ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

รำลึก 20 ปี แห่งอาจาริยบูชา หลวงปู่ชา สุภัทโท

รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท

รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท

รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท

รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท

รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท

รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท

รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

คลื่นมหาชนจำนวนมหาศาล ทั้งจากเหนือจรดใต้ ตลอดจนดินแดนในโลกตะวันตก ต่างพากันหลั่งไหลไปวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนมกราคม เพื่อระลึกถึงพระโพธิญาณเถร หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท ซึ่งละสังขารไปเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2535

           แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมาถึง 2 ทศวรรษแล้ว แต่ความเป็นปึกแผ่นแห่งคณะสงฆ์สายปฏิบัติกลับดำรงอยู่อย่างเหนียวแน่นมั่นคง เฉกเช่นเดียวกับพุทธศาสนาที่หยั่งรากลึกแผ่ไพศาลมานานกว่า 2,500 ปี และไม่ต่างกับ หลวงปู่ชา ซึ่งเป็นพระสายอรัญวาสีที่เคร่งครัดรักษาพระวินัยในพุทธบัญญัติตามอย่างพระภิกษุในสมัยพุทธกาลเป็นอย่างยิ่ง จวบจนท่านละสังขารจากไปนานกว่า 2 ทศวรรษ

           คำสอนของท่านที่ให้หมู่ภิกษุเคารพกันตามอายุพรรษา ยังเป็นสิ่งที่พระภิกษุแห่งวัดหนองป่าพงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมาช้านาน และแม้ว่าพระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่จะปลีกวิเวกไปปฏิธรรมตามบริเวณต่าง ๆ ภายในวัด หรือบ่อยครั้งที่ออกธุดงค์แสวงหาความวิเวกตามลำพัง แต่สิ่งหนึ่งที่พระภิกษุยึดมั่นปฏิบัติมาโดยตลอดก็คือ "ความเป็นหมู่คณะ" ทำให้ไม่มีภิกษุรูปใดเก็บของกินของใช้เอาไว้เป็นส่วนตน หากจะฉันก็ต้องฉันพร้อมกัน วันละมื้อเดียว ฉันในบาตรใบเดียว แล้วจึงค่อยแยกย้ายไปบำเพ็ญเพียรตามลำพัง กระทั่งถึงเวลาที่กำหนด ก็ต้องมาทำหน้าที่ดูแลภายในวัดตามที่ได้รับมอบหมาย

           ความเคร่งครัดในการปฏิบัติและยึดถือพระธรรมวินัย ประกอบกับการขยายความรู้ไปในหมู่ภิกษุสงฆ์ ทำให้พุทธศาสนิกชนทั่วทุกมุมโลกรู้จักวัดแห่งนี้ และด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ก็ได้ก่อกำเนิดสาขาย่อยของวัดหนองป่าพงตามหนแห่งต่าง ๆ มากมาย แม้แต่ในต่างประเทศ ชื่อเสียงของวัดหนองป่าพง และหลวงปู่ชา ก็เลื่องลือไปไกลทั่วทิศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ วัดหนองป่าพงถือเป็นวัดอรัญวาสีที่มีสาขามากถึง 300 แห่ง โดยอยู่ในทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย รวมแล้ว 16 แห่ง ซึ่งก็ไม่น่าแปลกที่ หลวงปู่ชา จะมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย รวมทั้ง "ศิษย์ฝรั่ง", "ศิษย์ญี่ปุ่น" ที่มีมากขึ้นทุกวัน


พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก


           พระอาจารย์สุเมโธภิกขุ ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นศิษย์ฝรั่งรูปแรกของหลวงปู่ชา เล่าว่า ได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ชา แห่งวัดป่าอันสงบ ตั้งแต่เมื่อ 45 ปีก่อน ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา แม้ว่าในช่วงแรกการสื่อสารด้วยภาษาไทยจะเป็นปัญหาใหญ่ เพราะท่านพูดภาษาไทยไม่ได้เลย และต้องใช้เวลาเรียนรู้ธรรมะนานพอสมควรจึงจะเข้าใจ ซึ่งสิ่งแรกและสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่หลวงพ่อชาหยิบยกขึ้นมาสอนก็คือ "การดูอารมณ์" เพื่อให้ตัวเองรู้อารมณ์ว่าเป็นสังขาร เกิดขึ้นได้ ดับได้


พระอาจารย์สุเมโธภิกขุ

การแสดงธรรมของพระอาจารย์สุเมโธภิกขุ


"สิ่งที่พระอาจารย์ชาแนะนำก็คือ การอยู่ให้เห็นอารมณ์ นี่เป็นสิ่งสำคัญ เป็นคำสอนที่ลึกซึ้ง และก็เป็นคำสอนที่ง่ายมากด้วย เพราะเราไม่รู้ภาษาไทย ไม่มีทางเข้าใจคำสอนเวลาท่านแสดงธรรม อ่านพระสูตร พระวินัยอะไรไม่รู้เรื่องเลย แต่เราสามารถที่จะดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ดูความเป็นอนิจจัง ถ้าดูเดี๋ยวนี้ ก็จะเห็นหลายอย่าง..." พระอาจารย์ชาวอเมริกัน กล่าว

           พระอาจารย์สุเมโธภิกขุ กล่าวด้วยว่า แม้พระอาจารย์ชาจะละสังขารไปนานถึง 20 ปีแล้ว แต่ก็เสมือนท่านยังมิได้จากไป เพราะท่านได้ทิ้งสิ่งอันเป็นที่ยึดเหนี่ยว และทำให้คณะสงฆ์วัดหนองป่าพงขยายขอบเขตเติบโตไปมาก แต่ก็ยังมั่นคงด้วยการรักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัดนั่นเอง เพราะทราบดีว่า การรักษาพระวินัยตามที่พระอาจารย์ชาสอนมา จะช่วยให้เกิดสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา

           ขณะที่พระอาจารย์ปสันโนภิกขุ แห่งวัดป่าอภัยคีรี แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก็ได้มาร่วมแสดงธรรมเนื่องในโอกาสนี้ด้วย โดยท่านเน้นหลักคำสอนที่เข้าถึงแก่นแท้แห่งการดับทุกข์ อันเป็นสิ่งสำคัญที่พระอาจารย์ชายึดมั่นถือมั่นปฏิบัติมาโดยตลอด


พระอาจารย์ปสันโนภิกขุ แห่งวัดป่าอภัยคีรี แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

พระอาจารย์ปสันโนภิกขุ แห่งวัดป่าอภัยคีรี แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา


"สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระอาจารย์ชาก็คือ ท่านจะเป็นอาจารย์ที่ให้ความสำคัญกับการฝึกหัดเป็นพื้นฐาน ทุกสิ่งที่เราทำสามารถเป็นการฝึกหัดได้ทั้งสิ้น ท่านสอนให้ฝึกหัดและปฏิบัติด้วยความสนใจ แม้ธรรมะของพระพุทธเจ้าจะมีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนเอาหมด รู้แต่ว่าจิตของเรามีความกระหายต่อความเป็นจริง มีความต้องการระบบที่ถูกต้อง ต้องพยายามให้โอกาสกับตัวเองให้ได้ฝึกหัด และฝึกฝนอย่างเคร่งครัด" พระอาจารย์ปสันโนภิกขุ กล่าว

           เพราะเหตุใด วัดหนองป่าพง จึงยังเป็นปึกแผ่นแม้หลวงปู่ชาจะมรณภาพไปนานแล้ว? เรื่องนี้ พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ พระฝรั่งชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของหลวงปู่ชา ได้เคยแสดงธรรมไว้ที่สวนโมกข์ เมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ.2555 ว่า การที่วัดหนองป่าพงยังขยายตัวไปได้เรื่อย ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ใช่ความบังเอิญ เพราะพระอาจารย์ชาเป็นครูที่ให้ความสำคัญคณะสงฆ์ และการสร้างชุมชนที่มั่นคงมาก ท่านจึงมีนโยบายให้ลูกศิษย์ลูกหาสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม ด้วยศีล ด้วยธรรม และให้เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ จะถูกหรือผิดก็ไม่เป็นไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงมีลูกศิษย์จำนวนมากที่มีความเชื่อมั่นและความสามารถในการทำงานเพื่อส่วนรวม

           พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ บอกอีกว่า หลักคำสอนสำคัญที่พระอาจารย์ชาสอนเสมอก็คือ เรื่องอริยสัจ 4 และสิ่งที่ท่านเน้นมากก็คือ ทุกข์เพราะความคิดผิด ซึ่งได้ฟังคำนี้มาตั้งแต่ปีแรกที่เรียนรู้กับท่าน 4 คำนี้ใช้ได้ตลอด 30 กว่าปี เพราะทำให้รู้ว่า เมื่อเราทุกข์ทางใจ เราต้องหยุด หยุดแล้วดูว่าตัณหาอยู่ตรงไหน เพราะถ้าไม่มีตัณหาก็ไม่มีทุกข์


รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท

รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท

รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท


           อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นได้ว่า ในโอกาสแห่งการแสดงอาจาริยบูชาหลวงปู่ชาทุก ๆ ปี ในช่วงเดือนมกราคมนั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นโอกาสพิเศษของหมู่สงฆ์ที่ได้มาพบปะประชุมร่วมกัน เพื่อทบทวนแนวทางปฏิบัติให้ยังอยู่ในทำนองคลองธรรมตามคำสอนของหลวงปู่ชา แต่ยังมีญาติโยมจำนวนมากมายเดินทางมาปฏิบัติธรรมร่วมกัน ซึ่งเพราะเหตุนี้เอง จึงทำให้ "โรงทาน" ก่อกำเนิดขึ้น


โรงทานที่วัดหนองป่าพง

โรงทานที่วัดหนองป่าพง

โรงทานที่วัดหนองป่าพง


           คุณลุงสุข วัย 66 ปี ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านใกล้ ๆ กับเขตวัดหนองป่าพง เล่าถึงต้นกำเนิดของโรงทานแห่งวัดหนองป่าพง ว่า เมื่อ 20 ปีก่อนที่พระอาจารย์ชาละสังขารไป คณะสงฆ์วัดหนองป่าพงได้กำหนดให้มีวันน้อมรำลึกแสดงอาจาริยบูชาแด่ท่าน ก็ปรากฏว่าผู้คนจากทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลมาที่วัดแห่งนี้เพื่อร่วมปฏิบัติธรรม ดังนั้น จึงทางวัดจึงตั้งโรงทานขึ้น เพื่อจัดหาข้าวปลามาเลี้ยงดูผู้มาเยือน ซึ่งสอดคล้องกับธรรมเนียมไทย และเป็นการบริจาคทานตามธรรมเนียมคนอีสาน

           ลุงสุข บอกว่า ในแต่ละปี ก็จะมีชาวบ้าน คณะครู นักเรียน สถานศึกษา หน่วยงานราชการต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมมือร่วมใจกันเข้าทำอาหารแจกจ่ายในโรงทานแห่งนี้ จนกลายเป็นการบริจาคทานครั้งใหญ่ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ซึ่งในความรับรู้ของชาวอุบลราชธานี พระอาจารย์ชาคือพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และปฏิบัติจริง แม้หลาย ๆ คนที่มารวมกัน ณ ที่นี้ ไม่มีโอกาสฝึกฝนปฏิบัติธรรมอย่างท่าน แต่ทุกคนก็นอบนบยอมรับ และร่วมอนุโมทนา โดยหวังว่าจะได้ร่วมบุญไปกับท่านด้วยการบริจาคทาน

"ท่านเป็นนักปฏิบัติ ท่านไม่เน้นการพูด แต่เน้นการปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง ซึ่งคำสอนของท่านมีผลกับชีวิตของเรามาก ถ้าอยากให้ใครเชื่อเราก็ไม่ต้องพูดมาก แต่จงทำให้เขาเห็น เป็นให้เขาดู และไม่ทำอะไรก็ตามโดยหวังผลตอบแทน แต่ให้มีความสุขกับสิ่งที่ทำ และทำเต็มที่เต็มกำลัง" ลุงสุข บอกเล่าถึงคำสอนของหลวงปู่ชาที่ยังจำไว้ไม่ลืมเลือน


รำลึก 20 ปี หลวงปู่ชา สุภัทโท


           นี่คือความเลื่อมใสศรัทธา ที่คนจำนวนมากมีต่อ หลวงปู่ชา สุภัทโท แม้ว่าท่านจะละสังขารไปกว่า 20 ปีแล้ว แต่คำสอนของท่านก็ยังคงเป็นคำสอนที่เป็นอมตะ ที่ใช้เตือนสติและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้เสมอ แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนแล้วก็ตาม





ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

นิตยสาร ค ฅน ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 (76) มีนาคม 2555


Create Date : 09 พฤษภาคม 2555
Last Update : 9 พฤษภาคม 2555 21:17:44 น. 0 comments
Counter : 2116 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]