Group Blog
 
All Blogs
 

blog KU-ABC กลัวความไม่รู้​(อวิชชา)​

                                    blog KU-ABC กลัวความไม่รู้​(อวิชชา)​
                                                                    ทวีศักดิ์​อุ่นจิตติกุล
 
         วันวิสาขบูชา​เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ​กำลังจะเวียนมาบรรจบครบรอบปี​ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันขึ้น15  ค่ำ​เดือน​ 6​ตามปีปฏิทินจันทรคติหรือตรงกับวันที่​ 6​ พ.ค.​ 63​ ตามปีปฏิทินสุริยคติ​ย้อนหลังกลับไปเมื่อ​ 45  ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะ​ระหว่างที่ทรงผนวช​พรรษาที่​ 6​ ทรงได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิ​ญาณ ซึ่งเป็นสภาวธรรมที่มีจริง(ปรมัตถ​ธรรม) คือจิต​​เจตสิก​​รูป​นิพพาน​​เป็นสภาวธรรมที่จำแนกออกเป็น สองประเภท.................................................................................................................​ประเภทแรก คือ นามธรรมหรือนามขันธ์หรือนามธาตุ​​เป็นสภาพรู้ที่มีจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้คือ​จิตเห็น​จิตได้ยิน​จิตได้กลิ่น​จิตลิ้มรส​จิตรู้กระทบสัมผัส​จิตคิดนึก​มีการเกิดดับสลับกันไป​​และสภาพรู้ที่มีเจตสิก​ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับจิต​และดับพร้อมกับจิต........................................................................................................................รู้สิ่งเดียวกับจิต​ประเภทที่สอง คือ รูปธรรมหรือรูปขันธ์หรือรูปธาตุ เป็นสภาพที่ไม่รู้แต่ปรากฏให้รู้ทางทวารทั้ง​ 5​ (ปัญจทวาร) ​​คือ​สี​ปรากฏทางตา​เสียงปรากฏทางหู​กลิ่นปรากฏทางจมูก​รสปรากฏทางลิ้น​และเย็นหรือร้อน​อ่อนหรือแข็ง​ตึงหรือไหว​​ปรากฏทางกาย​สภาวธรรมดังที่กล่าวถึงนี้ ​​มีลักษณะ​ 3​ ประการ​ (ไตรลักษณ์).......................................................................................................................... คือไม่เที่ยง (อนิจจัง)​ ทุกข์ (ทุกขัง)​ ไม่ใช่ตัวตน​​บังคับบัญชาไม่ได้​ (อนัตตา)ส่วนนิพพานเป็นสภาวธรรมที่เหนือโลก(โลกุตรธรรม)​ ไม่เกิดดับเพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง..........................................................................................................................​
ผู้ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้​ซึ่งมีโอกาสพบพานพระพุทธศาสนาและนับถือพระพุทธศาสนา นับเป็นความโชคดียิ่งจึงไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิตโดยไม่ฟังธรรมฉะนั้นชาวพุทธจึงควรฟังธรรมตามกาล​เพื่อจะได้รับประโยชน์จากพระพุทธศาสนา​โดยมีความรู้ความเข้าใจในความจริงอันถึงที่สุด(อริยสัจธรรม)​ตาม​ที่พระบรมศาสดาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า​ทรงตรัสรู้​ดังคำในพระพุทธพจน์ว่า​​“สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง​ (สัพเพ​สังขารา​อนิจจา)............................................................................................................................ “ , สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์​ (สัพเพ​สังขารา​​ทุกขา)​ “,ธรรมะทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน​บังคับบัญชาไม่ได้​ (สัพเพ​ธัมมา​อนัตตา)​“.......................................................................................................................... ชาวพุทธพึงทราบว่าอานิสงส์​จากการฟังธรรมมี​ 5​ ประการ ​คือ​ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง1 เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว1 ​บรรเทาความสงสัยเสียได้​1ทำความเห็นให้ตรง1 จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส​ ...........................................................................................................................1.การที่ชาวพุทธมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา​พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า​จะนำไปสู่ความเห็นถูก(สัมมาทิฏฐิ)​ สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปรกติสุขตามอัตภาพของแต่ละบุคคล​มีการขัดเกลากิเลส​ประพฤติปฏิบัติตนสุจริตทางกาย​​วาจา​ใจ​มีความละอายชั่วกลัวบาป​เมื่อถึงแก่กรรมแล้วย่อมไปเกิดในภพภูมิที่ดี(สุคติภูมิ)............................................................................................................................​แต่ในทางกลับกันผู้ที่ไม่ฟังธรรมย่อมเป็นผู้ไม่รู้(อวิชชา) จึงมีแต่ความเห็นผิด(มิจฉาทิฐิ)​ไม่เห็นโทษในการประพฤติปฏิบัติตนทุจริตทางกาย​วาจา​ใจ​ไม่มีความละอายชั่วกลัวบาป​เมื่อถึงแก่กรรมแล้วย่อมไปเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี (ทุคติภูมิ)​หรือภพภูมิที่อยู่อย่างยากลำบาก(อบายภูมิ)............................................................................................................................​
ความไม่รู้(อวิชชา)​ เป็นภัยต่อการดำเนินชีวิต เนื่องจากไม่ได้รับประโยชน์อันใดเลยจากการนับถือพระพุทธศาสนา แทนที่เกิดมาในชาตินี้จะได้สะสมความเห็นถูก กับมีแต่สะสมความเห็นผิดความไม่รู้มี​ 8  ประการ​มีดังนี้
1. ความไม่รู้ในทุกข์(ทุกขอริยสัจจะ)
2. ความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทยอริยสัจจะ)
3. ความไม่รู้ในความดับทุกข์ (นิโรธอริยสัจจะ)
4. ความไม่รู้ในหนทางแห่งการดับทุกข์ (มรรคอริยสัจจะ)
5. ความไม่รู้ในอดีต
6. ความไม่รู้ในอนาคต
7. ความไม่รู้ในทั้งอดีตและอนาคต
8. ความไม่รู้ในสภาพธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน(ปฏิจจสมุปบาท)
............................................................................................................................

ปฏิจจสมุปบาทเป็นความเกี่ยวเนื่องจากเหตุไปสู่ผล
ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นด้วยดี​เป็นไปตามลำดับ
โดยอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นเหตุและเป็นผล
นำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิด(สังสารวัฏฏ์)
เป็นการแสดงเรื่องของปัจจัยที่มีเหตุนำไปสู่ผล ปฏิจจสมุปบาท มีองค์ ๑๒ ดังนี้
............................................................................................................................

อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร  สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ วิญญาณ
เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ สฬายตนะ
เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ  ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
...........................................................................................................................

เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ 
ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ 
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
............................................................................................................................

การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น
ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ เพื่อให้ชาวพุทธได้รับประโยชน์
จากการสนทนาธรรมของอาจารย์สุจินต์​บริหารวนเขตต์​
ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ได้สนทนาธรรม
​เรื่อง​“ธรรมะกับกลัวโควิด – 19” เมื่อ​วันที่ 21 มี.ค. 63
​​ผ่านรายการ​“จิบกาแฟข้างสภา”
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่​
ซึ่งมีนายบัญชร วิเชียรศรี เป็นผู้ดำเนินรายการ
........................................................................................................................

คำถามถึงการพิจารณาในทางพระพุทธศาสนา
​เกี่ยวกับความวิตกกังวลในความเจ็บ​ป่วยความตาย​รวม
ถึงในขณะนี้มีโรคโควิด-19​ อาจารย์สุจินต์ตอบว่า
“…เราไม่ได้เข้าใจเลยว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีใครสามารถจะทำอะไรได้เลย
............................................................................................................................

นอกจากมีปัจจัยจะให้สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้
ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา แต่ว่าความจริงลึกซึ้ง
คือว่าถึงจะมีภัยไม่มีภัยอย่างไร ก็ต้องมีเห็น มีได้ยิน มีคิดนึก ห้ามไม่ได้
แค่นี้ยังห้ามไม่ได้ แล้วจะไปห้ามภัยอะไรได้คะ ในเมื่อมีปัจจัยที่จะเกิดก็เกิด
เกิดให้เห็นด้วยว่า ใครก็ทำอะไรไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้
เพียงแต่ว่าถ้าเข้าใจความจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เป็นไป
อย่างที่เราคิดหรือเราต้องการ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุที่จะให้เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
ก็ต้องเป็นอย่างนั้น และตัวอย่างก็ชัดเจนทุกสมัย
ถ้าไม่มีโควิด เราก็ไปคิดถึงเรื่องอื่น
เราก็ลืมเรื่องนี้ แต่ไม่ว่าอะไรก็ตามที่จะเกิดขึ้น
ใครทำให้เกิดได้ ไม่มีใครสักคนหนึ่ง แต่ว่าเกิดแล้วต่างหาก
แล้วเราก็จะต้องรู้จริงๆ ว่า ใครจะรู้ซึ้งถึงเหตุที่ใครก็บังคับบัญชาไม่ได้ “ 
..........................................................................................................................          
คำถาม​ถึงการกลัวภัยอันตรายที่เกิดขึ้น แล้วมีการหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญ
ถือว่าเป็นวิธีที่ถูกหรือไม่อาจารย์สุจินต์ตอบว่า
     “ ไม่มีทางทำได้หรอก จะหลีกเลี่ยงอย่างไร  
ถ้าจะใช้วิธีป้องกัน เขาก็ป้องกัน แต่จะป้องกันอย่างไรถึงเวลาที่จะเกิดก็เกิดได้
เพียงแต่ว่าเราไม่ประมาท เพราะเรารู้เหตุที่แท้จริงว่า
แต่ละอย่างเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ตามคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโดยละเอียดอย่างยิ่งว่า
ทุกอย่างที่เราไม่รู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร พระองค์ทรงแสดงเหตุ
ทั้งเหตุใกล้และเหตุไกลอย่างละเอียด​เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีความรู้
เราก็จะกลัวไปหมดเลย อย่างวันนี้เรากลัวโรคนี้ และต่อไปข้างหน้ามีโรคอื่น
เราก็กลัวอีก กลัวไปหมด เพราะไม่รู้ความจริงว่า
เหตุที่จะให้เกิดสิ่งที่ดีก็มี เหตุที่จะให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีก็มี
ทำไมเกิดขึ้นกับคนนี้ดี เกิดขึ้นกับอีกคนหนึ่งไม่ดี
ทำไมคนทั้งโลกไม่เป็น แต่ทำไมบางคนเป็น อย่างโรคนี้ก็ไม่ได้เป็นกันทุกคน ใช่ไหม
และความกลัวต้องมีแน่นอน ตราบใดที่มีความรักตัว  
เกิดมานี่ก็กลัวไปหมด จะกลัวน้อยกลัวมากก็แล้วแต่
...........................................................................................................................

“ คำถามถึงความกลัว   ไม่ว่าจะเป็นกลัวอุบัติเหตุ กลัวอาชญากรรม
กลัวโรคภัยไข้เจ็บ กลัวภัยพิบัติทางธรรมชาติ
การหลีกเลี่ยงถือว่าเป็นความไม่ประมาท​“อาจารย์สุจินต์ตอบว่า“  
คนที่เขาเป็นโควิด เขาหลีกเลี่ยงหรือเปล่า แต่เขาก็เป็น ใช่ไหม
หรือเขาไม่หลีกเลี่ยง เขาก็เป็นใช่ไหม
เพราะฉะนั้น จริงๆแล้วก็มีเหตุที่มองเห็นใกล้ๆ ว่า
ถ้าปล่อยตัว ไม่ระวังตัวเลย ก็มีทางที่จะเป็นไปได้
แต่เหตุไกลยิ่งกว่านั้นก็คือว่าคนที่ระวังตัวแล้วยังเป็นได้
เพราะอะไร และคนที่ไม่ระวังตัวอย่างนั้น
แต่ถึงเวลาจะไม่เป็นก็ไม่เป็น หรือเป็นกันทุกคน
หรือคนที่กลัว คนที่ระวังเท่านั้นที่ไม่เป็น
และคนที่เป็นไม่ระวังเท่านั้นหรืออย่างไร
............................................................................................................................

“   วันวิสาขบูชาที่กำลังจะมาถึงในวันพุธหน้า​น่าจะเป็นโอกาสดี
สำหรับชาวพุทธที่จะได้เริ่มต้นฟังธรรม
เพื่อละความไม่รู้​โรคทางกายรักษาได้​แต่โรคทางใจยาก
จะรักษา​ชาวพุทธควรมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและ​มีการสะสมปัญญา
ตามลำดับขั้น​ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
............................................................................................................................
 
 
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 30 เมษายน 2563
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 30 เมษายน 2563    
Last Update : 30 เมษายน 2563 13:02:39 น.
Counter : 498 Pageviews.  

blog KU-ABC โควิด-19​ แพร่ระบาดอย่าประมาทในการดำเนินชีวิต

                    blog KU-ABC โควิด-19​ แพร่ระบาดอย่าประมาทในการดำเนินชีวิต
                                                                                   ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล
 
        การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสุคติภูมิในชาตินี้
เป็นเพราะการกระทำความดี(กุศลกรรม)​
มาแต่ในอดีตชาติ​​จึงก่อให้เกิดผลของกรรมดี​(กุศลวิบาก)
​ในปัจจุบันชาติ​นับเป็นบุญที่ได้เกิดมาในประเทศที่เหมาะสม
ซึ่งเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาและยังได้นับถือพระพุทธศาสนา
อีกด้วยสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของชาวพุทธคือการได้ฟังพระธรรม
ซึ่งเป็นคำสอนของพระบรมศาสดา​​พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ​เจ้า​
...........................................................................................................................

ซึ่งเป็นการละความไม่รู้(อวิชชา)​และมีการสะสมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
จนนำไปสู่ความเห็นถูก(สัมมาทิฏฐิ)​ปัญญาจากการฟังพระธรรม มี 3 ระดับ
เป็นไปตามลำดับขั้น​ได้แก่
-ปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรม ​(สุตตมยปัญญา)​ 
-ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณา(จินตมยปัญญา)
​และปัญญาที่เกิดจากการอบรมตามสภาวธรรม  (ภาวนามยปัญญา)​
............................................................................................................................

โดยทั่วไปแล้ว​ชาวพุทธมีการฟังธรรมตามกาลอยู่บ้าง
​หากมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามกำลังของปัญญา
ก็จะเป็นผู้เห็นโทษของการกระทำความชั่ว (อกุศลกรรม)
และเห็นประโยชน์ของการกระทำความดี  (กุศลกรรม)
มีความละอายชั่วกลัวบาป มีการให้ทาน เว้นจากการทุจริตทางกายและวาจา
...........................................................................................................................

จึงเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเป็นปรกติสุขตามอัตภาพของแต่ละบุคคล
เป็นผู้ประมาทในการดำเนินชีวิต เมื่อถึงแก่กรรมแล้วย่อมไปเกิดในภพภูมิที่ดี (สุคติภูมิ) 
ส่วนชาวพุทธที่มีความเห็นผิด( มิจฉาทิฏฐิ) ย่อมไปเกิดในภพภูมิที่มีความยากลำบาก(ทุคติภูมิ)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย  คาถาธรรมบท​มีใจความว่าความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ 
............................................................................................................................

ความประมาท เป็นทางแห่งมัจจุ  ผู้ไม่ประมาทแล้ว
ชื่อว่า  ย่อมไม่ตาย  ผู้ใดประมาทแล้ว 
ผู้นั้น ย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว;  บัณฑิตรู้ความนั่นโดยแปลกกันแล้ว 
ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท 
บันเทิงอยู่ในความไม่ประมาท  ยินดีในธรรมเป็นที่โคจรของพระอริยะทั้งหลาย 
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น  มีความเพ่ง  มีความเพียรเป็นไปติดต่อ บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ 
เป็นนักปราชญ์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน  อันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยม​
...........................................................................................................................

 เมื่อวันที่​ 20​ มี.ค.​ 63​ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
​ประทานพระคติธรรมแก่พุทธศาสนิกชน ​เพื่อเป็นกำลังใจในสภาวการณ์
ที่ไวรัส​ โคโรนา​สายพันธ์ใหม่​ 2019​ ​ กำลังแพร่ระบาดขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว
​ความตอนหนึ่งว่า​
      “ไม่มีชีวิตใดประสบแต่ความเกษมสุข ปราศจากทุกข์ภัยไปได้ตลอด
เมื่อเกิดมาแล้ว จึงจำเป็นต้องขวนขวายสั่งสม ‘สติ’ และ ‘ปัญญา’
สำหรับเป็นอุปกรณ์บำบัดความทุกข์อยู่ทุกเมื่อ เพื่อให้สมกับที่ดำรงอัตภาพ
แห่งมนุษย์ผู้มีศักยภาพต่อการพัฒนา
............................................................................................................................
 
ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดซึ่งก่อให้เกิดความหวาดหวั่นครั่นคร้ามกันทั่วหน้า
ทุกคนมีหน้าที่แสวงหาหนทางเพิ่มพูน ‘สติ’ และ ‘ปัญญา’
พร้อมทั้งแบ่งปันหยิบยื่นให้แก่เพื่อนร่วมสังคม อย่าปล่อยให้ความกลัวภัย
และความหดหู่ท้อถอย คุกคามเข้าบั่นทอนความเข้มแข็งของจิตใจ
ในอันที่จะอดทน พากเพียร เสียสละ และสามัคคี​
............................................................................................................................

มีธรรมภาษิตบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา พึงน้อมนำมาเตือนใจในยามนี้
ว่า ‘เมื่อถึงยามคับขันประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ, เมื่อถึงคราวปรึกษางาน
ต้องการผู้ที่ไม่พูดพล่าม, ยามมีข้าวน้ำ ต้องการผู้เป็นที่รัก,
ยามเกิดปัญหา ต้องการบัณฑิต’ขอทุกท่านจงเป็น ‘ผู้กล้าหาญ’
ที่จะละความดื้อด้านเห็นแก่ตัว ความเคยตัว และความไม่ระมัดระวังตัว
ขอจงเป็น ‘ผู้ที่ไม่พูดพล่าม’ โดยปราศจากสาระ ก่อความร้าวฉานชิงชัง
ในยามที่สังคมต้องการสาระ คำปรึกษาหารือ และกำลังใจ
แต่จงประพฤติตนเป็น ‘บัณฑิต’ ผู้รู้รักษากายใจของตัวให้ปลอดจากโรคกายโรคใจ
เป็นผู้ฉลาดศึกษา ค้นคว้า วางแผน ชี้แนะ และลงมือทำ
.........................................................................................................................

ทั้งนี้ ถ้าแต่ละคนแม้เพียงตั้งจิตไว้ในธรรมฝ่ายสุจริต ไม่ถลำลงสู่ความคิดชั่ว
อันนำไปสู่การพูดชั่วและทำชั่วซ้ำเติม ก็นับว่าได้ช่วยบรรเทาปัญหาของโลกแล้ว
และยิ่งหากท่านมีดวงจิตผ่องแผ้วด้วยเมตตาการุณยธรรม
นำความปรารถนาดีเผื่อแผ่ไปสู่ทุกชีวิตอย่างเสมอหน้า
ความทุกข์ยากที่เราทั้งหลายต่างเผชิญ ย่อมจะคลี่คลายได้ในไม่ช้า…”
..........................................................................................................................
 
เมื่อวันที่ 24​มี.ค.63 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
ให้​พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ​รมว.กลาโหม
ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 
เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19​
โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.–​ 30 เม.ย.. 63  เป็นระยะเวลา 1 เดือน​
........................................................................................................................

ต่อมาเมื่อวันที่​25​ มี.ค.​63​ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
และรมว.กลาโหม แถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ถึงการตั้งศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19
​โดยมีตนเองเป็นอำนวยศูนย์ฯ​และมีปลัดกระทรวงต่างๆ​ร่วมเป็นกรรมการ​ศูนย์ฯ
ทำงานร่วมกับททารและตำรวจซึ่งเป็นฝ่ายความมั่นคงในการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วง
เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ
ทำงานร่วมกันในเชิงบูรณาการ​ในทุกมิติอย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
............................................................................................................................

และในวันเดียวกันมีการประกาศข้อปฏิบัติ 16 ข้อ แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ ห้ามทำ ให้ทำ
สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในเช้านี้ วันที่ 26 มี.ค. 63
มีรายงานล่าสุดว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อ​ราว 463, 000 ราย​เสียชีวิตราว 21,000 ราย​
ใน 196 ประเทศและเขตปกครองในขณะนี้ประชากรทั่วโลกราว​ 3,000 ล้านคน
ต้องกักตนอยู่กับบ้านเพื่อความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรการของแต่ละประเทศ​
ส่วนประเทศไทย​เมื่อวานนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อ​ 934  ราย​เสียชีวิต​ 4​ ราย​รักษาหาย​ 70  ราย
​อยู่ระหว่างการรักษา​ 860 ราย
............................................................................................................................
 
อย่างไรก็ดีใคร่ขอนำทัศนะและมุมมองของนางอังเกลา แมร์เคิล​นายกรัฐมนตรี​เยอรมนี​
ซึ่งเป็นผู้นำประเทศมาต่อเนื่อง 4​ สมัย​นับตั้งแต่ปี​ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548)​
และเป็นประเทศ​ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของสหภาพ​ยุโรป​(European Union -​ EU)
และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ​ 4​ ของโลก​ กล่าวถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ในเยอรมนีเป็นครั้งแรกไว้อย่างน่าสนใจ
​เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 63​ว่า ชาวเยอรมนีมากถึงร้อยละ​70 ของประชากรหรือราว​ 58  ล้านคน
อาจจะติดเชื้อไวรัสโคโรนา ​ ในขณะที่ยังไม่มียารักษา
สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในตอนนี้ก็คือการชะลอการระบาดให้ช้าลง โดยเป็นการซื้อเวลา
............................................................................................................................

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 63 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ
มีสาระสำคัญว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงมากขึ้น
ขอให้ประชาชนทุกคน "จริงจังกับเรื่องนี้" โดยให้ทัศนะว่านับตั้งแต่ผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง
เยอรมนีไม่เคยเผชิญกับวิกฤติด้านสาธารณสุขในระดับเลวร้ายถึงเพียงนี้มาก่อน
สถานการณ์ที่เป็นอยู่ "มีความท้าทาย" แต่ในเวลาเดียวกัน
ความสามัคคีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมถึงชาวเยอรมันทุกคน
"เป็นสิ่งสำคัญ"อีกทั้งยังย้ำว่า จิตสำนึกของประชาชนทุกคนในช่วงเวลาไม่ปกติเช่นนี้
"สำคัญอย่างยิ่ง" โดยขอให้ทำตามหน้าที่ของตัวเองด้วยความรับผิดชอบ
ประชาชนต้องไม่กักตุนสินค้า "อย่างตื่นตระหนก"
และยืนยันว่าขณะนี้รัฐบาลทำทุกอย่างที่เหมาะสมและจำเป็นในเขตอำนาจ
เพื่อนำพาบ้านเมืองให้พ่านผ้นช่วงเวลาที่ยากลำบาก และ "เป็นบททดสอบ" ของทุกฝ่ายได้
............................................................................................................................

ที่มาข้อมูล:มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย
เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 30  มีนาคม  2563
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 30 มีนาคม 2563    
Last Update : 30 มีนาคม 2563 16:29:52 น.
Counter : 249 Pageviews.  

blog KU-ABC การเยือนไทยของ"พระสันตะปาปา"ได้รับความนิยมสูงสุด

               blog KU-ABC การเยือนไทยของ"พระสันตะปาปา"ได้รับความนิยมสูงสุด
                                                                                เตือนใจ เจริญพงษ์


ระหว่าง วันที่ 20-23 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา
ปวงชนชาวไทยได้มีโอกาสถวายการต้อนรับ
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน
และศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคของชาวคริสต์อย่างสมพระเกียรติ
............................................................................................................................ 
พระราชกรณียกิจต่างๆของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ล้วนสำคัญยิ่ง แลดูงดงาม สงบ น่าเลื่อมใส ศรัทธายิ่ง
สมควรแก่การถวายความเคารพและเทิดพระเกียรติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราโชวาทของพระองค์ในทุกสถานที่
ล้วนทรงคุณค่า ชวนให้นำมาศึกษาความเชื่อมโยงความสัมพันธ์
ของศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธในไทย รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดี
ในการดำรงชืวิตเป็นอย่างยิ่ง
.


เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้  
ได้ถูกบันทึกไว้ในความทรงจำของคนไทย
ให้ตระหนักว่า "ชาวไทย-คริสต์ และชาวไทย-พุทธ " ในไทย นั้น
มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันและกระชับแน่นแฟ้นเสมอมา
รวมทั้งชาวไทยยังได้ถวายความเคารพ ชื่นชม ศรัทธา ต่อ "พระประมุข“คริสต์-พุทธ“
คือ สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส  และสมเด็จพระสังฆราชของไทย
ไว้ด้วยความรัก -ความศรัทธา-ความอิ่มเอมใจ ตลอด 3 วันเต็มๆ
ที่ได้เฝ้ารับเสด็จและชื่นชมพระบารมีของ ทั้ง 2 พระองค์
จนมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า “ไม่ทำให้ผิดหวังแต่ประการใด”  
เหตุเพราะพระองค์ทรงมีวิสัยทัศน์อันหลักแหลม ฉลาดปราชญ์เปรื่อง
เข้าใจชีวิต / เข้าใจโลก / ทรงชี้นำแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ
ให้แก่ผู้ประสบพบเห็นกันอย่างถ้วนหน้า



หมายกำหนดการที่ ชาวไทย-คริสต์ และชาวไทย-พุทธในไทย
ต่างเฝ้ารอคอย คือ ในวโรกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
เสด็จเข้าเฝ้า .....
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 
และ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
ในโอกาสเสด็จเยือนราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล



ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ ได้ถวายการต้อนรับ
แด่..สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสอย่างสมพระเกียรติ  
โดยทรงมีพระราขปฎิสันถารแลกเปลี่ยนข้อสนทนาระหว่างกัน
เพื่อเจริญพระราชไมตรีให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นสืบไป
โดยช่วงเวลาดังกล่าว คนไทยทั้งประเทศยังได้ชื่นชมพระราชจริยวัตรอันงดงามยิ่ง
ของพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระบรมราชินี
องค์พระประมุขอันเป็นที่รักของชาวไทยผ่านทางโทรทัศน์และสื่อต่างๆอีกด้วย
............................................................................................................................

ส่วนหมายกำหนดการที่สำคัญอีกเรื่อง คือ
วโรกาสที่ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
เสด็จเข้าเฝ้าเจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม



ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในการสืบสานสัมพันธ์มิตรภาพของ 2 ศาสนา
พุทธ- คริสต์ ในประเทศไทย เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง
"พระสังฆราช-โป๊ปฟรังซิส" ศุภนิมิตแห่งน้ำใจไมตรีแห่ง 2 ศาสนจักร
............................................................................................................................

 โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้
โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระดำรัสรับเสด็จ ความว่า 
      “ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสมเด็จพระสันตะปาปา ผู้ทรงสมณคุณอันประเสริฐ อาตมภาพในนามคณะสงฆ์ไทย ขอถวายอนุโมทนาสาธุการ
ในโอกาสที่มหาบพิตร เสด็จเยือนราชอาณาจักรไทย
และเสด็จมาทรงเยี่ยมอาตมภาพ ในวาระนี้
นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งพึงจดจารึกไว้เป็นศุภนิมิตแห่งน้ำใจไมตรีที่ศาสนจักรโรมันคาทอลิก
กับพุทธจักรไทย มีสืบเนื่องกันมาอย่างแน่นแฟ้น ราบรื่น และงดงาม
เป็นเวลาเนิ่นนานนับแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
............................................................................................................................

เมื่อ 35 ปีล่วงมาแล้ว ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
เฉพาะพระพักตร์พระพุทธอังคีรส ประธานพระอุโบสถแห่งนี้
สมเด็จพระอุปัชฌายะของอาตมภาพ
คือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ
ได้เสด็จลงทรงรับสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก ที่ประมุขแห่งศาสนจักรโรมันคาทอลิก
เสด็จมาทรงเยี่ยมประมุขแห่งพุทธจักรไทย ณ ราชอาณาจักรไทย
............................................................................................................................

ภาพเหตุการณ์ในวันนั้น ยังคงประทับอยู่ในความทรงจำของอาตมภาพ
ผู้มีโอกาสได้เฝ้าอยู่ในการดังกล่าวด้วย ทั้งสองพระองค์ทรงปราศรัยกัน
ทรงแสดงพระอัธยาศัยอันงามต่อกัน บนพื้นฐานแห่งพระเมตตาจิตอย่างแท้จริง
ในฐานะนักบุญผู้ประเสริฐแห่งสองศาสนา ซึ่งมุ่งหมายจะแผ่ความปรารถนาดี
อย่างจริงใจ ไปสู่ทุกชีวิตอย่างไม่มีประมาณ เป็นอุดมการณ์ร่วมกัน
............................................................................................................................

ขอถวายพระพรให้ทรงทราบว่า
ใต้ฐานพระพุทธอังคีรส ยังเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้เคยเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้า สมเด็จพระสันตะปาปา เลโอที่ 13
เมื่อพุทธศักราช 2440, เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชสรีรางคาร
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
ผู้เคยเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา ปีโอที่ 11
เมื่อพุทธศักราช 2477 อีกทั้งเป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร ผู้เคยเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์นที่ 23
เมื่อพุทธศักราช 2503 และทรงเคยรับเสด็จสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2
ซึ่งเสด็จเยือนราชอาณาจักรไทยเมื่อพุทธศักราช 2527 ณ สถานที่แห่งนี้
จึงเป็นมงคลสถานสำหรับการพบกันของเราทั้งสอง
ด้วยส่วนแห่งพระวรกายของทุกๆ พระองค์ ยังคงประดิษฐานเป็นสักขีพยาน
แห่งมิตรภาพ ซึ่งได้ทรงสร้างสรรค์ไว้นับแต่อดีตสมัย หากแต่ละพระองค์
มีพระญาณวิถีใดที่จะทรงหยั่งทราบ คงจะทรงโสมนัสพระราชหฤทัยไม่น้อย
ที่ได้ทอดพระเนตรเห็นความเจริญงอกงามแห่งทางพระราชไมตรี
เป็นภาพอันน่าประทับใจอีกครั้งในวันนี้
............................................................................................................................

การเสด็จมาครั้งนี้ของมหาบพิตร จึงไม่ใช่การมาของมิตรใหม่
หากแต่เป็นการมาเยือนของมิตรแท้อันเก่าแก่ของคนไทย
ระยะทางที่ห่างไกลกันหาใช่อุปสรรคของความสนิทสนมกลมเกลียวกัน
"สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนไว้ว่า "ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร
ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง" " ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมผ่านพ้นศัตรูทั้งปวง"
............................................................................................................................

บัดนี้ มหาบพิตร ทรงพระอุสาหะตรากตรำพระวรกายบนหนทางแสนไกล
เสด็จเยือนราชอาณาจักรไทย และมาทรงเยี่ยมอาตมภาพด้วยน้ำพระทัย
อันเปี่ยมด้วยมิตรภาพถึงที่นี่ อาตมภาพขอสนองน้ำพระทัยอันเปี่ยมด้วยมิตรภาพนั้นๆ
ตอบถวายเป็นหลายเท่าทวีคูณ ด้วยอานุภาพแห่งพระเมตตาธรรม
ซึ่งมหาบพิตรทรงเจริญมั่นอยู่ในพระหฤทัยและด้วยศุภผลแห่งกุศลเหตุ
คือความไม่ประทุษร้ายมิตร ขอมหาบพิตรทรงสถิตสถาพรเป็นปูชนียฐาน
อันประเสริฐของศาสนิกบริษัทและทรงพระเจริญในสมณคุณ
ค้ำจุนให้ทรงผ่องแผ้วผ่านพ้นภัยพิบัติทั้งปวง สมตามพระพุทธานุศาสนี
ดังอาตมภาพอัญเชิญมาอ้าง เป็นสัจจวาจาข้างต้นนี้ทุกประการ
ขอถวายพระพร  "
..........................................................................................................................

และในวโรกาสเดียวกันนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ก็ได้ปาฐกถา มีสาระสำคัญตอนหนึ่ง ว่า
     “ โดยพระองค์ได้ตรัสถึงเรื่องความจำเป็นในการยอมรับ
และเห็นคุณค่าของกันและกัน รวมถึงความร่วมมือระหว่างศาสนาต่างๆ
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติในการเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนในปัจจุบัน
โดยพระองค์ตรัสว่า โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจการเงิน และผลกระทบที่รุนแรง
ต่อการพัฒนาสังคมท้องถิ่น ความขัดแย้งทางสังคม
รวมทั้งปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้ลี้ภัย ซึ่งภาวะการณ์เหล่านี้
กระตุ้นเตือนว่า ไม่มีภูมิภาคหรือภาคส่วนใดของมนุษยชาติ
ที่จะไม่ได้รับผลกระทบ เราจึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีการที่จะแก้ปัญหา
ความขัดแย้ง ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งคือการสร้างความเข้าใจระหว่างกัน “


นอกจากนี้ "โป๊ปฟรานซิส"
ยังทรงชูภาษาเป็นสะพาน สร้างความเข้าใจแก้ความขัดแย้ง
สร้างสันติสุขให้กับมนุษยชาติ

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ได้เสด็จยังหอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทรงแสดงปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "สร้างสะพานแห่งสันติสุขและความเข้าใจ"
(Building Bridges for Peace and Understanding) ต่อคณะผู้นำศาสนาต่างๆ

............................................................................................................................

ขณะเดียวกัน มีคณะนักร้องประสานเสียงจากหลากหลายกลุ่มศาสนา
ได้ร่วมขับร้องประสานเสียงบทเพลง Peace Prayer
ให้การต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ได้ทรงแสดงปาฐกถาในหัวข้อ "Building Bridges for Peace and Understanding"
หรือ สร้างสะพานแห่งสันติสุขและความเข้าใจ"
โดยทรงตรัสเป็นภาษาสเปน พร้อมมีล่ามแปลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ซึ่งมีผู้นำทางศาสนา 5 ศาสนา
............................................................................................................................

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสปาฐกถา สาระสำคัญตอนหนึ่ง
โดยพระองค์ได้ตรัสถึงเรื่องความจำเป็นในการยอมรับ
และเห็นคุณค่าของกันและกัน รวมถึงความร่วมมือระหว่างศาสนาต่างๆ
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ ในการเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อน
ในปัจจุบันโดยพระองค์ตรัสว่า โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจการเงิน
และผลกระทบที่รุนแรงต่อการพัฒนาสังคมท้องถิ่น ความขัดแย้งทางสังคม
รวมทั้งปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้ลี้ภัย ซึ่งภาวะการณ์เหล่านี้กระตุ้น
เตือนว่าไม่มีภูมิภาคหรือภาคส่วนใดของมนุษยชาติที่จะไม่ได้รับผลกระทบ
เราจึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีการที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งคือการสร้างความเข้าใจระหว่างกัน 
............................................................................................................................

พระองค์เชื่อว่าสถาบันศาสนา รวมถึงสถาบันการศึกษา
จะเป็นส่วนสำคัญในการร่วมกันแก้ปัญหา
และน่าจะเป็นหลักประกันในอนาคตให้กับอนุชนรุ่นหลัง
รวมทั้งธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและสันติภาพ
..........................................................................................................................

ขณะเดียวกันภาวะการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้เราต้องลองค้นหาวิธีการใหม่ ๆ
ในการสร้างประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โดยไม่จำเป็นต้องตำหนิหรือกล่าวโทษใคร
วิธีคิดแบบแยกส่วนเป็นเอกเทศที่ไม่ใช่องค์รวมในการมองภาพเวลา พื้นที่
หรือมิติอื่น ซึ่งเคยนำมาใช้แก้ปัญหาความขัดแย่งได้นั้นล้าสมัยไปแล้ว
........................................................................................................................

“ยุคนี้เป็นยุคที่ต้องกล้าจินตนาการถึงวิธีคิดใหม่ที่ต้องการหันหน้าเข้าหากัน
และการสานเสวนาหารือกันควรเป็นแนวทางที่ควรเดิน
การทำงานร่วมกันควรเป็นแนวทางปฏิบัติและการทำความรู้จักซึ่งกัน
และกันเป็นวิธีการและหลักเกณฑ์ โดยเสนอกระบวนการทัศน์ใหม่”
...........................................................................................................................

สำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจกัน
ระหว่างผู้คนและปกปักรักษา สิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้น
ข้าพเจ้าเชื่อว่าในด้านนี้สถาบันศาสนารวมถึงสถาบันการศึกษาทุกระดับ
มหาวิทยาลัยสามารถมีส่วนร่วมและช่วยได้ โดยไม่ต้องละทิ้งพันธกิจหลัก
และความเชี่ยวชาญเฉพาะตนไป ทุกสิ่งที่เราทำเพื่อการดังกล่าว
จะเป็นส่วนสำคัญในการรับประกันสิทธิในอนาคตของอนุชนรุ่นหลัง
ทั้งยังเป็นการธำรงไว้ ซึ่งความยุติธรรมและสันติภาพ
นี่เป็นวิธีเดียวที่เราจะเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อให้พวกเขา
เป็นผู้สร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
............................................................................................................................

ยุคสมัยนี้เราต้องการสร้างรากฐานที่ยึดหลักการให้เกียรติ
และการเคารพศักดิ์ศรีของบุคคลในการส่งเสริมมนุษยนิยมแบบบูรณาการ
ที่เห็นความสำคัญและสามารถเรียกร้องให้ปกป้องแผ่นดินโลก
ซึ่งเป็นบ้านส่วนรวมของพวกเราทุกคนในการบริหารจัดการ
อย่างมีความรับผิดชอบ โดยรักษาความงดงามและความอุดมสมบูรณ์
ของธรรมชาติ ในฐานะที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
...........................................................................................................................

ศาสนาสำคัญของโลกเราเป็นหลักฐานแสดงถึงมรดกทางจิตวิญญาณ
อันสูงส่งกว่าสิ่งที่มองเห็นด้วยตาที่มีร่วมกันในหลายลัทธิความเชื่อ
ซึ่งสามารถเป็นหลักที่มั่นคงในเรื่องนี้ได้ สามารถพิสูจน์ได้
หากเรากล้าทดลอง โดยปราศจากความกลัวที่จะมาพบปะกัน
พวกเราทุกคนได้รับกระแสเรียก ไม่ใช่เพียงให้สนใจ
เสียงร้องของคนยากจนที่อยู่รอบตัวเรา เช่น คนที่อยู่ชายขอบของสังคม
คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง กลุ่มชนชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยของศาสนา
แต่ยังมีเสียงเรียกโดยไม่ต้องกลัวที่จะสร้างพื้นที่
สำหรับการพบปะกันและทำงานร่วมกัน ซึ่งมีการริเริ่มดำเนินการกันมาบ้างแล้ว
............................................................................................................................

ในขณะเดียวกันยังมีการขอให้เรายอมรับความจำเป็น
ในการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเคารพสิทธิ
ด้านมโนสำนึกและเสรีภาพทางศาสนา และสร้างพื้นที่ใหม่ ๆ
ด้วยความมั่นใจว่า “ไม่ใช่ทุกอย่างจะเสียหายไปทั้งหมด
เพราะมนุษย์ซึ่งอาจตกต่ำได้ถึงขีดสุดก็สามารถพัฒนาตนเอง
กลับสู่หนทางที่ถูกต้องและเจริญขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
และต้องเอาชนะอุปสรรคทางจิตใจและสังคมทั้งปวงที่อยู่รอบด้านได้”
............................................................................................................................

ในผืนแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความงดงามทางธรรมชาติ
ข้าพเจ้าอยากจะเน้นลักษณะเด่น ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าสำคัญยิ่ง
และเป็นหนึ่งในความอุดมสมบูรณ์ที่มีศักยภาพในการส่งออก
และแบ่งปันให้ภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งเป็นครอบครัวมนุษยชาติของเราได้
............................................................................................................................

พวกท่านชาวไทยให้ความสำคัญและดูแลผู้สูงอายุ
ให้เกียรติและเคารพยกย่องผู้สูงวัย ซึ่งทำให้ท่านเป็นรากแก้ว
เพื่อให้ชนชาติของท่านไม่เหี่ยวเฉาไปกับสโลแกนบางคำ
ที่จะทำให้จิตวิญญาณของคนรุ่นใหม่ว่างเปล่าหรือเสื่อมถอยลง
นอกจากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในการลดทอนคุณค่าแห่งค่านิยม
และวัฒนธรรมท้องถิ่นอันงดงาม โดยการยัดเยียดรูปแบบ
ที่เหมือนกันเพียงแบบเดียว เรายัง
“เห็นแนวโน้มที่จะทำให้คนหนุ่มสาวมีลักษณะคล้ายกัน”
เพื่อสลายความแตกต่างที่แปรไปตามถิ่นกำเนิดของแต่ละคน
ทำให้คนหนุ่มสาวเหล่านั้นเป็นสิ่งมีชีวิตตามสั่ง
ซึ่งผลิตออกมาเหมือน ๆ กันในปริมาณมาก
ซึ่งเป็นการทำลายทางวัฒนธรรมที่ร้ายแรงพอ ๆ กับการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
............................................................................................................................

ขอให้ท่านทำให้หนุ่มสาวได้ค้นพบวัฒนธรรมของสังคมที่เขาอาศัยอยู่
การช่วยให้คนหนุ่มสาวค้นพบคุณค่าอันไม่มีวันเสื่อมสลายของอดีต
ได้ค้นพบรากเหง้าของตัวเอง โดยการสำนึกอย่างกตัญญู
อันเป็นการแสดงออกอย่างแท้จริงถึงความรักที่มีต่อเขาในระหว่าง
ที่เฝ้าดูการเติบโตและการตัดสินใจของเขาเหล่านั้น มุมมองทั้งหมดนี้
จำเป็นต้องมีบทบาทของสถาบันการศึกษาเช่นมหาวิทยาลัยแห่งนี้
เข้ามาเกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัย การมีองค์ความรู้จะช่วยเปิดหนทางใหม่ ๆ
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคน เสริมสร้างความยุติธรรมในสังคม
ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แสวงหาวิธีแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
อย่างสันติสุขและการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ให้ชีวิตแก่แผ่นดินของเรา

 
พร้อมกันนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาได้เสด็จยังอาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก
เพื่อทรงประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณสำหรับเยาวชน
โดยมีนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมพิธีดังกล่าวราว 6,700 คน
ซึ่งเป็นหมายกำหนดการที่สำคัญยิ่งอีกเรื่องหนึ่ง มีรายละเอียดดังนี้
............................................................................................................................
 
พระองค์ได้ประทานโอวาทให้เยาวชนที่เป็นคนรุ่นใหม่
"You are the Now of God"  ในเรื่องของการใช้ชีวิต
เพราะเยาวชนคือความหวังของโลกอนาคต
ควรต้องรู้จักใช้ชีวิต ด้วยการสร้างและวางรากฐานชีวิตเหมือนกับบรรพบุรุษ
เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่มีกิ่งก้านงดงาม มีรากที่แข็งแรง
เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
ด้วยการเรียนรู้ ทำความดี อย่ากลัวอนาคต ขอให้มองอนาคต
ด้วยความเบิกบาน กล้าหาญ ตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบัน
และนำความรักความเมตตามอบสู่ผู้คนบนโลก เพื่อให้เกิดความสันติสุข
..........................................................................................................................

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ขอให้เยาวชนผู้ต่างเป็นความหวังของโลกอนาคต
อย่าให้สิ่งดึงดูดความสนใจทำให้เยาวชนล่องลอยและไฟแห่งชีวิตมอดดับ
และขอให้เชื่อมั่นในความดีและมิตรภาพที่แน่นแฟ้น
เพราะจะทำให้ทุกคนมีความสุข แก้ปัญหาความขัดแย่งค้นหาวิธีการใหม่ ๆ
ในการสร้างประวัติศาสตร์ปัจจุบันมนุษยนิยมแบบบูรณาการ
หาพื้นที่มนุษย์สานรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลายให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญ
............................................................................................................................

 "บางครั้งพ่อมองเห็นบรรดาเยาวชน และเหล่าต้นไม้ที่งดงาม
มีกิ่งก้านสาขาแผ่ขยายขึ้นไปบนท้องฟ้าที่สูงชะลูดไปเรื่อย ๆ
ต้นไม้เหล่านั้นดูเหมือนกับว่าจะเป็นบทเพลงแห่งความหวัง
แต่หลังจากที่เกิดพายุขึ้น พ่อพบว่าพวกมันได้ร่วงหล่น ล้มลง
และตายไป พวกมันปราศจากรากที่ลึก พวกมันแผ่กิ่งก้านสาขา
โดยปราศจากรากที่มั่นคง และพวกมันก็ล้มลงทันที
ที่ธรรมชาติปลดปล่อยพลังออกมา .นี่จึงเป็นความเจ็บปวดของพ่อ..."
"ลูกที่รักทั้งหลาย พวกลูกเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความหวัง มีความฝัน
และมีคำถามใหม่ ๆ อาจรวมถึงความสงสัยต่าง ๆ อีกด้วย
พ่อขอเชิญชวนให้พวกลูกรักษาความชื่นชมยินดี ให้มีชีวิตชีวา จ
งอย่ากลัวที่จะมองไปในอนาคตข้างหน้าด้วยความเชื่อมั่น
จงหยั่งรากลึกลงในพระเยซูคริสต์ จงมองอนาคตด้วยความชื่นบาน
และความไว้วางใจ..." โอวาทพระสันตะปาปา
............................................................................................................................

พระสันตะปายังได้ตรัสขอบคุณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
คณะรัฐบาล และผู้นำบริหารสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่น
และเหล่าคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกที่ได้มีส่วนในการสวดภาวนา
และในการพลีกรรม ร่วมกับพระองค์
..........................................................................................................................

"ขอพระผู้เป็นเจ้าตอบแทนความมีน้ำใจดีของพวกเขา
ด้วยความบรรเทาใจ และสันติสุข พระองค์เท่านั้นที่จะเป็นผู้ประทานให้ได้
และฝากภารกิจอีกประการหนึ่งคืออย่าลืมสวดภาวนาเพื่อพ่อด้วย ขอขอบใจ"
นี่เป็นโอวาทสุดท้ายของพระสันตะปาปา
ที่ประทานปิดฉากการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ



ขอขอบคุณ สำนักข่าว ฺฺBBC
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 1 ธันวาคม 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 
 




 

Create Date : 01 ธันวาคม 2562    
Last Update : 2 ธันวาคม 2562 9:06:01 น.
Counter : 1106 Pageviews.  

blog KU-ABC รู้เรื่อง..สมณศักดิ์และเครื่องแต่งกายของนักบวชคาทอลิกกัน

    blog KU-ABC "รู้เรื่อง...สมณศักดิ์และเครื่องแต่งกายของนักบวชคาทอลิกกัน"
                                                                  ดร.ประมุข เพ็ญสุต
 

วันนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระประมุขชาวคริตส์
 ได้เสด็จมาถึงไทยอย่างเป็นทางการแล้ว  เมื่อวานนี้
..........................................................................................................................

งานนี้จะมีคณะสงฆ์ผู้ติดตาม รวมทั้งคณะสงฆ์ในภูมิภาคนี้
มาเฝ้าคอยต้อนรับเสด็จจำนวนมาก
เพื่อให้การติดตามข่าวเข้าใจได้ง่าย
จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับ " สมณศักดิ์และฐานันดรของสงฆ์ " มาฝาก
............................................................................................................................

สมณศักดิ์และฐานันดรของสงฆ์ จำแนกได้จากการแต่งกาย
นับจาก  โป๊ป    ลงไป ได้แก่

  1. คาร์ดินัล (Cardinal) สังฆราช (Bishop)
  2. มองซิเออร์(Monsignor) ซึ่งตำแหน่งนี้ยังแบ่งเป็นอีกสามระดับ แต่คงจะละเอียดแต่คงจะละเอียดไป ไม่ขอกล่าวในที่นี้ คำนี้เขียนต่างจากmonsieur ที่แปลว่า Mister หรือ นาย แต่ออกเสียงใกล้กันมาก
  3. บาทหลวง เอาแบบว่า ดูแวบแรกก็สามารถจำแนกได้ ใครเป็นใครตามสีเครื่องแต่งกาย
............................................................................................................................
 
โป๊ป
   จะใส่ชุดสีขาวทั้งองค์ และสวมหมวกขาวเรียก zucchetto
............................................................................................................................


  คาร์ดินัล จะใส่ชุดสีแดงทั้งชุด หรือชุดดำ แล้วมีผ้ารัดประคด..ผ้าคาดเอว (fascia)
               สีแดงเลือดหมู สวมหมวก zucchetto สีเดียวกับรัดประคด
การกำหนดสีแดงเลือดหมู scarlet เป็นสีของคาร์ดินัลมีความหมายว่า
ท่านพร้อมที่จะสละเลือด(และชีวิต)ของท่านเพื่อยีนยันความเชื่อ
............................................................................................................................
 
สังฆราช จะใส่ชุดสีขาวทั้งชุด หรือชุดดำ แล้วมีผ้ารัดประคต (fascia)
             สีม่วงแดงสวมหมวก zucchetto สีเดียวกับรัดประคด    
    
         ส่วนสีม่วง (สีเหล้าองุ่น) ของสังฆราชและมองซิเออร์ หมายถึงการกลับใจหันมาหา
         พระเจ้า (repentance)
............................................................................................................................

 
มองซิเออร์ จะใส่ชุดสีขาวทั้งชุด หรือชุดดำ แล้วมีผ้ารัดประคด (fascia)
                 สีม่วงแดงเช่นเดียวกับสังฆราช แต่ไม่สวมหมวก
............................................................................................................................

บาทหลวง   จะใส่ชุดคลุมทั้งตัว ปกติสีขาว อาจมีสีดำ (หรือสีอื่นๆบ้าง) คาทอลิกไทยเรียกชุดนี้ว่าเสื้อหล่อ (cassock)




 สรุป เครื่องแต่งกายของนักบวชคาทอลิก ในขณะปรากฏตัวในที่สาธารณะ
1.เสื้อหล่อ cassock คำนี้คาดว่ารากศัพท์มาจากภาษาตุรกี
2.เสื้อคลุมไหล่ Pellegrina
3.ผ้ารัดประคด fascia
4.หมวก zucchetto (แปลว่า ฟักทองขนาดเล็ก ดูเหมือนฟักทองผ่าขนานจริงๆ)
............................................................................................................................

 
แต่ชุดสำหรับประกอบพิธีทางศาสนาในโบสถ์ ยังมีอีกหลายๆชุด
จากภาพประกอบหากท่านอ่านข้อเขียนแล้ว เชื่อว่าท่านจะสามารถจำแนกได้ว่าใครตำแหน่งอะไร
............................................................................................................................

 
ขอแถมเกร็ดอีกสักนิด
แม้ลำดับสมณศักดิ์จะเป็นดังที่กล่าวมา
แต่การได้รับการแต่งตั้งเป็นสังฆราช ไม่จำเป็นต้องเป็น มองซิเออร์ก่อน
สังฆราชมากมายทั่วโลกไม่เคยรับตำแหน่งมองซิเออร์แต่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น
มาจากบาทหลวงโดยตรง

แม้แต่ตำแหน่งคาร์ดินัล ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสังฆราชก่อน
(แต่มีจำนวนน้อยมากๆๆๆๆ)
ปัจจุบันเท่าที่ทราบไม่มีคาร์ดินัลที่ไม่เคยเป็นสังฆราชมาก่อน

............................................................................................................................
ท่านใดสนใจ!! สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมในตำแหน่งของมองซิเออร์
สามลำดับได้แก่
1.
Protonotaries apostolic
2. Honorary prelates,
3. Chaplains of His Holiness
 
ขอบคุณภาพจากวิกิพิเดียและ shuttlestock.com
............................................................................................................................
 เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:31:51 น.
Counter : 2370 Pageviews.  

พสกนิกรชาวไทยปลื้มปิติและถวายการต้อนรับ แด่..สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสประมุขชาวคริสต์โรมันคาทอลิก

        blog KU-ABC "พสกนิกรชาวไทยปลื้มปิติและถวายการต้อนรับ
             แด่.. สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสประมุขชาวคริสต์โรมันคาทอลิก "

        
                                                                        เตือนใจ เจริญพงษ์

พสกนิกรชาวไทย ทุกเชื้อชาติ ศาสนา
ต่างปลื้มปิติ และ พร้อมใจกันถวายการต้อนรับ
แด่...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสประมุขของชาวคริสต์โรมันคาทอลิก
   " Viva IL Papa ด้วยรัก และศรัทธา "

ในวโรกาสจะเสด็จเยือนราชอาณาจักรไทย ตามคำเชิญของรัฐบาลไทย
และสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
ระหว่าง วันที่ 20-23 พฤศจิกายน ศกนี้



การเสด็จของพระองค์ครั้งนี้ มีชื่ออย่างเป็นทางการ
ว่า APOSTOLIC JOURNEY OF HIS HOLINESS FRANCIS TO THAILAND

ซึ่งการเสด็จมาเยือนเมืองไทยครั้งนี้เป็นเหมือนกับ
การที่ “พ่อเดินทางมาเยี่ยมลูก ๆ”
............................................................................................................................

แม้ว่าประเทศไทยมีชาวคริสต์โรมันคาทอลิก จำนวน 388,468 คน
เขตศาสนปกครอง (มิสซัง) 11 เขต ประกอบด้วย
พระสงฆ์ นักบวช 848 รูป มีวัด 526 แห่ง ก็ตาม
แต่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก กับ เมืองไทย
มีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นมายาวนาน
นับตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนที่จะมีการสถาปนา “มิสซังสยาม”
เมื่อปี พ.ศ. 2212
............................................................................................................................

กว่า 500 ปี มาแล้วที่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
ได้ก่อกำเนิดในประเทศไทย ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า
มิสชันนารีคณะโดมินิกันเข้าสู่ประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1511
ก่อนที่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกจะหยั่งรากอย่างมั่นคง
เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ ที่ 9 ทรงสถาปนา “มิสซังสยาม”
หรือ Apostolic Vicariate of Siam เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2212
ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนจักรคาทอลิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
............................................................................................................................

นอกจากการเผยแพร่ศาสนาแล้ว
มิสชันนารี และ คริสตชนคาทอลิกได้นำวิทยาการจากตะวันตก
เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศไทย ในด้านต่าง ๆ
อีกทั้งยังประกอบกิจเมตตาสาธารณกุศล
แก่ประชาชนโดยทั่วไป สังเกตจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์
จะพบความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ระหว่างการเผยแพร่ศาสนาคริสต์
กับความเจริญทางการศึกษา และการแพทย์-สาธารณสุข
............................................................................................................................

เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2527 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2
เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ
จากวันนั้นถึงวันนี้ ที่คริสตชนคาทอลิก รอคอยจะได้รับเสด็จ
สมเด็จพระสันตะปาปา กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรอบ 35 ปี
............................................................................................................................

ความสัมพันธ์เมื่อครั้งประวัติศาสตร์ ของไทย-สำนักวาติกัน
ปรากฎชัดเจนว่า เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2440
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 5
ได้เสด็จไปทรงเข้าเฝ้า สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13
ต่อมา รัชกาลที่ 7 และ สมเด็จพระบรมราชินีก็เสด็จไปเข้าเฝ้าด้วยเช่นกัน
สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2477
และครั้งล่าสุด รัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จไปเข้าเฝ้านักบุญยอห์น ที่ 22 พระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2503



พระศาสนจักรคาทอลิก ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Catholic Church
หรือ คนไทยจะรู้จักกันดีใน ชื่อ " โรมันคาทอลิก "
ภาษาอังกฤษ คือ Roman Catholic Church
เป็นคริสตจักรขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีศาสนิกชนนับถือมากกว่าพันล้านคน
มีพระสันตะปาปา เป็นประมุขของศาสนา โดยมีหน้าที่หลัก
ได้แก่ การแสดงข่าวดีของพระเยซู , โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ ,
ปฏิบัติกิจเมตตา
............................................................................................................................

ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกาย Roman Church จะเรียกตนเองว่า คริสตัง
Roman Catholic เป็นสถาบันทางศาสนาที่มีความเก่าแก่ที่สุดในโลก
อีกทั้ง ยังมีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของอารยธรรมตะวันตก
Roman Catholic มีคำสอนอันแน่วแน่ คือ Roman Catholic
เป็นคริสตจักรอันแท้จริง
............................................................................................................................

เพียงสถาบันเดียว ซึ่งก่อตั้งจากพระเยซูแท้ๆ 
ซึ่งมีมุขนายก เป็นผู้สืบทอดมาจากอัครทูตของพระองค์
อีกทั้ง ยังมีพระสันตะปาปา ซึ่งสืบตำแหน่งมาจาก Saint Peter
โดย ชาว Catholic ถือว่าตนเองเป็นคริสตจักรของแท้ดั้งเดิม
มุ่งเน้นไปที่การสอนอย่างถูกต้อง มีความศรัทธา
และศีลธรรมอย่างไม่มีข้อผิดพลาด
............................................................................................................................

นอกจากนี้ ศาสนจักรยังมุ่งเน้น ไปที่ความสำคัญของพิธีบูชาขอบพระคุณ ,
สอนว่า ขนมปัง และ เหล้าองุ่น เมื่อเสกแล้ว จะเปลี่ยนเป็นพระมังสะ
และ พระโลหิตจริงของพระเยซู อีกทั้งยังให้ความสำคัญ
แก่พระ The Blessed Virgin Mary เป็นพิเศษ มีความเชื่อว่า
พระแม่ได้รับเกียรติ ให้ขึ้นสวรรค์หลังจากมรณกรรม
............................................................................................................................

โดยชื่อของ Roman Catholic ได้มาจากประเพณี
ซึ่งตั้งกรุง Rome เป็นจุดรวมของคริสต์ศาสนา
อีกทั้งยังเป็นที่อยู่ของ สำนักของสันตะปาปา
โดยดำรงตำแหน่งเป็นสังฆราชแห่งกรุงโรม
รวมทั้งเป็นหัวหน้าใหญ่ของสังฆราชทั่วโลก
ทำให้กลายเป็นหัวหน้าของคริสต์ศาสนนิกชน
Roman Catholic ทั่วโลกอีกด้วย
............................................................................................................................

ส่วนคำว่า Catholic แปลว่า Universal
เปรียบได้ดั่ง กับศาสนา ซึ่งเป็นสากลสำหรับทุกคนจากทุกเชื้อชาติ ,
ทุกชั้นในสังคม คริสต์ศาสนนิกชน Roman Catholic
จะไม่ถือว่าตัวเองเป็นนิกาย แต่ยึดถือว่าตัวเองเป็นคริสต์ศาสนา
ของจริงผู้ซึ่งสืบทอดมาจากอัครสาวก
รวมทั้งถือว่าเป็นศาสนจักรของพระเยซูอันแท้จริง
............................................................................................................................


การปกครองของศาสนจักรคาทอลิก
Roman Catholic มีการวางกฎ ระเบียบ ในเรื่องของการบริหาร
ทั้งของศาสนจักร และ วินัยของสงฆ์ อย่างเข้มงวด ในการบริหาร
มีผู้นำสูงสุด ได้แก่ สันตะปาปา หรือ Pope ผู้ประจำการแห่งกรุงโรม
ตำแหน่งรองลงมา คือ Cardinals เปรียบได้กับผู้ช่วยของสันตะปาปา
Cardinals ถูกคัดเลือกอย่างเข้มงวดมาจากประเทศต่าง
เพื่อเดินทางมาทำหน้าที่บริหารโดยตรง ณ Vatican
............................................................................................................................


ขอนำพระราชประวัติของพระสันตะปาปาฟรังซิส
พระประมุขศาสนจักรโรมันคาทอลิก ลำดับที่ 266

และพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ทรงเป็นพระสันตะปาปาลำดับที่ 266



มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ แบร์โกลิโอ
ประสูติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2479
ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
............................................................................................................................

ด้านการศึกษา
ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเคมี
จากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส และประกาศนียบัตรสาขาวิชาปรัชญา
จาก Colegio Maximo San Jose ทรงเป็นอาจารย์วิชาวรรณกรรมและจิตวิทยา
ที่ Colegio de la Inmaculada และ Colegiodel Salvador
นอกจากนั้น ทรงศึกษาวิชาเทววิทยา (theology)
และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางเทววิทยา
ที่มหาวิทยาลัย Facultades de Filosofia y Teologiade San Miguel
............................................................................................................................

ด้านศาสนา
พระองค์ทรงเข้าศึกษาในสามเณราลัย
และได้ปฏิญาณตนเป็นนักบวชคณะแห่งพระเยซูเจ้า (เยสุอิต)
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1958 ต่อมาทรงบวชเป็นพระสงฆ์
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1969 สำหรับตำแหน่งสำคัญทางศาสนา
ก่อนได้รับเลือกขึ้นเป็นพระสันตะปาปา พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้ง
จากนักบุญยอห์นปอล ที่ 2 พระสันตะปาปาให้ดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่ง
เขตศาสนปกครองกรุงบัวโนสไอเรส ต่อมาได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์
ขึ้นเป็นพระคาร์ดินัลเมื่อปี ค.ศ. 2001
............................................................................................................................

ระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งกรุงบัวโนสไอเรส นั้น
พระองค์ทรงดำรงชีวิตแบบสมถะ เช่น มักเดินทางโดยใช้รถประจำทาง
หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อไปปฏิบัติศาสนกิจ และ เยี่ยมเยียนคนยากจน
ทรงประทับอยู่ในห้องชุดเรียบง่าย ทำอาหารด้วยพระองค์เอง
ชาวบัวโนสไอเรสโดยทั่วไป รู้จักพระองค์ในนาม “คุณพ่อฮอร์เก้”
............................................................................................................................


ต่อมาหลังจากที่ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16
ทรงสละสมณศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2556
พระองค์ทรงได้รับเลือกตั้งจากคณะพระคาร์ดินัล
ในการประชุม “คอนเคล็ฟ (conclave)”
ให้ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาสืบแทนนักบุญเปโตร
หรือ เซนต์ปีเตอร์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2013
............................................................................................................................


เมื่อทรงตอบรับตำแหน่ง " พระสันตะปาปา "
พระองค์ทรงเลือกใช้พระนามว่า “Franciscus” ในภาษาละติน
หรือ “Francis” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากนามของนักบุญฟรังซิส
แห่งอัสซีซี ผู้ก่อตั้งคณะนักบวชฟรังซิสกัน ผู้ถือความยากจน
สนใจ และ เอาใจใส่ผู้ด้อยโอกาส ส่งเสริมสันติภาพ และรักษ์สิ่งแวดล้อม
ถือเป็นการเยือนประเทศไทยในรอบกว่า 40 ปี
...........................................................................................................................

ผู้คนทั่วโลกประทับใจพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ ดังนี้
............................................................................................................................

1.
สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส ทรงเคยมีพระดำรัสว่า
พฤติกรรมการอนาจารเด็ก เปรียบเสมือนโรคเรื้อนที่ลุกลาม
ไปทั่วนิกายโรมันคาทอลิก พระองค์ประกาศการเผชิญหน้า
กับปัญหาการทำอนาจารเด็กของเหล่านักบวช
ด้วยมาตรการเด็ดขาด ทรงออกกฎหมายศาสนจักร (canon law) ใหม่
ให้ปลดหัวหน้าบาทหลวง (บิชอป) ออกจากความเป็นพระ
หากปล่อยปละละเลยให้เกิดเหตูล่วงละเมิดทางเพศเด็ก

อ้างอิง
https://www.catholicnewsagency.com/.../pope-francis-changes-c...
............................................................................................................................


2. ในเดือนเมษายน  ปี ค.ศ. 2019 สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส
ได้ทรงแหวกธรรมเนียมของสำนักวาติกัน ด้วยการก้มพระวรกายลงจูบยังเท้า
ของผู้นำการเมืองในซูดานใต้ ขณะที่ทั้งสองมาเข้าเฝ้าที่พระราชวังพระสันตปาปา
ในนครรัฐวาติกัน สร้างความตะลึงให้กับคนทั้งโลก

“ ข้าพเจ้าขอในฐานะพี่น้อง จงรักษาสันติภาพ ข้าพเจ้าขอร้องจากใจ “
 อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น พระองค์ทรงเคยก้มลงล้างเท้าและจุมพิตเท้าของผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยไม่ถือพระองค์

อ้างอิง
https://www. reuters.com/…/pope-feet-of-south-sudan-l…

............................................................................................................................


3. ทรงเปิดให้คนยากไร้และคนจรจัดในกรุงโรมใช้บริการซักผ้าฟรี
โดยมีเครื่องซักผ้าอัตโนมัติ ตู้อบผ้า และผงซักฟอกให้บริการสัปดาห์ละ 4 วัน
ภายในโรงพยาบาลเก่าใกล้กับสำนักวาติกัน

อ้างอิง
https://www.independent.co.uk/…/pope-francis-free-launderet…

............................................................................................................................

 
 4.
แบรนด์รถยนต์หรูสัญชาติอิตาลี “ลัมโบร์กีนี”
เคยถวายรถยนต์ลัมโบร์กีนี อูราคาน รุ่นพิเศษ ตัวรถถังเป็นขาวคาดด้วยแถบสีทอง
คล้ายกับธงประจำนครวาติกัน ให้แก่ สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส
แต่พระองค์ทรงตัดสินใจนำรถคันดังกล่าว ออกประมูลเพื่อการกุศล
ซึ่งถูกประมูลไปในราคา 809,375 ยูโร หรือประมาณ 30 ล้านบาท

อ้างอิง
https://cruxnow.com/…/popes-white-lamborghini-up-for-raff…/

............................................................................................................................

 
5. ทรงกล่าวประนามอุตสาหกรรม การผลิตอาวุธว่า
เป็น “อุตสาหกรรมบาป” และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้
ไม่สมควรเรียกตัวเองว่าเป็นชาวคริสต์อีกต่อไป

อ้างอิง
https://www.theguardian.com/.../pope-francis-says-those-in-we...

............................................................................................................................


6. ปี ค.ศ. 2016 ทรงฉลองวันพระราชสมภพอายุครบรอบ 80 ปี
ด้วยการรับประทานอาหารเช้า กับ คนไร้บ้าน จำนวน 8 คน
ภายในสำนักวาติกัน นอกจากนั้น ยังได้มอบเค้กวันเกิดแจกจ่าย
ไปยังคนยากจนและคนไร้บ้านในกรุงโรม กว่า 1,500 ชิ้น

อ้างอิง
https://catholicherald.co.uk/.../pope-frasis-eats-with-home.../

...........................................................................................................................


7. ปี ค.ศ. 2019 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ทรงเสด็จเยือนกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)
ในการเยือนครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อเยี่ยมเยีนยชาวคริสต์ในดินแดนแห่งอิสลาม
และสร้างสันติระหว่างศาสนา

อ้างอิง
https://www.bbc.com/news/world-middle-east-47106204
............................................................................................................................


8. โป๊ปฟรานซิส เคยเปรียบเทียบการทำแท้งว่า เหมือนการจ้างฆ่าคน
เนื่องจากการทำแท้งเป็นการกำจัดใครบางคน และกำจัดมนุษย์คนหนึ่ง
ก็เหมือนการใช้วิธีจ้างมือสังหารเพื่อแก้ปัญหา

อ้างอิง
้https://www.nytimes.com/.../eur.../pope-abortion-sick-fetus.html
..........................................................................................................................


9. สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ได้ออกมาคัดค้านโทษประหารชิวิต
ในคุกทุกกรณี โดยถือเป็นการเปลี่ยนคำสอนของศาสนาคริสต์นิการคอทอลิก
ซึ่งก่อนหน้านี้ในคำสอนได้ระบุว่า โทษประหารชีวิตอาจนำมาใข้ได้ในบางกรณี
และอาจเป็นวิธีการที่ดีในการปกป้องความดี

อ้างอิง

https://www.bbc.com/news/world-eurpe-45042130
............................................................................................................................


 ประโยคที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสซ้ำบ่อยๆ

คือ “จงอย่าเหน็ดเหนื่อยที่จะเป็นผู้เมตตา”
ไม่เพียงแสดงถึงพระเมตตา พระองค์ยังทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตเรียบง่าย สมถะ
### และทรงเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลแแห่งปี ค.ศ.2013 โดยนิตยสารไทม์
............................................................................................................................

จาริกเพื่อสันติภาพ-เสวนาระหว่างศาสนา
............................................................................................................................


สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเสด็จเยือนไทยครั้งนี้
เป็นการเสด็จเยือน ตามคำเชิญของรัฐบาลไทย
และ สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
ซึ่งสำหรับพระองค์แล้ว นี่คือ การจาริกเพื่อสันติภาพ
ดังคำกล่าว ในการแถลงประกาศ ครั้งแรกที่ว่า

..........................................................................................................................

“ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงมีความโสมนัสยิ่ง
ที่การเสด็จเยือนราชอาณาจักรไทยครั้งนี้
เป็นการจาริกเพื่อสันติภาพ และเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนา
พระองค์จะประกอบพิธีมิสซาแบบสาธารณะ 2 ครั้ง คือ
สำหรับบรรดาคริสตชนคาทอลิกทั่วประเทศ และ
อีกครั้งเป็นพิเศษสำหรับบรรดาเยาวชน”

............................................................................................................................


 อ.ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย ที่ปรึกษาสมณสภาสื่อสารสังคม สำนักวาติกัน
.........................................................................................................................


กล่าวถึง การที่สมเด็จพระสันตะปาปาเสด็จเยือนที่ต่าง ๆ ว่า
พระองค์ผู้เป็นประมุข ในฐานะบิดา ต้องการจะไปเยี่ยมลูก ๆ ของพระองค์
ถึงแม้พระองค์อายุมาก และสุขภาพไม่สมบูรณ์ แต่พระองค์ปรารถนาจะไปเยี่ยมเยียน
คริสตชน และประชากรทั่วโลก เพื่อจะนำสันติ ความรัก ความปรารถนาดี
ไปมอบให้
............................................................................................................................

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงให้ความสำคัญกับสันติภาพมาก
และพระองค์ทรงเน้นย้ำเสมอว่า เราทุกคนควรเสียสละตนเองเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ไม่มีการกระทำใดที่เป็นการเสื่อมเสียเกียรติ และ ศักดิ์ศรี
หากการทำนั้นสามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ให้รอดพ้นจากความเจ็บปวดได้
ดังที่ อ.ชัยณรงค์ยกตัวอย่างเหตุการณ์
............................................................................................................................

ที่พระองค์พยายามสร้างสันติภาพ เมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีซูดานใต้
เข้าเฝ้าพระองค์ ที่วาติกัน พระองค์ทรงก้มลงจูบเท้าของเขา
แล้วพูดว่า “โปรดช่วยกันสร้างสันติเถิด”

............................................................................................................................

อนึ่ง การเยือนไทยครั้งนี้ไปรษณีย์ไทยได้จัดสร้างแสตมป์ชุดพิเศษ
“โป๊ปฟรังซิสเยือนไทย” ขึ้น

โดย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมมือกับ
สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
จัดทำคอลเลกชันแสตมป์ชุดพิเศษในรูปแบบของแสตมป์ส่วนตัว (iStamp)
เพื่อเป็นที่ระลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส
พระประมุขพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก และพระประมุขแห่ง นครรัฐวาติกัน
เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2019

...................................................................................................


สำหรับแสตมป์ประกอบด้วยภาพหลักของการเสด็จเยือนฯ
และภาพ “โป๊ปฟรานซิส” จากเอกสารเผยแพร่ทางการบนแสตมป์ 4 ดวง
พร้อมคิวอาร์โค้ดสแกนชม MV “ให้รักเป็นสะพาน” ของเหล่าบรรดาศิลปิน
ดารา นักร้อง ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
..........................................................................................................................


นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยกำหนดจัดนิทรรศการแสตมป์ชุดพิเศษ
นำเสนอเส้นทางจาริกเพื่อสันติสุขของ “โป๊ปฟรังซิส”
ในการเสด็จไปเยือนประเทศต่างๆ ตลอด 7 ปี รวม 50 ประเทศ
ระหว่างปี 2556 – 2562 ผ่านดวงแสตมป์ที่ระลึกของแต่ละประเทศ
รวมถึงพระประวัติโดย สังเขป ณ พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน สะพานควาย
ในช่วงของการเสด็จเยือนฯ พร้อมจำหน่ายซีดีให้ “รักเป็นสะพาน”
ที่ระลึกภายในนิทรรศการดังกล่าวในราคาแผ่นละ 99 บาท
โดยส่วนหนึ่งของรายได้มอบให้แก่สภาประมุขบาทหลวงฯ สำหรับสาธารณประโยชน์ต่อไป
............................................................................................................................

หมายกำหนดการการเยือนไทยครั้งนี้ของพระองค์  คือ

ในวันที่ 19 พฤศจิกายน เวลา 19.00 น. เดินทางถึงท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 ดอนเมือง
ในวันที่ 20 พฤศจิกายน เวลา 12.30 น. ซึ่งจะมีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ
ณ ท่าอากาศยาน จากนั้นเสด็จไปที่สถานเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย
ซึ่งเป็นสถานที่ประทับตลอดการเยือนประเทศไทย

.
สำหรับศาสนกิจเสด็จเยือนไทยของพระองค์ มีดังนี้
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน
09.00 น. ทรงร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ณ บริเวณลานด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล
จากนั้นทรงพบนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาล ข้าราชการคณะทูตานุทูต
และทรงปราศรัยภายในตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
10.00 น. เสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร)
ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
11.15 น. เสด็จโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์เพื่อประทานโอวาท
แก่บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลคาทอลิก 4
โรงพยาบาล จากนั้นเสด็จอวยพรผู้ป่วยผู้สูงอายุ ภายในอาคารร้อยปีบารมีบุญ
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ จากนั้นเสด็จกลับไปเสวยพระกระยาหารกลางวัน
ณ สถานเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย
16.55 น. เสด็จเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
18.00 น. เสด็จทำพิธีบูชาขอบพระคุณ หรือพิธีมิสซา โดยสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเทศน์
ณ สนามศุภชลาศัย
............................................................................................................................

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน
10.00 น. ทรงพบกับคณะบาทหลวงนักบวช นักพรต สามเณร ผู้ฝึกหัด ครูคำสอน
และทรงปราศรัย ภายในวัดคาทอลิกนักบุญเปโตร อ.สามพราน จ.นครปฐม
11.00 น. ทรงพบบรรดาบิชอปของไทยและบิชอปของสหพันธ์สภาบิชอปแห่งเอเชีย (FABC)
และทรงปราศรัย ณ สักการสถานบุญราศีนิโคลาสบุญเกิด กฤษบำรุง
11.50 น. ทรงพบคณะนักบวชเยสุอิตในประเทศไทยภายในห้องด้านหลังสักการสถานบุญราศี
นิโคลาสบุญเกิด กฤษบำรุง จากนั้นเสด็จกลับไปเสวยพระกระยาหารกลางวัน
ณ สถานเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย
15.20 น. ทรงพบผู้นำคริสตชนนิกายต่าง ๆ ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ในประเทศไทย
บรรดาผู้นำสถาบันการศึกษา คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา พร้อมทั้งทรงปราศรัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17.00 น. เสด็จทำพิธีบูชาขอบพระคุณสำหรับเยาวชน โดยสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเทศน์
ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก
............................................................................................................................

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน
09.15 น. พิธีการอำลาส่งเสด็จ ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6
กองบัญชาการกองทัพอากาศ อาคาร 2 ดอนเมือง
09.30 น. เครื่องบินพระที่นั่งออกเดินทางจากกรุงเทพมหานครมุ่งสู่กรุงโตเกียว
17.40 น. เสด็จถึงท่าอากาศยานกรุงโตเกียว-ฮาเนดะ มีพิธีการต้อนรับ ณ ท่าอากาศยาน
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก วิกิพีเดีย
............................................................................................................................

เตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
ผู้ post เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2562
มี ดร.ประมุข เพ็ญสุต KU 33 เป็นประธาน
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC “

 




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2562 11:33:11 น.
Counter : 1118 Pageviews.  

1  2  

สมาชิกหมายเลข 5498498
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชมรมวิชาการนิสิตเก่า มก.
( KU ALUMNI BRAIN CLUB ) KU-ABC
…เกิดจากการรวมตัวของเพื่อนๆ KU 33 ส่วนหนึ่ง
มีองค์ประกอบดังนี้
ก. ดร.วิทูรย์ สิมะโชคดี เป็นที่ปรึกษา
ข. นายเชิดศักดิ์ วงษ์กมลชุณห์ เป็นที่ปรึกษา
1. ดร.ประมุข เพ็ญสุต ประธาน
2. ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิชย์ กรรมการ
3. นายชัยวุธ ชัยพันธ์ กรรมการ
4. พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล กรรมการ
5. นางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการ
6. นางนงลักษณ์ ติรศรีวัฒน์ กรรมการ
7. อาจารย์นิตยา ทับทิมทัย กรรมการ
8. ดร. ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ กรรมการ
9. อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา กรรมการ
10. นางพัจนา ปัญจมรัศม กรรมการ
11. ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล กรรมการ
12. นายสินชัย สวัสดิชัย กรรมการ
13. นางสุชีลา ธีรภรณ์ กรรมการ
14. นางสุพรรณี จันทโรจน์ กรรมการ
15. นายอดิศักดิ์ จงจิระศิริ กรรมการ
16. นางสาวอรทัย เอื้อตระกูล กรรมการ
17. รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น กรรมการ
18. นางอภิญญา รุจิธารณวงศ์ กรรมการ
เพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์ในการรวบรวมสาระความรู้ /ผลงานวิชาการด้านต่างๆของนิสิตเก่ามาเผยแพร่และแบ่งปันแก่สาธารณชน เมื่อ 2 กันยายน 2562 โดยนางเตือนใจ เจริญพงษ์ กรรมการชมรมเป็นผู้นำเสนอ post ทาง bloggang ของพันทิป หวังอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของ blog คงให้ประโยชน์แก่สังคมคะ





Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5498498's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.