Group Blog
 
All Blogs
 
blog KU-ABC"แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร"

                       blog KU-ABC"แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร"
                                                                       อนันต์ สุวรรณรัตน์


ขอนำความรู้เรื่องนี้ ของ อดีตอธิบดีกรมการข้าว
ซึ่งปัจจุบันดำรงวตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์



สาระน่ารู้นี้เคยเผยแพร่ลงในวารสาร ส.ม.ก. มาแล้ว
........................................................................................................................

สินค้าข้าวมีความสำคัญต่อประเทศไทยในหลากหลายมิติ ได้แก่
มิติเศษรฐกิจ ข้าวไทยมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 1 ใน 4
ของปริมาณการส่งออกข้าวของตลาดโลก ทำรายได้เข้าสู่ประเทศ
ปีละไม่ตำกว่า 200,000 ล้านบาท
............................................................................................................................

มิติความมั่นคงทางอาหาร ทั้งสำหรับประชากรไทย
และประชากรโลกที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ด้วยข้าวเป็นอาหาร
ที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต
ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ
............................................................................................................................

มิติทางสังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบันมีชาวนาปลูกข้าว 3.7 ล้านครัวเรือน
การปลูกข้าวเป็นบ่อเกิดประเพณีและวัฒนธรรมในภาคเกษตรกรรมของไทย
จุดเปลี่ยน...ข้าวไทยทั้งวงจร การดำเนินงานด้านข้าวถือเป็นวาระสำคัญของรัฐบาล
และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีเป้าหมาย คือ การทำให้ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดี
และทำให้สินค้าข้าวของไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างยั่งยืน
ซึ่งหมายถึงการพัฒนาชาวนาไทยทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปัจจัยการผลิตข้าว กระบวนการผลิตข้าวและการทำตลาดข้าว
............................................................................................................................

โดยมีหลักคิดตามแนวพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผู้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวกับข้าวนานัปการ
ซึ่งในหลายโอกาสพระองค์ทรงหว่านข้าวในนาทดลอง
และทรงทดลองเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง
โดยมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพเทพยวรางกูร
และพระบรมวงศานุวงศ์โดยเสด็จด้วย

............................................................................................................................

ทรงมีกระแสพระราชดำรัส เมื่อปีพุทธศักราช 2541
มีใจความสำคัญว่า
      “ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาการทดลองและทำนามาบ้าง
และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบากอยู่มิใช่น้อย
จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่างๆ ด้วย
จึงจะได้ผลเป็นลำเป็นสัน อีกประการหนึ่ง ที่นานั้นเมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้ว
ควรปลูกพืชอื่นๆ เพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่ใช่น้อย ทั้งจะช่วย
ให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น
เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป”
............................................................................................................................

บทเรียนสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และพสกนิกรชาวไทยจะสามารถนำมาปฏิบัติ
ได้แก่การเรียนรู้ในอาชีพของตนด้วยการลงมือทำ
หมายถึง การพัฒนาผู้ปลูกข้าวการเอาใจใส่ ในกระบวนการผลิต
ตั้งแต่ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น
และการวางแผนการผลิต
............................................................................................................................

ทรงให้จัดทำแปลงนาเพื่อทำการศึกษาพันธุ์ข้าว
และการปลูกข้าวอย่างครบวงจร
ภายในบริเวณสวนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
............................................................................................................................

ดังนั้น ในฤดูการผลิต 2558/2559 ที่ผ่านมา จึงเป็นครั้ง
แรกที่รัฐบาลริเริ่มการวางแผนการผลิตและการตลาดข้าวแบบ
ครบวงจร ด้วยการกำหนดเป้าหมายการผลิตข้าวในแต่ละรอบการปลูก
รวมถึงการจัดเตรียมปัจจัยการผลิต และพื้นที่การผลิตให้สอดคล้องกัน
ตลอดจนการวางแผนการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
............................................................................................................................

โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่าง 4 กระทรวงหลัก
ได้ร่วมกันจัดทำแผนทั้งหมด กล่าวคือ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับงานหลักเรื่อง การผลิต
- กระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบเรื่อง การตลาด
 - กระทรวงมหาดไทยเข้ามาช่วยดูแลในส่วนของข้อมูลชาวนา
และ กระทรวงการคลังช่วยดูแลในส่วนของการสนับสนุนเงินทุน
............................................................................................................................

สำหรับในปีการผลิต 2560/61 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว คิดเป็นพื้นที่66.69 ล้านไร่
ผลผลิต 29.50 ล้านตันข้าวเปลือก แยกเป็น
รอบที่ 1 พื้นที่ 58.68 ล้านไร่ ผลผลิต 24.34 ล้านตันข้าวเปลือก
รอบที่ 2 พื้นที่ 8.01 ล้านไร่ ผลผลิต 5.16 ล้านตันข้าวเปลือก
โดยรัฐบาลได้มีมาตรการยกระดับมาตรฐานผลผลิตและช่วยเหลือชาวนา
............................................................................................................................

จึงมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560
อนุมัติให้ดำเนินการ 2 โครงการต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี (2560 - 2564)
งบประมาณ 25,871.14 ล้านบาท ดังนี้
............................................................................................................................

1) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่)
2) โครงการส่งเสริมผลิตข้าวอินทรีย์ ซึ่งมีความมุ่งหวังที่จะช่วยให้ชาวนา
พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตั้งแต่ส่งเสริมให้ชาวนารวมกลุ่ม
ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลผลิต
และพัฒนาการตลาด ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มทำนา
ยกระดับคุณภาพข้าวให้ได้มาตรฐานข้าว GAP ด้วยต้นทุนที่ลดลง
และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 สร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม
............................................................................................................................

โดยใช้แนวทางการพัฒนา Smart Farmer / Smart Group
รวมทั้งแนวทางพัฒนาอื่นๆ ที่เหมาะสมส่วนโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
เป็นข้าวอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร
เนื่องจากประเทศไทยและต่างประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสู
งกำลังเข้าสู่สังคมของการเป็นผู้สูงอายุ จึงต้องหันมาดูแลใส่ใจต่อสุขภาพ
โดยเฉพาะการบริโภคข้าวปลอดสารเคมีและมีความต้องการสินค้าข้าวอินทรีย์เพิ่มสูงขึ้น
ผลผลิตข้าวอินทรีย์ของประเทศไทยส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก
ส่วนใหญ่ร้อยละ 96 ส่งจำหน่ายยังต่างประเทศได้แก่
ยุโรปร้อยละ 80  ,เอเชีย (จีนญี่ปุ่น) ร้อยละ 5, อเมริกา และแคนาดาร้อยละ 5
............................................................................................................................

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านการตลาดให้มีตลาดรองรับที่แน่นอน
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเหน็ ชอบ เมื่อวนั ที่ 4 กรกฎาคม 2560
อนุมัตืโิ ครงการเชือ่ มโยงตลาดรองรับผลผลิตข้าวอินทรีย์
และข้าว GAP งบประมาณ 2,873ล้านบาท ให้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี
เพื่อเป็นการขยายตลาดเดิมและเพิ่มตลาดใหม่

.............................................................................................................................
ผลลัพธ์...ข้าวครบวงจร
ผลลัพธ์ในระยะสั้นของแผนการผลิตข้าวแบบครบวงจร
คือการสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน
และรักษาเสถียรภาพของราคาข้าว
นอกจากผลลัพธ์ในระยะสั้นแล้ว การปฏิบัติตามแผนและการแก้ปัญหาข้าว
และชาวนาของประเทศไทย จะนำไปสู่ความยั่งยืนของการผลิตข้าวในระยะยาว
โดยมีเป้าหมายหลักคือการสร้างชาวนาสมัยใหม่ (Smart Farmer)
ให้ทำนาได้อย่างชาญฉลาดเพื่อให้ชาวนามีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้
มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และมีความภาคภูมิใจในอาชีพชาวนา
อีกทั้งการผลิตข้าวมีประสิทธิภาพโดยมีปริมาณ
และชนิดสมดุลกับความต้องการ ตลอดจนผลผลิตข้าวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
มีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคต่อไป
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “
.


Create Date : 16 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:00:17 น. 0 comments
Counter : 483 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.