ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

ผนังบ้านแช่น้ำนานๆ จะแก้ไขดูแลอย่างไร


ปัญหาที่ทุกบ้านที่ประสพปัญหาน้ำท่วมต้องเจอ และหาทางแก้ไขซ่อมแซมก็คือเรื่องผนัง
อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ อธิบายถึงวิธีแก้ไขไว้ดีมากจากหนังสือ ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง เลยขอนำมาถ่ายทอดต่อ เพราะการแก้ไข
ถ้ารีบร้อนไป อาจไม่ได้ช่วยอะไร และอาจต้องเสียเงินซ้ำสอง ลองมาดูกันเลยค่ะว่าเราควรทำอย่างไร กับผนังบ้านแบบต่างๆ

1. ผนังทำด้วยไม้ — ไม่ต้องทำอะไรมากปล่อยให้แห้งก็เพียงพอแล้ว เมื่อน้ำในบ้านลดลง เอาผ้าเช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบ
ความสกปรกออก เพื่อสุขภาพของคนในบ้าน และเพื่อผิวที่ทำความสะอาดแล้วสามารถระเหยความชื้นออกมาได้ง่าย ทิ้งไว้จนแน่ใจว่าผนัง
ของเราแห้งดี (อย่าทาแลคเกอร์ หรือน้ำยารักษาเนื้อไม้ หรือสีทาผนัง ก่อนที่จะให้ตัวผนังแห้ง เพราะจะทำให้น้ำและความชื้นระเหยไม่ออก 
จะเกิดอาการ “ชื้น และผุฝังใน”  การทาสี หรือทายารักษาเนื้อไม้ อาจจะทาเฉพาะด้านในตัวบ้านก่อนก็ได้ แล้วทิ้งไว้สักหลายเดือนจึงค่อย
ทาสีภายนอกตัวอาคาร เพื่อให้มั่นใจจริงๆว่าผนังของเราแห้งสนิทแล้ว (อย่าอายใคร หากบ้านเราจะไม่สวยสัก 5-6 เดือน)

2. ผนังก่ออิฐฉาบปูน — ก็ให้ทำแบบเดียวกับผนังไม้ตามข้อแรก แต่อาจจะต้องทิ้งเวลานานหน่อย เพราะการระบายความชื้นของผนังก่อ
อิฐยากกว่าผนังไม้  แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผนังไม้อาจแตกต่างจากผนังก่ออิฐก็คือ “สิ่งที่อยู่ภายใน”ไม่ว่าจะเป็นสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อน้ำ ฯลฯ 
เราต้องตรวจสอบสิ่งเหล่านี้ด้วยว่าอยู่ในสภาพดีเหมือนเดิมหรือไม่นอกจากนี้ การให้ความชื้นระเหยออกได้ง่าย ต้องพยายามไม่เอาสิ่งของ
หรือตู้ โต๊ะติดไว้ที่ผนัง แต่ก็ไม่ควรถึงกับเอาเอาไฟสปอทไลท์มาส่องให้ความร้อนเพื่อให้ความชื้นระเหยออกมาเร็วๆ ซึ่งไม่คุ้มกันเพราะ
จะเสียค่าไฟเพิ่มและเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เก็บเงินค่าไฟไว้เป็นค่าซ่อมบ้านดีกว่า


3. หากผนังทำด้วยยิบซั่มบอร์ด ก็คงต้องเลาะเอาแผ่นยิบซั่มออกจาตัวโครงเคร่าผนัง แล้วทิ้งแผ่นยิบซั่มไป ถ้าโครงเคร่าทำด้วยโลหะ
ก็สามารถติดแผ่นใหม่เข้าแทนที่ได้เลย แต่หากโครงเคร่าเป็นไม้ คงต้องทิ้งไว้สักหลายวันให้ความชื้นในโครงไม้ระเหยออกเสียก่อน 
จึงค่อยบุแผ่นใหม่เข้าแทนที่


4. ผนังที่ทำด้วยโลหะ หรือผนังงที่ทำด้วยกระจก ยามน้ำท่วมคงไม่เป็นอะไรมาก แต่เมื่อน้ำลดแล้วน่าจะต้องตรวจสอบตามซอกตาม
รอยต่อว่ายังมีน้ำหรือเศษขี้ผงฝังในอยู่หรือไม่ หากมีก็ทำความสะอาดเสีย (ควรดูด้วยว่ามีน้ำขังอยู่ในท่อของโครงอลูมีเนียมหรือไม่ 
ถ้ามีก็ต้องเอาออกเหมือนกัน)
 


5. ผนังชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นผนังกระดาษอัด ผนังสังกะสี ผนังไม้อัด ฯลฯ จะมีธรรมชาติคล้ายกับผนังทั้ง 4 อย่าง
ที่กล่าวมาข้างต้น ลองเปรียบเทียบดูแล้วแก้ไขตามแนวทางนั้นๆ

*การซ่อมวอลล์เปเปอร์หลังน้ำท่วม

เมื่อน้ำท่วมบ้านที่มีผนังบุด้วย วอลล์เปเปอร์ มีวิธีแก้ไขและซ่อมแซม ดังนี้
     วอลล์เปเปอร์จะมีลักษณะคล้ายสี ถ้าโดนความชื้นมากๆ จะลอกหรือร่อน  การแก้ไขก็โดยการลอกออกให้หมด เพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถ
ระเหยออกมาได้ โดยรอให้ผนังแห้งจริงๆ  แล้วจึงปิด วอลล์เปเปอร์ทับลงไป อาจจะปิดเองถ้าทำได้ หรือตามช่างมา ก็ได้

ที่มา รายละเอียดเพิ่มเติม : //www.iurban.in.th/diy/how-to-fix-the-wall-after-flooding



Create Date : 06 ธันวาคม 2554
Last Update : 6 ธันวาคม 2554 19:46:43 น. 0 comments
Counter : 1686 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]