|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
ยูโด ทฤษฏีท่าทุ่มเซโอโอโตชิ
เซโอโอโตชิ (ไปอ่านเจอจากที่ไหนซักแห่ง)
①เซโอโอโตชิ คืออะไร? เป็นท่าที่เริ่มต้นการจับจะคล้ายๆกับการจับของท่าเซโอนาเกะ (โมโรเทะเซโอนาเกะ) หรือจะจับในลักษณะของอิปปงเซโอนาเกะก็ได้ แต่ตอนปิดท้ายจะเป็นลักษณะดร๊อปดาวหรือทิ้งตัวถ่วงน้ำหนักลงไปในขณะทุ่ม... งงปะ?
②สิ่งที่เหมือนกันระหว่างเซโอนาเกะกับเซโอโอโตชิคือ "คุสุชิ" ก่อนจะทุ่มต้องมีการทำให้หุ่นเสียหลักก่อน พื้นฐานทั่วไปของสองท่านี้คือการทำให้หุ่นเสียหลักมาด้านหน้า
③สิ่งที่แตกต่างระหว่างเซโอนาเกะกับเซโอโอโตชิคือ วิธีการทุ่ม - เซโอนาเกะ ดึงให้เสียหลัง ด้านหน้าของหุ่นมาติดกับหลัง ขณะทุ่มดันยกขึ้นด้านบน (ใช้แรงสะบัดขึ้นจากเข่า จากสะโพก จากหลัง จากไหล่ก็ว่ากันไปตามความถนัด) - เซโอโอโตชิ ดึงให้เสียหลัก ด้านหน้าของหุ่นมาติดกับด้านหลัง ขณะทุ่มถ่วงน้ำหนักดึงลงด้านล่าง จากนั้นใช้การพลิกตัวเบี่ยงหลบทิศทางน้ำหนักของหุ่น (จะพลิกสะโพก พลิกหลัง พลิกไหล่ ก็ว่ากันไป ขอแค่อย่าขาพลิกขาแพลงเป็นใช้ได้)
④เซโอโอโตชิ ง่ายมั้ย? - ง่าย...คนทำไม่เป็นง่ายฉิบหายเลย หรือจะบอกว่าง่ายจนฉิบหายก็ว่าได้ เอาแค่จับมั่วๆ จับได้ หมุนตัวทิ้งเข่า อีกฝั่งล้มกลิ้ง ก็พอละ - จริงๆแล้ว การฝึกซ้อมที่ดีและเป็นขั้นเป็นตอนควรจะเริ่มมาจากเซโอนาเกะก่อน คนที่ใช้เซโอโอโตชิได้อาจจะใช้เซโอนาเกะไม่ได้ แต่คนที่ใช้เซโอนาเกะได้จะสามารถใช้เซโอโอโตชิได้ - สิ่งที่เหมือนกันของสองท่านี้คือ "คุสุชิ" ดังนั้นควรจะฝึกให้รับรู้และสัมผัสถึงสิ่งที่เรียกว่าคุสุชิให้ได้ซะก่อน การที่รีบเร่งจนเกินไป และมองข้ามคุสุชิ ทำให้ติดใจในท่าของเซโอโอโตชิแบบผิดๆ ท้ายสุดจะทุ่มได้แต่เด็กสายขาวที่เพิ่งหัดเล่นเท่านั้น - สมัยเริ่มต้นฝึกซ้อมยูโด มีแข่งสอบสาย ตอนนั้นชนะแค่สองคนก็เลื่อนสายได้แล้ว (ระดับคิว จากสี่คิวไปสามคิว) ฮาจิเมะปุ๊บจับแล้วทิ้งเข่าดึงหุ่นลง มั่วมากแต่ก็ได้อิปปงทั้งสองยกภายในเวลาไม่ถึงสิบวินาที พอจบการแข่งขัน ก่อนกลับเซนเซบอกว่า แข่งคราวหน้าทำแบบนี้อีกนะ ถึงชนะแต่คงสอบไม่ผ่าน!!! เพราะว่าท่าที่ใช้ไม่ใช่ท่าพื้นฐานที่เรียนมา ถ้าเอาท่าอะไรมาใช้ทุ่มก็ไม่มีความจำเป็นต้องเรียนต้องซ้อมกันละ กลับไปหา ศึกษา ทบทวน ท่าที่เรียกว่าเซโอนาเกะให้ได้ก่อนการสอบครั้งหน้าด้วยละ .... อะไรวะ!? ทุ่มได้สวย ปิดเกมได้เร็ว แต่นั้นไม่ใช่สิ่งที่ใช้วัดผล (・_・; เนื่องจากเพิ่งเริ่มต้นกับยูโดไม่นาน การแก้ไขจากเซโอโอโตชิเป็นเซโอนาเกะถือว่าใช้เวลายังไม่นาน ประมาณเกือบสองเดือนก็สามารถกลับมาเป็นเซโอนาเกะได้...ก็ยากอยู่นะ
⑤เรื่องของการทิ้งตัว จะเอากี่ขาดี เอาทิ้งขาเดียวไว้ด้านใน หรือจะทิ้งขาเดียวไว้ด้านนอก หรือทิ้งเข่าลงทั้งสองขาเลย แบบไหนดี? คำตอบคือ"แล้วแต่มึง" พูดถึงการทิ้งเข่าข้างนึงวางพาดไปด้านหลัง ไม่ว่าจะอยู่ด้านในขาของหุ่น หรือพาดออกไปเกะกะด้านนอกขาของหุ่น ... ตรงนี้ขอเถียง เซโอนาเกะก็ทำได้นะครับ การวางขาออกไปในการทุ่มไม่จำเป็นว่าการวางขาแล้วเป็นเซโอโอโตชิเสมอไป ท่านที่ฝึกซ้อมเซโอนาเกะมาหรือจะเป็นอิปปงเซโอนาเกะ น่าจะรับรู้ได้ว่า ท่าสองท่านี้เป็นท่าทุ่มที่อยู่ในหมวดของเทคนิคมือ แต่ตอนทุ่มมันมีองค์ประกอบและเครื่องทุ่นแรงอยู่หลายจุด ไล่ตั้งแต่แขน ช่วงอกกับรักแร้ ไหล่ หลัง สะโพก และรวมถึงต้นขาด้วย บางท่านถนัดการใช้ไหล่เป็นตัวสะบัด บางท่านแอบเติมหลังเข้าไปนิดๆ บางท่านใช้ไหล่ช่วยผ่อนแรง บางท่านมีการดันสะโพกช่วยเสริมแรง แล้วทำไมเราจะเอาต้นขาที่พาดวางออกไปเป็นตัวเสริมแรงด้วยไม่ได้ ดังนั้นการวางขาออกไปอาจเป็นได้ทั้งการทุ่มเซโอนาเกะหรือเซโอโอโตชิก็ได้ ขึ้นอยู่กับทิศทางว่าเราดันขึ้นหรือดึงลง แต่ตรงจุดนี้อาจจะมีคนบ้าจำนวนหยิบมือเท่านั้น (ผมคงอยู่ในกลุ่มนี้) ที่ไปสังเกตุว่าเป็นท่าอะไร .... ทุ่มๆไปเถอะ ทุ่มได้ก็พอละ จะเป็นท่าอะไรอย่าไปคิดมาก
⑥ท่านี้มีที่มาที่ไป สมัยก่อนที่จะมาเป็นรูปเป็นร่าง "โคโดกังยูโด" คาโน่เซนเซได้ศึกษาเทคนิคจำพวกยูยิตสู แล้วเซโอโอโตชิก็เป็นหนึ่งในเทคนิคของศิลปะป้องกันตัว "คิโตริว" เทคนิคท่าตรงนี้ยังบรรจุอยู่ในคาตะชุด "โคชิกิ โนะ คาตะ" โดยใช้ชื่อว่า 「ยูกิโอเร」 ยูกิ แปลว่าหิมะ โอเร แปลว่าร่วงหล่น แปลรวมกันแล้วคือ หิมะตกลงมาบนกิ่งไม้รวมตัวกันหนักขึ้นเรื่อยๆกิ่งไม้ก็ค่อยๆโน้มตัวลงมาและท้ายที่สุดหิมะที่ทับถมกันบนกิ่งไม้นั้นก็ร่วงลงสู่พื้นดิน ถึงเทคนิค"ยูกิโอเร"จะไม่สามารถตอบโจทย์ในทุกๆครั้งของการรันโดริที่ทุ่มกันโดยใช้ท่าเซโอโอโตชิได้เสมอไปก็ตาม แต่แนวคิดเรื่องการโน้มตัวลงด้วยน้ำหนักของหิมะจนถึงจุดๆนึงก็ร่วงลงไปเอง รวมถึงกิ่งไม้ที่โน้มเอียงลงมาก็ไม่ได้หักเป็นสองท่อน ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเป็นคีย์เวิร์ดนึงของท่าเซโอโอโตชิ
ไว้ชั่วโมงบินมากพอ ว่าจะลองศึกษาท่านี้ดูซักหน่อย
Create Date : 27 กันยายน 2559 |
|
0 comments |
Last Update : 27 กันยายน 2559 20:58:34 น. |
Counter : 1724 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
|
|