Group Blog
 
All Blogs
 
blog KU-ABC "พระราชินีทรงห่วงใยราษฎร"

                     blog KU-ABC" พระราชินีทรงห่วงใยราษฎร"
                                                                                                                                     เตือนใจ เจริญพงษ์
 เมื่อหลายปีก่อนบทความเรื่องนี้เผยแพร่ในวารสารยุติธรรม
ของกระทรวงยุติธรรม ผู้เขียนได้ชื่นชมพระบารมีพระราชินี (พระพันปีหลวง)
จึงขอนำมารวบรวมไว้อีกครั้งเพื่อประโยชน์ในการค้นคว้า
และบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังต่อไป

   
 
 ชาวไทยต่างปลื้มปิติเป็นล้นพ้นในโอกาสมหามงคล
ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 76พรรษา และพร้อมใจกันแสดงความจงรักภักดี
และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีพระราชินี
ซึ่งได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันใหญ่หลวงนานัปการ
เคียงคู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงพระวิริยะอุตสาหะ เสด็จพระราชดำเนินไปดูแลทุกข์สุขของราษฎร
ทั่วพระราชอาณาจักร



โดยเฉพาะในถิ่นชนบททุรกันดาร ทรงส่งเสริมทนุบำรุงประเทศชาติ
และประชาชนทุกด้าน รวมทั้งทรงพระราชดำริริเริ่มโครงการเผยแพร่
ช่วยเหลือราษฎรไว้หลากหลาย พระราชจริยวัตรอันงดงามเป็นที่ประจักษ์
และซาบซึ้งแก่ปวงพสกนิกร พระกิตติคุณซึ่งแผ่ไพศาลทั้งในประเทศ
และขจรขจายกว้างไกลไปถึงนานาประเทศ
............................................................................................................................

เนื่องจากพระองค์ต้องทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในฐานะพระราชินี
ตั้งแต่พระชนพรรษาได้ 17 พรรษา ด้วยพระราชหฤทัยที่ทรงฝักใฝ่ศึกษาความรู้
ตลอดเวลา ทรงยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า
ทรงเป็นครูผู้คอยแนะนำสั่งสอนวิธีปฏิบัติให้ พระองค์เป็นพระราชินีที่ดี
............................................................................................................................

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
ได้ถวายพระธรรมเทศนา ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534
 ว่า     “…สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้ทรงเสริมส่งประเทยไทย
ให้งดงาม ปรากฏกว้างไกล แม้ถึงในประเทศห่างไกลทั้งหลาย
ทรงเป็นที่ภูมิใจเป็นล้นพ้นของผู้คนทั่วหน้าภายใต้พระบารมี ... ”
............................................................................................................................

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นธิดาองค์ใหญ่
ของ พลเอกพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรี(หม่อมเจ้านักขัตรมงคลกิตยากร) 
พระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ หม่อมหลวงบัว กิตยากร
เมื่อครั้งทรงเป็นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาเอกอัครราชทูต
ได้ตามเสด็จพระบิดาไปทรงศึกษาในต่างประเทศ ตั้งแต่พระชนมพรรษา 13 พรรษา
เมื่อเสด็จกลับมาประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 
ในฐานะพระคู่หมั้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งมีพระชนมพรรษาเพียง 17 พรรษา
และมีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
............................................................................................................................

ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระราชินี
และในวันที่ 5 พฤษภาคม ของปีเดียวกัน
ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงรับเฉลิมพระปรมาภิไธย
ว่า “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้เฉลิมพระยศสมเด็จพระราชินีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
และพ.ศ. 2499  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก
ทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
แต่งตั้งสมเด็จพระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ซึ่งต่อมาทรงเฉลิมพระยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
อันเป็นพระเกียรติยศสูงสุดของสมเด็จพระบรมราชินีแห่งประเทศไทย




สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระราชหฤทัยด้านการศึกษา
ทรงยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า 
“ปัญญาทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” 
...........................................................................................................................
พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเอนกอนันต์
อาทิ ทรงส่งเสริมการศึกษาในระบบ โรงเรียน การศึกษานอกระบบ
การศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงการศึกษาตลอดชีวิต แก่พสกนิกรทั่วไป
โดยเฉพาะประชาชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาที่มีฐานะยากจน
หรือในท้องถิ่นธุร กันดาร
............................................................................................................................

นอกจากนี้พระองค์ทรงมีพระอุปนิสัยรักการอ่านหนังสือเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งถ่ายทอดมายังพระราชโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์
ทรงโปรดอ่านและโปรดการเป็นครูด้วย 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “สมเด็จแม่กับการศึกษา” ว่า


“ ...สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถโปรดการเป็นครูและนักเรียน
กับเด็กที่บ้านทรงมีวิธีการสอนที่ สนุก เด็ก ๆ ในบ้านชอบเป็นลูกศิษย์ของพระองค์
แม้มิได้ทรงศึกษาด้านการศึกษาโดยตรง แต่พระราชดำริที่พระราชทาน
เรื่องเกี่ยวกับการศึกษาต่าง ๆ ล้วนแสดงถึงพระปรีชาญาณ
ด้านการจัดการศึกษาของชาติทั้งสิ้น ...” 




พระองค์ทรงโปรดการอ่านหนังสือต่าง ๆ เป็นประจำทุกวัน
ทำให้ทราบถึงความทุกข์ยากของราษฎร
นอกเหนือจากการที่ทรงพบเห็นด้วยพระองค์เอง
ยามใดที่มีข่าวคราวของผู้ประสบเคราะห์กรรมไม่ว่าจะเจ็บป่วย หรือทุกข์ใดก็ตาม
จะเห็นปรากฏในข่าวว่าเสมอมาว่า สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
ทรงพระกรุณาพระราชทานความช่วยเหลือแก่บุคคลนั้นแล้ว



พระแม่เจ้าของชาวไทยทรงเป็นแม่แบบนิยมไทยให้ประชาชน
ใช้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ ศิลปาชีพ จนเป็นที่นิยมของคนไทย
และชาวต่างประเทศอย่างรวดเร็วจวบจนถึงทุกวันนี้
โดยพระองค์ทรงวางแผนการศึกษาด้านศิลปาชีพอย่างครบวงจร
ทรงโปรดให้ชาวบ้านในชุมชนเดียวกันหรือชุมชนใกล้เคียงเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้
ด้านหัตถกรรมทั้งหลายแก่ลูกหลาน เช่น งานทอผ้าไหม ผ้าไหมแพรวา
ผ้าฝ้ายลวดลายดั้งเดิม ผ้ามัดหมี่ งานจักสาน ย่านลิเภา ไม้ไผ่ และหวาย
หรือแม้กระทั่งงานหัตกรรมที่ชาวบ้านไม่เคยเรียนรู้มาก่อน



เช่น การปั้นตุ๊กตาไทย งานหัตถกรรมที่ต้องใช้ความสามารถ
และความอดทนสูง เช่น งานเครื่องเงินเครื่องทอง งานครั่ง
งานถมเงินถมทอง ทรงพระราชทานคำแนะนำในการพัฒนางานให้สวยงามสมบูรณ์
ทรงหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และทรงรับซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ทำให้ราษฎรในท้องถิ่นมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อีกทั้งยังเป็นการสร้างช่างฝีมือที่ชำนาญในงานศิลปะไทยหลายแขนง
รวมทั้งการการอนุรักษ์ศิลปะโบราณที่เกือบจะสูญหายไปแล้ว
............................................................................................................................

 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงยกย่องความสามารถ
ของชาวนาชาวไร่ ด้วยความภาคภูมิพระราชหฤทัย ว่า 
“… คนไทยแต่ละคนแต่ละภาค ต่างก็มีฝีมือและความสามารถ
พร้อมจะพัฒนาชาติให้เจริญรุ่งเรือง ข้าพเจ้าได้ประจักษ์แล้วในฝีมือของคนไทย
ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าปราบปลื้มและมีกำลังใจเพิ่มขึ้นในการปฏิบัติงาน... ”

............................................................................................................................

 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงตระหนักดีว่า
ในยุคโลกไร้พรมแดน ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
ระหว่างชาตินับวันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้น คนไทยจึงต้องร่วมมือกัน
ทำนุบำรุงวัฒนธรรมของชาติไทยที่สืบทอดมาแต่อดีต
มิให้ ถูกกลืนไปกับกระแสวัฒนธรรมที่ผสมผสานของนานาชาติ
จนมิเหลือเอกลักษณ์ของไทย อันใดไว้เลย ดังนั้นจึงทรงนำเรื่องของดนตรี
และนาฏศิลป์เป็นสื่อให้คนไทยเกิดความภูมิใจใน วัฒนธรรมไทย
และมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้ปรากฏ ทรงส่งเสริมการอนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรมของชาติในทุก ๆ มิติ
............................................................................................................................

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ
ที่ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงทราบ
ความเดือดร้อนของชาวสวนใน 3 จังหวัดภาคใต้ ว่า



ไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ มีผลไม้เน่าเสียเป็นจำนวนมาก
ส่งผลกระทบต่อรายได้หลักอย่างเดียวในการดำรงชีพ
โดยเฉพาะชาวสวนลองกอง จึงทรงหาทางช่วยเหลือแก้ไขอย่างทันท่วงที
โดยมีพระราชเสาวนีย์ให้ข้าราชบริพารออกไปรับซื้อลองกองถึงสวนของชาวบ้าน
และให้ประสานงานกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่
โดยให้ราคาเท่ากับราคาลองกองชนิดคุณภาพดีที่ชาวสวนเคยขายได้
ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนไปได้ส่วนหนึ่ง
............................................................................................................................

อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมากเช่นกัน คือ พระองค์มีพระราชดำริ
ให้จัดสร้างโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
และฟาร์มตัวอย่างขึ้นที่บ้านรอตันบาตู
ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อช่วยเหลือครอบครัวราษฎร
ที่เสียชีวิตจากความไม่สงบ ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนหนึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว
ที่มาจากหลายอาชีพ ทั้ง ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร พลเรือน และราษฎร
จึงมีผลทำให้ครอบครัวดังกล่าวไม่มีราย ประสบความเดือดร้อน
พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้สร้างบ้านพักให้แก่ราษฎร จำนวน 150 หลัง
พร้อมพื้นที่ทำกินตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงครัวเรือนละ 2 ไร่
หมู่บ้านดังกล่าว มีผู้เรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการในระยะแรก
ว่า “ หมู่บ้านแม่ม่าย ” 

............................................................................................................................

สมเด็จพระนางนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ
น้ำท่วม ทำให้ไร่นาของราษฎรเสียหาย
สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำรัสถาม
ราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ
ทำให้ทรงทราบว่าราษฎรในชนบทจำนวนมากยากจน
มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ ไม่สามารถที่จะหารายได้เพิ่ม
ไม่เห็นหนทางที่จะแก้ไขความเดือดร้อนของตนเอง
ทั้งยังขาดแคลนสาธารณสุขพื้นฐานต่าง ๆ
จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น
............................................................................................................................

ซึ่งปรากฏในคำบอกเล่าของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( กปร.) ซึ่งกล่าวในการอภิปราย
เรื่อง “ สมเด็จฯ ของเรา ” ณ คณะแพทย์ศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดี
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 และได้เชิญพระราชดำรัสของ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ตอนหนึ่งว่า
............................................................................................................................

 “...พระเจ้าอยู่หัวและข้าพเจ้าไม่ได้พึงพอใจกับเพียงแต่เยี่ยมเยียนราษฎร
หรือทำแต่สิ่งที่เคยทำเป็นประเพณี เราต้องพยายามให้ดีกว่านั้น
เราต้องช่วยรัฐบาลส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นเพราะเราเป็น
ประเทศด้อยพัฒนา ดังนั้นการที่เพียงแค่ไปเยี่ยมเยียนราษฎรเพราะเป็นหน้าที่ของ
พระประมุขของประเทศที่จะต้องทำตามประเพณีนั้น เป็นเรื่องไร้สาระ
หากเราไม่สามารถมีส่วนร่วม ในการบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนแล้ว
เราต้องถือว่าการเป็นประมุขประสบความล้มเหลว...”




สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเล่าถึงความรัก
และความห่วงใยในราษฎรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเป็นบรรยากาศระหว่างเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรว่า 
       “ …ถ้าราษฎรที่ไหนทรงเห็นว่ายากจนจะลงประทับรับสั่ง
เป็นกฎของท่านรัชกาลนี้ บอกว่าไม่ให้ยืนค้ำราษฎร ให้นั่งพูดกับเขา
มันดูค่อยอบอุ่นหน่อย ดูเป็นครอบครัว และ พระเจ้าอยู่หัวไม่ยอมให้ไปยืนค้ำหัว
พูดกับราษฎร ถ้ายิ่งเป็นเวลานานท่านต้องการให้นั่งลงพูดกับเขา... ”
...........................................................................................................................

นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
ยังทรงริเริ่มโครงการอีกหลายโครงการเพื่อช่วยราษฎร
ของพระองค์ให้อยู่ดี กินดี โดยทรงวางระบบการให้ความช่วยเหลือ
ในการดำเนินชีวิตที่เป็นแก่นของปัญหาอย่าง แท้จริง ได้แก่ 
............................................................................................................................

     “ โครงการธนาคารอาหารชุมชน ” ที่บ้านนาป่าแปก ตำบลหมอกจำแป๋
อำเภอแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เป็นโครงการพระราชดำริ
ของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร
และทรงงานในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ.2543 
โดยมีพระราชดำริให้ส่วนราชการจังหวัด แม่ฮ่องสอน
จัดทำโครงการนี้ เพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอต่อการบริโภค
และทำให้คนอยู่กับป่า  ได้มีพระราชดำรัสอยู่เสมอว่า
   " คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้โดยคนต้องไม่ทำลายป่า ซึ่งหน่วยราชการต้องให้ความรู้แก่ชาวนาว่า เขาจะใช้ชีวิตอยู่ในป่าได้อย่างไร "
............................................................................................................................

 นอกจาก โครงการธนาคารอาหารชุมชน แล้วยังทรงมีพระราชดำริว่า
โครงการนี้  “ น้ำ ” มีความสำคัญที่สุด แต่น้ำจะอุดมสมบูรณ์ได้
ต้องอาศัย “ ป่า ” ที่อุดมสมบูรณ์เพื่อเก็บกักน้ำนั่นเอง
จึงทรงพยายามให้ความรู้แก่ชาวบ้านว่าต้องช่วยกันรักษาป่าเพื่อรักษาน้ำ
มีคนสงสัยว่า ทำไมจึงสอนให้รักป่า โดยการรักษาป่าไว้
เพราะป่าเป็นเสมือนน้ำเลี้ยงแผ่นดิน เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้านเป็นแหล่งพืช
ที่สำคัญนานัปการ เช่น สมุนไพรต่างๆ เป็นต้น
............................................................................................................................

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทุ่มเทพระวิริยะอุตสาหะ
และพระราชทรัพย์ส่งเสริมงานหัตถกรรมแก่ราษฎร
เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวเกษตรกรที่ประสบปัญหาในการเพาะปลูก
และเกษตรกรที่ว่างจากฤดูทำนาให้มีงานทำอยู่กับบ้าน โดยอาศัยวัสดุ ในท้องถิ่น
ซึ่งมีผลให้ราษฎรไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานของตนเข้าไปรับจ้างทำงานในเมืองใหญ่
ก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัดในระยะยาว ดังพระราชดำรัส
เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2535 ว่า
............................................................................................................................

      “ ...การที่ข้าพเจ้าเริ่มงานศิลปะชีพขึ้นนั้น ข้าพเจ้าตั้งใจจะสรรหาอาชีพ
ให้ชาวนาที่ยากจนเลี้ยงตนเองได้เป็นเบื้องต้น
ทั้งนี้เนื่องจากข้าพเจ้าได้มีโอกาสตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไป เยี่ยมราษฎรตามชนบทมาหลายสิบปี ได้พบว่าราษฎรส่วนใหญ่
เป็นชาวนา ชาวไร่ ที่ต้องทำงานหนักและต้องเผชิญ อุปสรรค
จากภัยธรรมชาติมากมาย เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม ศัตรูพืชระบาด เป็นต้น... ” 
............................................................................................................................

นอก จากนี้ ยังทรงเล่าเรื่องของศิลปาชีพ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ
ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ความตอนหนึ่งว่า
............................................................................................................................

 “ …ทุกครั้งที่เมืองไทยเกิดน้ำท่วมหรือเกิดภัยพิบัติ
อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงนำของพระราชทานไปช่วยเหลือราษฎร มักเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคแล้ว
ก็รับสั่งกับข้าพเจ้าว่า การช่วยเหลือแบบนี้เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า
ซึ่งไม่สำคัญ ช่วยเขาไม่ได้จริง ๆ ไม่เพียงพอ ทรงคิดว่าทำอย่างไร
............................................................................................................................

จึงจะช่วยเหลือชาวบ้านเป็นระยะยาว คือทำให้เขามีหวังที่จะอยู่ดีกินดีขึ้น
ลูกหลานได้เข้าโรงเรียน ได้เรียนหนังสือ ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมอยู่แล้ว
เขาเพิ่มโรงเรียนขึ้นอย่างสม่ำเสมอและชาวนาชาวไร่บอกว่า
เขาส่งให้ลูกไปเรียนหนังสือ ไปเข้าโรงเรียนไม่ได้
เพราะต้องอาศัยลูกเป็นกำลังช่วยทำมาหากิน
ดังนั้นจะพบเด็กที่อยู่ในวัยเรียนแล้วไม่ได้เรียนหนังสืออีกมาก
ส่วนมากก็ได้จบ ป.4ซึ่งก็น่าเป็นห่วง
............................................................................................................................

ด้วยเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงเริ่มคิดหาอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัวชาวนาชาวไร่
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงหาแหล่งน้ำ
ให้การทำไร่ทำนาของเขาเป็นผลต่อประเทศชาติต่อบ้านเมือง
ทรงพระราชดำเนินไปดูตามไร่ของเขาต่าง ๆ
ทรงคิดว่านี่เป็นการให้กำลังใจ และที่ทรงให้ข้าพเจ้าดูแลพวกครอบครัว
ก็เลยเป็นที่เกิดของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ…” 
............................................................................................................................

นายสหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
เล่าในที่เสวนาเรื่อง “ ตามรอยศิลปาชีพ ” ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ความตอนหนึ่งว่า
............................................................................................................................

“ …สมเด็จ ฯ ท่านมีสวนป่าพระนามาภิไธยที่แม่แจ่ม
เสด็จฯ ครั้งแรกป่าไม้กราบทูลว่า ชาวบ้านชอบเผาป่า ชาวบ้านบอก ว่า
เผาป่าสิเห็ดเผาะขึ้น แต่เผาป่านี่ลูกไม้ตายหมด ทรงขอให้เลิก
ให้ศิลปาชีพเข้าไปช่วย ชาวบ้านเชื่อ ไม่เผาป่า ป่าไม้ตกใจ
ว่าเขาเชื่อ ทำงานมา 10 ปี ไม่สามารถให้ชาวบ้านเชื่อได้
ปรากฏว่าเห็ดเผาะไม่เกิดขึ้นจริง ๆ ชาวบ้านจะเอาอะไรกิน
หลังจากนั้นมีเห็ดอื่นเกิดขึ้น มีมูลค่ามากกว่าเห็ดเผาะ 4 – 5 เท่า
ป่าไม้กราบทูลว่า ‘ บ้านนี้น่ารัก เชื่อท่าน ... ’
.........................................................................................................................

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวง
เพื่อพสกนิกร ชาวไทยและประเทศไทย ด้วยทรงมีความรักชาติ
ทรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงมีความมุ่งมั่น
ที่จะทดแทนพระคุณของแผ่นดินที่บรรพบุรุษไทยด้สละชีวิตรักษาไว้
ทรงเป็นแบบอย่างที่สำคัญของผู้อุทิศตนเพื่อชาติ
จึงควรที่อนุชนจักดำเนินตามรอยพระยุคลบาทสืบไป

............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 5  พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “
                                          .
                               
 
 
 


Create Date : 05 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 10:49:19 น. 0 comments
Counter : 1540 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.