Group Blog
 
All Blogs
 
blog KU-ABC "ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนมาเลย์"

               blog KU-ABC " ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนมาเลย์"
                                         ดร.ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ KU33

           
วันนี้ขอนำเสนอ เรื่อง  " ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนมาเลย์"
งานวิจัยแบบพื้นบ้านในการปลูกทุเรียนยังคงดำเนินการต่อไป
ในสวนเกษตร VITA Farm ที่ยะโฮร์บารู สหพันธรัฐมาเลเซีย
เป็นช่วงเวลาที่ทุเรียนติดลูก โดยการบังคับให้ติดดอกโดยมนุษย์
เพื่อให้ได้ผลนอกฤดูกาล เก็บผลได้ก่อนตรุษจีน (ม.ค.-ก.พ.)
ผลทุเรียนจะได้ราคาดีที่สุด
...........................................................................................................................
ช่วงนี้จึงต้องมีการดูแลให้การเติบโตของผลดีที่สุด
ดร.ปกรณ์เห็นว่ามีเปลือกทุเรียนเป็นวัสดุเหลือทิ้งจำนวนไม่น้อย
และพืชจะสะสมโปแตสเซียมไว้ที่เปลือกของผล
จึงทดลองงานวิจัยนำเปลือกทุเรียนมาทำปุ๋ยหมัก
การหมักเปลือกทุเรียนที่ถูกต้อง ควรสับหรือบดเปลือกทุเรียนให้เป็นชิ้นเล็กๆ
จะย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ ง่ายและเร็วกว่า เปลือกทุเรียนที่ไม่ได้สับ....
...........................................................................................................................
         แต่...ผม ทดลองสับเปลือกทุเรียน
และเอาเข้าเครื่องบด.. ได้เปลือกที่บดแล้ว
แต่.... มันกินกำลังเครื่องมาก.. เลยเลิกทำ...
สูตรผสมปุ๋ยหมักครั้งนี้ โดยการใช้เปลือกทุเรียน 90%
ผสมกับขี้ไก่ 10% ใส่ลงในถุงกระสอบขนาด 20 กิโลกรัม
ใช้ระยะเวลาหมัก 2 เดือน
............................................................................................................................
การเอาเปลือกทุเรียนที่มีความชื้นสูงเหลืออยู่เพียง 20%
เหมาะกับการหมักกับขี้ไก่เพราะขี้ไก่เป็นตัวเติมไนโตรเจนให้กับดิน
เปลือกทุเรียนมีธาตุอาหารรองเมื่อหมักกับจุลินทรีย์
ก็จะทำการย่อยสลายเป็นสารอินทรีย์และไปย่อยสลายต่อ
เป็นสารอนินทรีย์ที่พืชนำไปใช้ได้อย่างดี
...........................................................................................................................
การทำปุ๋ยจากเปลือกทุเรียนเป็นการทำที่ง่าย ได้ปริมาณมาก
ถึงแม้จะไม่ได้สับเปลือกทุเรียนให้มีขนาดเล็ก
แต่เนื่องจากเปลือกทุเรียนมีความชื้นสูง
เมื่อปล่อยทิ้งไว้จะย่อยสลายได้ง่าย
............................................................................................................................
การวิเคราะห์ว่าสภาวะของปุ๋ยหมักวิธีนี้จะได้ผลหรือไม่?
โดยตอนเริ่มหมัก มีหนอนแมลงวัน
...ขณะกำลังหมัก ส่วนผสมมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนหนอนตายหมด
... เมื่อปล่อยให้อุณหภูมิลดลง ผมใช้ไส้เดือนใส่ลงไป
ถ้าไส้เดือนมีชีวิตอยู่แสดงว่าปุ๋ยอยู่ในสภาพใช้งานได้
...........................................................................................................................
ปุ๋ยหมัก อายุ 1 เดือน
จะยังคงเห็นเปลือกทุเรียนชัดเจน
แต่ละวัน เปลือกทุเรียนจะค่อยๆ
เปลี่ยนสภาพเป็นสีดำ นุ่ม ไม่มีกลิ่น
ป๋ยหมัก อายุ 2 เดือน เปลือกจะยุ่ย เละ
มองเห็นแค่หนามทุเรียนเท่านั้น
.........................................................................................................................
การทดลองกับพืชตัวอื่นก่อนการใช้จริงกับทุเรียน
ผมเอาปุ๋ยหมักนี้มาใส่ให้หญ้าเนเปียร์
... ในขณะที่เขียนนี้ สังเกตดูว่าหญ้าเติบโต งอกงามดี
จึงนำปุ๋ยหมักนี้ไปใส่ต้นทุเรียนที่กำลังมีลูก
...........................................................................................................................
และคาดหวังว่าช่วงปีใหม่ถึงตรุษจีน
อีกร้อยกว่าวันจะมีผลผลิตทุเรียนออกวางขายได้
การทดลองเปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยหมักผสมขี้ไก่
กับปุ๋ยหมักผสมขี้ไก่+จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง PSB
............................................................................................................................
PSB ย่อมาจาก PhotoSynthesis Bacteria เป็นแบคทีเรีย
ซึ่งมีธาตอาหารอุดมสมบูรณ์ ใช้เป็นธาตุอาหารพืชได้
แต่หน้าที่หลักก็คือสังเคราะห์แสงแล้วเปลี่ยนแก๊สเสียเป็นสารอาหารพืช
ได้จากการเพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอาหารแล้วนำไปตั้งตากแดด
จะได้จุลินทรีย์นำมาใช้ในการหมัก มีประโยชน์ช่วยตรึงไนโตรเจนในดิน
เพิ่มไนโตรเจนให้พืชที่ปลูก เร่งการเติบโต ทำให้พืชแข็งแรงโตเร็ว
............................................................................................................................
PSB ถูกเรียกว่าเป็นแบคทีเรียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และมีการใช้ในงานเกษตรอย่างแพร่หลาย
............................................................................................................................
ผม.. ยังคงติดตาม
ประเมินผลงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยหมักจากเปลือกทุเรียนในครั้งนี้
จนถึงปีหน้า เราคงต้องติดตาม
เอาใจช่วยในผลสำเร็จของผลิตผลทุเรียนด้วยกันนะคะ
( เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
-https://youtu.be/CVIBKSQhF9s )
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 26 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “
 


Create Date : 26 ตุลาคม 2562
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:10:47 น. 0 comments
Counter : 1699 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.