สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากการทำงานประจำในบริษัทญี่ปุ่น
ฉันทำงานบริษัทญี่ปุ่นมา 1 ปีกว่า ได้เรียนอะไรมากมาย ฉันจึงจะมาแชร์ประสบการณ์จากการทำงานประจำที่เรียกว่างาน 9-to-5 ให้ทุกคนได้อ่านกัน

บริษัทที่ฉันทำงานเป็นบริษัทญี่ปุ่น ที่พึ่งเข้ามาตั้งในเมืองไทยได้ไม่ถึงสามปี ก็เลยยังมีความญี่ปู๊น ญี่ปุ่นอยู่สูงมาก ๆ
  1. การมาสาย/เข้าประชุมสายเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ถ้าเข้าสายประมาณ 5-10 วินาทีก็ต้องขอโทษแล้ว และถ้าหากจะสายจริง ๆ หรือมีเหตุฉุกเฉิน ต้องไลน์แจ้งหรือโทรแจ้งหัวหน้างานก่อนเพื่อรักษามารยาทที่ดี พร้อมแจ้งเวลาที่จะเข้าไปถึงที่ทำงานคร่าว ๆ ด้วย
  2. โต๊ะทำงานตอนทำงานจะรกแค่ไหนก็ได้ แต่ตอนจะกลับบ้านจะต้องจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย อย่างที่ออฟฟิสเราไม่มีโต๊ะเป็นของใครของมัน จะเป็นลักษณะ Hot desk หมายความว่าเราจะนั่งตรงไหนก็ได้ เพราะฉะนั้นทุกวันก่อนกลับบ้านจะต้องเคลียร์โต๊ะให้โล่งก่อน ของใช้ในการทำงานให้เก็บเข้าล็อกเกอร์หรือตู้ให้หมด
  3. เครื่องถ่ายเอกสารเป็นของใช้ส่วนรวม ดังนั้นเราจะต้องไม่ลืมเอกสารอะไรทิ้งไว้ที่เครื่องถ่ายเอกสาร เพราะเอกสารบางอย่างเป็นความลับที่แผนกอื่นรู้ไม่ได้ อาจจะทำให้บริษัทเสียหายได้ อย่างเช่นข้อมูลของลูกค้า หรือเงินเดือนพนักงาน ถ้าหากว่าเป็นเอกสารที่เป็นความลับมาก ๆ ควรทำลายทิ้งทุกครั้งที่ใช้เสร็จ
  4. การเสิร์ฟน้ำให้ลูกค้าที่ดีควรเสิร์ฟบนถาด และใช้แก้วใสที่มีที่รองแก้ว
  5. การประชุมออนไลน์ ไม่ควรปิดกล้องหากไม่มีเหตุจำเป็น และไม่ควรทำหน้าง่วงหงาวหาวนอน หรือไม่ควรเอามือขึ้นมาเท้าคาง
  6. การแต่งหน้าพอดี ๆ ถือเป็นมารยาทอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงพึงกระทำ (แต่ฉันหน้าสดไปทำงานนะ ๕๕๕ โดนพี่ที่ออฟฟิสว่าประจำ เพราะฉันไม่ชอบเวลาลิปสติกมันติด Mask)
  7. มารยาททางธุรกิจเกี่ยวกับอีเมลล์คือการตอบกลับเมื่อมีอีเมลล์มาหาเรา เช่น “ขอบคุณสำหรับอีเมลล์ค่ะ ได้รับแล้วนะคะ จะตรวจสอบและตอบกลับไปอย่างเร็วที่สุด” เพื่อเป็นการแจ้งให้อีกฝ่ายทราบว่าเราได้รับอีเมลล์ของเขาแล้ว และกำลังดำเนินการอยู่
  8. เพื่อป้องกันความผิดพลาด ทุกครั้งหลังส่งอีเมลล์หาใครก็ตามจะต้องโทรหาคนที่เราส่งอีเมลล์ให้ด้วย เพื่อตรวจสอบว่าทางนั้นได้รับอีเมลล์ของเรา หรือไม่ได้มองข้ามมันไปในกรณีที่เขายุ่งมาก ๆ ที่จริงใน email เราสามารถตั้งค่า Return-Receipt ได้ ซึ่งระบบจะส่งอีเมลล์ตอบกลับมาว่าทางผู้รับได้เปิดอีเมลล์อ่านแล้ว
  9. หัวข้ออีเมลล์ควรเขียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าติดต่อบริษัทที่ให้บริการ B2B เราควรใส่ชื่อบริษัทเราไว้ใน [] ข้างหน้า เช่น [ABC Company] นำส่งใบเสนอราคาที่อนุมัติแล้ว เพราะเวลาที่อีเมลล์นี้ไปอยู่ใน Inbox ของอีกฝั่ง เขาจะได้รู้ทันทีว่ามาจากบริษัทของเรา และทำให้เขาไม่เสียเวลาในการตามหาอีเมลล์ของเรา
  10. รายละเอียดในอีเมลล์ควรใส่ให้ชัดเจน พวกวันที่ ไม่ควรพิมพ์เป็นตัวเลขล้วน เช่น 3/4/2020 เพราะอาจจะทำให้เกิดความกำกวมว่าเป็น วันที่ 3 เดือนเมษายน หรือวันที่ 4 เดือนมีนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณต้องดีลกับบริษัทญี่ปุ๊นญี่ปุ่นที่ใช้ เดือน/วัน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน เป็นเรื่องปกติ ให้เขียนเต็ม ๆ ไปเลยเป็น วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2020
  11. ลำดับการ CC ก็มีความสำคัญ คือคนที่เรา To คือคนที่ต้อง Take action something ส่วนคนที่เรา CC คือคนที่รับรู้ไว้ก็พอ หรือเป็นหัวหน้าของคนที่เราส่งถึง ควร CC ตามลำดับตำแหน่ง โดยให้ของฝั่งโน้นก่อนของฝั่งเรา
เช่น To คุณ ก.
CC. คุณ ข., คุณ ค., คุณ ง., คุณ จ.
โดยที่คุณ ข., คุณ ค. เป็นคนของฝ่ายลูกค้า คุณ ง., คุณ จ. เป็นหัวหน้าสายงานของเรา
  1. การเดินกับหัวหน้า ควรเป็นฝ่ายเดินนำ เผื่อมีประตู หรือลิฟท์ เราจะได้เป็นคนเปิดให้ เป็นคนกดลิฟท์ให้
 
อะไรประมาณนี้ จริง ๆ มีอีกอยู่นะ ๕๕๕ เผื่อใครอยากรู้ว่าทำงานในบริษัทญี่ปุ่นมันเป็นยังไง เอามาแชร์ให้อ่านกัน
 



Create Date : 25 พฤษภาคม 2564
Last Update : 25 พฤษภาคม 2564 11:05:56 น.
Counter : 367 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Kurobina
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ยินดีที่ได้รู้จัก หวังว่าเราจะได้ทำดีต่อกัน

ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใด ทำซ้ำ คัดลอก ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดใน Blog นี้ ทั้งโดยเผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นการส่วนตัวหรือเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด
Motivation and Habits are keys to success.
  •  Bloggang.com