Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABC ปฐมบทการปฏิรูปการประมงไทย : พรก.การประมง พ.ศ. 2558

   blog KU-ABC "ปฐมบทการปฏิรูปการประมงไทย:พรก.การประมง พ.ศ. 2558"
                                                                          อดิศร พร้อมเทพ


เนื้อหา พรก.ดังกล่าวได้เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนนทรี ของ ส.ม.ก.
ทิศทางการประมงโลก
จากการพัฒนาการประมงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ทั่วโลกเริ่มตระหนักว่าทรัพยากรสัตว์น้ำแม้
สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ แต่มิได้หมายความว่าจะอยู่ได้ตลอดไป
และจำเป็นที่ต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสม
เพื่อให้ทรัพยากรดังกล่าวยังคงให้ผลิตผล เพื่อโภชนาการ
ความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคมและเศรษฐกิจ สำหรับประชากรโลกที่มีการขยายตัวอย่างยั่งยืน
............................................................................................................................

จึงมีความพยายามผลักดันให้เกิดอนุสัญญาระหว่างประเทศ
ว่าด้วยทะเลที่จะเป็นบทบัญญัติให้ประเทศทั้งหลายได้ถือปฏิบัติ
โดยในช่วงแรกมุ่งเน้นเรื่องเขตแดนเป็นหลัก จนกระทั่งปี ค.ศ. 1982
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
ได้มีการบัญญัติขึ้น โดยมีบทบัญญัติทั้งสิ้น 320 มาตรา กับ อีก 9 ผนวก
............................................................................................................................

บทบัญญัติเหล่าวนี้ครอบคลุมเรื่องทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องการเดินเรือ
และช่องแคบ รัฐหมู่เกาะ เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป ทะเลหลวง
การบริหารและอนุรักษ์สิ่งที่มีชีวิตในทะเลหลวง รัฐไร้ฝั่งทะเล
การแสวงประโยชน์ในพื้นที่ก้นทะเลระหว่างประเทศ การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในทะเล
และการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเล เป็นต้น
............................................................................................................................

ซึ่งบทบัญญัตินี้ครอบคลุมที่เกี่ยวข้องกับทะเลไว้ทั้งหมด
และการเข้าเป็นภาคีของรัฐจะต้องอยู่ภายใต้
บทบัญญัติทั้งหมด โดยไม่มีข้อสงวน และประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาฯ
ในปี พ.ศ. 2536 และให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าว
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 นับเป็นประเทศที่ 162 ของสมาชิกสหประชาชาติ

............................................................................................................................

ส่งผลอนุสัญญา ฯ ดังกล่าวมีผลผูกพันกับประเทศไทยโดยสมบูรณ์
ขณะเดียวกันในช่วงปลายทศวรรษ 1980 จากการที่รัฐชายฝั่งต่างๆ
ได้มีการพัฒนาและขยายกิจการด้านการประมงอย่างรวดเร็ว
โดยการลงทุนสร้างกองเรือและโรงงานแปรรูปที่ทันสมัย
เพื่อตอบสนองการขยายตัวของความต้องการสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
จนกลายเป็นอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการนำทรัพยากรสัตว์น้ำ
ขึ้นมาใช้อย่างไม่ระมัดระวังและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
..........................................................................................................................

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
จึงได้จัดทำร่างจรรยาบรรณสากลในการทำประมงอย่าง
รับผิดชอบ (Code of Conduct for Responsible Fisheries : CCRF)
ที่สอดคล้องกับข้อตกลง หลักการ และมาตรการที่จะใช้ในการอนุรักษ์
จัดการ และพัฒนาการประมง ทั้งปวง โดยไม่ใช่รูปแบบบังคับ
เพื่อให้ใช้เป็นกรอบในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มี
ชีวิตในน้ำอย่างยั่งยืนและกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อม และต่อมา FAO
ได้มีการจัดทำ แผนปฏิบัติการสากลในการป้องกัน ยับยั้ง
และขจัดการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน
และไร้การควบคุม (International Plan of Action to Prevent,
Deter and Eliminate Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IPOA-IUU)
เพื่อให้ประเทศต่างๆ ได้มีเครื่องมือที่จะนำไปใช้ต่อต้านการทำการประมง IUU
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย IPOA-IUU เป็นตราสารระหว่างประเทศ
ที่การกำหนดแนวทางการดำเนินการในลักษณะของความสมัครใจ
และไม่มีสภาพการบังคับทางกฎหมายและจากบทบัญญัติภายใต้ UNCLOS 1982
และ CCRF ได้มีการผลักดันให้เกิด Agreement อื่นๆ ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ในการนำปฎิบัติ เช่น ความตกลงว่าด้วยการปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญาสหประชาชาติ
ว่าด้วยกฎหมายทะเล ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เกี่ยวกับการอนุรักษ์
และการจัดการประชากรของสัตว์น้ำชนิดพันธุ์ที่คร่อม เขตและอพยพย้ายถิ่นไกล ค.ศ.1995
(UN Fish Stock Agreement : UNFSA) ความตกลงว่าด้วยมาตรการของรัฐ
เจ้าของท่าเรือเพื่อป้องกัน ยับยั้งและขจัดการประมงที่ผิดกฎหมาย
............................................................................................................................

ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ค.ศ. 2009
(Port State Measure Agreement - PSMA)
ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไปบ้างแล้ว และนอกจากนี้แล้ว
ในทะเลสากลยังได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาดูแลทรัพยากรประมงที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว
โดยเริ่มจาก ทรัพยากรทูน่า เช่น IOTC ICCAT และมีทรัพยากรสัตว์น้ำอื่นๆ
เช่น SIOFA ส่งผลให้ในปัจจุบันทรัพยากรประมงแม้อยู่ในเขตทะเลสากล
ก็มีการบริหารจัดการแทบทั้งสิ้น
............................................................................................................................

จากกฎหมาย ข้อกำหนด ที่เกิดขึ้นมา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศต่างๆ
ได้มีความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ว่าสถานการณ์การประมงทั่วโลก
มีแนวโน้มที่จะทำการประมงเกินศักยการผลิตของธรรมชาติ
หากไม่มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสัตว์น้ำ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาหารสำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรจำนวนมาก
............................................................................................................................

ทำไมต้อง “ปฏิรูปการประมง”
การประมงไทยในอดีตที่ผ่านมา ทั้งการจับสัตว์น้ำจากธรรมชาติ
หรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งที่อยู่ในแหล่งน้ำสาธารณะหรือ
พื้นที่ของตนเอง ชาวประมงหรือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงทำได้โดยเสรี
เนื่องจากพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่ใช้การบริหารจัดการการประมง
ได้มีการบัญญัตขึ้นในช่วงที่การประมงของประเทศไทย
ยังเป็นการทำประมงเพื่อยังชีพเท่านั้น
............................................................................................................................

และส่วนใหญ่เป็นการประมงน้ำจืดหรือตามแนวชายฝั่ง
จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ปรัชญาพื้นฐานของพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
จึงเป็นการส่งเสริมและเบิดโอกาสให้ชาวประมงสามารถทำการประมงได้โดยเสรี
ยกเว้นเฉพาะกิจกรรมบางอย่าง ที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะทรัพยากรอย่างร้ายแรง
และมีหลักฐานอย่างชัดแจ้ง
............................................................................................................................

“รัฐ” จึงจะสามารถออกกฎหมายมาควบคุม
ได้มีการออกอาชญาบัตรในการทำการประมงนั้นมีเป้าหมาย
เพื่อให้ทราบจำนวนและเก็บอากรเข้ารัฐเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการกำกับควบคุม
ลักษณะ/วิธีการทำประมงของผู้ที่ไดรั้บอาชญาบัตรแต่อย่างใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาต่อมาเมื่อเรือประมงไทยที่ออกไปทำการประมงไกลฝั่งมากขึ้น
ทั้งในน่านน้ำสากล หรือน่านน้ำของรัฐชายฝั่ง อื่น รัฐไม่สามารถที่จะเข้าไปควบคุม
ติดตาม อย่างหนึ่งอย่างใดได้ทั้งสิ้น
............................................................................................................................

จากการขาดความสามารถในการบริหารจัดการการทำการประมง
ที่มีประสิทธิภาพของรัฐดังกล่าวส่งผลให้สถานการณ์การทำประมงของประเทศไทย
อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงที่จะมีการทำการประมงเกินศักยภาพการผลิต
แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่เขตร้อนซึ่งทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำไทย
มีความหลากหลาย ทำให้ชาวประมงมีการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมง
และวิธีการทำการประมงเมื่อพบว่าผลผลิตที่ได้รับลดลงจนอยู่ในสภาวะไม่คุ้มทุน
ส่งผลให้สถานการณ์การทำการประมงในลักษณะที่เกินศักย์ภาพการผลิตนั้น
ไม่ส่งผลกระทบอย่างทันทีทันใดเช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เกิดในเขตอบอุ่น
..........................................................................................................................

แต่จะเกิดในลักษณะค่อยเกิดขึ้นอย่างช้าๆ
เช่น สัตว์น้ำที่จับได้มีขนาดเล็กลง การหายไปของกลุ่มสัตว์น้ำบางชนิด
และเหตุการณ์เหล่านี้จะเริ่มมีการปรากฎชัดขึ้น ถี่ขึ้น และรุนแรงมากขึ้น
ในขณะที่สถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่นับวันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
และรุนแรงมากยิ่งขึ้น การประมงไทยจะสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
............................................................................................................................

และจากการที่อุตสาหกรรมประมงของไทยที่มีพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ยังมีความซับซ้อนมาขึ้น เพราะนอกจาก“วัตถุดิบ” ที่เข้าสู่การผลิตมาจากน่านน้ำไทยแล้ว
ประเทศไทยยังมีสัตว์น้ำที่จับจากน่านน้ำประเทศอื่นและน่านน้ำสากล
นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นผู้นำเข้าสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลก
เพื่อนำเข้าสู่อุตสาหกรรมประมงของไทย ทำให้ประเทศไทยเป็นที่จับตามมองของนานาประเทศ
............................................................................................................................

ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
ที่ต้องปฏิบัติตามกรอบกติกาสากล และจากการที่เศรษฐกิจของไทย
ที่ขับเคลื่อนด้วยการ “ส่งออก” สินค้าประมงเป็นสินค้าหลัก
ที่ใช้ในการส่งออกประเภทหนึ่ง ที่ทำรายได้เข้าประเทศ ความต้องการของประเทศคู่ค้า
ตลอดจนลูกค้าที่อยู่ในต่างประเทศ
............................................................................................................................

จากสถานการณ์การประมงทั้งในน่านน้ำไทย
การเปลี่ยนแปลงของกฎกติกาในน่านน้ำสากล หรือ น่านน้ำรัฐชายฝั่ง
ความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภค ส่งผลให้ประเทศไทย
ต้องมีการ “ปฎิรูปการประมง”พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558
............................................................................................................................

พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558
ได้ถูกตราขึ้นภายใต้บริบทของการประมงไทยที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งการทำการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ
ตลอดจนการนำเข้า-ส่งออก และมีเป้าหมาย “เพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำ
ให้อยู่ในภาวะที่เป็นแหล่งอาหารของมนษยชาติอย่างยั่งยืน
และรักษาสภาพแวดล้อมให้ดำรงในสภาพที่เหมาะสม”
............................................................................................................................

โดยบทบัญญัติใน พรก.ครอบคลุมหลายส่วน
ทั้งการจับสัตว์น้ำจากธรรมชาติ (การทำการประมงในน่านน้ำไทย และนอกน่านน้ำไทย)
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำ
ตลอดจนการตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่การผลิต
ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
โดยในการตราบทบัญญัติในมาตราต่างๆ จะมีการนำหลักการ/แนวคิด/เทคโนโลยี
ที่มีการนำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงที่เป็นสากลมากำหนดไว้
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อให้ “รัฐ” สามารถการบริหารจัดการประมง
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกรอบข้อตกลงที่ประเทศไทย
ได้มีการลงนาม หรือมีการบังคับเป็นกฎหมายสากล
ตลอดจนสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นการบริหารจัดการด้านการทำการประมง
การบริหารจัดการประมง
............................................................................................................................

ด้านการทำการประมงจะครอบคลุมทั้งในด้านการทำการประมงในน่านน้ำ
การประมงนอกน่านน้ำ จากที่กล่าวมาแล้วการประมงของไทยในอดีต
เป็นการทำการประมงโดยเสรี แต่ภายใต้พระราชกำหนดการประมง 2558
ได้กำหนดบทบัญญัติในด้าน “การทำการประมง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
“ในน่านน้ำไทย” โดยนำหลักการที่สำคัญภายใต้ UNCOS 1982
ในบทบาทหน้าที่ของ “รัฐชายฝั่ง” มาตราไว้อย่างชัดเจนทั้งในมาตราที่ 4 (5) และ (6)
และหมวด 2 การบริหารจัดการด้านการประมงภายใต้หลักการดังกล่าว
............................................................................................................................

ทำให้การทำประมงของไทยเปลี่ยนจาก “การทำประมงแบบเสรี”
มาเป็น “การทำประมงแบบมีการจำกัด”
โดยกำหนดให้ผู้ที่ทำการประมงต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐ
และกำหนดหน้าที่ให้ “รัฐ” โดยคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ
ต้องควบคุมการทำการประมงไม่ให้เกินปริมาณสัตว์น้ำสูงสุดที่สามารถจับได้อย่างยั่งยืน
และต้องอยู่ภายใต้หลักการป้องกันล่วงหน้า (ม.12)
..........................................................................................................................

และนอกจากนี้ภายใต้บทบัญญํติของหมวด 3
การทำการประมงในน่านน้ำไทย ยังเป็นการนำหลักการบริหารจัดการประมง
มาบังคับใช้ในแต่ละชาวประมงแต่ละกลุ่ม โดยจะเห็นได้ว่าแม้หลักการ
จะเป็น “การทำการประมงแบบมีการจำกัด” ก็ตาม พรก ก็
ยังคงให้การคุ้มครองชาวประมงขนาดเล็ก โดยชาวประมงในเขตประมงน้ำจืด
หรือ เขตประมงชายฝั่ง ยังคงสามารถทำการประมงได้โดยเสรี
...........................................................................................................................

ยกเว้นเครื่องมือที่ “รัฐ” พิจารณาว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง
จึงจะนำเข้าสู่ระบบ “การทำการประมงแบบมีการจำกัด”
ในขณะที่เรือประมงพาณิชย์(มากกว่า 10 ตันกรอส)
หากจะทำการประมงต้องได้รับอนุญาตทั้งหมด
โดยการทำประมงนั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้จะทำให้สามารถปรับใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างมียืดหยุ่น
และสอดคล้องกับสถานการณ์
............................................................................................................................

และหมวด 5 มาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการ
ยังเป็นกำหนดกรอบการอนุรักษ์และบริหารจัดการ
ให้เกิดความสมดุลย์ทางธรรมชาติ และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำ
และระบบนิเวศน์ไว้อย่างยั่งยืน ตามหลักการป้องกันไว้ล่วงหน้า
จะเห็นว่าบทบัญญัติในหมวดนี้ จะทำให้ “รัฐ” ในฐานะ “รัฐชายฝั่ง”
สามารถบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในเชิงพื้นที่ ชนิด ฤดูกาล ตามความเหมาะสม
............................................................................................................................

ในขณะที่หมวด 4 การทำการประมงนอกน่านน้ำ
บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นการกำหนดมาตรการในการควบคุมเรือประมงไทย
ที่เข้าไปทำการประมงในน่านน้ำสากล หรือ น่านน้ำของรัฐชายฝั่งอื่น
ปฎิบัติตามข้อกำหนด กฎหมายที่มีการบัญญัติไว้อย่างถูกต้อง
............................................................................................................................

ซึ่งเป็นการดำเนินการในฐานะ “รัฐเจ้าของธง”
และนอกจากนี้ พรก. ยังได้กำหนดหมวด 7
การควบคุม เฝ้าระวัง สืบค้น และตรวจสอบ
เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุม ติดตาม และเฝ้าระวังการทำการประมง
โดยเป็นการนำเอาหลักการของ MCS (Monitoring Control and Surveillance)
มาใช้ใน ส่วนที่ 1 การควบคุมและเฝ้าระวัง ของหมวดดังกล่าว
............................................................................................................................

เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงจะทำประมงตามกรอบ
ที่ได้รับอนุญาต และบทบัญญัติในส่วนที่ 2 การสืบค้น เพื่อให้มั่นใจ
ว่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงนั้นมีหลักฐานและที่มาอย่างถูกต้อง
............................................................................................................................

ซึ่งเป็นการนำหลักการจากหลักการสากล การบริหารจัดการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในอดีตสามารถดำเนินการโดยเสรี
ยกเว้นการเลี้ยงในแหล่งน้ำที่สาธารณประโยชน์ที่จะต้องมีการ
ประกาศพื้นที่อนุญาตและขออนุญาต แต่การเลี้ยงในพื้นที่ของเอกชน
หาได้มีการควบคุมไม่ มาตรฐานการเลี้ยงเป็นไปโดยสมัครใจ
ซึ่งมักถูกผลักดันจากความต้องการของตลาด ที่มุ่งเน้นสุขอนามัย
และความปลอดภัยของอาหารเป็นหลัก
............................................................................................................................

ต่อมากระแสโลกเพิ่มมิติในส่วนของการผลิตที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
บทบัญญัติภายใต้ พรก 2558 ในหมวด 6 การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นแหล่งผลิตอาหารอีกทางเลือกหนึ่ง
โดยคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
และรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ รวมทั้สร้างความมั่นใจในการบริโภคสัตว์น้ำ
ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงทั้งในด้านคุณภาพและสุขอนามัยที่ได้มาตรฐาน
โดยให้อำนาจกับภาครัฐในการที่กำกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีคุณภาพ
ป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออันตรายต่อผู้บริโภคหรือต่อกิจการของผู้อื่น
โดยสามารถที่จะกำหนดให้ชนิด หรือ ลักษณะหรือลักษณะของสัตว์น้ำ
หรือ ประเภท รูปแบบ ขนาด หรือวัตถุประสงค์ของกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ให้เป็น “กิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม” ได้
............................................................................................................................

ซึ่งทำให้รัฐสามารถที่ควบคุมเฝ้าระวัง จำกัดขนาดการเลี้ยง
หรือผลกระทบของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ การบริหารจัดการด้านการแปรรูปสัตว์น้
ำและลิตภัณฑ์ในอดีตมาตรฐานด้านสุขอนามัยในการจับ การดูแลรักษาสัตว์น้ำ
การแปรรูปสัตว์น้ำ การเก็บรักษา การขนส่งหรือขนถ่ายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
เป็นไปตามความต้องการของประเทศคู่ค้า โดยการควบคุมที่ผลิตภัณฑ์
ที่จะส่งออกเป็นหลัก ผ่านการขอใบรับรองสินค้าและผลิตภัณฑ์
ซึ่งไม่มีกฎหมายภายในบังคับ
............................................................................................................................

แต่ภายใต้ พรก ฉบับนี้เห็นได้ว่ารัฐมีอำนาจในการที่กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการ
ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด อันจะส่งให้สิ้นค้าหรือผลิตภัณฑ์ไม่ว่ามีการจำหน่าย
ทั้งภายในและภายนอกประเทศมีมาตรฐานเดียวกัน
............................................................................................................................

การบริหารจัดการด้านการนำเข้า – การส่งออก
นอกจากการควบคุมการทำการประมงในประเทศแล้ว
พรก. ยังได้กำหนดแนวทางในการควบคุมเรือประมงต่างชาติ
ไว้ใน หมวดที่ 7 ส่วนที่ 3 มาตรการในการตรวจสอบ
ซึ่งเป็นการตรวจสอบเรือประมงต่างชาติ หรือเรือขนถ่ายสัตว์น้ำต่างชาติ
ที่จะนำสัตว์น้ำเข้ามาและขึ้นท่าในประเทศไทยต้องได้รับการตรวจสอบ
โดยได้นำหลักการจาก PSMA มาใช้ในการบัญญัติ
ในฐานะ “รัฐ เจ้าของท่าเรือ” และหมวดที่ 7 ส่วนที่ 2 หลักฐานเพื่อการสืบค้น
พรก ยังได้กำหนดให้ผู้นำเขา ส่งออก หรือนำผ่านสัตว์น้ำ
หรือ ผลิตภัณฑ์ต้องมีหลักฐานแสดงว่าได้มาจากการทำการประมงโดยชอบ
............................................................................................................................

และในหมวด 5 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำที่หายาก
หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ
รัฐ สามารถที่จะห้ามการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน เพาะเลี้ยง
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดได้
อันจะเป็นการลดปัญหาในการที่มีการนำสัตว์น้ำต่างถิ่นเข้ามาโดยไม่ได้ถูกควบคุม
หรือนำสัตว์น้ำบางชนิดจากธรรมชาติและส่งออกไปต่างประเทศ
............................................................................................................................

บทส่งท้าย
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558
หาใช่กฎหมายที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหา IUU
แต่อย่างเดียวไม่ แต่เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อให้ประเทศไทย
สามารถการบริหารจัดการประมงได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคการทำประมง
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ การนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง
และเปลี่ยนผ่านไปสู่ “การประมงที่ยั่งยืน”
............................................................................................................................

แต่การที่จะประเทศไทยจะก้าวข้ามไปได้นั้นคงต้องอาศัยความตั้งใจ
แน่วแน่ ร่วมมือ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมประมงทุกคน
บทบัญญัติ UNCLOS 1982 ด้านการประมงที่สำคัญข้อ 3
ความกว้างของทะเลอาณาเขต รัฐทุกรัฐมีสิทธิกำหนดความกว้างของทะล
อาณาเขตของตนได้จนถึงขอบเขตหนึ่งซึ่งไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล
โดยวัดจากเส้นฐานที่กำหนดขึ้นตามอนุสัญญานี้
............................................................................................................................

ข้อ 57 ความกว้างของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เขตเศรษฐกิจจำเพาะ
จะต้องไม่ขยายออกไปเลย 200 ไมล์ทะเล
จากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลชายฝั่ง
ข้อ 56 สิทธิ เขตอำนาจ และหน้าที่ ของรัฐชายฝั่งในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ :
1.ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะรัฐชายฝั่งมี
(a) สิทธิอธิปไตยเพื่อความมุ่งประสงค์ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์
การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตในนํ้าเหนือพื้นดิน
ท้องทะเล และในพื้นดินท้องทะเลกับดินใตผิ้วดินของพื้นดินท้องทะเลนั้น และมีสิทธิอธิปไตย
ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมอื่นๆ เพื่อการแสวงประโยชน์และการสำรวจทางเศรษฐกิจในเขต
อาทิเชน่ การผลิตพลังงานจากน้ำ กระแสนํ้า และลม
............................................................................................................................

ข้อ 61 การอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิต
(1) รัฐชายฝั่งจะพิจารณากำหนดปริมาณทรัพยากรที่มีชีวิตที่พึงอนุญาต
ให้จับได้ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของตน
(2) โดยคำนึงถึงหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่ตนมีอยู่
รัฐชายฝั่งต้องประกันโดยมาตรการอนุรักษ์และการจัดการที่เหมาะสมกว่า
การบำรุงรักษาทรัพยากรที่มีชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะจะไม่ได้รับอันตราย
จากการแสวงประโยน์เกินควร รัฐชายฝั่งและองค์การระหว่างประเทศ
ไม่ว่าในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค หรือระดับโลก จะร่วมมือกันเพื่อการนี้ตามสมควร
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:13:40 น.
Counter : 395 Pageviews.  

blog KU-ABC หลัก “3 สะอาด” เคล็ดลับสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืนให้คนเลี้ยงกุ้งไทย

    blog KU-ABC หลัก“3 สะอาด”เคล็ดลับสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืนให้คนเลี้ยงกุ้งไทย
                                                                      เตือนใจ เจริญพงษ์


วันนี้นำเรื่องที่ตอบโจทย์ยากๆของคนเลี้ยงกุ้งมาฝาก
 หากย้อนไปเมื่อปี 2554 โรคระบาดในฟาร์มกุ้งขาวแวนนาไม
(Penaeusvannamei) ที่เรียกว่า“โรคกุ้งและอาการตายด่วน”
หรือ “โรคอีเอ็มเอส” (Shrimp Early Mortality Syndrome
หรือ EMS)
ที่ระบาดมาจากประเทศจีน
สู่เวียดนาม และลามมาถึงประเทศไทยในปี 2554
ได้สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมกุ้งไทย
อย่างมหาศาลทั้งต่อเกษตรกรผู้เลี้ยง และอุตสาหกรรมส่งออก


หากในทุกวันนี้ ..โรคอีเอ็มเอส และโรคที่อุบัติใหม่ๆ
ไม่ใช่ปัญหาของคนเลี้ยงกุ้งไทยอีกต่อไปแล้ว
สืบเนื่องจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ต่างสรรหาสารพัดวิธีที่จะเอาชนะโรคนี้ได้
รวมทั้ง บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ
...........................................................................................................................

ที่ได้ทุ่มเท ความพยายามศึกษาค้นคว้า
หาแนวทางที่ช่วยจัดการและแก้ปัญหาอาการกุ้งตายด่วน
ซึ่งเป็นต้นเหตุ ทำให้ผลผลิตกุ้งไทยเสียหายไปกว่า 50% ในช่วงปี 2555-2559
............................................................................................................................
ขณะเดียวกัน ช่วยเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงกุ้งให้ดีขึ้น
ตลอดจน พัฒนาการเลี้ยงกุ้งที่เป็นมิตรให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
จากความเสียหายในครั้งนั้น แม้ว่าทุกคนจะรู้ว่า "โรคอีเอ็มเอส"
มีที่มาจากเชื้อแบคทีเรีย แต่รากเหง้าของการระบาดของเชื้อโรคจริงๆ นั้น
มาจากความสะอาดของบ่อเลี้ยง น้ำที่ใช้เลี้ยง และตัวลูกพันธุ์กุ้ง
............................................................................................................................

ดังนั้น การเลี้ยงด้วยวิธีแบบเดิมๆ
ที่ผู้เลี้ยงเคยทำกันมาได้ส่งผลให้ บ่อที่ใช้เลี้ยงเกิดการทับถมของตะกอน
หรือขี้เลนก้นบ่อ เป็นที่สะสมอาหารชั้นดี
เชื้อโรคร้ายของกุ้ง ทำให้เชื้อโรคเกิดขึ้นและแพร่ระบาด
สร้างความเสียหายให้เกษตรกรอย่างไม่สิ้นสุด
............................................................................................................................

ด้วยตระหนักถึงต้นเหตุที่สำคัญ
ซีพีเอฟจึงได้พัฒนาแนวทาง “3 สะอาด”
ประกอบด้วย พื้นบ่อสะอาด น้ำสะอาด และลูกกุ้งสะอาด
รวมถึงการจัดการการเลี้ยงที่เหมาะสม
บนพื้นฐานง่ายๆว่า โดยมุ่งเน้นขจัดต้นเหตุของการเกิดโรคในกุ้ง
และปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ่อเลี้ยงกุ้งให้สะอาดขึ้น
ช่วยให้กุ้งอยู่สบายกินอาหารได้ดี มีอัตราการเติบโตที่ดี
และช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคต่างๆได้
..........................................................................................................................

และที่สำคัญช่วยเพิ่มความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
ให้กับเกษตรกรเลี้ยงกุ้งไทย ทั้งเรื่องผลผลิตและต้นทุน รวมถึงสิ่งแวดล้อม



นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ อธิบายว่า

............................................................................................................................
แนวทาง “3 สะอาด” เป็นแนวทางการเลี้ยงกุ้งเพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน
โดยมุ่งเน้นความสะอาดใน 3 ด้าน คือ
“น้ำสะอาด” “ลูกกุ้งสะอาดปลอดโรค” และ“พื้นบ่อสะอาด”
“น้ำสะอาด” หมายถึง น้ำต้องมีปริมาณสารอินทรีย์ที่ละลายในน้ำ
(DOC : Dissolved Organic Carbon) ในระดับต่ำ
ไม่มีตะกอนและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ไม่มีเชื้อโรคต่างๆ
โดยมีการเตรียมน้ำโดยฆ่าเชื้อด้วยด่างทับทิม
และต้องมีบ่อเพื่อพักน้ำไว้ใช้เติมลงบ่อเลี้ยงในระหว่างการเลี้ยงกุ้งอย่างเพียงพอ

............................................................................................................................
สำหรับ “ลูกกุ้งสะอาด” ที่ปลอดจากเชื้อต่างๆ
เริ่มจากพ่อ-แม่พันธุ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญและมีผลต่อความสำเร็จของการเลี้ยงกุ้ง
เกษตรกรควรพิจารณาเลือกใช้ลูกกุ้งที่มาจากโรงเพาะฟักที่ได้มาตรฐาน
พ่อแม่พันธุ์ต้องปลอดเชื้อ กระบวนการผลิตในโรงเพาะฟักนั้น
จะต้องให้ความสำคัญกับระบบไบโอซีเคียวเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
ของเชื้อในทุกๆขั้นตอนของการผลิต
............................................................................................................................
แม้ลูกพันธุ์กุ้งที่ปล่อยลงเลี้ยงจะมีคุณภาพดี
แต่หากปล่อยในบ่อเลี้ยงที่ไม่สะอาดและมีการจัดการการเลี้ยงที่ไม่ดี
มีสารอินทรีย์ที่ตกค้างในบ่อ เช่น ซากกุ้ง ซากแพลงตอน
เศษอาหารที่เหลือจากกุ้งกินไม่หมด ของเสียที่เป็นสารอนินทรีย์
คือ ก๊าซพิษ แอมโมเนีย
..........................................................................................................................

สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้กุ้งเป็นโรคได้
“พื้นบ่อสะอาด” คือ การจัดการพื้นบ่อเลี้ยงกุ้งให้
สะอาด ไม่เป็นแหล่งสะสมของเสียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้
เกษตรกรต้องทำความสะอาดพื้นบ่อ
เพื่อกำจัดแหล่งอาศัยและอาหารของเชื้อโรค
ในระหว่างการเลี้ยงต้องมีการกำจัดตะกอน
ซึ่งเกิดจากขี้กุ้งและเศษอาหารที่เหลือจากการกินของกุ้ง
โดยดูดออกจากหลุมรวมตะกอนไปเก็บไว้ในบ่อเก็บตะกอน
..........................................................................................................................

ดังนั้น เกษตรกรต้องมีการวางแผนการเลี้ยง
และทำการปรับปรุงโครงสร้างฟาร์มให้เหมาะสม
โดยสัดส่วนพื้นที่ระหว่างพื้นที่เก็บน้ำต่อพื้นที่การเลี้ยงที่เหมาะสม
คือ 70:30 เพื่อให้มีปริมาณน้ำสะอาดที่เพียงพอ
ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง และห้ามปลอ่ยลงส่แูหล่งน้ำธรรมชาติ
และต้องระวังอย่าให้ตะกอน เปลี่ยนเป็นสีดำหรือมีเลนเกิดขี้น
ซึ่งแสดงถึงการจัดการที่ไม่ดี


ด้วยหลัก “3 สะอาด” 
ช่วยให้กุ้งมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น
ประกอบกับการดูแลเอาใจใส่ในของเกษตรกร
จะช่วยให้ผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอน
และจะช่วยป้องกันและลดความเสียหายจากโรคของกุ้งต่างๆ
ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถนำแนวทางต่างๆ
เหล่านี้ไปพิจารณาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงของแต่ละฟาร์ม
............................................................................................................................
ซึ่งแนวทางดังกล่าวการเลี้ยงตามแนวทาง 3 สะอาด
ของซีพีเอฟ ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้มากขึ้น
จากเดิมที่ผลผลิต 1-3 ตันต่อไร่ เป็นเฉลี่ย 3-5 ตันต่อไร่
อีกทั้งทำให้ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งต่อกิโลกรัมลดลง
และผลผลิตมีความแน่นอน เพราะสามารถลดความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นจากโรคต่างๆ
.........................................................................................................................
นายปรีชา สุขเกษม เจ้าของฟาร์มกุ้ง “ศรีสงขลาฟาร์ม”
หนึ่งในฟาร์มกุ้งของไทยที่เสียหายจากโรคตายด่วนหนักมาก
จนแทบเลิกการเลี้ยงกุ้งไป หลังจากนำแนวทาง3 สะอาด
ตามที่ได้รับคำแนะนำจากซีพีเอฟ
............................................................................................................................
ฟาร์มศรีสงขลาก็สามารถจัดการกับโรคกุ้งได้
และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง
............................................................................................................................
หัวใจหลักของ ศรีสงขลาฟาร์ม คือ การกำจัดของเสียออก
ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคออกให้มากที่สุด ที่ผ่านมา
ฟาร์มเน้นการบริหารจัดการนำในฟาร์มให้สะอาด
และเตรียมปริมาณนำใช้ให้มีอย่างเพียงพอตลอดการเลี้ยง
ทั้งฟาร์มปรับลดพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งเหลือเพียงร้อยละ 30 ของพื้นที่ฟาร์มทั้งหมด
และพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นบ่อสำหรับเก็บนำ
แบ่งเป็นบ่อปรับคุณภาพนำ และบ่อพักน้ำสะอาด
............................................................................................................................
ประการที่สอง
การกำจัดของเสียในบ่อ โดยการปรับพื้นบ่อให้เป็นหลุมตรงกลาง
และใช้กระแสน􀄞้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง เพื่อให้ของเสียไหลมารวมที่หลุม
กลางบ่อให้มากที่สุด และดูดของเสียออกจากบ่อไปเก็บในบ่อบำบัด
ให้มากที่สุดและเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้มีของเสียตกค้างในบ่อ
ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยป้องกันกุ้งเป็นโรค
และผลผลิตเป็นได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
...........................................................................................................................
“ระบบ 3 สะอาดช่วยให้การเลี้ยงกุ้งมีความยั่งยืน
ด้วยบริหารจัดการการเลี้ยงกุ้งดีขึ้น ในปีที่ผ่านมา ฟาร์มศรี
สงขลายังไม่เจอกับโรคต่างๆ อีกเลย และการเลี้ยงได้ผลผลิตที่แน่นอน
เสียหายระหว่างการเลี้ยงน้อยมาก

และที่สำคัญเป็นการเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
............................................................................................................................

เพราะขี้เลนที่ดูดขึ้นมาจากก้นบ่อ
เราจะเก็บไว้ในบ่อบำบัดน้ำเสียไม่ปล่อยทิ้งออกจากฟาร์ม
จะนำน้ำกลับมาบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่”  นายปรีชา กล่าว
............................................................................................................................
ด้านนายสิงหา สวัสดิภูมิ หนึ่งในเกษตรกร
ที่ได้ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงกุ้งตามแนวทาง 3 สะอาด
ตั้งแต่ปลายปี 2559 หลังจากประสบกับปัญหาขาดทุนหลังเจอโรคอีเอ็มเอส
และ มีหนี้สิน 6-7 แสนบาท จนต้องหยุดเลี้ยงไป
หลังจากนำแนวทาง 3 สะอาดมาใช้ ก็สามารถจัดการโรคอีเอ็มเอส
และได้ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นมาก
............................................................................................................................
หลังจากปรับเปลี่ยนมาใช้แนวทาง 3 สะอาด
ผลผลิตจากการเลี้ยงรอบแรกก็ช่วยให้ผมสามารถใช้หนี้สินได้
และช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้จริง
............................................................................................................................
เพราะการเลี้ยงกุ้งมุ่งเน้นหลักพื้นฐานของการเลี้ยงสัตว์
คือ ความสะอาดความปลอดภัยของการผลิต
และต้นทุนสมเหตุสมผล เช่น
ซีพีเอฟได้แนะนำหลักการทำนำประปามาประยุกต์
ใช้ในการบำบัดน้ำที่จะนำมาใช้เลี้ยงกุ้ง และไม่ต้องใช้ยาในการรักษาโรคในกุ้ง
............................................................................................................................
นายปราโมทย์ เสนาะสรรพ์ เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์
ประมงคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
กล่าวว่า
   " ตอนแรกตนไม่เชื่อมั่นกับแนวทาง 3 สะอาด
ประกอบกับยังไม่มีเงินทุน เพราะมีหนี้สินมากกว่า 1 ล้านบาท
หลังจากที่เห็นเพื่อนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประสบความสำเร็จ
จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนพื้นที่ฟาร์ม 7 ไร่
ให้เป็นบ่อเลี้ยงกุ้งให้มีพื้นที่เลี้ยงขนาด 1.8 ไร่
และพื้นที่ที่เหลือทำเป็นพื้นที่พักนำและกักเก็บน้ำ
พื้นบ่อปูพลาสติกพีอีทั่วบ่อ และเจาะหลุมกลางบ่อให้เป็นรวมของเศษอาหาร ขี้กุ้ง
และขี้เลน "
.........................................................................................................................

การเลี้ยงกุ้งด้วยหลัก 3 สะอาด นี้
เกษตรกรจะต้องลงทุนเพิ่มเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างฟาร์ม
ใหม่และต้องปรับตัวมาเป็นคนที่เอาใจใส่ ตรวจสอบสภาพบ่อ
และน้ำในบ่อทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งสะอาดอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งช่วยให้กุ้งแข็งแรง ไม่ติดโรคง่าย กุ้งอยู่สบาย กินอาหารได้เยอะ
ไม่ต้องใช้ยาหรือสารเคมี ในการจัดการกับโรคเลย
ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย
ซึ่งคุ้มค่ากับการลงทุนและลงแรงอย่างมาก
โดยสามารถทำผลผลิตจากการเลี้ยงรอบแรก ด้วยหลัก 3 สะอาด
สูงถึง 10 ตัน จากเดิมที่เคยได้ผลผลิตต่อไร่เพียง 2-3 ตันต่อไร่ เท่านั้น”
นายปราโมทย์กล่าว
............................................................................................................................
นายไพโรจน์ ได้กล่าวสำทับอีกว่า
การนำเทคนิคการเลี้ยงแบบ 3 สะอาดมาประยุกต์ใช้
ร่วมกับการบริหารจัดการฟาร์มอย่างถูกต้อง
และมีความเอาใจใส่ในการดูแลตลอดการเลี้ยงอย่างจริงจัง
ไม่เพียงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงและผลผลิต
เกษตรกรจะสามารถจัดการกับโรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
หรือโรคและความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้
จะช่วยสร้างสำเร็จที่มั่นคงให้กับเกษตรกรและอุตสาหกรรมการเลี้ยง
กุ้งของไทย ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นไทยให้กับคู่ค้า
และผู้บริโภคทั่วโลกในฐานะผู้ผลิตอาหารคุณภาพและปลอดภัยที่ยั่งยืน
............................................................................................................................
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 30 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:15:03 น.
Counter : 652 Pageviews.  

blog KU-ABC 2 ศิษย์เก่า มก.ผู้สร้างคุณาปการอุตสาหกรรมสัตว์น้ำโลก


    blog KU-ABC"2 ศิษย์เก่า ม.เกษตรฯ ผู้สร้างคุณาปการแก่อุตสาหกรรมกุ้งของโลก"
                                                                            
                                                                             เตือนใจ เจริญพงษฺ์

วันนี้ขอนำเรื่องราวดีๆ สุดยอดของ 2 ศิษย์เก่า มก.
คือ " ดร.ชิงชัย โลหะวัฒนะกุล และน.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ "



มาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง ดังนี้
............................................................................................................................
“กุ้ง”เป็นอาหารยอดนิยมของผู้บริโภคทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กุ้งขาวแวนาไม ที่มีการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์จากประเทศไทย ...
ใครจะรู้บ้างว่านี่คือผลงานชิ้นสำคัญของศิษย์เก่าม.เกษตรศาสตร์ KU รุ่นที่32
นามว่า“สุจินต์ ธรรมศาสตร์”
............................................................................................................................
น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ผ่านความยากลำบากของชีวิตวัยเด็ก
ในจังหวัดเพชรบุรีสัมผัสความด้อยโอกาสของเด็กบ้านนอกที่ต้องอาศัยเรียน
ในโรงเรียนวัด แต่สามารถใช้ความขยัน มุ่งมั่น อดทน ฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการ
กระทั่งได้เข้าเรียนเป็น นิสิตคณะสัตวแพทย์ ม.เกษตรศาสตร์
สมดังตั้งใจ



ปัจจุบัน น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ
ธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

หรือ ซีพีเอฟ ทำหน้าที่บริหารจัดการกิจการธุรกิจสัตว์น้ำทั้งหมด
ตั้งแต่การวิจัย การพัฒนาพันธุ์ การเพาะเลี้ยง ไปจนถึงการตลาดทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “อุตสาหกรรมกุ้ง”
ที่เห็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรมทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ
เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก
..........................................................................................................................
ซีพีเอฟถือเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในคำกล่าวที่ว่า
“ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตกุ้งอันดับ 1 ของโลก”
ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์กุ้งCPFที่แข็งแรง เลี้ยงง่าย โตเร็ว
มีภูมิต้านทานโรคสูง ตลอดจนเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งโปรไบโอติกส์
หรือ องค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งแบบสามสะอาด
ยามใดที่ประเทศไทยต้องประสบปัญหาโรคระบาดสัตว์น้ำ...
ซีพีเอฟโดย น.สพ.สุจินต์ คนนี้จะเป็นหลักในการวิจัยพัฒนา
เพื่อหาทางแก้ไขและได้ผลเป็นที่น่าพอใจทุกครั้ง ...
......................................................................................................................
เมื่อกุ้งไทยก้าวไกลไปในเวทีโลก สิ่งที่ต้องเผชิญไม่ใช่เพียงการแข่งขัน
ที่รุนแรง แต่ยังเป็นการแข่งขันที่เต็มไปด้วยกลยุทธ์การกีดกัน
การค้าทุกรูปแบบประสบการณ์เหล่านี้ของ น.สพ.สุจินต์
ไม่เพียงสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจซีพีเอฟ
แต่ยังสร้างคุณาปการแก่ประเทศไทย
ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งล้ำค่าที่สร้างความภาคภูมิใจแก่ศิษย์ มก.
สถาบันอันเป็นที่รักของเราทุกคน
.........................................................................................................................
วารสารนนทรีฉบับนี้ได้รับเกียรติอย่างสูง
ในการเข้าสัมภาษณ์ น.สพ.สุจินต์
ซึ่งรวมถึงโอกาสในการรับฟังเรื่องราวของ ดร.ชิงชัย โลหะวัฒนะกุล
ปูชนียบุคคลของวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของโลกด้วย
นนทรีฉบับนี้จึงถือเป็นบันทึกประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของอุตสาหกรรมกุ้งไทย
.............................................................................................................
“ก่อนที่จะลงในรายละเอียดของเรื่องราวต่างๆที่อุตสาหกรรมกุ้งต้องเผชิญ
ผมขอกล่าวถึงบุคคลสำคัญในวงการเพาะเลี้ยงกุ้งของโลกก่อน
“ดร.ชิงชัย โลหะวัฒนะกุล” รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์
ซึ่งถือเป็นศิษย์เก่า มก.ของเราอีกท่านหนึ่งที่ได้รับ
ปริญญาบัตรวิทยาศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
........................................................................................................................
เมื่อปี 2551ท่านเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์มหาศาลต่อประเทศไทย
และต่อวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของโลก ผมเองเป็นผู้นำสิ่งที่ ดร.ชิงชัย
วางวิสัยทัศน์และแนวทางบริหารจัดการมาลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม”น.สพ.สุจินต์กล่าว
....................................................................................................................
รางวัลการันตีระดับโลก
“ดร.ชิงชัย โลหะวัฒนะกุล” ได้รับรางวัลความสำเร็จสูงสุด
หรือ GAA Lifetime Achievement Awardด้านการผลิตอาหารทะเล
จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนจากองค์การพันธมิตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโลก (GAA)
เมื่อปี 2012 ซึ่งเป็นรางวัลที่น้อยคนนักจะได้รับ ในเวทีรับรางวัลดังกล่าว
ดร.ชิงชัย ได้เล่าถึงตำนานอุตสาหกรรมกุ้งว่า
............................................................................................................................
ธุรกิจฟาร์มกุ้งยุคใหม่นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นนักชีววิทยาญี่ปุ่น
ได้เริ่มต้นศึกษาสายพันธุ์กุ้ง โดยสายพันธุ์แรกที่ค้นพบคือกุ้งกุลาดำ (PenaeusMonodon)
เมื่อปี ค.ศ.1930 หลังจากนั้นปี ค.ศ.1967 ธุรกิจฟาร์มกุ้งญี่ปุ่น
จึงเริ่มต้นขยายออกสู่ตลาดอย่างจริงจังโดยสามารถสร้างผลผลิต
เฉลี่ยต่อปีประมาณ 2,000-3,000 ตัน ในช่วงปลายยุค60
เทคโนโลยีของ ญี่ปุ่นจึงได้ขยายมายังประเทศไต้หวัน
และสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี 1987
........................................................................................................................
ไต้หวันสามารถผลิตกุ้งกุลาดำได้กว่า 100,000 ตันต่อปี
ถือเป็นผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ที่สุดของโลกในขณะนั้น
แต่โชคไม่ดีที่ปี ค.ศ. 1988 ไต้หวันประสบปัญหาเกี่ยวกับธุรกิจกุ้งกุลาดำ
อย่างหนักทำให้นักวิจัยและพัฒนาชาวไต้หวันตัดสินใจ
หันมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเริ่มต้นการเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำในภูมิภาคนี้
.......................................................................................................................
สำหรับประเทศไทย CP ได้เริ่มต้นการศึกษาการเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ
เมื่อปี ค.ศ. 1988 โดยได้ร่วมวิจัยและพัฒนากับนักวิชาการชั้นแนวหน้า
และเริ่มลงทุนทำธุรกิจในปีถัดมา ในปีแรกผลผลิตเป็นไปได้ด้วยดีสร้างผลกำไรได้มาก
ในขณะนั้นที่ไต้หวันกลับขาดทุนจากการส่งออกกุ้งกุลาดำกว่า 100,000 ตัน
ในขณะที่ประเทศไทยสามารถสร้างมูลค่าการผลิตได้มากกว่า 100,000 ตันต่อปี
ธุรกิจของซีพีเป็นไปในทางที่ดีตลอดช่วง 5 ปีแรก
............................................................................................................................
แต่หลังจากการระบาดของโรคตัวแดงดวงขาวในฟาร์มกุ้งกุลาดำที่ประเทศไทย
เมื่อปี 1994 อุตสาหกรรมกุ้งกุลาดำต้องประสบกับวิกฤตอย่างหนัก
บริษัทขาดทุนกว่า 20-30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทุกๆปีติดต่อกัน
ต่อมาไทยก็ประสบปัญหาการระบาดของไวรัสในกุ้งกุลาดำ
อีกทำให้บริษัทต้องยุติการทำฟาร์มกุ้งกุลาดำ
......................................................................................................................
ปกติแล้วการวิจัยพัฒนาย่อมต้องใช้งบประมาณไม่น้อย
ในขณะที่ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่างานวิจัยนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่
แต่ซีพีถือเป็นบริษัทที่ทุ่มเทให้กับการวิจัยพัฒนาอย่างยิ่ง
โดยแบ่งรายได้จากการทำธุรกิจประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์
มาใช้ในการศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
แก่อุตสาหกรรมกุ้ง ขณะที่หลายๆ บริษัทใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน
หรือเวียดนาม ต่างไม่มีใครลงทุนเกี่ยวกับงานวิจัยเช่นนี้



“กุ้งขาวแวนนาไม” เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่เป็นตัวอย่างของความสำเร็จการเพาะพันธุ์กุ้งของซีพี
ในประเทศไทยโดยได้เริ่มเพาะพันธุ์เมื่อปี 2002
สร้างผลผลิตและการจำหน่ายเติบโตอย่างรวดเร็ว
สามารถสร้างผลผลิตได้กว่า 600,000 ตันเมื่อปี 2010
แต่ในช่วงปี 2011 ก็เริ่มประสบกับปัญหาและในปี 2012 กุ้งขาวแวนนา
ไมก็เผชิญกับโรค EMS ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในจีนและขยายตัวมายัง เวียดนาม มาเลเซีย
และไทย
..........................................................................................................................
อีเอ็มเอส...ด่านหินที่ไทยสอบผ่าน
น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ เล่าต่อถึงการแก้ปัญหาที่ CPF
สามารถใช้เทคนิคการบริหารจัดการ กระทั่งเอาชนะโรค EMSได้
ขณะที่ประเทศจีน เวียดนาม และมาเลเซีย
ยังไม่สามารถค้นพบวิธีการดังกล่าว
จนเกิดเป็นคำกล่าวของผู้เลี้ยงกุ้งชาวจีนว่า
“ถ้า EMS มาเกิดขึ้นในไทยก่อน มันจะไม่แพร่ระบาดไปยังประเทศอื่น
เพราะที่ไทยมี CPF”
.........................................................................................................................
ปัจจุบันในการเพาะเลี้ยงกุ้ง จะพบโรคหลักๆที่ยังคงสร้างความเสียหาย
กับอุตสาหกรรม ได้แก่ โรคตัวแดงดวงขาว (WSSV) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส
โรคอีเอ็มเอส (EMS) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส
(Vibrio parahaemolyticus) สายพันธุ์ AHPND
และ โรคติดเชื้อไมโครสปอริเดียซึ่งเกิดจากเชื้อ เอ็นเทอโรไซโตซูน เฮปพาโทพีนีอาย
หรืออีเอชพี (Enterocytozoonhepatopenaei, EHP)
............................................................................................................................
ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการป้องกันและจัดการเพื่อลดผลกระทบ
หรือจำกัดความเสียหายจากโรคต่างๆเหล่านี้ได้บ้างแล้ว
แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน
ทำให้มีโรคอุบัติใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆรวมทั้งมีการพัฒนาการของความรุนแรง
ของเชื้อโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้น
............................................................................................................................
การบริหารจัดการการเพาะเลี้ยง จึงเป็นเทคนิคสำคัญที่ต้องนำมาใช้
ซึ่ง น.สพ.สุจินต์ เรียกมันว่า การเลี้ยงกุ้งตามแนวทาง 3 สะอาด
ที่สามารถลดความเสียหายจากโรค EMS ลง ให้เหลือเพียง 10 % เท่านั้น
และไม่เพียงเท่านั้น เทคนิคการบริหารนี้ยังจะเป็นแนวทางป้องกัน
และลดความเสียหายจากโรคต่างๆที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตได้
ซึ่งประกอบด้วย
............................................................................................................................
1. ลูกกุ้งสะอาด
ลูกกุ้งที่สะอาดคือลูกกุ้งที่ปลอดจากเชื้อต่างๆซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด
ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จของการเลี้ยงกุ้งในสภาวะปัจจุบัน
ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคุณภาพของลูกกุ้ง
ที่จะเลือกใช้ ควรพิจารณาเลือกใช้ลูกกุ้งที่มาจากโรงเพาะฟัก
ที่ได้มาตรฐาน
..........................................................................................................................
พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้ในการผลิตลูกกุ้งจะต้องปลอดเชื้อ
กระบวนการผลิตในโรงเพาะฟักนั้นจะต้องให้ความสำคัญ
กับระบบไบโอซีเคียวเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อในทุกๆขั้นตอน
ของการผลิต ทั้งในระหว่างการเลี้ยงและระหว่างรอบการเลี้ยง
โดยลูกกุ้งทุกชุดก่อนที่จะส่งถึงมือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
จะต้องผ่านการตรวจยืนยันว่าปลอดจากเชื้อก่อโรคที่สำคัญทุกชนิด
...........................................................................................................................
เช่น เชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว เชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส
สายพันธุ์ก่อโรคอีเอ็มเอส และเชื้อไมโครสปอริเดีย เป็นต้น
ซึ่งลูกกุ้งของ CP ได้รับความเชื่อมั่นจากเกษตรกร
ผู้เลี้ยงกุ้งเป็นอันดับ 1
ทั้งในด้านคุณภาพและการปลอดโรค
ดังที่กล่าวแล้วว่า CPF ให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาอย่างยิ่งยวด
โดยปัจจุบัน CPFเป็นเอกชนเพียงรายเดียวของประเทศไทย
ที่มีศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้ง (Shrimp Genetic Improvement Center)
เพื่อวิจัยพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง ตั้งแต่ระดับปู่ย่าพันธุ์ - พ่อแม่พันธุ์
อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมได้ในอนาคต
............................................................................................................................
2. พื้นบ่อสะอาด
เกษตรกรต้องความสะอาดพื้นบ่อเพื่อกำจัดที่อยู่และอาหาร
สำหรับเชื้อโรค ที่สำคัญจะต้องเก็บตัวอย่างทั้งดิน
และน้ำมาตรวจเชื้อก่อนที่จะปล่อยกุ้งลงเลี้ยง
ในระหว่างการเลี้ยงจะต้องมีการกำจัดตะกอนซึ่งเกิดจากขี้กุ้ง
และเศษอาหารที่เหลือจากการกินของกุ้ง
โดยดูดออกจากหลุมรวมตะกอนไปเก็บไว้ในบ่อเก็บตะกอน
และอย่าให้ตะกอนเปลี่ยนเป็นสีดำหรือมีเลนเกิดขี้น
เพราะนั่นหมายถึงการจัดการในบ่อที่ไม่ดีไม่เหมาะสม
...........................................................................................................................
3. น้ำสะอาด
น้ำสะอาดคือน้ำที่มีปริมาณสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำ
หรือที่เรียกย่อๆว่าค่าดีโอซี (Dissolved Organic Carbon, DOC) ต่ำ
ไม่มีตะกอน ไม่มีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green Algae)
และไม่มีเชื้อโรคต่างๆ และต้องมีปริมาณน้ำสะอาดที่เพียงพอ
ตลอดระยะเวลาการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญ
การลดพื้นที่การเลี้ยงกุ้งเพื่อนำไปใช้สำหรับเป็นพื้นที่เก็บน้ำสะอาดมากขึ้นนั้น
สิ่งที่จะได้กลับมาคืออัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น
และผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากทำให้ในฟาร์มมีน้ำใช้ที่มีคุณภาพ
สะอาด และมีการจัดการความสะอาดภายในบ่อที่ดีขึ้น
............................................................................................................................
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความสามารถในการวิจัยพัฒนา
เพื่อแก้ปัญหาโรคระบาดที่ประเทศอื่นๆทำไม่ได้ แต่ประเทศไทยของเรา
โดย CPF สามารถทำได้ และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า
ความเสียหายจากโรค EMS ที่ทำให้ผลผลิตกุ้งของโลกหายไป กว่า 70-80%
นั้น สามารถลดความเสียหายลงมาเหลือเพียง 10%
...........................................................................................................................
“เราใช้เวลาถึง 3 ปี ในการลองผิดลองถูก ศึกษาพัฒนา
จนพบแนวทางการบริหารจัดการที่นี้ แม้วันนี้เชื้อ EMS
จะยังคงอยู่แต่แนวทางนี้สามารถจัดการได้แล้ว
ดังจะเห็นได้จากเดิมที่จะเกิดความเสียหายถึง 70-80%
แต่ขณะนี้หากพบโรคดังกล่าว ก็จะเกิดความเสียหายเพียง 10%
เรียกว่าเราต่อสู้กับ EMS ได้แล้ว
...........................................................................................................................
ส่วนโรคหัวเหลืองตัวแดงที่เกิดขึ้นมา 30 ปีก่อน
เราก็ยังรับมือได้ด้วยการบริหารจัดการที่ดี
ทั้งๆที่เชื้อมันยังคงมีอยู่ และขณะนี้ CPF
อยู่ระหว่างการวิจัยกับต่างประเทศ เพื่อทำการศึกษาจีโนมของกุ้ง
ลึกลงไปถึงระดับยีน เพื่อให้ได้กุ้งที่มีภูมิต้านทานมากขึ้น
อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยก็จะยกระดับขึ้นไปอีกขั้น”
น.สพ.สุจินต์กล่าว
............................................................................................................................
ปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงครองตำแหน่งผู้นำด้านการผลิตกุ้งของโลก
ได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยมีศิษย์เก่า ม.เกษตรศาสตร์ทั้ง 2 ท่านนี้
เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จดังกล่าว ....
จากความมุมานะ-มุ่งมั่น
ของทั้ง ดร.ชิงชัย โลหะวัฒนะกุล และ น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์
นับเป็นคุณาปการของมวลมนุษยชาติ ...
...........................................................................................................................
ไม่ว่าจะเป็นกุ้งปลอดสาร คุณภาพสูงให้ผู้บริโภคทั่วโลก
ได้รับรับประทานด้วยความปลอดภัย
หรือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งสู่เกษตรกรของไทยและทั่วโลก
ให้มีอาชีพยั่งยืน รวมไปถึงการวิจัยพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
เพื่อเป้าหมายสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมกุ้ง
วารสารนนทรีอาจไม่สามารถบันทึกความสำเร็จของทั้ง 2 ท่านได้หมด
ในพื้นที่เพียงเท่านี้
แต่ขอยืนยันว่าผลงานดังกล่าวที่ปรากฏแล้วในสายตาชาวโลก
จะจารึกไว้เป็นความภาคภูมิใจของชาวเกษตรศาสตร์ไปตราบนานเท่านาน./

----------------------------------------------------------------------
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก. ผู้ post เมื่อ 25 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 25 ตุลาคม 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:16:01 น.
Counter : 1139 Pageviews.  


สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.