Group Blog
 
All Blogs
 
เผยแพร่พุทธศาสนา : คำประพันธ์ของ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (๑) - อนันตลักขณสูตร



เผยแพร่พุทธศาสนา

คำปรารภ

การที่จะพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ขึ้น เนื่องจากเหตุที่ข้าพเจ้าได้ปรารภถึงพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานานแล้ว โดยที่ข้าพเจ้าได้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว และได้ตั้งใจปฏิบัติ ด้วยเข้าใจว่า ธรรมของจริงมีอยู่ ยังไม่เสื่อมสูญอันตรธานไป แต่พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติไม่ถูกหนทาง ไม่เห็นธรรมของจริง จึงมีความเห็นแปลกแตกต่างกันไป หมดเขตมรรคผลธรรมวิเศษเสียแล้ว ดังนี้ก็มี บางพวกเห็นว่า มรรคผลธรรมวิเศษมีอยู่ แต่เราปฏิบัติไม่ถูก เราก็ไม่เห็น ดังนี้ก็มี
อีกประการหนึ่ง พระภิกษุสงฆ์ที่บวชในพระพุทธศาสนาสมัยปัจจุบันนี้มีมาก ก็แตกออกเป็นสองฝ่าย ร่วมอุโบสถสังฆกรรมกันไม่ได้นานหลายปีมาแล้ว แตกสามัคคีกันมาแต่เมื่อไรก็ไม่รู้ ข้าพเจ้าบวชเข้ามาก็เห็นเป็นอยู่อย่างนั้น ต่างพวกต่างประพฤติไปตามลัทธิวิธีของตนไม่ลงรอยกัน บางพวกบางเหล่าก็เป็นอลัชชี ไม่มีความละอาย ประพฤติล่วงธรรมล่วงวินัย น่าสังเวชสลดใจยิ่งนัก
เมื่อข้าพเจ้าได้มีสัทธาปสาทะในธรรมอันเป็นของจริงแล้ว มาแลดูหมู่พุทธบริษัท ก็บังเกิดความเมตตาเอ็นดูหวังดียิ่งนัก อยากจะให้ได้สัทธาปสาทะในธรรมอันเป็นของจริงเช่นนั้นบ้าง จึงสละชีวิตฝากไว้ในพระพุทธศาสนา อุตส่าห์แนะนำตักเตือนสั่งสอนประชาชนพุทธบริษัทให้ตั้งใจปฏิบัติด้วยวิธีเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตทำใจให้สงบระงับบ้าง และด้วยวิธีเทศนาตักเตือนสั่งสอนโดยอุบายโวหารต่างๆ บางพวกทำตามได้ บางพวกทำตามไม่ได้ บางพวกชอบสนุกและชอบเพลิดเพลินในสัททสำเนียงเสียงไพเราะเสนาะโสต แม้จะเทศนาและให้อุบายทำจิตทำใจเท่านั้นก็ไม่เพียงพอ ข้าพเจ้าจึงได้เรียงเป็นคำฉันท์เพื่อให้ผู้ชอบชั้นนั้นภูมินั้นได้ท่องบ่นจดจำบทธรรมข้อปฏิบัติ แล้วประพฤติปฏิบัติไปตาม แต่ครั้นเมื่อเรียบเรียงแล้วใครๆ ก็ต้องการอยากได้ไปท่องบ่นจดจำและสวดเป็นคำฉันท์ จนเขียนให้ไม่ทัน ก็พอดีพระพันธ์ อิสฺสริโก วัดบ้านหนองบัว ตำบลลาดบัวขาว มีงานบำเพ็ญกุศลบางประการได้มาร้องขอหนังสือฉบับนี้ พิมพ์ขึ้นเพื่อแจกในงานนั้น และเพื่อช่วยกำลังของข้าพเจ้าอีก ทั้งชนอื่นๆ อีกหลายท่าน ได้มีความยินดีบริจาคทรัพย์ช่วยในการพิมพ์ จึงได้พิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด เพื่อเป็นธรรมทานเชื่อว่า คงเป็นประโยชน์แก่ผู้ได้ยินได้ฟัง และตั้งใจปฏิบัติตามไม่มากก็น้อย แต่สำนวนโวหารข้าพเจ้าไม่ใช่นักประพันธ์ ก็คงมีผิดบ้างถูกบ้างเป็นธรรมดา เชื่อว่าคงได้รับอภัยโทษจากท่านผู้อ่านผู้ฟังทุกประการ
ก่อนจะพิมพ์ ได้นิมนต์พระมหาปิ่น พระมหาสมบูรณ์ พระอุ่น ธมฺมธโร พระฝั้น อาจาโร และ พระจันทร์ เขมปฺปตฺโต มานั่งเป็นคณะกรรมการตรวจทานเรียบร้อยแล้วจึงพิมพ์

พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗

อนัตตลักขณสูตร

เอวัมเม สุตัง, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน มิคะทาเย,
ตัตตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ
รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา, รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
ลัพเภถะ จะ รูเป, เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา, ตัสสะมา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ รูเป,
เอวัง เม รูปังโหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ

เวทะนา อะนัตตา, เวทะนาจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา, ตัสสะมา เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ

สัญญา อะนัตตา, สัญญาจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
ลัพเภถะ จะ สัญญายะ, เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา, ตัสสะมา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ สัญญายะ, เอวัง เม สัญญาโหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ

สังขารา อะนัตตา, สังขาราจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ, นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง,
ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ, เอวัง เม สังขารา โหตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา, ตัสสะมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ, นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ, เอวัง เม สังขารา โหตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ

วิญญานัง อะนัตตา, วิญญาณัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ วิญญาเณ, เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา, ตัสสะมา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณ, เอวัง เม วิญญาณังโหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ, อะนิจจัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ, อะนิจจา ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ, อะนิจจา ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ, อะนิจจา ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ, อะนิจจัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัสสะมา ติหะ ภิกขะเว,
ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หีนัง วา ปะณีตัง วา, ยัน ทูเร สันติเก วา, สัพพัง รูปัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

ยา กาจิ เวทะนา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา, โอฬาริกา วา สุขุมา วา, หีนา วา ปะณีตา วา, ยา ทูเร สันติเก วา, สัพพา เวทะนา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

ยา กาจิ สัญญา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา, โอฬาริกา วา สุขุมา วา, หีนา วา ปะณีตา วา, ยา ทูเร สันติเก วา, สัพพา สัญญา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

เย เกจิ สังขารา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา, โอฬาริกา วา สุขุมา วา, หีนา วา ปะณีตา วา, เย ทูเร สันติเก วา, สัพเพ สังขารา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

ยังกิญจิ วิญญาณัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หีนัง วา ปะณีตัง วา, ยัน ทูเร สันติเก วา, สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตะวา อะริยะสาวะโก, รูปัสะมิงปิ นิพพินทะติ, เวทะนายะปิ นิพพินทะติ, สัญญายะปิ นิพพินทะติ, สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ, วิญญาณัสะมิงปิ นิพพินทะติ, นิพพินทัง วิรัชชะติ, วิราคา วิมุจจะติ,
วิมุตตัสะมิง วิมุตตะมิติ ญาณัง โหติ, ขีณา ชาติ, วุสิตัง พรัหมะจะริยัง, กะตัง กะระณียัง, นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ,
อิทะมะโวจะ ภะคะวา, อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง, อิมัสสะมิญจะ ปะนะ เวยยา กะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน, ปัญจะ วัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ, อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ.


คำประพันธ์ ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

คำแปลอนัตตลักขณสูตร
กาพย์อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

พุทโธโลกนารถ พุทธศาสดาจารย์
พุทโธผู้เบิกบาน ยังพลมารปราชัย
ตรัสแก่สัพพัญญู ตรัสรู้กิเลสไกล
สิ้นอาสวะขัย หฤทัยวิโมกข์ธรรม
วัฏฏูปัจเฉโท นิโรโธวิโมกข์ธรรม
สำเร็จโมกขธรรม อมตธรรมอันไม่ตาย
ไม่เกิดแลไม่แก่ ไม่เจ็บแท้ก็ไม่ตาย
พ้นแล้วจากความตาย พ้นอบายอเวจี
ทรงพระกรุณา ทรงเมตตาทรงหวังดี
โปรดปัญจวัคคีย์ ทรงหวังดีแสดงธรรม
สังขารเป็นกงจักร พระองค์หักซึ่งกงกำ
หักแล้วเป็นดวงธรรม พระองค์นำแสดงโปรด
ยกเรื่องวัฏฏจักร ธรรมจักรแสดงโปรด
เห็นทุกข์แลเห็นโทษ พระองค์โปรดให้หักเสีย
กงจักรให้ทุกข์เกิด จงเห็นเถิดจงหักเสีย
วัฏฏะเมื่อหักเสีย ทำลายเสียก็เห็นธรรม
อัญญาโกณฑัญญะ หักวัฏฏะก็เห็นธรรม
ดวงตาที่เห็นธรรม กระแสธรรมเป็นโสดา
พวกปัญจวัคคีย์ ท่านทั้งสี่ไม่มีตา
ไม่สำเร็จพระโสดา ไม่มีตาไม่เห็นธรรม
อัตตานุทิฏฐิ ถือทิฏฐิไม่เห็นธรรม
ถือตนไม่เห็นธรรม ได้ฟังธรรมก็เลื่อมใส
พระองค์ทรงโอวาท ทรงประกาศแถลงไข
เอื้อเฟื้อแลอาลัย เอาใจใส่ให้เห็นตน
เห็นธรรมจักษุ ได้บรรลุโสดาผล
ถอนความที่ถือตน หวังมรรคผลจึงขอบวช
พระองค์อนุญาต ทรงโอวาทรับรองบวช
เอหิภิกขุบวช ไม่ต้องสวดสำเร็จเอง
บวชเอหิภิกขุ บรมครูทรงบวชเอง
พระองค์ทรงสอนเอง พระองค์เองศาสดา
ตรัสเรียกให้ฟังธรรม พระสัทธรรมเทศนา
หวังเพื่ออรหัตต์ จึงทรงตรัสเทศนา
ทรงยกอนัตตา ลักขณาขึ้นแสดง
จำแนกเบญจขันท์ ทั้งห้าขันธ์ขึ้นแสดง
ทรงถามให้เห็นแจ้ง ให้รู้แจ้งด้วยตนเอง
รูปัง อนัตตา หรืออนัตตา ให้เห็นเอง
เวทนา ใช่ตัวตน สัญญาเอง อนัตตา
สังขารที่ถือตน วิญญาณตน อนัตตา
จงเห็นอนัตตา ในขันธ์ห้า ใช่ตัวตน
ถามปัญจวัคคีย์ ให้เห็นดี ใช่ตัวตน
ขันธ์ห้า ไม่ใช่ตน ถ้าเป็นตน ไม่ต้องป่วย
อัตตานุทิฏฐิ ถือทิฏฐิ ไม่ต้องป่วย
ถือตน ก็ต้องป่วย ความเจ็บป่วย อนัตตา
เวียนเกิดแลเวียนตาย เวียนทำลาย อนัตตา
ดูกร วัคคียา อนัตตาจริงหรือไม่
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จริงหรือไม่
เป็นทุกข์ จริงหรือไม่ หรือไม่ใช่ ไม่เห็นจริง
ภันเต พระเจ้าข้า อนัตตา เป็นทุกข์จริง
อนิจจา ไม่เที่ยงจริง ทุกข์จริง ๆ พระเจ้าข้า
ควรหรือจักตามเห็น ซึ่งรูปเป็นตัวอัตตา
ควรเห็นเวทนา เห็นสัญญาที่แปรปรวน
ควรเห็นซึ่งสังขาร เห็นวิญญาณที่แปรปรวน
เห็นทุกข์ที่แปรปรวน จึงไม่ควรจักถือเอา
ควรหรือจักถือตน ถือสกลเป็นตนเรา
ควรหรือจักถือเอา ถือเป็นเรา เป็นอัตตา
ภันเต ไม่ควรถือ ไม่ควรถือ พระเจ้าข้า
ไม่ควร พระเจ้าข้า อนัตตา อนิจจัง
ขันธ์ห้า เป็นกองทุกข์ ไม่ใช่สุข อนิจจัง
ไม่เที่ยง อนิจจัง เป็นทุกข์ขัง ลำบากใหญ่
พระองค์เมื่อทรงถาม ทรงตรัสห้าม ให้เห็นใจ
ภิกษุ เมื่อเห็นใจ สำเร็จได้ อรหันต์
ไม่ถือ อุปาทน สำเร็จฌาน อรหันต์
เหนื่อยหน่าย เบญจขันธ์ อรหันต์ โมกขธรรม
พ้นทุกข์ พ้นจากภัย อาสวะขัย โมกขธรรม
โลกุตตรธรรม ได้เห็นธรรม ประจักษ์ใจ
เหนื่อยหน่ายทั้งในรูป ได้เห็นรูป ก็เห็นใจ
เวทนา เหนื่อยหน่ายใจ เห็นหัวใจ ไม่ดิ้นรน
วิญญาณ ไม่ดิ้นรน ไม่กังวลไม่กำเริบ
ราคะก็สิ้นไป กิเลสไกล ไม่กำเริบ
พรหมจรรย์ ไม่กำเริบ ไม่อาบเอิบ อุปาทาน
พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว สิ้นไปแล้ว อุปาทาน
สำเร็จ พระนิพพาน สำเร็จฌาน ไม่สงสัย
วิมุตติ์ก็หลุดพ้น วิเศษพ้น กิเลศไกล
สิ้นอาสวะขัย สิ้นสงสัย ธรรมวิเศษ
อรหันต์ อันประเสริฐ อุบัติเกิด ธรรมวิเศษ
อรหันต์ ธรรมวิเศษ สิ้นกิเลส ในโลกา
อรหันต์ หกพระองค์ กับทั้งองค์ ศาสดา
อิสีปัตนา อยู่ในป่า บำเพ็ญเพียร
สงัดวิเวกใจ สงบใจ บำเพ็ญเพียร
อัศจรรย์ในความเพียร พระองค์เพียร กรรมฐาน
พวกเรา ก็ควรเพียร ควรเล่าเรียนร กรรมฐาน
ไม่ควรจะเกียจคร้าน กรรมฐาน ควรเจริญ
ศีลธรรม ไตรสิกขา ควรศึกษา ควรเจริญ
พวกเราจงเจริญ ทำจิตเทอญ วิเศษแลฯ



---------------------------------------------

คัดลอกและเรียบเรียงจาก

หนังสือชีวประวัติ ปฏิปทา และคำประพันธ์ ของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
โดย ธีรานันโท สำนักพิมพ์ดวงแก้ว

หนังสือคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ธรรมสภา

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา



Create Date : 20 กันยายน 2552
Last Update : 20 ตุลาคม 2552 19:52:36 น. 1 comments
Counter : 880 Pageviews.

 
ทัทกายตอนเย็นๆนะจ่ะ อิอิ


โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 6 พฤษภาคม 2554 เวลา:18:37:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.