Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABC ส.ม.ก.จัดโครงการป้องกันกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าเฉลิมพระเกียรติ

    blog KU-ABC" ส.ม.ก. จัดโครงการป้องกันกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าเฉลิมพระเกียรติ"
                                                                         เตือนใจ เจริญพงษ์

       ขอนำกิจกรรมดีๆที่ชาว ส.ม.ก. และหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่
กรมปศุสัตว์  และสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ร่วมกันจัดโครงการป้องกันกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าเฉลิมพระเกียรติ

ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค  คนปลอดภัย  จากโรคพิษสุนัขบ้า
ตามพระปณิธานศาสตราจารย์
ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2561



งานนี้ นายนิวัติ  สุธีมีชัยกุล  อุปนายกสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในพระบรมราชูปถัมภ์   ได้กล่าวรายงานต่อ
ดร.จรัลธาดา  กรรณสูต   องคมนตรี 
............................................................................................................................

ว่า  สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ม.ก.)
ร่วมกับ กรมปศุสัตว์ และ สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

............................................................................................................................

ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงห่วงใยชีวิตทั้งคนและสัตว์
และมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย
จึงได้จัดทำโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า
............................................................................................................................




ตามพระปณิธานศาสตราจารย์   ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ 
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  อัครราชกุมารี
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
............................................................................................................................

ซึ่งประกอบไปด้วย

- กิจกรรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สัตว์เลี้ยง จำนวน ๑,๐๐๐ ตัว
-การผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว จำนวน ๑๐๐ ตัว 



 การจัดงานครั้งนี้สำเร็จไปได้ด้วย  ก็เพราะความสามัคคีร่วมแรง
ร่วมใจกันและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ขอขอบพระคุณ
-
นายภานุ  แย้มศรี   ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
- กรมปศุสัตว์
- สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- สำนักงานชลประทานที่  ๑๑  ที่อนุญาตให้ใช้สถานที่
   และอำนวย
ความสะดวกในการจัดเตรียมงานทุกๆ ด้าน
- เทศบาลเมืองนครปากเกร็ด  ที่ให้การสนับสนุนเต๊นท์  รถเก็บขยะ 
รถสุขาเคลื่อนที่
 -โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์  ที่ให้การสนับสนุนนักเรียนมาร่วมในงาน
............................................................................................................................

รวมทั้งบริษัทผู้อุปการะคุณเรื่องอาหาร เครื่องดิ่ม ดังนี้
/บริษัท  อมตะ  คอร์ปอเรชั่น จำกัด  (มหาชน)  
/บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 
/ บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด
/บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร  จำกัด  (มหาชน)
/ องค์การส่งเสริมโคนมแห่งประเทศไทย
/ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)
/  โครงการเนื้อสัตว์ปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค (ปศุสัตว์ OK)  
ที่ให้การสนับสนุนอาหารและเครื่องดื่ม 
...........................................................................................................................

และขอขอบคุณคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ชมรม สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทุกภาค 
ทุกจังหวัดทั่วประเทศ  เครือข่ายนิสิตเก่าเกษตรรุ่นต่างๆ
สมาคมนิสิตเก่าคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน  ที่ได้เสียสละเวลามาร่วมงาน  
............................................................................................................................
 
การจัดงานครั้งนี้ยังเป็นการเทิดพระเกียรติ 
และถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ 
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  อัครราชกุมารี 
ในฐานะนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ผู้มีคุณูปการต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ตลอดจนพสกนิกรชาวไทย 
ซึ่งยังนำความ ปลาบปลื้มใจมายังพวกเราชาวเกษตรศาสตร์อย่างหาที่สุดมิได้
ขอขอบคุณภาพจาก นิตยสารแพรว
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “
 

 
 
   




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 10:45:50 น.
Counter : 1183 Pageviews.  

blog KU-ABC สืบสานพระปณิธานจรรยาบรรณวิชาชีพนักกฎหมายบิดาแห่งกฎหมายไทย

                blog KU-ABC "สืบสานพระปณิธานจรรยาบรรณ
                    วิชาชีพนักกฎหมายของบิดาแห่งกฎหมายไทย"


                                                                           เตือนใจ เจริญพงษ์

.......เนื่องในโอกาสที่วันรพี 7 สิงหาของทุกปี
ขอเชิญชวนประชาชนน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
....พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
หรือ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์.......พระบิดาแห่งกฎหมายไทย





ผู้ทรงวางรากฐานการศึกษาวิชานิติศาสตร์
ระบบกฎหมายและระเบียบการศาลยุติธรรม
อันเป็นหลักของกระบวนการยุติธรรม.....
มาจนทุกวันนี้ .... มีผลทำให้สังคมไทยร่มเย็นเป็นสุข.....
............................................................................................................................

ต่อไปนี้จะใช้สรรพนามที่ 3 แทนพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ว่า เสด็จในกรมราชบุรี
....เมื่อครั้งเสด็จในกรมราชบุรีดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ทรงจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น เป็นกึ่งราชการ
และทรงสอนเป็นประจำ ....โรงเรียนที่ว่านี้ต่อมาคือ เนติบัญฑยสภา นั้นเอง
............................................................................................................................

ทรงเป็นอาจารย์ที่รักการสอน และทรงอธิบายกฎหมายอย่างแจ่มแจ้ง
ตำราที่ทรงใช้เป็นคู่มือในการสอน มี 2 เล่ม...........
เป็นกฎหมายตราสามดวงที่หมอบรัดเลย์
จัดพิมพ์ไว้เป็นภาษาอังกฤษ
...........................................................................................................................

แนวทางการสอนทางอาญาทรงใช้ประมวลกฎหมายอาญาของอินเดีย
ส่วนวิชาพิจารณาความ สัญญา และประทุษร้าย
ส่วนแพ่งทรงใช้ตำรากฎหมายของอังกฤษ
............................................................................................................................

ทรงอธิบายว่า
       ”เราจะพุ้ยไปฝ่ายเดียวไม่เหลียวแลดูใครนั้น ไม่ได้ต้องเดินตามกฎหมายที่โลกนิยม
ทรงรับสั่งกับผู้ที่สอบเป็นผู้พิพากษาได้ว่า ผู้ที่จะหาความเจริญรุ่งเรืองในวิชากฎหมาย
ต้องได้ศึกษาและอบรมทางจิตใจความเจริญทางวิชาการและทางจิตใจต้องขึ้นมาเท่าๆกัน
............................................................................................................................

เสด็จในกรมราชบุรี ......
ทรงเป็นผู้ให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาค
ทรงปรับปรุงกฎหมาย วิ.แพ่ง วิอาญา ลักษณะพยาน และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
............................................................................................................................

นอกจากนี้ ยังเคย....ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
มีผลงานที่ควรยกย่อง ได้แก่ เรื่องการสนับให้สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำป่าสัก
และทรงตั้งโรงเรียนสัตวแพทย์ ในยุคสมัยนั้นด้วย ก็ 100 กว่าปีมาแล้ว
............................................................................................................................

ข้อคิดดีๆอีกมากมายที่เสด็จในกรมราชบุรี รับสั่งไว้
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมารยาทที่ดีของนักกฎหมาย
.....เรื่องของการศึกษา
......เรื่องของจิตใจสูง
.............................................................................................................................

ซึ่งมีความหมายว่าผู้ที่สอบไล่เป็นนักกฎหมายได้แล้ว ต้องเรียนและมี 3 อย่าง นี้ คือ
......character (มารยาท)
........ Education(การศึกษา)
.........Service(จิตใจ)
............................................................................................................................

............มาวันนี้
......ทำให้นึกถึงหัวใจสำคัญ....ที่เสด็จในกรมราชบุรี ทรงสั่งสอนนักกฎหมายกฎหมายไว้
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่องจิตสำนึก...ศีลธรรม...คุณธรรม..และ จรรยาบรรณ
ในวิชาชีพของนักกฎหมายนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
ในการสร้างบรรทัดฐาน .....ความถูกต้อง.....ความโปร่งใส.....
และความเป็นธรรมให้ผู้คนในสังคมบ้านเราให้เป็นปรกติสุข
............................................................................................................................

แต่ยามนี้.....เรามักเห็น นักกฎหมาย....บางส่วน
ที่อาจหลงลืม...บทบาทและ...จรรยาบรรณในวิชาชีพของตน
............................................................................................................................
ตามที่เสด็จในกรมราชบุรี ได้ทรงวางหลักการไว้ไปชั่วขณะ ........
..... เลยทำให้.....เราๆ ท่านๆ สับสนบทบาทของนักกฎหมาย ว่า
.....เอ....ทำใหมเป็นอย่างนั้น หรือ...อย่างนี้....ทำได้ด้วยหรือ
แล้วจริงๆ .... อะไรถูก ....อะไรผิดกันแน่ ...ใช่หรือไม่ใช่
............................................................................................................................

คำถาม.....เหล่านี้....มีเสมอมา ก็อยากจะบอก....ว่า
....ผู้คนสมัยนี้....เขาคิดเองได้ประชาชนส่วนใหญ่....
ต่างรู้สึกชื่นชน....และ....เห็นเป็นประจักษ์ว่า
.......ก็ยังมี....นักกฎหมาย....อีกส่วนหนึ่ง.......ที่มีคุณงามความดี
.......มีความรู้ความสามารถ
มี ความเห็น และมุมมองในแง่กฎหมายที่ยังยึดหลักความถูกต้อง
และเป็นหลักให้บ้านเมืองได้.....
......ปราศจากการติดยึดขั้วอำนาจ หรือกระแสของสังคมแต่ประการใด
ก็ต้องช่วยกันไตร่ตรองกันให้ดี เพราะประชาชนเขามองอยู่.....
............................................................................................................................

........ได้แต่หวังว่า คง.........ถึงเวลาแล้วที่
..... เนติบัณฑิตยสภา
และ....สถาบันการศึกษาด้านกฎหมาย
ต้องปรับเปลี่ยน...การจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษารุ่นเยาว์ได้ซึมชับแบบอย่าง
ของความดีงามและความถูกต้องอย่างยั่งยืนและถาวร
อีกทั้ง...ให้มีจิตสำนึกและมีคุณสมบัติครบถ้วน.
............................................................................................................................
และขอฝากให้ทุกส่วนของสังคมช่วยกันเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเราเอง
ดังแบบอย่างความดีงาม ...ความสำเร็จ และตระหนักถึงความล้มเหลว...
หรือสิ่งไม่ดีไม่งามมาให้เยาวชนได้เรียนรู้กัน ซึ่งก็ต้องมีวิธีการสอน
หรือโน้มน้าวให้เกิดการมีส่วนร่วม เพื่อให้เรียนอย่างมีความสุขด้วย
โดยเฉพาะเรื่องของกฎหมายกับการพัฒนาประเทศ
...สมดั่งปณิธาน.ของ....
เสด็จในกรมราชบุรีพระบิดาแห่งกฎหมายไทยสืบไป
ข้อเขียนข้างต้นได้เผยแพร่ลงในวารสารเนติบัณฑิตยสถาน
และกรุงเทพธุรกิจรายวัน

............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “
    

 




 

Create Date : 09 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 10:47:04 น.
Counter : 1054 Pageviews.  

blog KU-ABC" รำลึกวันกู้ชาติไทย ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐ "

               blog KU-ABC " รำลึกวันกู้ชาติไทย ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐  "
                                                                         ดร.ประมุข เพ็ญสุต
" รำลึกวันกู้ชาติไทย ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐  "
ชาวไทยยังจำวันนี้กันได้มากน้อยเท่าไร เมื่อ ๒๕๒
พระเจ้าตากได้กู้ชาติ ขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ราธานีของไทย
นับเป็นวันที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย




ขอลำดับเหตุการณ์โดยยกข้อความจากพระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) โดยมิได้แก้ไขคำสะกด
แต่ขอเว้นวรรคตอน เพื่อความสะดวกในการอ่าน
นับเป็นเวลาที่พม่าล้อมค่ายอยู่ถึง ๑ ปี ๒ เดือน 
ที่พม่ายกทัพตีกรุงศรีอยุธยา ดังนี้
............................................................................................................................
 
ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๑๐
พระยาตากได้ออกไปตั้งทัพที่วัดพิชัยนอกกำแพงเมือง
แล้วตีฝ่าพม่าออกไปเมื่อวันที่กรุงแตก  ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน
ตรงกับวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ มุ่งสู่เมืองนครนายก
ตามที่ พงศาวดารจารึกไว้ว่า
............................................................................................................................

..........(พระยาตาก)จึงชุมนุมพักพวกพลทหารไทยจีนประมาณ ๑,๐๐๐ เศษ
สรรพด้วยเครื่องสาตราอาวุธต่าง ๆ
แลประกอบด้วยทหารผู้ใหญ่นั้น พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา
หลวงราชเสนา ขุน อภัยภักดี หมื่นราชเสน่หา
แล้วยกออกไปตั้งณวัดพิชัยอันเป็นที่ มงคลมหาสถาน
ด้วยเดชพระบรมโพธิสมภาร เทพดาเจ้าอภิบาลรักษาพระพุทธศาสนาส้องสาธุการ
บันดาลให้วรรษาการห่าฝนตกลงมาเป็นมหาพิชัยฤกษ์
จำเดิมแต่นั้นมาจึงให้ยกพลพยุหกองทัพออกจากวัดพิชัย
ฝ่ากองทัพพะม่าออกมาเป็นเพลาย่ำฆ้องยามเสาร์ ได้รบกันกับพะม่า
เป็นสามารถพะม่ามิอาจจะต่อต้านทานพระบารมีได้
ก็ถอยไปดำเนินด้วยพลทหารมาโดยสวัสดิภาพ ไปตามทางบ้านข้าวเม่า
พอบรรลุถึงสำบัณฑิตเพลาเที่ยงคืน 2 ยามเศษ เพลิงเกิดในกรุงเทพฯ...................
............................................................................................................................
 
<พงศาวดารบรรยาย สภาพกรุงแตกเมื่อพม่าเข้าเมืองได้>
...............ฝ่ายพะม่าก็ยกมารบค่ายวัดชัยวัฒนาราม ๙ คืนก็แตกแล้ว
ก็ยกมารบค่ายจีนคลองสวนพลู ๕ คืนจึงสำเร็จ
ครั้นณวันอังคารเดือน๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุรนพศก (จ.ศ. ๑๑๒๙ พ.ศ. ๒๓๑๐ ) เพลาบ่าย ๔ โมง
พะม่ายิงปืนป้อมสูงวัดการ้อง วัดแม่นางปลื้ม ระดมเข้ามาในกรุง
แล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกำแพงครั้นเพลาค่ำกำแพงซุดลงหน่อยหนึ่ง
พะม่าก็เข้ากรุงได้เข้าเผา พระราชวังและวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
แล้วกวาดเอากษัตริย์ขัตติยวงศ์ แลท้าวพระยาเสนาบดี อพยพครอบครัวทั้งปวงพาไป
............................................................................................................................

แต่พระเจ้า แผ่นดินนั้นหนีออกจากพระนครแต่พระองค์เดียว
ได้ความลำบาก ก็ถึงซึ่งพิราลัยไปสู่ปรโลก
ชนทั้งปวงจึงเอาศพมาฝังไว้.....................
............................................................................................................................

พระยาตากได้ยกไปตีเมืองจันทบุรีและใช้เป็นฐานที่ตั้ง
เมื่อทราบข่าวความยากลำบากของชาวอยุธยา
และกำลังทหารพม่ายังคงตั้งค่ายยึดครองอยู่โดยสุกี้พระนายกอง
ตามบรรยายของพงศาวดาร ดังนี้
............................................................................................................................
 
...............ในเวลานั้นก็เสด็จกลับมาณเมืองจันทบูร
ยับยั้งอยู่ต่อเรือรบได้ ๑๐๐ เศษ
จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุรนพศก ( พ.ศ. ๒๓๑๐ )
พระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้าได้ทรงพระเศาวนาการกิติศัพท์ว่า
กรุงเทพมหานครถึงแก่พินาสแล้ว
สมณพราหมณาจาริย์ขัติวงศาเสนาพฤฒามาตย์ราษฎรได้ความทุกข์ลำบากนัก
ทั้งบวรพุทธศาสนาก็เศร้าหมอง
แต่เหตุพะม่าตั้งพระนายกองไว้รั้งเมือง..................
............................................................................................................................
 
พระยาตากจึง ยกทัพไปตีทัพพม่าที่ค่ายโพสามต้น
อยุธยาพระนายกองยอมแพ้เข้าสวามิภักดิ์  ตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐ 
เป็นเวลาเจ็ดเดือนเต็มที่ทรงกอบกู้เอกราชและขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
เป็นเวลาผ่านมา ๒๕๒ ปีมาแล้ว
............................................................................................................................
 
...........ครั้นรุ่งขึ้นณวัน ฯ ๑๒ ค่ำ เพลาเช้า ๓ โมงเศษ
ยกเข้าตีค่ายโพ สามต้นฟากตะวันออก พะม่าก็แตกหนีเข้าค่าย
จึงตรัสสั่งให้ทำบันไดจะเข้าตีค่ายด้านตะวันตก ซึ่งพระนายกองตั้งอยู่นั้น
แลกองพระยาพิพิธ พระยาพิชัย เป็นทัพหน้า เข้าตั้งค่ายประชิด
ณ วัดกลางห่างค่ายประมาณ ๗ เส้นเศษ
............................................................................................................................

ด้วยพระเดชเดชานุภาพ ฝ่ายข้าศึกให้สยบสยองกลัวเป็นกำลัง
ต่างคนต่างก็หนีออกจากค่ายพระนายกองสิ้น
พระนายกองสะดุ้งตกใจ จึงคิดอ่านให้พระยาธิเบศรบริรักษ์
ผู้เป็นที่เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ออกมาถวายบังคมสวามิภักดิ
ยอมเป็นข้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
เชิญเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปณจวน
จึงรับสั่งมิให้ทหารกระทำอันตรายเบียดเบียนแก่ไพร่ฟ้าประชากรทั้งปวง...................
............................................................................................................................

 พระยาตากเห็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองก็สลดใจ คิดจะกลับไปจันทบุรี
แต่ชาวอยุธยาขอให้ท่านปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน
จึงไปประทับที่กรุงธนบุรี และสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงต่อมา
............................................................................................................................
 
.....ทอดพระเนตรเห็นอัฎฐิกเรวฬะคนทั้งปวงอันถึงพิบัติชีพตาย
ด้วยทุพภิกขะ โจระ โรคะ สุมกองอยู่ดุจหนึ่งภูเขา
แลเห็นประชาชนซึ่งลำบากอดอยากอาหาร มีรูปร่างดุจหนึ่งเปรตปีศาจ
พึงเกลียด ทรงพระสังเวชประดุจมีพระทัยเหนื่อยหน่ายในราชสมบัติ
จะเสด็จไปเมืองจันทบุรี
............................................................................................................................
 
จึงสมณพราหมณาจารย์ เสนาบดีประชาราษฎรชวนกัน
กราบทูลอาราธนาวิงวอน สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระบรมหน่อพุทธางกูร
ตรัสเห็นประโยชน์เป็นปัจจัยแก่พระปรมาภิเษกสมโพธิญาณนั้นก็รับอาราธนา
จึงเสด็จยับยั้งอยู่ณพระตำหนักเมืองธนบุรี....................
............................................................................................................................
.เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 
ขอบคุณภาพจากยูทูป
 
 
 
 




 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 10:47:49 น.
Counter : 281 Pageviews.  

blog KU-ABC "พระราชินีทรงห่วงใยราษฎร"

                     blog KU-ABC" พระราชินีทรงห่วงใยราษฎร"
                                                                                                                                     เตือนใจ เจริญพงษ์
 เมื่อหลายปีก่อนบทความเรื่องนี้เผยแพร่ในวารสารยุติธรรม
ของกระทรวงยุติธรรม ผู้เขียนได้ชื่นชมพระบารมีพระราชินี (พระพันปีหลวง)
จึงขอนำมารวบรวมไว้อีกครั้งเพื่อประโยชน์ในการค้นคว้า
และบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังต่อไป

   
 
 ชาวไทยต่างปลื้มปิติเป็นล้นพ้นในโอกาสมหามงคล
ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 76พรรษา และพร้อมใจกันแสดงความจงรักภักดี
และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีพระราชินี
ซึ่งได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันใหญ่หลวงนานัปการ
เคียงคู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงพระวิริยะอุตสาหะ เสด็จพระราชดำเนินไปดูแลทุกข์สุขของราษฎร
ทั่วพระราชอาณาจักร



โดยเฉพาะในถิ่นชนบททุรกันดาร ทรงส่งเสริมทนุบำรุงประเทศชาติ
และประชาชนทุกด้าน รวมทั้งทรงพระราชดำริริเริ่มโครงการเผยแพร่
ช่วยเหลือราษฎรไว้หลากหลาย พระราชจริยวัตรอันงดงามเป็นที่ประจักษ์
และซาบซึ้งแก่ปวงพสกนิกร พระกิตติคุณซึ่งแผ่ไพศาลทั้งในประเทศ
และขจรขจายกว้างไกลไปถึงนานาประเทศ
............................................................................................................................

เนื่องจากพระองค์ต้องทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในฐานะพระราชินี
ตั้งแต่พระชนพรรษาได้ 17 พรรษา ด้วยพระราชหฤทัยที่ทรงฝักใฝ่ศึกษาความรู้
ตลอดเวลา ทรงยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า
ทรงเป็นครูผู้คอยแนะนำสั่งสอนวิธีปฏิบัติให้ พระองค์เป็นพระราชินีที่ดี
............................................................................................................................

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
ได้ถวายพระธรรมเทศนา ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534
 ว่า     “…สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้ทรงเสริมส่งประเทยไทย
ให้งดงาม ปรากฏกว้างไกล แม้ถึงในประเทศห่างไกลทั้งหลาย
ทรงเป็นที่ภูมิใจเป็นล้นพ้นของผู้คนทั่วหน้าภายใต้พระบารมี ... ”
............................................................................................................................

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นธิดาองค์ใหญ่
ของ พลเอกพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรี(หม่อมเจ้านักขัตรมงคลกิตยากร) 
พระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ หม่อมหลวงบัว กิตยากร
เมื่อครั้งทรงเป็นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาเอกอัครราชทูต
ได้ตามเสด็จพระบิดาไปทรงศึกษาในต่างประเทศ ตั้งแต่พระชนมพรรษา 13 พรรษา
เมื่อเสด็จกลับมาประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 
ในฐานะพระคู่หมั้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งมีพระชนมพรรษาเพียง 17 พรรษา
และมีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
............................................................................................................................

ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระราชินี
และในวันที่ 5 พฤษภาคม ของปีเดียวกัน
ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงรับเฉลิมพระปรมาภิไธย
ว่า “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้เฉลิมพระยศสมเด็จพระราชินีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
และพ.ศ. 2499  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก
ทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
แต่งตั้งสมเด็จพระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ซึ่งต่อมาทรงเฉลิมพระยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
อันเป็นพระเกียรติยศสูงสุดของสมเด็จพระบรมราชินีแห่งประเทศไทย




สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระราชหฤทัยด้านการศึกษา
ทรงยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า 
“ปัญญาทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” 
...........................................................................................................................
พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเอนกอนันต์
อาทิ ทรงส่งเสริมการศึกษาในระบบ โรงเรียน การศึกษานอกระบบ
การศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงการศึกษาตลอดชีวิต แก่พสกนิกรทั่วไป
โดยเฉพาะประชาชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาที่มีฐานะยากจน
หรือในท้องถิ่นธุร กันดาร
............................................................................................................................

นอกจากนี้พระองค์ทรงมีพระอุปนิสัยรักการอ่านหนังสือเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งถ่ายทอดมายังพระราชโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์
ทรงโปรดอ่านและโปรดการเป็นครูด้วย 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “สมเด็จแม่กับการศึกษา” ว่า


“ ...สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถโปรดการเป็นครูและนักเรียน
กับเด็กที่บ้านทรงมีวิธีการสอนที่ สนุก เด็ก ๆ ในบ้านชอบเป็นลูกศิษย์ของพระองค์
แม้มิได้ทรงศึกษาด้านการศึกษาโดยตรง แต่พระราชดำริที่พระราชทาน
เรื่องเกี่ยวกับการศึกษาต่าง ๆ ล้วนแสดงถึงพระปรีชาญาณ
ด้านการจัดการศึกษาของชาติทั้งสิ้น ...” 




พระองค์ทรงโปรดการอ่านหนังสือต่าง ๆ เป็นประจำทุกวัน
ทำให้ทราบถึงความทุกข์ยากของราษฎร
นอกเหนือจากการที่ทรงพบเห็นด้วยพระองค์เอง
ยามใดที่มีข่าวคราวของผู้ประสบเคราะห์กรรมไม่ว่าจะเจ็บป่วย หรือทุกข์ใดก็ตาม
จะเห็นปรากฏในข่าวว่าเสมอมาว่า สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
ทรงพระกรุณาพระราชทานความช่วยเหลือแก่บุคคลนั้นแล้ว



พระแม่เจ้าของชาวไทยทรงเป็นแม่แบบนิยมไทยให้ประชาชน
ใช้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ ศิลปาชีพ จนเป็นที่นิยมของคนไทย
และชาวต่างประเทศอย่างรวดเร็วจวบจนถึงทุกวันนี้
โดยพระองค์ทรงวางแผนการศึกษาด้านศิลปาชีพอย่างครบวงจร
ทรงโปรดให้ชาวบ้านในชุมชนเดียวกันหรือชุมชนใกล้เคียงเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้
ด้านหัตถกรรมทั้งหลายแก่ลูกหลาน เช่น งานทอผ้าไหม ผ้าไหมแพรวา
ผ้าฝ้ายลวดลายดั้งเดิม ผ้ามัดหมี่ งานจักสาน ย่านลิเภา ไม้ไผ่ และหวาย
หรือแม้กระทั่งงานหัตกรรมที่ชาวบ้านไม่เคยเรียนรู้มาก่อน



เช่น การปั้นตุ๊กตาไทย งานหัตถกรรมที่ต้องใช้ความสามารถ
และความอดทนสูง เช่น งานเครื่องเงินเครื่องทอง งานครั่ง
งานถมเงินถมทอง ทรงพระราชทานคำแนะนำในการพัฒนางานให้สวยงามสมบูรณ์
ทรงหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และทรงรับซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ทำให้ราษฎรในท้องถิ่นมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อีกทั้งยังเป็นการสร้างช่างฝีมือที่ชำนาญในงานศิลปะไทยหลายแขนง
รวมทั้งการการอนุรักษ์ศิลปะโบราณที่เกือบจะสูญหายไปแล้ว
............................................................................................................................

 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงยกย่องความสามารถ
ของชาวนาชาวไร่ ด้วยความภาคภูมิพระราชหฤทัย ว่า 
“… คนไทยแต่ละคนแต่ละภาค ต่างก็มีฝีมือและความสามารถ
พร้อมจะพัฒนาชาติให้เจริญรุ่งเรือง ข้าพเจ้าได้ประจักษ์แล้วในฝีมือของคนไทย
ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าปราบปลื้มและมีกำลังใจเพิ่มขึ้นในการปฏิบัติงาน... ”

............................................................................................................................

 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงตระหนักดีว่า
ในยุคโลกไร้พรมแดน ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
ระหว่างชาตินับวันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้น คนไทยจึงต้องร่วมมือกัน
ทำนุบำรุงวัฒนธรรมของชาติไทยที่สืบทอดมาแต่อดีต
มิให้ ถูกกลืนไปกับกระแสวัฒนธรรมที่ผสมผสานของนานาชาติ
จนมิเหลือเอกลักษณ์ของไทย อันใดไว้เลย ดังนั้นจึงทรงนำเรื่องของดนตรี
และนาฏศิลป์เป็นสื่อให้คนไทยเกิดความภูมิใจใน วัฒนธรรมไทย
และมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้ปรากฏ ทรงส่งเสริมการอนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรมของชาติในทุก ๆ มิติ
............................................................................................................................

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ
ที่ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงทราบ
ความเดือดร้อนของชาวสวนใน 3 จังหวัดภาคใต้ ว่า



ไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ มีผลไม้เน่าเสียเป็นจำนวนมาก
ส่งผลกระทบต่อรายได้หลักอย่างเดียวในการดำรงชีพ
โดยเฉพาะชาวสวนลองกอง จึงทรงหาทางช่วยเหลือแก้ไขอย่างทันท่วงที
โดยมีพระราชเสาวนีย์ให้ข้าราชบริพารออกไปรับซื้อลองกองถึงสวนของชาวบ้าน
และให้ประสานงานกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่
โดยให้ราคาเท่ากับราคาลองกองชนิดคุณภาพดีที่ชาวสวนเคยขายได้
ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนไปได้ส่วนหนึ่ง
............................................................................................................................

อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมากเช่นกัน คือ พระองค์มีพระราชดำริ
ให้จัดสร้างโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
และฟาร์มตัวอย่างขึ้นที่บ้านรอตันบาตู
ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อช่วยเหลือครอบครัวราษฎร
ที่เสียชีวิตจากความไม่สงบ ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนหนึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว
ที่มาจากหลายอาชีพ ทั้ง ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร พลเรือน และราษฎร
จึงมีผลทำให้ครอบครัวดังกล่าวไม่มีราย ประสบความเดือดร้อน
พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้สร้างบ้านพักให้แก่ราษฎร จำนวน 150 หลัง
พร้อมพื้นที่ทำกินตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงครัวเรือนละ 2 ไร่
หมู่บ้านดังกล่าว มีผู้เรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการในระยะแรก
ว่า “ หมู่บ้านแม่ม่าย ” 

............................................................................................................................

สมเด็จพระนางนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ
น้ำท่วม ทำให้ไร่นาของราษฎรเสียหาย
สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำรัสถาม
ราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ
ทำให้ทรงทราบว่าราษฎรในชนบทจำนวนมากยากจน
มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ ไม่สามารถที่จะหารายได้เพิ่ม
ไม่เห็นหนทางที่จะแก้ไขความเดือดร้อนของตนเอง
ทั้งยังขาดแคลนสาธารณสุขพื้นฐานต่าง ๆ
จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น
............................................................................................................................

ซึ่งปรากฏในคำบอกเล่าของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( กปร.) ซึ่งกล่าวในการอภิปราย
เรื่อง “ สมเด็จฯ ของเรา ” ณ คณะแพทย์ศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดี
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 และได้เชิญพระราชดำรัสของ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ตอนหนึ่งว่า
............................................................................................................................

 “...พระเจ้าอยู่หัวและข้าพเจ้าไม่ได้พึงพอใจกับเพียงแต่เยี่ยมเยียนราษฎร
หรือทำแต่สิ่งที่เคยทำเป็นประเพณี เราต้องพยายามให้ดีกว่านั้น
เราต้องช่วยรัฐบาลส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นเพราะเราเป็น
ประเทศด้อยพัฒนา ดังนั้นการที่เพียงแค่ไปเยี่ยมเยียนราษฎรเพราะเป็นหน้าที่ของ
พระประมุขของประเทศที่จะต้องทำตามประเพณีนั้น เป็นเรื่องไร้สาระ
หากเราไม่สามารถมีส่วนร่วม ในการบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนแล้ว
เราต้องถือว่าการเป็นประมุขประสบความล้มเหลว...”




สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเล่าถึงความรัก
และความห่วงใยในราษฎรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเป็นบรรยากาศระหว่างเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรว่า 
       “ …ถ้าราษฎรที่ไหนทรงเห็นว่ายากจนจะลงประทับรับสั่ง
เป็นกฎของท่านรัชกาลนี้ บอกว่าไม่ให้ยืนค้ำราษฎร ให้นั่งพูดกับเขา
มันดูค่อยอบอุ่นหน่อย ดูเป็นครอบครัว และ พระเจ้าอยู่หัวไม่ยอมให้ไปยืนค้ำหัว
พูดกับราษฎร ถ้ายิ่งเป็นเวลานานท่านต้องการให้นั่งลงพูดกับเขา... ”
...........................................................................................................................

นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
ยังทรงริเริ่มโครงการอีกหลายโครงการเพื่อช่วยราษฎร
ของพระองค์ให้อยู่ดี กินดี โดยทรงวางระบบการให้ความช่วยเหลือ
ในการดำเนินชีวิตที่เป็นแก่นของปัญหาอย่าง แท้จริง ได้แก่ 
............................................................................................................................

     “ โครงการธนาคารอาหารชุมชน ” ที่บ้านนาป่าแปก ตำบลหมอกจำแป๋
อำเภอแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เป็นโครงการพระราชดำริ
ของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร
และทรงงานในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ.2543 
โดยมีพระราชดำริให้ส่วนราชการจังหวัด แม่ฮ่องสอน
จัดทำโครงการนี้ เพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอต่อการบริโภค
และทำให้คนอยู่กับป่า  ได้มีพระราชดำรัสอยู่เสมอว่า
   " คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้โดยคนต้องไม่ทำลายป่า ซึ่งหน่วยราชการต้องให้ความรู้แก่ชาวนาว่า เขาจะใช้ชีวิตอยู่ในป่าได้อย่างไร "
............................................................................................................................

 นอกจาก โครงการธนาคารอาหารชุมชน แล้วยังทรงมีพระราชดำริว่า
โครงการนี้  “ น้ำ ” มีความสำคัญที่สุด แต่น้ำจะอุดมสมบูรณ์ได้
ต้องอาศัย “ ป่า ” ที่อุดมสมบูรณ์เพื่อเก็บกักน้ำนั่นเอง
จึงทรงพยายามให้ความรู้แก่ชาวบ้านว่าต้องช่วยกันรักษาป่าเพื่อรักษาน้ำ
มีคนสงสัยว่า ทำไมจึงสอนให้รักป่า โดยการรักษาป่าไว้
เพราะป่าเป็นเสมือนน้ำเลี้ยงแผ่นดิน เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้านเป็นแหล่งพืช
ที่สำคัญนานัปการ เช่น สมุนไพรต่างๆ เป็นต้น
............................................................................................................................

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทุ่มเทพระวิริยะอุตสาหะ
และพระราชทรัพย์ส่งเสริมงานหัตถกรรมแก่ราษฎร
เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวเกษตรกรที่ประสบปัญหาในการเพาะปลูก
และเกษตรกรที่ว่างจากฤดูทำนาให้มีงานทำอยู่กับบ้าน โดยอาศัยวัสดุ ในท้องถิ่น
ซึ่งมีผลให้ราษฎรไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานของตนเข้าไปรับจ้างทำงานในเมืองใหญ่
ก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัดในระยะยาว ดังพระราชดำรัส
เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2535 ว่า
............................................................................................................................

      “ ...การที่ข้าพเจ้าเริ่มงานศิลปะชีพขึ้นนั้น ข้าพเจ้าตั้งใจจะสรรหาอาชีพ
ให้ชาวนาที่ยากจนเลี้ยงตนเองได้เป็นเบื้องต้น
ทั้งนี้เนื่องจากข้าพเจ้าได้มีโอกาสตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไป เยี่ยมราษฎรตามชนบทมาหลายสิบปี ได้พบว่าราษฎรส่วนใหญ่
เป็นชาวนา ชาวไร่ ที่ต้องทำงานหนักและต้องเผชิญ อุปสรรค
จากภัยธรรมชาติมากมาย เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม ศัตรูพืชระบาด เป็นต้น... ” 
............................................................................................................................

นอก จากนี้ ยังทรงเล่าเรื่องของศิลปาชีพ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ
ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ความตอนหนึ่งว่า
............................................................................................................................

 “ …ทุกครั้งที่เมืองไทยเกิดน้ำท่วมหรือเกิดภัยพิบัติ
อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงนำของพระราชทานไปช่วยเหลือราษฎร มักเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคแล้ว
ก็รับสั่งกับข้าพเจ้าว่า การช่วยเหลือแบบนี้เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า
ซึ่งไม่สำคัญ ช่วยเขาไม่ได้จริง ๆ ไม่เพียงพอ ทรงคิดว่าทำอย่างไร
............................................................................................................................

จึงจะช่วยเหลือชาวบ้านเป็นระยะยาว คือทำให้เขามีหวังที่จะอยู่ดีกินดีขึ้น
ลูกหลานได้เข้าโรงเรียน ได้เรียนหนังสือ ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมอยู่แล้ว
เขาเพิ่มโรงเรียนขึ้นอย่างสม่ำเสมอและชาวนาชาวไร่บอกว่า
เขาส่งให้ลูกไปเรียนหนังสือ ไปเข้าโรงเรียนไม่ได้
เพราะต้องอาศัยลูกเป็นกำลังช่วยทำมาหากิน
ดังนั้นจะพบเด็กที่อยู่ในวัยเรียนแล้วไม่ได้เรียนหนังสืออีกมาก
ส่วนมากก็ได้จบ ป.4ซึ่งก็น่าเป็นห่วง
............................................................................................................................

ด้วยเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงเริ่มคิดหาอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัวชาวนาชาวไร่
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงหาแหล่งน้ำ
ให้การทำไร่ทำนาของเขาเป็นผลต่อประเทศชาติต่อบ้านเมือง
ทรงพระราชดำเนินไปดูตามไร่ของเขาต่าง ๆ
ทรงคิดว่านี่เป็นการให้กำลังใจ และที่ทรงให้ข้าพเจ้าดูแลพวกครอบครัว
ก็เลยเป็นที่เกิดของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ…” 
............................................................................................................................

นายสหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
เล่าในที่เสวนาเรื่อง “ ตามรอยศิลปาชีพ ” ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ความตอนหนึ่งว่า
............................................................................................................................

“ …สมเด็จ ฯ ท่านมีสวนป่าพระนามาภิไธยที่แม่แจ่ม
เสด็จฯ ครั้งแรกป่าไม้กราบทูลว่า ชาวบ้านชอบเผาป่า ชาวบ้านบอก ว่า
เผาป่าสิเห็ดเผาะขึ้น แต่เผาป่านี่ลูกไม้ตายหมด ทรงขอให้เลิก
ให้ศิลปาชีพเข้าไปช่วย ชาวบ้านเชื่อ ไม่เผาป่า ป่าไม้ตกใจ
ว่าเขาเชื่อ ทำงานมา 10 ปี ไม่สามารถให้ชาวบ้านเชื่อได้
ปรากฏว่าเห็ดเผาะไม่เกิดขึ้นจริง ๆ ชาวบ้านจะเอาอะไรกิน
หลังจากนั้นมีเห็ดอื่นเกิดขึ้น มีมูลค่ามากกว่าเห็ดเผาะ 4 – 5 เท่า
ป่าไม้กราบทูลว่า ‘ บ้านนี้น่ารัก เชื่อท่าน ... ’
.........................................................................................................................

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวง
เพื่อพสกนิกร ชาวไทยและประเทศไทย ด้วยทรงมีความรักชาติ
ทรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงมีความมุ่งมั่น
ที่จะทดแทนพระคุณของแผ่นดินที่บรรพบุรุษไทยด้สละชีวิตรักษาไว้
ทรงเป็นแบบอย่างที่สำคัญของผู้อุทิศตนเพื่อชาติ
จึงควรที่อนุชนจักดำเนินตามรอยพระยุคลบาทสืบไป

............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 5  พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “
                                          .
                               
 
 
 




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 10:49:19 น.
Counter : 1531 Pageviews.  

blog KU-ABC “ บัลลังก์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา “

        blog KU-ABC “ บัลลังก์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา “
                                                                                   เตือนใจ เจริญพงษ์
   ขอนำเรื่องราวประวัติศาสตร์สำคัญยิ่งของศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
มาบันทึกไว้อีกครั้ง บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ทาง มติชน และสื่อมวลชนต่างๆ
ในช่วง เดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมา


ภาพสมัย ร.8 ร.9 เสด็จประทับบัลลังก์


พระมหากษัตริย์ไทยกับการดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม
เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของอาณาประชาราษฎร์
ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยต่างซาบซึ้งและทุกคนหวังพึ่งได้มาอย่างยาวนาน
............................................................................................................................

           ในที่นี้ขอนำเรื่องราวอันน่าประทับใจ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
(ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช)
ได้เสด็จพระราชดำเนินเหยียบศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
(ปรากฏ ตามสมุดบันทึกของศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา)  

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2489
............................................................................................................................

โดยได้ทรงพิจารณาพิพากษาคดีหญิงแม่ลูกอ่อนลักทรัพย์
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์
ได้ทรงพระนามาภิไธยในสมุดเยี่ยมของศาลจังหวัดฉะเชิงเทราไว้ด้วย 
การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ สืบเนื่องจากการเสด็จประพาสเยี่ยมดูแลทุกข์สุขของราษฎร
จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงนับเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของทั้งศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
และจังหวัดฉะเชิงเทรา
............................................................................................................................
                               
       ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ทรงร่วมพิจารณาคดีอาญา  ซึ่งจำเลยเป็นหญิงแม่ลูกอ่อน
ศาลอ่านคำฟ้องของพนักงานอัยการให้จำเลยฟัง ว่า
จำเลยลักทรัพย์ห่วงกุญแจนากของผู้เสียหาย
จำเลยได้ให้การรับสารภาพ  และแถลงว่ากระทำความผิด
เพราะยากจนไม่มีเงินเลี้ยงดูบุตร
  ศาลจึงพิพากษาจำคุกจำเลย
มีกำหนด
6 เดือน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้พิพากษาว่า จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน
โทษจำคุกให้เปลี่ยนเป็นการรอลงโทษ  “
............................................................................................................................

 
ศาลจึงพิพากษารอการลงโทษให้แก่จำเลย 
ตามพระบรมราชวินิจฉัย อันสะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ
และพระอัจฉริยภาพทางด้านนิติศาสตร์ของพระองค์

ในการที่ทรงพิพากษาตัดสินครั้งนั้น ยังความปลาบปลื้ม
และชื่นชมแก่ปวงพสกนิกรที่มาฟังความกันจนล้นหลามห้องพิจารณา 
ด้วยเป็นกรณีพิเศษที่ประชาชนได้เข้าชมพระบารมีด้วย
หญิงแม่ลูกอ่อนผู้เป็นจำเลยได้คลานเข้าไปกราบที่บัลลังก์
พร้อมตอบอย่างผู้สำนึกผิดด้วยรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ
ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นล้นพ้น แต่เมื่อได้กระทำผิดไปแล้ว
ก็ใคร่จะรับโทษตามกฎหมาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์ให้แก่หญิงแม่ลูกอ่อนผู้เป็นจำเลย
เป็นบำเหน็จความสัตย์ซื่อที่มีแก่อาญาแผ่นดิน
ใคร่จะรับโทษตามความผิดของตนที่กระทำไปเพื่อลูก
............................................................................................................................

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
พร้อมสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯทรงประทับที่มุขระเบียงด้านหน้าศาล
เพื่อให้พสกนิกรชื่นชมพระบารมีจนกระทั่งสมควรแก่เวลา
จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ



ศาลเก่า

สำหรับ “ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา”
นั้นนับเป็นศาลที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในฐานะ “ศาลเมือง”
ซึ่งปรากฏประวัติชัดเจนตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
นอกจากเคยมีที่ทำการร่วมกับศาลมณฑลปราจีนบุรี ในช่วงปี พ.ศ.2450 แล้ว
ส่วนหนึ่งของศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
ยังเคยเป็นที่ทำการของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2
ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2520 อีกด้วย เหนือสิ่งอื่นใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8
พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
(ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช)
ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเหยียบศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา



 คณะผู้พิพากษาในปี พ.ศ.2447            

เมื่อปี ๒๔๔๙ พระพินิจดุลอัฏ อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลปาจิณ
ได้มีหนังสือถึงปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรมว่า
ศาลเมืองฉะเชิงเทราชำรุดทรุดโทรมมาก
หลังคารั่วเวลาฝนตกน้ำสาดและรั่วเข้าไปในศาล
กระทรวงยุติธรรม จึงอนุมัติงบประมาณให้สร้างศาลมณฑลปาจิณ
และศาลเมืองฉะเชิงเทรารวมกัน  ๑ หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว  
ต่อมาภายหลังจำนวนประชากรและคดีความเพิ่มมากขึ้นอาคารศาลเดิม
จึงไม่สะดวกแก่การปฏิบัติราชการ อีกทั้งตัวอาคารที่ก่อสร้างมานานกว่า ๖๐ ปีเศษ
ทรุดโทรมเกินกำลังที่จะแก้ไขปรับปรุงได้
อาคารเดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงตลิ่งพังลงทุกที
ไม่เหมาะที่จะปลูกสร้างอาคารศาลใหม่ที่เดิม
ประกอบกับทางจังหวัดปลูกสร้างศาลากลางหลังใหม่
............................................................................................................................

จึงกำหนดให้อาคารศาลใหม่ปลูกหันหน้าไปทางสนามหน้าศาลากลาง 
อาคารเป็นตึก ๒ ชั้น และได้ย้ายบัลลังก์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์
ประทับในการพิจารณาคดีจากอาคารเดิมมาไว้ที่ห้องพิจารณา ๙ ของศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
ในปัจจุบัน
............................................................................................................................

         ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘
พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
(ขณะดำรงพระยศสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ)
ได้เสด็จพระราชดำเนินเหยียบศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
และ เสด็จประพาสเยี่ยมดูแลทุกข์สุขของราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา
สืบเนื่องจากพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งดังกล่าวของทั้งสองพระองค์

..........................................................................................................................

  นายยงยุทธ แสงรุ่งเรือง อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๒ 
จึงได้มอบหมายให้ นางสาวสุวรรณา นิ่มพงษ์ศักดิ์
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
............................................................................................................................

พิจารณาทำการปรับปรุงและเก็บรักษาบัลลังก์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งสองพระองค์ประทับในการพิจารณาคดีครั้งนั้น  

ให้เป็นบัลลังก์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
และมีความหมายยิ่งควรค่าแก่การศึกษาแห่งหนึ่ง 
และเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์
............................................................................................................................

           
บัดนี้ นางสาวสุวรรณา นิ่มพงษ์ศักดิ์
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา

ได้ทำการปรับปรุงและซ่อมแซมบัลลังก์จนแล้วเสร็จ


สุวรรณา ผู้ที่ริเริ่มปรับปรุงใหม่

นางสาวสุวรรณา นิ่มพงษ์ศักดิ์
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
ได้เปิดใจว่า
 
       “ เมื่อมีมติกต.ให้มาดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
ดิฉันได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของศาลแห่งนี้  จึงพบว่ามีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ที่สำคัญยิ่ง คือ พระเจ้าอยู่หัวถึง สองรัชกาล
คือ ในหลวงรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ ขณะดำรงพระยศสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ
เคยเสด็จมาเหยียบศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและทรงร่วมพิจารณาคดี 
จึงได้หารือนายยงยุทธ แสงรุ่งเรือง อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๒
เมื่อครั้งมาตรวจราชการ  มีดำริมอบหมายให้ดิฉันทำการปรับปรุง
บูรณะบัลลังก์ประวัติศาสตร์นี้ให้สมจริง
............................................................................................................................
จึงเป็นที่มาของ " บัลลังก์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ " แห่งนี้
สำหรับการปรับปรุงบัลลังก์พิพิธภัณฑ์ได้รับการสนับสนุน
จากนายอนุกูล ตังคณานุกูลชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
นางเตือนใจ เจริญพงษ์ อดีตยุติธรรมจังหวัดชลบุรี 
นายสมชาย เปรมใจ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
คณะผู้ประนีประนอมของศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
และอีกหลายๆท่าน
 

บัลลังก์หลังจากปรับปรุงแล้ว


ทำให้การปรับปรุงบัลลังก์แห่งนี้มีความสมบูรณ์แบบเหมือนจริงทุกประการ
ดิฉันภาคภูมิใจมากที่ได้ทำงานนี้ถวายเป็นราชสักการะแด่พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์
และได้อนุรักษ์บัลลังก์แห่งนี้ไว้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
และนิติศาสตร์แก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป"

ป้ายห้องใหม่




ฯพณฯ วีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกาเปิดพิพิธภัณฑ์






คณะผู้พิพากษาปัจจุบัน


อนึ่งในวันพฤหัสที่  16 มีนาคม 2560
ฯพณฯ วีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา
ได้เป็นประธาน เปิด “บัลลังก์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
แห่งนี้อย่างเป็นทางการ


ประธานศาลฎีกามอบวุฒิบัตรเชิดชูผู้ทำคุณประโยชน์ในการบูรณะบัลลังก์พิพิธภัณฑ์ครั้งนี้
............................................................................................................................


 เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 5  พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “
                             
           
 
               
 
 
 
 




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 10:50:12 น.
Counter : 773 Pageviews.  

1  2  

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.