Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABC ยางนา "ดำริพระราชา สู่การพัฒนาป่าไม้ไทย"

            blog KU-ABC "ยางนา".. ดำริพระราชา สู่การพัฒนาป่าไม้ไทย
                                                                 สมพร ไชยจรัส
         ยางนา
เป็นไม้ที่มีคุณค่าสำคัญยิ่งในทางเศรษฐกิจของประเทศไทยชนิดหนึ่ง
เพราะเป็นที่นิยมใช้สอยกันมากในการก่อสร้าง บ้านเรือนและในการทำไม้อัด
รวมทั้งส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศด้วย นอกจากนี้ยังให้น้ำมันยาง
ซึ่งใช้ในการทำไต้ ยาเรือ ทำน้ำมัน ทาบ้าน ตลอดจนใช้เป็นยารักษาโรค  
แต่ปริมาณไม้ยางนาในปัจจุบันได้ลดน้อยลงมากเนื่องจากการทำไม้
และโดยที่ไม้ยางนาส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่ในที่ราบริมน้ำ 
ซึ่งจะถูกบุกรุกแผ้วถาง  กลายเป็นเรือกสวนและไร่นา 
ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องทำการก่อสร้างสวนป่าไม้ยางนาขึ้นทดแทน
ในพื้นที่ที่เหมาะสม และหาวิธีการเพิ่มปริมาณไม้ยางนาในป่าธรรมชาติให้เพิ่มมากขึ้น
............................................................................................................................

ไม้ชนิดนี้มีชื่อพื้นเมืองแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ได้แก่
ยางนา ยางขาว ยาง ยางแม่น้ำ ยางหยวก (ทั่วไป) ยางกุง (เลย) ยางควาย (หนองคาย)
ยางเนิน (จันทบุรี) ราลอย (สุรินทร์) ลอยด์(นครพนม) ทองหลัก (ละว้า)
ยางตัง (ชุมพร) จะเดียล (เขมร) เคาะ (เชียงใหม่) ขะยาง (นครราชสีมา)
กาดีล (ปราจีนบุรี) โดยยางนานี้ จัดอยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae สกุล Dipterocarpus
...........................................................................................................................

มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิม อยู่ในเกาะบอร์เนียว ไม้ยางนา ชอบขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น
โดยเฉพาะในที่ราบริมน้ำทั่วไป การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ ปกติไม่ดีนัก
จึงทำให้พบแต่ไม้ยางนาที่มีขนาดใหญ่เป็นส่วนมาก กล้าไม้มีน้อย
............................................................................................................................

ในขณะที่ไม้สกุลยูคาลิปตัส เป็นไม้พื้นเมืองของออสเตรเลีย
ไม้สกุลไม้ยางก็เป็นไม้พื้นเมืองของเอเซียอาคเนย์ ตามหลักพฤกษภูมิศาสตร์  
ไม้ยางนาจัดอยู่ทั้งในกลุ่มพรรณไม้เขตอินโดจีน (Indo-China-Element) 
ซึ่งเป็นไม้ยางนาผลัดใบ และกลุ่มพรรณไม้เขตแหลมมลายู (Malesian Element)
อันเป็นไม้ยางนาที่ไม้ผลัดใบ มีเขตการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบังคลาเทศ หมู่เกาะอันดามันของอินเดีย
ลงมาจนถึงพม่า ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และฟิลิปปินส์ เป็นไม้ที่มีขนาดสูงใหญ่
เรือนยอดสูงโดดเด่น เป็นเสมือนพญาไม้ ทั้งในป่าดิบแล้ง และ ป่าดิบชื้น
ของเอเซียอาคเนย์
............................................................................................................................

กล่าวโดยสรุปได้ว่า  ยางนา...เปรียบเสมือนพญาไม้แห่งป่าเอเซียอาคเนย์
............................................................................................................................

 พรรณไม้วงศ์ไม้ยาง และลักษณะทั่วไปของไม้ยางนา พรรณไม้วงศ์ไม้ยาง
         ลักษณะทั่วไป พรรณไม้วงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae)
เป็นไม้ยืนต้นตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ บางชนิดสูงถึง 60 เมตร เปลือก
และเนื้อไม้มีน้ำมันซึ่งมีกลิ่นเฉพาะตัว เรือนยอดมีรูปลักษณะต่าง ๆ กัน
เช่น ทรงกระบอก ทรงกลม หรือ แผ่กว้าง เป็นต้น ตาและปลายยอดอ่อน
มักมีหูใบขนาดใหญ่คลุม ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ ก้านใบมักบวมพอง แผ่นใบ
และขอบใบเรียบ ยกเว้นในบางสกุล เช่น สกุลไม้ยาง
ซึ่งแผ่นใบมักจีบเป็นสันระหว่างเส้นแขนงใบและขอบใบเป็นคลื่นลักษณะของ
เส้นแขนงใบมีความแตกต่างกันไปในเเต่ละสกุล 
เช่น  สกุลไม้ยางมักมีเส้นแขนงใบตรงปลายเส้นจรดขอบใบ
บางสกุลปลายเส้นแขนงใบโค้งจรดกันก่อนถึงขอบใบ เช่น สกุลไม้เคี่ยม
บางสกุลมีเส้นใบแซมระหว่างเส้นแขนงใบ เช่น สกุลไม้เคี่ยม
และสกุลไม้ตะเคียนบางชนิด เป็นต้น เส้นใบย่อยส่วนใหญ่เป็นชนิดขั้นบันได้
แต่ในบางสกุล เช่น สกุลไม้พันจำ-สักน้ำ และสกุลไม้ตะเคียนบางชนิด
มีเส้นใบย่อยแบบเส้นร่างแห ระหว่างเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบของไม้ในวงศ์นี้
............................................................................................................................
มักมีตุ่มใบ  ดอก  มักออกเป็นช่อแยกแขนง แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก
อย่างละ 5 กลีบกลีบเลี้ยงมีทั้งสองซ้อนกันและเรียงเคียงกัน
กลีบดอกเรียงซ้อนกันคล้ายกังหันลม เกสรเพศผู้ มีตั้งแต่ 5 อันขึ้นไป
เกสรเพศเสียมี 1 อัน รังไข่มี 3 ช่อง อยู่เหนือฐานดอก
ยกเว้นสกุลไม้กระบาก ผล เปลือกแข็ง แห้งไม่แตก และมักมีปีก 
ซึ่งพัฒนามาจากกลีบรองดอก ซึ่งลักษณะของผลและปีกในแต่ละสกุล
และชนิดของไม้ในวงศ์นี้ มีลักษณะแตกต่างกัน
............................................................................................................................

การกระจายพันธุ์  พรรณไม้ไนวงศ์ไม้ยางมี ประมาณ 13 สกุล 470 ชนิด
กระจายพันธุ์ ในเขตร้อนทั่วทุกภูมิภาคของโลก 
จากการสำรวจและวิจัยของนักวิชาการกรมป่าไม้พบว่า 
ประเทศไทยมีพรรณไม้ในวงศ์นี้กระจายพันธุ์อยู่ในป่าชนิดต่าง ๆ
ในระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเล เฉลี่ยถึงระดับ  1,300 เมตร
ทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ถึง 8 สกุล 65 ชนิด
คือ สกุลไม้กระบาก 3 ชนิด สกุลไม้ยาง 16 ชนิด สกุลไม้ตะเคียน 13 ชนิด
สกุลไม้ตะเคียนชันตาเเมว 1 ชนิด สกุลไม้เคี่ยม 1 ชนิด 
สกุลไม้ไผ่เขียว 1 ชนิด สกุลไม้เต็ง-สยา 22 ชนิด  และสกุลไม้พันจำ-สักน้ำ 8 ชนิด
............................................................................................................................

ประโยชน์ เนื่องจากพรรณไม้ในวงศ์นี้มีคุณสมบัติเฉพาะตัว
ที่เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ต่าง ๆ หลายประการ
ทั้งประโยชน์โดยตรงจากเนื้อไม้ เช่น นำมาใช้ในการก่อสร้าง
และทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ น้ำมันจากลำต้น นำมาใช้จุดไฟให้แสงสว่าง
และใช้เดินเครื่องจักรในสมัยโบราณ และชันจากลำต้นใช้ยาเรือ เป็นต้น
นอกจากนี้ส่วนต่าง ๆ เช่น เปลือกต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล รวมทั้งชัน
และน้ำมันดังกล่าวแล้วข้างต้น  ยังนำมาใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร
ประโยชน์ทางอ้อมซึ่งพรรณไม้นี้นอกจากจะให้ความสวยงามร่มรื่น
รักษาระบบนิเวศของป่า  ดิน น้ำ และอากาศแล้วพรรณไม้ในวงศ์นี้
ยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตสวนเห็ดป่าชนิดต่าง ๆ ที่ใช้บริโภคอีกด้วย
เช่น เห็ดเผาะ เห็ดไข่ และเห็ดระโงก เป็นต้น
............................................................................................................................
 ลักษณะทั่วไปของไม้ยางนา          
ยางนา เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูง 30-40 เมตร
ความสูงถึงกิ่งสดกิ่งแรกประมาณ 20 เมตร ลำต้น  เปลาตรง เปลือกเรียบหนา
สีเทาปนขาว โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนา
เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง ใบ เป็นรูปไข่แกมรูปหอก ขนาด 8-15 x 20-35 เซนติเมตร
เนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียว โคนใบเรียบ เส้นแขนงใบมี 14-17 คู่ ก้านยาว 4 เซนติเมตร
กาบหุ้มยอดมีขนยาว ๆ สีน้ำตาล  ดอก เป็นสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่าม
ใบตอนปลาย ๆ กิ่ง  กลีบรองกลีบดอกตอนโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
และมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาว 2 แฉก สั้น 3 แฉก
มีขน สั้น ๆ  สีน้ำตาลปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบประสานติดกัน 
ปลายกลีบบิดเวียนตามกันแบบกังหัน เกสรตัวผู้มี 29 อัน รังไข่มี 3 ช่อง
ไข่อ่อนช่องละ 2 อัน ผล มีลักษณะกลม มีครีบตามยาวตลอด 5 ครีบ
ปีกยาว 2 ปีก ขนาด 2.5-3 x 10-12 เซนติเมตร ปีกสั้น 3 ปีก เป็นรูปหนู
............................................................................................................................
เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป 1ช่น พื้น ฝา รอด ตง และหีบใส่ของ เป็นต้น
น้ำมัน ใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ยาเครื่องจักสาร ทำไต้
และใช้เติมเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ทำน้ำมันใส่แผลแก้โรคเรื้อน และโรคหนองใน
............................................................................................................................
การกระจายพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้นยางนาในป่าธรรมชาติ
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ ของไม้ยางนา
    ยางนาเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบชายลำธารในป่าดิบทั่วไปที่สูง
จากระดับน้ำทะเลป่านกลางเฉลี่ย 200-600 เมตรมีลักษณะการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง
ตั้งแต่ บังคลาเทศ ตอนใต้ของพม่า ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม  
สำหรับการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยนั้นไม้ยางนาสามารถขึ้นอยู่ทุกภาคของประเทศ
ได้แก่ ภาคเหนือมีในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และกระจัดกระจายทั่วไป
ในป่าสองข้างถนนสายลำพูน – ตาก – กำแพงเพชร และจาก กำแพงเพชร  - นครสวรรค์
จะพบเห็นยางนาขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั้งสองฝั่งถนน และมีมากในจังหวัดนครสวรรค์ 
และอุทัยธานี  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบทั่วไปในจังหวัดเลย ขอนแก่น 
และนครราชสีมา  ในภาคกลาง ขึ้นอยู่ทั่วไปแถบจังหวัดสระบุรี และกาญจนบุรี 
ในภาคตะวันออกสามารถขึ้นอยู่ได้ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี และตราด 
ในภาคใต้ พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง
............................................................................................................................

ไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus Boxb.) 
เป็นไม้ประเภท riparian Species อยู่ในบริเวณที่ลุ่ม
และไม่ปรากฏพบในภูมิประเทศที่สูงกว่า 500 ม. ไม้ยางนาขึ้นอยู่ทุกภาคของประเทศ
เช่น ภาคเหนือ มีใน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และกระจัดกระจายทั่วไป
ในป่าสองข้างถนนสายลำพูน – ตาก – กำแพงเพชร  จากกำแพงเพชร – นครสวรรค์
ป่าไม้ยางนากระจัดกระจายสองฟากถนน ปัจจุบันการจัดสรรที่ดิน
ทำให้บริเวณป่าไม้ยางนาลดน้อยลง ไม้ยางนามีมากในป่าจังหวัด นครสวรรค์
และอุทัยธานี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีไม้ยางนาทั่วไปในจังหวัดเลย ตำบลสีฐาน
ป่าดงลาน ชุมแพ ขอนแก่น นครราชสีมา ในภาคกลาง
ขึ้นทั่วไปในเขตใกล้เคียงพระนคร สระบุรี ภาคตะวันออกเฉียงใต้ มีแถวทุ่งโพ
อรัญประเทศ ศรีราชา หนองขอม ชลบุรี จนถึงจังหวัดตราด เกาะช้าง คลองสลากเพชร
สลากโคก  ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ ขึ้นในกาญจนบุรี และขึ้นกระจัดกระจายไป
จนถึงประจวบคีรีขันธ์ บางสะพาน บ้านทุ่งมหา โดยเฉพาะ ป่าห้วยยาง
..........................................................................................................................

ในภาคใต้ พบที่ป่าสุราษฎร์ธานี ท่าหอม นครศรีธรรมราช  ตรัง ห้วยยอด
เขากะบอก นอกจากไทยแล้ว มีไม้ยางนาทั่วไป ในลาว เขมร และมลายู ไม้ยางนรา
ที่พบในบริเวณภาคใต้ จะมีใบ  cuneate-based   และaccrescent ridges   
บน  Calys tubes  มีลักษณะตรง และสั้นกว่าที่พบในที่อื่น ๆ
ไม้ยางนาเป็นไม้มีเรือนยอดเป็นพุ่ม สูงประมาณ 30 – 40 ม.
และมีลำต้นเกลี้ยง ยาวประมาณ 20 ม.  ส่วนเส้นรอบวง โตตั้งแต่ 200ซม. ขึ้นไป
ลำต้นเป็นสีเทาขาว  และจะมีเกล็ดบ้างเล็กน้อย กิ่งเล็ก ๆ และ stipules  
จะมีขนสีเหลือง ลักษณะใบ ovate, elliptic ovate elliptic oblong 
ใบมีความยาว 15 – 25 ซม.  กว้าง 6 – 15 ซม.  จะมีเส้นเยื่อใน 14 – 16 คู่ 
มีขนสั้น ๆ สะเหลืองใต้ใบ   pelioles   ยาวประมาณ 3 – 4.5 ซม.
และมีขนสีเหลือง, ดอกจะมีสีชมพูเกือบขาว  Calyx   มี 5 ridges  
ผลแบบ globose   มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 ซม. และมี accrocent  ridges  5 แฉก
มีปีกแบบ   oblong obtuse  ยาว 10 – 17 ซม.  กว้างราว 1.5 – 3 ซม.
ดอกจะบานราวเดือนธันวาคม – เมษายน
...........................................................................................................................

ไม้ยางนาอยู่ในตระกูล Dipterocarpaceae genus Dipterocarpus 
มีถิ่นดั้งเดิมในบอเนียว ไม้ยางนาชอบขึ้นในถิ่นทั่วไปที่ชุ่มชื้น
โดยเฉพาะในที่ราบริมน้ำทั่วไป การสืบพันธุ์ ปกติไม่ดีนัก
จึงพบแต่ต้นบางขนาดใหญ่เป็นส่วนมาก กล้าไม้มีน้อย 
การกระจายพันธุ์ของไม้ยางนานั้น ปรากฏว่าได้มีการค้นคว้าไว้บ้างแล้ว
............................................................................................................................
ตามบันทึกของนายเต็ม  สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ กรมป่าไม้
ดอกยางนาเป็น entomophyllus ในแม่การสืบพันธุ์แล้ว
จะไม่สามารถทำ self pollinate ได้ ไม้ยางนามีผลดี
แต่เชื่อว่าผลนี้ ไม้สามารถผลิตเมล็ดได้ดีเสมอไป
เชื่อว่าพวกผึ้งช่วยในการ pollination ของไม้ยาง ข้อสนับสนุนในเรื่องนี้ก็คือ
เราจะพบว่ารังผึ้งขนาดใหญ่อยู่บนต้นไม้ยางนาเสมอ
การสืบพันธุ์ของไม้ยางนานั้น เมื่อเมล็ดหล่นก็จะงอกทันที
และไม้สามารถปลิวไปไกล ๆ ได้ จะเห็นลูกไม้ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ใต้แม่ไม้
แม้ไม้จะช่วยให้ร่มได้ด้วย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี
บริเวณกลุ่มลูกไม้นี้ มักจะถูกกลบด้วยวัชพืชหรือได้รับแสงน้อย
............................................................................................................................
 ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................

 
  1. ถ้าจะปลูกต้นยางนาในที่ที่ทราบความชื้นของบรรยากาศแล้ว จะปลูกเวลาใดจึงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด และขนาดของต้นยางควรจะเป็นต้นที่โตเท่าใด ถ้ามีการเพาะกล้ายางไปปลูก ควรจะลงมือปลูกในเดือนใดดี จากกราฟของการเจริญเติบโตก็พอตั้งสมมติฐานได้ว่าปลูกในเดือนกรกฎาคมจะเจริญเติบโตดีที่สุด เพราะในระยะนี้เป็นระยะที่จะไม่มีการแตกใบอ่อนอีกต่อไป ต้นยางจะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน เมื่อหมดฝนต้นยางก็จะตั้งตัวต่อสู้กับธรรมชาติหรือฤดูกาลได้ดี
  2. ในการปลูกไม้ใหญ่เพื่อให้มีการเจริญเติบโตได้ดีต่อไปข้างหน้า ปัญหาเรื่องปุ๋ยก็น่าจะมีทางนำมาพิจารณาดูบ้าง เพราะในการสร้างป่าไม้นั้น การที่ต้นไม้เจริญเติบโตได้รวดเร็วก็จะต้องหันมาคำนึงถึงเรื่องของปุ๋ย นอกเหนือไปจากนี้หากมีการใส่ปุ๋ย การใส่ระยะใดจึงจะเหมาะ อาจพิจารณาได้จากสภาพการเจริญเติบโต การใช้ปุ๋ยเร่งในระยะพักตัวจะไม่มีประโยชน์ แต่ขณะที่เริ่มมีการเจริญ ถ้าใส่ปุ๋ยจะทำให้เพิ่มอัตราการเติบโตได้มาก
  3. ในการผสมพันธุ์ อาจต้องทราบช่วงระยะเวลาของการออกดอก การร่วงของดอกดูจากกราฟอาจจะช่วยในการตระเตรียมงานได้ ในการที่จะปลูกและทำนุบำรุงป่าอาจมีการดำเนินการถึงขั้นผสมพันธุ์ เพื่อให้ได้ไม้ยางพันธุ์ที่โตเร็วที่สุดเป็นพันธุ์ปลูก หรือจะมุ่งพันธุ์ที่ให้น้ำมันยางมากที่สุดก็อาจจะศึกษาสภาพการออกดอกจากกราฟได้
  4. จากข้อ 3 เรื่องของน้ำมันยางยังเป็นเรื่องที่น่าสนใจค้นคว้าอีกมาก สภาพการเจริญเติบโตอาจจะอธิบายได้ว่า การที่จะเอาน้ำมันยางให้ได้มากที่สุด ถ้าทราบสภาพการเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโตในรอบปี เราอาจจะใช้ความรู้นี้ในด้านการสกัดน้ำมันยางบ้างก็ได้
  5. ในการศึกษาสภาพการออกดอกของต้นยางนามีความสัมพันธ์กับผึ้งป่าในเมืองไทยอย่างไร ผึ้งป่ากับต้นยางอาจจะมีความสัมพันธ์กันอยู่ไม่น้อย เพราะตามปกติผึ้งจะเลือกทำรังในบริเวณที่มีเกสรดอกไม้บานพร้อมกันมากๆ จึงจะทำงานได้ดีขยายรังได้ ถ้ามีต้นยางมากๆ การบานของดอกก็จะมีมาก ซึ่งจะพอเพียงที่ผึ้งขยายพันธุ์ได้ สำหรับผึ้งโพรงที่ชาวยุโรปนิยมเลี้ยงกันนั้น เขาจะเลี้ยงด้วยยูคาลิปตัสและอัลฟัลฟา ซึ่งปลูกไว้มากมายเต็มท้องทุ่งสุดลูกตา ในเมืองไทยเราผึ้งป่าก็อาศัยดอกไม้ของตระกูลไม้ยางหรือไม้ป่าอื่นที่มีดอกดกเป็นอาหารเป็นจำนวนมาก ความสัมพันธ์เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
............................................................................................................................
4. การเพาะเมล็ดไม้ยางนา
การเพาะเมล็ดไม้ยางนาเพื่อการวิจัยในห้องเพาะ เมล็ดพบว่าเมื่อทำการเพาะเมล็ด
ที่เก็บในสภาพธรรมชาติโดยเด็ดปีกก่อนจะเริ่มงอกหลังจากเพาะ 4 1/4 วัน
และจากทีเก็บไว้ในห้องเก็บเมล็ดไม้ที่อุณหฎมิ 150c เมล็ดจะเริ่มงอกหลังจากเพาะ 6 1/2 วัน
และจะทยอยงอกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 30 วัน
ในการเพาะเมล็ดเพื่อปลูกสร้างสวนป่าหรือเพื่อต้องการกล้าไม้จำนวนมากๆ
จะทำการเพาะในกระบะเพาะหรือในหลุมดินโดยเด็ดปีกออกเสียก่อน
แล้วนำเมล็ดไปกองรวมกัน ใช้กระสอบหรือฟางหรือใยมะพร้าวคลุมเมล็ด
แล้วรดน้ำเช้า เย็น ทุกวันหลังจากเพาะได้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมล็ดก็จะเริ่มงอก
และจะงอกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงประมาณ 1 เดือนหลังจากเพาะ
............................................................................................................................
5. การงอกของเมล็ด
ผลยางนาเมื่อหล่นถึงพื้นดินแล้วและมีสภาพดีเมื่อได้รับน้ำฝน
มันจะเริ่มงอกทันทีเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดจะดีเมื่อหล่น ลงมาไม่เกิน 10 วัน
ดังนั้น ระยะเวลาที่เมล็ดยางนาจะงอกได้ดีจึงมีลักษณะจำกัด
อาจเป็นอุปสรรคต่อการสืบพันธุได้อย่างหนึ่ง
ถ้าหากว่า พื้นที่ตรงเมล็ดตกรกไปด้วยเศษไม้ และวัชพืชจนเมล็ดไม่ว่ามารถหล่น
เมื่ออยู่บนหรือใต้ผิวดินเล็กน้อยของแปลงเพาะที่มีความชื้น เมล็ดไม้
ยางนามีอัตรางอกในตัวกลางที่เป็นขี้เถ้าแกลบสูงสุด 43.33% ดิน
ถึงดินได้ในช่วงเวลานั้น เมล็ดของพรรณไม้สกุลนี้จะงอกได้ดีที่สุด 38.00%
ทราย 37.33% และดินปนทรายน้อยที่สุด 30.67%
............................................................................................................................
6. การรอดตายของกล้าไม้
การอยู่รอดของกล้าไม้ถือเป็นระยะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ไม้ชนิดนั้น ๆ
จะสามารถตั้งตัวอยู่ในถิ่นนั้นได้หรือไม่ การอยู่รอดของกล้าไม้ยางนา
มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง อัตราการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนาทางส่วนสูงที่ปลูก
โดยได้รับร่มระดับต่าง ๆ กันไม่มีผลแตกต่างจนมีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใด
นั่นคือกล้าไม้ยางนา ไม่ค่อยจะสนองตอบแสงสว่างเต็มที่มากมายนัก
เมื่อยังมีขนาดเล็กอยู่ และเป็นไม้ชอบร่มป่านกลาง
การศึกษาการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนาในป่าภูหลวง ต.วังน้ำเขียว
อยูปักธงชัย  จ.นครราชสีมา
............................................................................................................................
พบว่า ความแตกต่างระหว่างการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนาที่ทำการแผ้วถางเปิดแสงสว่าง
กับที่ปล่อยตามธรรมชาติไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เปอร์เซนต์การรอดตายของกล้าไม้ยางนา
ในแปลงที่เปิดแสงสว่างจะมากกว่า คือ รอดตาย 60.70 และ 40.62 % 
เมื่อเปรียบเทียบกับที่ปล่อยตามธรรมชาติจะมีอัตรารอดตายเพียง 53.22 % 
เพราะเหตุว่าการถางไม้ยืนต้นและไม้ชั้นล่างลง  ทำให้ไม้ยางนาได้รับอาหาร
และแสงสว่างมากขึ้น อันตรายที่จะได้รับจากการเบียดบังโดยไม้ใหญ่ น้อยลง
ทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงขึ้น จึงเห็นได้ว่านอกจากแสงสว่างแล้ว
การแข่งขันกันทางเรือนรากมีผลต่อการรอดตายของกล้าไม้เป็นอย่างมาก
ระบบรากของกล้าไม้ยางนา จึงเป็นสิ่งที่ควรทำการศึกษา ความเจริญเติบโต
ของกล้าไม้ยางนาใน 120 วันแรกนั้น ความยาวของรากจะมากกว่าความยาวของลำต้น
แต่น้ำหนักของลำต้นมากกว่าน้ำหนักรากโดยทั่วไปอาจจะกล่าวได้ว่าความสามารถ
ของชนิดไม้ต่าง ๆ ที่จะทนอยู่ในสภาพพื้นที่หนึ่งได้หรือตั้งตัวในท้องที่ใหม่
ต้องเกี่ยวข้องอย่างมากกับการแตกรากครั้งแรกของมัน และมีความสัมพันธ์อย่างดี
กับน้ำในดินที่มันดึงมาใช้ได้ตามต้องการ เพื่อให้เกิดความพอดีกับปริมาณน้ำที่สูญเสียไป
โดยการคายน้ำ และการเจริญเติบโต ความลึกและรูปร่างของระบบรากไม้เนื้อแข็ง
มีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำในดิน กล้าไม้ยางนาต้องการความชื้นในดินมาก
ถ้าความชื้นในดินไม่เพียงพอ ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการสับพันธุ์ ได้มีผู้ทำการทดลอง
แล้วปรากฏว่าความชื้นในดินจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของกล้าไม้ยางนา
กล่าวคือ เมื่อความชื้นที่ปลายรากกล้าไม้ 47.71% กล้าไม้จะเริ่มเหี่ยว
และตายเมื่อดินมีความชื้น 21.75% และใบจะเริ่มลดลงเมื่อความชื้นบริเวณปลายราก 65.07% (เสวก, 2508)
............................................................................................................................
7. การย้ายกล้าไม้ยางนา
เมื่อเมล็ดไม้ยางนา งอกรากออกมาราวประมาณ 1 นิ้ว ก็ทำการย้ายลงไปปักในถุงพลาสติก
ขนาด 4 x 6 นิ้ว ระยะนี้กล้าไม้จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเมื่อย้ายปลูกได้
ประมาณ 1 เดือน ทำการคัดเลือกกล้าไม้ต้นลักษณะดีย้ายไปปักในถุงขนาดใหญ่ขึ้น
ขนาด (5” x 8” ขึ้นไป) เพื่อให้รากเจริญได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถ้าเราไม่มีการย้ายลงถุงใหญ่
กล้าไม้จะไม่เจริญต่อไป และเมื่อเราทำการตัดแต่งราก ส่วนยอดของกล้าไม้จะตาย
เหลือความสูงประมาณความยาวของรากเท่านั้น และควรจะเลี้ยงกล้าไม้ยางนาในถุงใหญ่นี้
ให้มีอายุอย่างน้อย 1 ปี จึงนำไปปักในพื้นที่ต่อไป
............................................................................................................................
 การเตรียมพื้นที่ปลูกไม้ยางนา
การปลูกไม้ยางนาควรมีร่มเงาประมาณ 1-2 ปีแรกของการเจริญเติบโต
จึงต้องมีการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกไม้ร่มเงาก่อน หรือในกรณีที่ตัดไม้ใหญ่ลง
ก็ควรเหลือร่มเงาสำหรับกล้าไม้ การตัดไม้ร่มเงาออกควรทำหลังจากผ่านปีแรกไปแล้ว
โดยค่อย ๆ เปิดร่มเงาออกและมีการควบคุมวัชพืชอย่างดีในระยะ 1-2 ปี
............................................................................................................................
ในปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดที่แน่นอนว่า
การปลูกสร้างสวนยางนาจำเป็นต้องปลูกไม้ชนิดอื่น เพื่อเป็นร่มเงาให้ต้นยางนาหรือไม่
แต่โดยที่สังเกตจากธรรมชาติ ลูกไม้ยางนาชอบขึ้นตามบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง
แต่ขณะเดียวกันต้องมีไม้ใหญ่ ๆ บดบังอยู่ จึงจำเป็นต้องปลูกไม้อื่นเป็น ร่มเงาด้วย
ไม้ที่จะเป็นร่มเงานี้  ควรจะเป็นพันธุ์ไม้ที่โตเร็ว พวกตระกูลถั่วหรือปลูกพืชควบ
โดยระบบวนเกษตร จากการสังเกตในป่ายางนาธรรมชาติที่มีชาวบ้านเข้าไปบุกรุกแผ้วถาง
แล้วปลูกกล้วยน้ำว้า โดยในไร่กล้วยเหล่านี้ได้พบเห็นลูกไม้ยางนาขึ้นงอกงามดีมาก
............................................................................................................................
แสดงให้เห็นว่ากล้วยกับยางนาไม่เป็นอันตรายแก่กัน
ในขณะเดียวกันแม้พันธุ์ไม้ชนิดอื่น ๆ
จะให้ประโยชน์หลายอย่าง อาทิเช่น ไม้ฟืน ถ่าน เป็นต้น
แต่ถ้าจำเป็นต้องตัดตั้งแต่ลำต้นยังเล็กอยู่ ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดมากนัก
แต่สำหรับกล้วยนั้น ดูน่าจะมีประโยชน์ดีกว่าหลายอย่าง อาทิ เช่น
(1) สามารถให้ผลผลิตรวดเร็วในปีที่ 2 จึงทำให้สามารถชักจูงราษฎรกล้าลงทุนแทน
ทำให้มีการปลูกสร้างสวนป่าในรูปแบบของวนเกษตร
(2) กล้วยสามารถใช้เป็นอาหารที่นิยมบริโภค ทั้งภายในและต่างประเทศ
หากมีสวนกล้วยเป็นจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดอุตสาหกรรมติดตามมาภายหลังได้
(3) กล้วยอาจจะเจริญเติบโตได้ดีในสวนยางนา เป็นระยะเวลานานประมาณ 10 ปี
จึงนานพอที่ผู้ลงทุนปลูกกล้วยสามารถเรียกทุนคืนได้
(4) ในปัจจุบันนี้ ราษฎรขาดแคลนพื้นที่ทำมาหากิน
ดังนั้นจึงสามารถให้สวนยางนาเป็นที่ทำมาหากินแก่ราษฎรได้ด้วย
และ (5) การปลูกกล้วยในสวนป่ายางนา
เมื่อระยะเวลานานขึ้น พื้นที่นั้นจะกลายเป็นสวนกล้วยไปแทนที่จะเป็นสวนยางนา
เรื่องนี้ น่าจะแก้ไขได้เพราะอยู่ที่ตัวบุคคล และแผนการดำเนินงาน
ในการปลูกกล้วยเป็นร่มเงาให้ไม้ยางนาที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว 
เริ่มปลูกเมื่อฝนตกชุกพอสมควรระหว่างเดือนมิถุนายน 
แต่ถ้าปลูกได้เร็วกว่านี้อาจจะทำให้สามารถตั้งตัวได้เร็วกว่า  
แต่อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการหาจำนวนหน่อกล้วย ซึ่งขุดย้ายลำบากเพราะดินแข็ง
การปลูกกล้วยในฤดูเดียวกันกับการปลูกไม้ยางนานั้น  
ในระยะปีแรกกล้วยยังไม่ได้ช่วยให้ร่มเงาแก่กล้าไม้ยางนามากนัก
เพราะหลุมหนึ่งมีกล้วยเพียงต้นเดียว หรือแม้จะใช้ต้นไม้ชนิดอื่นเป็นร่มเงา
ก็เช่นเดียวกัน เพราะยางนาและพันธุ์ไม้ที่ให้ร่มเงาสามารถเจริญเติบโตไล่เลี่ยกัน
ด้วยเหตุนี้ถ้าจะใช้กล้วยเป็นร่มเงาให้ยางนา จึงควรปลูกกล้วยไว้ก่อน 1 ปี และในปีที่  2
จึงปลูกไม้ยางนาระหว่างกล้วย
............................................................................................................................
 การปลูกและระยะปลูกของไม้ยางนา
     การปลูกสร้างสวนป่าในประเทศไทย ในส่วนของกรมป่าไม้ 
เท่าที่ผ่านมาก็เพียงปลูกไม้ยางนา ผสมในพื้นที่บ้างเล็กน้อย
ส่วนด้านองค์การอุตสาหกรรม ป่าไม้ (อ.อ.ป.)
ก็เพิ่งริเริ่มปลูกสร้างสวนป่าไม้ยางนา
เมื่อไม่นานมานี้เอง ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกทางภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงจังหวัดตรัง
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกที่สวนป่าสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ โดยใช้ระยะปลูก 4 x 4 ม.
ปรากฏว่าไม้ยางนามีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง และมีการเจริญเติบโตดีเป็นส่วนใหญ่
การปลูกไม้ยางนาควรทำในฤดูฝนเพราะในช่วงนี้กล้าไม้ยางนามีการเจริญเติบโตดี
สามารถตั้งตัวได้ง่าย เมื่อฤดูฝนผ่านไปแล้ว ก็เป็นระยะที่ต้นยางตั้งตัวได้แล้ว
และเริ่มเจริญเติบโตต่อไป
............................................................................................................................
 การบำรุงดูแลรักษาสวนป่าไม้ยางนา
     1. การดายวัชพืช ควรดายวัชพืชอย่างน้อย 3. ครั้ง คือ.ภายในเดือน กรกฎาคม
เดือนกันยายน และเดือนพฤศจิกายน โดยในการดายวัชพืชครั้งแรกใช้มีดถางวัชพืชให้ชิดดินให้ตลอดไปก่อนแล้วจึงใช้จอบดายรอบ ๆ ต้น อีกครั้งหนึ่ง
     2. การป้องกันไฟ ในเดือนกุมภาพันธ์วัชพืชในสวนป่าเริ่มจะแห้ง
อาจเป็นเชื้อไฟได้จึงต้องทำการป้องกันไฟ การป้องกันไฟที่อาจเกิดขึ้นในสวนป่า
ใช้วิธีถางวัชพืชตลอดทั้งหมดแล้วรวมกองเล็ก ๆ แล้วชิงเผาเสียก่อน
การป้องกันไฟจากภายนอกใช้วิธีการดายวัชพืช เป็นแนวกันไฟรอบ ๆ สวนป่า
     3. การปลูกซ่อมกล้าไม้ยางนา กล้าไม้ยางนาที่ปลูกในปีหนึ่ง ๆ จะมีบางต้นตาย
จึงจำเป็นจะต้องมีการปลูกซ่อมทดแทน  ซึ่งถ้าใช้กล้าไม้ที่มีอายุเท่า ๆ กัน
ก็จะทำให้ยางนาสามารถเจริญเติบโตได้ ไล่เลี่ยกัน ฉะนั้นในการเพาะเมล็ดยางนา
แต่ละปีจำเป็นจะต้องเพาะ  เพื่อไว้เพื่อปลูกซ่อมด้วย
สำหรับปริมาณกล้าไม้ยางนาที่จะใช้ปลูกซ่อมแต่ละปี 
จะต้องเตรียมไว้ประมาณ 30 - 40 เปอร์เซ็นต์ของกล้าไม้ที่ปลูก
ส่วนกล้าไม้ยางนาที่เตรียมไว้และเก็บไว้ในปีต่อไปนั้น
ส่วนใหญ่รากจะแทงทะลุถุงพลาสติกลงไปในดินเมื่อย้ายหรือเปลี่ยน
หรือยกถุงกล้าไม้จะทำให้รากขาด  หรือระบบรากถูกกระทบกระเทือน
เมื่อนำไปปลูกหรือปลูกซ่อมในสวนป่าอาจจะตายได้
จึงจำเป็นจะต้องทำแปลงเพาะเลี้ยงกล้าไม้ค้างปี โดยใช้วิธีขุดดินแล้วเอาดินออกลึก
ประมาณ  30 เซนติเมตร แล้วนำทรายมาใส่แทนดินเดิมให้ได้ระดับดินเดิม
แล้วย้ายกล้าไม้ยางนาในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ที่เปลี่ยนไว้แล้วมาตั้งเพาะเลี้ยงไว้บนทราย
แล้วรดน้ำให้ชุ่มและบ่อย ๆ ทุกวัน เพื่อให้กล้าไม้ยางนาที่ต้องถอนจนรากขาด
หรือถูกกระทบกระเทือนนั้นตั้งตัวได้เสียก่อน ก่อนนำไปปลูก
และถ้ากล้าไม้ต้นใดกระทบกระเทือนมากก็จะตายไปในแปลงเพาะเลี้ยงนั้น
จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการนำไปปลูก 
อนึ่ง การทำแปลงเพาะเลี้ยงกล้าไม้ยางนาควรทำภายในเดือนเมษายน
............................................................................................................................
 บทบาทของจุลินทรีย์กับพรรณไม้ในวงศ์ไม้ยาง
   บทบาทของเชื้อจุลินทรีย์ต่อไม้ในวงศ์ไม้ยาง พบว่ามีทั้งที่ให้โทษและเป็นประโยชน์
กล่าวคือเชื้อจุลินทรีย์ที่ให้โทษ ได้แก่เชื้อสาเหตุโรคชนิดต่าง ๆ
ตั้งแต่เชื้อที่ติดมากับเมล็ดไม้อันเป็นเหตุให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น
ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและปริมาณของเชื้อที่ติดมา โดยจากการตรวจเชื้อที่ติดมา
กับเมล็ดไม้วงศ์ไม้ยาง 6 ชนิด คือ ยางนา พะยอม เต็ง รัง ตะเคียนหิน
และ ตะเคียนทองพบเชื้อราประมาณ 50 ชนิด (species) เเละมีเชื้อราบางชนิด
ยังสามารถทำให้เกิดโรคกับกล้าไม้ที่งอกจากเมล็ดได้อีกด้วย
ต่อมาคือระยะกล้าไม้ในเรือนเพาะชำอาจถูกเชื้อสาเหตุโรคพืชที่แพร่กระจายอยู่ในดิน
วัสดุเพาะต่าง ๆ อากาศ และน้ำ เข้าทำลายทำให้เกิดโรคได้ เช่น
โรคเน่าคอดินของไม้เต็ง รัง ยางนา และโรคใบจุดใบไหม้ของตะเคียนหิน เป็นต้น
ส่วนในระยะที่ต้นโตแล้วยังไม่มีรายงานการระบาดของโรค
พบโรคใบจุดเชื้อสาหร่ายของไม้ตะเคียนทองบ้างแต่ไม่รุนแรง
การดูแลควบคุมโรคจึงควรทำเฉพาะในระยะเมล็ดและกล้าไม้ซึ่งอาจใช้วิธีผสมผสาน
มีการจัดการที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมความแข็งเเรงของพืช เป็นการช่วยลดปัญหา
ที่เกิดจากเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่งนอกเหนือจากการเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสม
ในการควบคุมเชื้อแล้ว เช่นการเก็บรักษาเมล็ด ให้สะอาดถูกวิธีเตรียมวัสดุเฉพาะ
และโรงเรือนอย่างดี สะอาด มีการระบายน้ำและอากาศที่ดี แสงสว่างเพียงพอเป็นต้น
       เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ได้แก่ จุลินทรีย์ดินที่มีบทบาทในการย่อยสลายเศษซากพืช
และอินทรีย์วัตถุชนิดต่าง ๆ เช่น เชื้อรา บักเตรี ยีสต์ สาหร่าย โปรโตซัว ฯลฯ
ทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหาร (food chain) ในระบบนิเวศป่า
ช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เเละเห็ดราไมคอร์ไรซ่า
ซึ่งอยู่ร่วมกับรากพืชในวงศ์ไม้ยางเเบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiotic associations)
ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและความเเข็งแรงของต้นไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากรายงานการสำรวจพบเห็ดราไมคอร์โรซ่าถึง 44 ชนิด กับไม้ในวงศไม้ยาง 11 ชนิด
ได้เเก่ ยางนา ยางกราด ยางเเดง เหียง พลวง เต็ง รัง พะยอม เคี่ยมคะนอง ตะเคียนหิน
และตะเคียนทอง ในท้องที่จังหวัด นครราชสีมา กาญจนบุรี และนราธิวาส
ซื่งในอนาคตการศึกษาที่กว้างขวางขึ้น เกี่ยวกับ ความหลากหลายทางชีวกาพ บทบาท
และกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่มีต่อไม้ในวงศ์ไม้ยาง จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์
ในการอนุรักษ์และปลูกสร้างสวนป่าไห้ประสบความสำเร็จได้อีกทางหนึ่ง
............................................................................................................................
 เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 01 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:17:54 น.
Counter : 435 Pageviews.  

blog KU-ABC ป่าในเมือง เรื่องใกล้ตัว..?

                    blog KU-ABC"ป่าในเมือง  เรื่องใกล้ตัว..?"

                                                    สมพร   ไชยจรัส
 
     ป่าในเมือง  เรื่องใกล้ตัว..?”
ทำไมต้องถึงเวลาของป่าในเมือง (Urban  Forest)   
ก็เพราะว่าพวกเราชาวป่าไม้ได้ให้ความสนใจ
และดำเนินการปลูกป่าในป่ามาโดยตลอดทั้งในรูปแบบของการปลูกป่า
เพื่อเป็นป่าป้องกัน
(Protective  forest)
และป่าเศรษฐกิจ (Productive  forest)
............................................................................................................................


จากในอดีตที่เราให้ความความสำคัญกับยุทธศาสตร์
การใช้ประโยชน์จากป่าไม้ในแต่ละยุคที่ไม่เหมือนกัน  
ตั้งแต่การใช้ประโยชน์ทางตรงคือการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ 
แล้วมาถึงประโยชน์ทางอ้อมในรูปแบบของป่าอนุรักษ์   
จนมาถึงยุคของการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบของป่าชุมชน
และป่าเอกชน
(Private  Forest)
แล้วผลสุดท้ายก็มาถึงรูปแบบของการป่าในเมือง (Urban  Forestry)
............................................................................................................................

ซึ่งผมเห็นว่า..ถึงเวลาที่พวกเราทั้งหลายทั้งในส่วนของกรมป่าไม้
และกรมอุทยานแห่งชาติฯ  ตลอดจนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 
หรือแม้แต่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 
จะต้องให้ความสนใจ และเอาใจใส่ในการพัฒนารูปแบบการป่าไม้ในเมือง
ในลักษณะต่างๆอย่างจริงจังและถูกต้องตามหลักวิชาการ
............................................................................................................................

เราต้องพยายามให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ,
จังหวัด,อำเภอ หรือตำบล   ทั้งส่วนราชการ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
............................................................................................................................

เช่น อบจ.,เทศบาล หรือ อบต. 
ต้องรับเอานักวิชาการป่าไม้หรือผู้มีความรู้ด้านต้นไม้
และการออกแบบการป่าไม้ในเมืองมาร่วมรับผิดชอบ
การบริหารจัดการป่าในเมือง  
ในรูปแบบต่างๆ เช่น  ในรูปแบบของสวนสาธารณะต่างๆ, 
สองข้างถนนหนทางหรือเกาะกลางถนน,  ในหน่วยงาน  อาคาร 
บ้านเรือนทั่วไป  ริมแม่น้ำลำคลอง  ตลอดจนในพื้นที่ที่ปล่อยรกร้างว่างเปล่า
ที่สมควรนำมาปรับปรุงเป็นพื้นที่สีเขียวของชุมชนเมือง
............................................................................................................................

แม้แต่ในสนามกอล์ฟซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขยาดใหญ่ 
ก็ควรนำไม้ป่ามาปลูกให้มากๆและหลากหลาย
...........................................................................................................................

หลักการบริการจัดการป่าในเมืองเรา
ต้องเริ่มด้วยการวางแผนงานและการออกแบบ 
การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน  การคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ปลูก 
เทคนิคในการปลูกและบำรุงรักษาโดยเฉพาะการตัดแต่งกิ่งหรือลำต้นที่ถูกต้อง
............................................................................................................................

สุดท้าย ต้องกำหนดให้ได้ว่าเราต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการ
และบริหารจัดการตลอดไปเท่าไหร่...แหล่งของเงินนำมาจากไหน 
ต้องชัดเจนแน่นอน  อย่าให้การวางแผนและออกแบบจนถึงขั้นดำเนินการเสร็จแล้ว
แต่ไม่มีการจัดสรรงบประมาณในการดูแลรักษา  
การปล่อยให้เวลาเนิ่นนานไป...
............................................................................................................................

ในที่สุดสวนแห่งนั้นมันก็จะกำพร้า..?  รกร้างและไร้ประโยชน์
...สูญเสียงบประมาณไปเปล่าๆนะครับ   
หลายคนมักจะมีคำถามที่ชอบถามกันเป็นประจำว่า  
      “จะปลูกต้นอะไรดี?”ขอสรุปแนวคิดและข้อพิจารณา
ในการคัดเลือกชนิดไม้เพื่อนำมาปลูกในเมืองเป็น ๓ ประการ คือ
๑)  วัตถุประสงค์หรือหลักประโยชน์ใช้สอย 
๒)  ลักษณะทางวนวัฒนวิทยาลักษณะนิสัยของต้นไม้ที่จะนำมาปลูก 
ต้องคำนึงถึงขนาดเนื้อที่ที่จะปลูกให้สัมพันธ์กับขนาดโตเต็มที่
ของต้นไม้ที่เลือกมาปลูก 
๓)  สภาพแวดล้อมของบริเวณที่จะปลูกที่จะมีผลต่อการเจริญเติบโต 
............................................................................................................................

สุดท้าย ผมหวังว่าในอนาคตวงการป่าไม้ของเรา 
ต้องให้ความสำคัญกับการป่าไม้ในเมือง 
และควรเน้นชนิดพันธุ์ไม้ที่เป็นไม้ป่า  เป็นไม้ยืนต้น(Trees)
เพื่อเน้นให้เป็นป่าหรือเลียนแบบป่าธรรมชาติ 
แต่มาสร้างไว้ในเมืองสำหรับคนเมืองได้ใช้ประโยชน์ 
ทุกจังหวัดหรืออำเภอหรือตำบล
............................................................................................................................

ควรจะได้สร้างสวนสาธารณะประจำ 
อย่างน้อยๆต้องสัมพันธ์กับประชากรท้องถิ่นนั้นๆ  ๑,๐๐๐ คน
ต้องมีพื้นที่สีเขียว ๒๕ ไร่ หรือคนละ ๔ ตารางเมตรเป็นอย่างน้อย
............................................................................................................................

ประเทศที่เป็นต้นแบบที่ดีในเรื่องนี้ก็คือ  สิงคโปร์  
ประเทศไทยหรือเมืองใหญ่ทั้งหลายต้องเอาจริงเอาจังได้แล้วนะครับ
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 30 ตุลาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:19:02 น.
Counter : 227 Pageviews.  


สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.