเป็นจริง ยูโดเป็นเรื่องของใครของมัน ใครซ้อมคนนั้นได้ ไม่มีทางลัดทางด่วน ต้องหมั่นตั้งใจฝึกซ้อมค่อยเป็นคนไป ทางที่ง่ายสุดคือให้ผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ช่วยแนะนำ ตอบข้อสงสัย เพราะท่านเหล่านั้นก็ไม่ใช่เกิดมาแล้วจะเก่งได้ทันที ก็ค่อยๆฝึกฝนไปเหมือนกับเรานี่แหละ พอติดปัญหาหรือมีข้อสงสัย โชคดีถ้าท่านเหล่านั้นมีอาจารย์ให้คำปรึกษา หรือ โชคไม่ดีท่านเหล่านั้นต้องค่อยๆศึกษาหาทางแก้ไขจากประสบการณ์ในการซ้อมหรือจากบนสนามด้วยตนเอง แล้วเราโชคดีมีโอกาส คุณครูที่อยากสอนมาแสดงตัวป้อนให้ถึงปาก โอกาสเหล่านี้ควรไขว้คว้าไว้นะครับ

พูดถึงเรื่อง อาจารย์เก่ง แต่ทำไมลูกศิษย์ไม่ไปถึงไหนซะที วนเวียนอยู่กับคำว่าแพ้บนสนาม อันนี้ต้องดูว่าเป้าหมายของอาจารย์เหล่านั้นคืออะไร ท่านเหล่านั้นอยากสร้างตึกแบบไหน เอาแบบรากฐานแข็งแรงย่ำอยู่ที่พื้นฐานนานมากกกก โครงสร้างด้านล่างแข็งแรงใหญ่โต หรือเอาแบบรีบๆสร้างขึ้นไปด้านบนอย่างเร็ว สร้างเร็วๆฐานโครงสร้างแคบๆ อนาคตจะต่อเติมด้านบนมันจะลำบากนะครับ (ปิรามิตกลับหัวมันมีโอกาสจะล้มเอาได้ในอนาคต)

②ท่านไม่สอนแต่ผมอยากเรียนนิครับ
ตรงนี้กลับกันกับข้อ① เหมือนตามหนังจีนกำลังภายใน "ข้าจะคุกเข่าอยู่หน้าประตู จนกว่าท่านจะรับข้าเป็นศิษย์" อันนี้ก็เป็นเอาหนัก

เอากลับมาคิดก่อนที่จะไปคุกเข่า ถึงเหตุผลที่ทำไมอาจารย์เค้าไม่อยากสอน ท่านอาจจะมีเหตุผลส่วนตัว เหตุผลส่วนรวม เบื่อหน่ายทางโลก (ออกบวชสิคร้าบ) หรือมีปณิธานบางอย่างที่ไม่อยากหาลูกศิษย์เพิ่มเติมก็เป็นได้ อาจจะรวมไปถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ไม่ดีนัก เลยไม่อยากจะสอนใครเพิ่มเติม

เหตุผลในบางครั้งอาจจะเป็น
- ท่าของคุณกับของผมมันต่อกันไม่ติด เพราะพื้นฐานทางยูโดหรือจะทัศนคติแตกต่างกันมาก
คุณเน้นเป็นกีฬาผมเน้นเป็นศิลปะ,
คุณเน้นสวยงามแต่ผมเน้นทำแต้ม,
คุณเอาแต่ฮา แต่ผมเอาแต่โหด,
ซ้อมกับผมเข่าไม่พัง อย่ามาเรียกผมว่าอาจารย์ (อันนี้โหดจุง)
ถ้าจะเรียนต้องลืมของเก่าเริ่มจากศูนย์ใหม่หมด คุณนักเรียนพร้อมมั้ยละ กลับไปคุยกันที่ความศรัทธาและความเชื่อมั่นในตัวอาจารย์ก่อนละกัน

- อาจารย์ของคุณ รุ่นพี่หรือสังคมในเบาะของคุณ ไม่ถูกกับผม พูดง่ายๆอาจจะเป็นเรื่องการเมืองเหมารวมยกเข่ง ถ้าไปหยิบคุณออกจากเข่ง มันจะเป็นปัญหาขึ้นมาอีกครั้ง...น้ำผึ้งหยดเดียวว่างั้น หรือคุณมากับผมแล้วคุณกล้าที่จะตัดขาดกับทางนั้น.... ไอ้เนรคุณ จะตราหน้ามึงไปซักพัก กล้ามะ? (ว่าแต่ตอนนี้มันอยู่ในจีนยุคซ่ง ยุคฉู่ หรือยุคฉิน ใครรู้บอกกูที)

- ซอฟต์ลงมาหน่อย คือ ไม่อยากไปก้าวก่ายการเรียนการสอนของคุณนักเรียน รวมถึงเจอมาเยอะแล้ว เรือจ้าง...ถึงฝั่งก็เซย์กู้ดบาย ดีไม่ดีจะจมเรือกูอีก!! เคยเจอมะ แบบตอนแรกตั้งใจมาก แววตาสู้เกินร้อย แต่ซ้อมไปซักพัก (อาจจะพักเล็กหรือพักใหญ่ๆ) เปลี่ยนใจ ถอดใจ หายหัว เปลี่ยนไปหาอาจารย์หรือสิ่งที่คิดว่าดีกว่า แล้วก็วนเวียนอยู่อย่างนั้น เก่งขึ้นมั้ย...ก็ไม่รู้สินะ

ตรงนี้อะไรที่ไปกันไม่ได้ก็อย่าไปฝืนครับ แต่งกันไปเดี๋ยวทนไม่ได้ก็ต้องหย่ากันอยู่ดี เอาที่สบายใจทั้งสองฝ่าย ถามตัวเองก่อนว่าเราจะตั้งใจเรียนรู้ขนาดไหน ถ้าพร้อมถ้าจริงจังก็ควรตั้งใจทำไปให้ถึงฝั่งที่วางไว้ (ถึงแล้วก็อย่าถีบเรือทิ้งนะครับ)

③ท่านก็อยากสอน ผมก็อยากเรียน
(วิน/วิน) กิ่งทองใบหยก โอกาสดีมาถึงแล้ว ไขว้คว้ารักษา และ ตั้งใจทำให้ดีที่สุด อย่าไปครึ่งทางแล้วถอดใจซะละ ขอพลัง(ศรัทธา)จงสถิตย์แก่ท่าน

ไม่ได้บอกให้เถียงอาจารย์ แต่อาจารย์ก็เป็นมนุษย์ทั่วๆไปคนนึง มีผิดมีพลาดได้เหมือนกัน อะไรที่เราคิดว่าผิดก็ควรจะสอบถามหาเหตุผลว่าทำไมถึงต้องดึงแบบนี้ เข้าจากตำแหน่งนี้ หรือทำไมท่ามันต้องออกมาในรูปแบบนี้ ทั้งๆที่หนังสือเค้า (เค้าอะใคร)บอกว่ามันต้องมาจบลงที่ตรงนี้ มันขัดๆกันกับสิ่งที่อาจารย์สอน เพราะท่าหนึ่งท่า มันมีความเฉพาะตัวเหมือนลายนิ้วมือ (ยุคนี้เค้าสแกนม่านตากันแล้ว) คนทุ่มสิบคนมันก็ออกมาได้สิบแบบ ขนาดคนๆเดียวกันใช้ออกมาอาจจะมีหลายแบบก็ได้ ถึงต้องสอบถามเรียนรู้กันด้วยเหตุผลบนพื้นฐานความเป็นจริง วนกลับไปที่ความศรัทธากันอีกครั้ง ถ้าเชื่อมั่นยังไงก็คือเชื่อมั่น แต่ต้องมีเหตุมีผลรองรับด้วย ไม่งั้นจะกลายเป็นความงมงาย (ไอ้การเถียงนี้ พูดกันเฉพาะแง่วิชาการ ในแง่ของเทคนิคท่ายูโด อย่าไปลงลึกถึงนิสัยใจคอส่วนบุคคลว่ามึงโกง มึงชั่ว มึงไม่ดี)

④มึงไม่อยากสอน แล้วถามกูมั้ยว่ากูอยากเรียนรึเปล่า
อาจจะเป็นหน้าที่ อคติส่วนบุคคล เช่นเค้าจ้างมาสอน เค้าจ้างมาเรียน (มีด้วยเหรออยากให้มีคนมาจ้างมั้ง) ต่างคนต่างทำหน้าที่กันไปตามที่ได้รับจ้างมา ไม่ชอบหน้ากันก็ไม่ต้องแสดงตัวว่าเกลียด ซ้อมกันไป หมดเวลาก็แยกทางกัน ยูโดแปลเป็นไทยแปลว่าหนทางแห่งความสุภาพ (หรูเชียว) ก็พยายามทำให้มันสุภาพโอนอ่อนผ่อนตาม อย่าถึงกับต้องอ้างว่าแข่งกระชับมิตรระหว่างศิษย์กับอาจารย์เลยครับ

สรุป
- สิ่งที่เราไม่ชอบในวันนี้ที่จะเรียนรู้ ไม่ว่ามันจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม อย่าหักหาญน้ำใจผู้สอน เพราะท่านรู้ ท่านเรียนมา ประสบการณ์เยอะกว่า แล้วความรู้เหล่านี้มันอาจจะมีประโยชน์กับพัฒนาการยูโดของเราในอนาคต จะอันไกลอันใกล้แล้วแต่โชคชะตาของแต่ละท่าน (จริงๆบางท่าบางจังหวะมันจะใช้ได้จริงก็ต่อเมื่อเราซ้อมไปถึงจุดที่มันต่อติด ถึงจะเริ่มรู้สึกว่ามันมีประโยชน์ ไม่ได้เกี่ยวกับโชคชะตาหรอกครับ)

- ไอ้อีตาคนสอนก็เหมือนกัน ควรจะรู้กาละเทศะว่าสมควรจะสอนใคร สอนตอนไหน สอนอะไร และคำนึงถึงสิ่งที่เรียกว่าความถูกต้องด้วย
สอนใคร - เด็กกับผู้ใหญ่ คนเพิ่งเริ่มกับคนที่มีพื้นบ้างแล้วมันก็ต้องแตกต่างกันไป
สอนตอนไหน - มีอาจารย์อธิบายอยู่แต่โผล่หน้าออกไปเสนอขายความรู้ บางครั้งมันก็เกินไป
สอนอะไร - ขึ้นอยู่กับคนเรียนด้วยว่ามีพื้นรองรับแค่ไหน เริ่มต้นตบเบาะไปสอนอุระนาเกะ คานิบาซามิ หรือรีเวิดเซโอนาเกะ มันก็เกินไป หรือตบเบาะมาครึ่งปีแล้วก็ยังวนอยู่กับตบเบาะหนึ่งถึงแปดท่า ไม่ขึ้นท่า ไม่ไปไหนซักที มันก็เสียเวลา (หรือไม่มีอะไรจะสอน...คนตบเบาะก็ตบกันไปละกัน ร้อยครั้งพันครั้ง ท่าทุ่มไม่มี)

ปล. ปรมมือข้างเดียวอาจจะมีเสียงแต่คงไม่ดัง




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2559
0 comments
Last Update : 16 ตุลาคม 2559 13:03:13 น.
Counter : 1329 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.